Click here to visit the Website

เรื่องจากปก
....."เขาบันได" บ้านของสัตว์ป่า และต้นไม้ ที่ ห้วยขาแข้ง
.....เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เป็นที่รู้จักกันดี ในฐานะที่ ได้รับ การประกาศ ร่วมกับ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร ให้เป็น มรดกโลก ทางธรรมชาติ โดยองค์การยูเนสโก ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔
ความสำคัญ ของผืนป่าตะวันตก ที่มีอาณาเขตร่วมกัน ถึงเกือบ ๔ ล้านไร่นี้ นอกจากจะเป็น พื้นที่สงวน ทางชีวาลัย (Biosphere Reserve) ที่มี ความอุดมสมบูรณ์ และโดดเด่นที่สุดแล้ว ยังเป็นแหล่งอาศัย ของ สัตว์ป่าหายาก และใกล้สูญพันธุ์ อีกหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น นกยูงไทย กระทิง วัวแดง แรด กระซู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควายป่า
.....ใจกลาง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง ซึ่งอาจถือเป็น หัวใจของ ผืนป่าตะวันตก แห่งนี้ เป็นที่ตั้งของ หน่วยพิทักษ์ป่า เขาบันได หน่วยพิทักษ์ป่า แห่งสำคัญ ที่ดูแลพื้นที่ป่า บริเวณตอนล่าง ของ ลำขาแข้ง ลำน้ำสายหลัก เพียงสายเดียว ที่ไหลผ่านตอนกลาง ของพื้นที่ เขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่า แห่งนี้
.....ลำห้วยขาแข้งตอนล่าง หรือบริเวณพื้นที่หน่วยพิทักษ์ป่าเขาบันได เป็นแหล่งอาศัย หากิน ของสัตว์ป่า ที่สำคัญหลายชนิด โดยเฉพาะ ในฤดูแล้ง ที่แหล่งน้ำ ตามลำห้วยสาขา แห้งขอดลง นอกจากสายน้ำ ที่สำคัญ ต่อชีวิตสัตว์ป่า บริเวณนี้ ยังเต็มไปด้วย "โป่ง" ประเภทต่างๆ ทั้งโป่งดิน โป่งน้ำ โป่งหญ้า ที่เป็นแหล่ง ธาตุอาหาร ที่สำคัญ ของ สัตว์ป่า หลายชนิด ในบริเวณ หน่วยพิทักษ์ป่า เขาบันได พบโป่งอยู่มาก ถึง ๑๐ แห่ง จึงไม่แปลกแต่อย่างใด ที่บริเวณนี้ จะชุกชุมไปด้วย สัตว์ป่า และยังเป็น แหล่งหากินประจำ ของสัตว์ป่าหายาก หลายชนิด
.....ปริญญากร วรวรรณ นักเขียน และนักถ่ายภาพสัตว์ป่า เริ่มต้นอาชีพ ของเขา ด้วยภาพ กระทิงหกตัว กลางโป่งหญ้า ในพื้นที่ หน่วยพิทักษ์ป่า เขาบันได ได้เห็นนกยูงไทย -- สัตว์ที่เมื่อราว ๑๐ ปีก่อน อยู่ในภาวะ ใกล้สูญพันธุ์ เป็นครั้งแรก ก็บนหาดทราย ริมห้วยขาแข้ง ในพื้นที่ หน่วยพิทักษ์ป่า แห่งนี้ และได้เห็น ควายป่า สัตว์ซึ่งทำให้ เขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง ได้ถือกำเนิดขึ้น รวมฝูง มากเป็นประวัติการณ์ ถึง ๑๘ ตัว ในพื้นที่ หน่วยพิทักษ์ป่า เขาบันไดเช่นกัน
.....ภาพ และเรื่องราว จากประสบการณ์ของ ปริญญากร ตลอดช่วงเวลา กว่าสิบปี ที่เขาเฝ้าติดตาม สัตว์ป่าชนิดต่างๆ ในฤดูกาล ที่แตกต่างกัน ในพื้นที่ป่า เขาบันได ใจกลางเขต รักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง ได้รับ การถ่ายทอดลงแล้ว อย่างสมบูรณ์ ในสารคดีเรื่องนี้

เรื่อง และภาพโดย ปริญญากร วรวรรณ
¹¡ÂÙ§ (¤ÅÔ¡à¾×èÍ´ÙÃÙ»ãË­è)
หลังฝนตก นกยูง จะขึ้นไปผึ่งปีก บนต้นไม้ ก่อนจะเข้าไปหากิน ในดงหญ้า

¡Ãзԧ (¤ÅÔ¡à¾×èÍ´ÙÃÙ»ãË­è)
ในช่วงฤดูฝน กระทิง จะรวมฝูงกัน เข้ามาหากินในโป่ง

¡ÇÒ§ (¤ÅÔ¡à¾×èÍ´ÙÃÙ»ãË­è)
หลังจาก ฝนเริ่มตก ริมๆ ห้วย มีหญ้าอ่อนๆ กวาง ชอบมานอนเล่นน้ำ

àÊ×Íâ¤Ãè§-¤ÇÒ»èÒ (¤ÅÔ¡à¾×èÍ´ÙÃÙ»ãË­è)
เมื่อเสือโคร่ง เข้ามาใกล้ๆ ฝูงควายป่า จะยืนเรียงกัน เป็นกำแพง โดยกันลูกเล็กๆ ไว้ตรงกลาง พวกมัน จะเดินตามมาดูเสือ จนแน่ใจว่า เสือ ไม่โจมตีแน่ๆ จึงจะผละจากไป

àÊ×Í´ÒÇ (¤ÅÔ¡à¾×èÍ´ÙÃÙ»ãË­è)
เสือดาว และเสือโคร่ง คือเสือสองชนิด ในจำนวน เสือ หกชนิด ที่มีอยู่ในป่า ห้วยขาแข้ง

สารบัญ | เขาบันได | โลกใบเล็ก | ภาพถ่ายเก่า | นักสำรวจพรรณไม้ | ไก่ชน

Feature@sarakadee.com
สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)