ในงานบุญวันสารท ขนมที่ชาวบ้านภาคกลางนิยมทำในงานก็คือ กระยาสารท ซึ่งมีส่วนผสมของข้าว
ได้แก่ ข้าวเม่าและข้าวตอก ข้าวทั้งสองชนิดนี้หลายคนมักเข้าใจผิดว่าเป็นอย่างเดียวกัน
จริง ๆ แล้วไม่ใช่เลย ข้าวตอก หรือที่บางท้องถิ่นเรียก ข้าวแตก หรือข้าวตอกแตก
เป็นการนำข้าวเปลือกของข้าวเหนียวมาแช่น้ำ แล้วเอาไปคั่วให้แตกออกเป็นดอกบาน
ก่อนนำไปทำขนมต่าง ๆ ส่วน ข้าวเม่า ทำจากข้าวเหนียวเมล็ดอ่อนที่ใกล้จะสุกมาคั่วไฟร้อน
ๆ จนสุกดี และหอมกรุ่นกลิ่นควันไฟ จึงนำไปลงครกกระเดื่องตำให้เปลือกหลุดออกจากเมล็ด
จะได้ข้าวเม่าเมล็ดแบน นำไปทำขนมต่าง ๆ ต่อไป

คำว่า
เม่า นี้ พระยาอนุมานราชธนอธิบายว่า น่าจะเป็นคำเดียวกับคำว่า มาง
ในภาษาอาหม ที่แปลว่า ทุบหรือตำให้เป็นแผ่นบาง ข้าวเม่าก็น่าจะหมายถึง
ข้าวที่ทุบให้แบน
|