Click here to visit the Website

อ่านเอาเรื่อง
.....ไก่ชน เกมกีฬา หรือเกมทารุณ
.....บ้างว่า มันเป็น มรดก ทางวัฒนธรรม เป็นเอกลักษณ์ ประจำชาติ ที่ควรสืบทอด เป็นเกมกีฬา ให้ความบันเทิง เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นหนทางเดียว ในการอนุรักษ์ และพัฒนา สายพันธุ์ไก่พื้นเมือง ของไทย บ้างกลับเห็นว่า มันเป็น การหาความสุข บนความทุกข์ทรมาน ของผู้อื่น เป็นการ ทารุณสัตว์ และส่งเสริม การพนัน เป็นสงคราม ตัวแทน ของความ ดิบเถื่อน ในใจมนุษย์ เป็นสังเวียนเลือด เวทีนรก...
....."การชนไก่" เป็นอย่างไร
.....ตอบแบบ กำปั้นทุบดิน การชนไก่ หรือ cockfighting ก็คือ การเอาไก่ตัวผู้ สองตัว มาชนกัน ในสังเวียน ที่จัดขึ้น ไก่สองตัวนี้ นอกจากจะเป็น ไก่พื้นเมือง ที่มีสายพันธุ์ "ไก่ชน" (ไก่พื้นเมือง แบ่งออกเป็น สองประเภท ได้แก่ ไก่ ที่มี และไม่มีสายพันธุ์ ไก่ชน) เช่น ไก่เหลืองหางขาว ไก่ประดู่หางดำ ไก่เขียวเลา ไก่เทาทอง แล้ว ยังต้อง ผ่าน กระบวนการเลี้ยง เพื่อให้เป็น ไก่ชน โดยเฉพาะ อีกด้วย นั่นคือ เมื่ออายุได้ ๗ เดือน มันจะถูกนำมา ฝึกซ้อม หัดปล้ำกับ ไก่ รุ่นราว คราวเดียวกัน และได้ ออกกำลังกาย อยู่เสมอ โดยเจ้าของ จะนำ ไก่ อีกตัวหนึ่ง มาล่อ ให้มันโกรธ และวิ่งไล่กัน ประมาณ ๑๕ นาที ผ่านการ กราดน้ำ กราดแดด คือ เช็ดตัว ด้วยน้ำเย็น แล้วนำไป ตากแดดจัด เมื่อไก่หิวน้ำ จะยังไม่ให้กิน เพื่อสร้าง ความอดทน ให้ไก่ ถึงกระนั้น พวกมัน ก็จะได้รับ การประคบประหงม อย่างดี มีอาหารสมบูรณ์ ได้รับ การนวดตัว ด้วยสมุนไพร แถมยัง ได้นอนในมุ้ง
.....นักเลี้ยงไก่ จะทำทุกวิถีทาง ทั้งในขั้นตอน การเลี้ยง และระหว่าง การชน เพื่อให้ไก่ของตน ชนะ เพราะนั่นหมายถึง รายได้ก้อนโต จาก การพนัน ในบ่อนไก่ ซึ่งก็เหมือนกับ การพนันชนิดอื่น ที่ทำให้ คนเล่น กลายเป็น เศรษฐี หรือยาจก ได้ในพริบตา ในกรณีที่ เป็นไก่ชน พันธุ์แท้ บริสุทธิ์ และมี "ชั้นเชิง" ในการชนจริงๆ ยังอาจขายเป็น พ่อพันธุ์ไก่ชน ที่มีราคาสูง เหยียบแสน สร้างรายได้ ให้ผู้เลี้ยง อย่างงดงาม

กุลธิดา สามะพุทธิ : รายงาน
บันสิทธิ์ บุณยะรัตเวช : ภาพ

ไก่ชน เกมกีฬา หรือเกมทารุณ (คลิกเพื่อดูรูปใหญ่)
(คลิกเพื่อดูรูปใหญ่)

.....การชนไก่ ระหว่าง พระมหาอุปราชา กับสมเด็จ พระนเรศวร มหาราช ในปี พ.ศ. ๒๑๑๒ เมื่อครั้งที่ พระองค์ ตกเป็นเชลยของ พระเจ้าหงสาวดี บุเรงนอง และผลปรากฏว่า ไก่ชนของไทย ชนะ มักถูกนำมาอ้างถึง อยู่เสมอ เพื่อเป็นการยืนยันว่า การชนไก่ และการเลี้ยงไก่ชนนั้น เป็นกิจกรรม "คู่บ้านคู่เมือง" ของไทย ขั้นตอน เคล็ดลับ การเลี้ยง การดูลักษณะ ไก่ชน และชั้นเชิง การชน ก็เป็นสิ่งที่ บรรพบุรุษ นักเลี้ยงไก่ชน คิดค้น สั่งสม และสืบทอดกันมา ตลอดระยะเวลา หลายร้อยปี
.....อย่างเช่น ที่ใน "ตำราไก่เก่ง" บอกไว้ว่า ไก่ชนลักษณะดี ต้องมี "ปากงุ้ม เหมือนเหยี่ยว เป็นร่องหนา แข็งแรง ตารูปตัววี คิ้วหนา หงอนหินบางกลางสูง คอยาวใหญ่ ลำตัวยาว ๒ ท่อน เนื้อเต็มทั้งหน้าอก และบั้นท้าย บั้นขาใหญ่ แข้งอิ่มกลม มีหมอนรองแข้ง มีเสือซ่อนเล็บ มีเหน็บชั้นใน... หางพันเจ็ด ปีกสิบเอ็ด เกล็ดยี่สิบสอง..." ส่วนชั้นเชิง ในการชนนั้น ก็สรุปสั้นๆ ง่ายๆ ว่า ต้อง "ปากไว ชนดี ตีแม่น"
.....นักวิชาการ ด้านไก่พื้นเมือง ให้ข้อมูลว่า มีไก่ชน น้อยตัวนัก ที่มีคุณสมบัติ ดีพอจะนำไป แข่งขันชนไก่ได้
....."ถ้าเลี้ยงไว้ ๑๐๐ ตัว สามารถ นำไปชนได้ ๕ ตัว ก็นับว่า โชคดีแล้ว อีก ๙๕ ตัว มักจะเหมาะกับ การนำไปขาย เป็นไก่เนื้อ มากกว่า"
.....ส่วนหนทาง สู่การเอาชนะ ในสังเวียน ที่น่าสนใจอยู่ในตอน "ให้น้ำ" ระหว่างอัน ("อัน" ในภาษาไก่ชน หมายถึง "ยก") เจ้าของ จะเอาผ้านุ่มๆ ชุบน้ำเย็น ผสมสมุนไพร เช่น ใบตะไคร้ หรือยอดผักบุ้ง ตำผสมน้ำตาล เช็ดหัว หน้าอก และแข้งขา ให้ไก่สดชื่น จากนั้น จะใช้ผ้า หรือกระเบื้อง ที่อังไฟจนร้อน แตะ ไพลกับขมิ้น หรือปูนแดง นวดกล้ามเนื้อ และประคบบาดแผล
.....แต่ไม่มีใครรู้ว่า การดีดข้าวเปลือก อาบยาฆ่าแมลง หรือยาพิษ ลงไปใน สังเวียน หรือป้ายไว้ที่ เดือยไก่ เพื่อทำร้าย ไก่ ของฝ่ายตรงข้ามนั้น เป็น "ภูมิปัญญา" ที่สั่งสมมา หรือเพิ่งเกิดขึ้น ในยุคหลัง ที่นักเลงไก่ชน จริงจังกับ ชัยชนะ และเงินเดิมพัน มากขึ้น
.....มีรายงานว่า คนเล่นไก่ชน ในบางประเทศ ถึงกับ แอบเอา ของมีคม ติดไว้ที่เดือยไก่ หรือฝนเดือยไก่ ให้แหลมคม ราวใบมีด รวมทั้ง ให้สารกระตุ้นพวก แอมเฟตามีน หรือคาเฟอีน เพื่อให้ไก่คึก ดุร้าย และทนทาน กว่าปรกติ
.....สำหรับอาการบาดเจ็บของไก่ มักเกิดจาก ถูกจิก หรือแทง จากเดือย ของคู่ต่อสู้ เจ้าของ จะเย็บบาดแผล ช่วงให้น้ำ หากว่าถูกตี จนตาปิด จะเย็บรั้งหนังตาไว้ เพื่อให้ไก่มองเห็น ในยกถัดไป หรือถ้าตาแตก ก็จะเย็บปิดลูกตาไว้ ชั่วคราว
รศ. ดร. อภิชัย รัตนวราหะ (สนับสนุน)
รศ. ดร. อภิชัย รัตนวราหะ
นายก สมาคม อนุรักษ์ และพัฒนา ไก่พื้นเมืองไทย
สนับสนุน
.....โดยทั่วไป การชนไก่ของไทย มีตั้งแต่ ๖-๑๒ ยก ยกละ ประมาณ ๒๐ นาที ไก่จะแพ้ชนะกัน ตรงที่ ตัวใดตัวหนึ่ง ตาย วิ่งหนี ไม่ยอมตี หรือบาดเจ็บมาก จนเจ้าของ ขอยอมแพ้เอง
.....สมัยก่อน ชาวบ้าน จะจัดการชนไก่ กันอาทิตย์ เว้นอาทิตย์ และงดการชนไก่ ในวันพระ
.....ช่วง หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาล ได้เข้ามา แทรกแซง การชนไก่ ของชาวบ้าน เนื่องจาก เห็นว่า เป็นกิจกรรมที่ "ไม่บรรลุ ความเป็นอารยะ" อีกทั้ง ในระยะหลัง ยังเล่นเป็นการพนัน อย่างหนัก จึงออกกฎหมาย ควบคุม การชนไก่ การเปิดบ่อนไก่ ต้องได้รับ ใบอนุญาต และเสียค่าธรรมเนียม แก่ทางการ
.....พ.ศ. ๒๕๒๗ กระทรวงมหาดไทย ออกประกาศ ห้ามสืบทอด หรือโอนใบอนุญาต การเปิดบ่อนไก่ชน แต่ให้หมดไป ตามอายุขัย ของผู้ได้รับอนุญาต กล่าวอีกอย่างว่า บ่อนไก่ จะตายไปพร้อมๆ กับ เจ้าของบ่อน
.....สิบกว่าปีต่อมา การชนไก่ ก้าวล่วงจาก การเป็นเรื่อง ระหว่างรัฐ กับชาวบ้าน ในแวดวงไก่ชน มาเป็นเรื่องของ ประชาสังคม อย่างแท้จริง ต้นเหตุมาจาก นโยบาย การเปิดบ่อนไก่เสรี ของ เสนาะ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการ กระทรวง มหาดไทย ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ นโยบายนี้ จะทำให้ การชนไก่ เป็นเรื่อง ไม่ผิดกฎหมาย และไม่ต้อง ถูกควบคุม อีกต่อไป
.....เหตุผลสนับสนุน การมี และไม่มี การชนไก่ ถูกนำมาตอบโต้ กันอย่างเผ็ดร้อน ในช่วงนี้
.....ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า เราจำเป็นต้อง อนุรักษ์ และพัฒนาสายพันธุ์ "ไก่ชน" ซึ่งเป็น สัตว์พื้นเมือง ที่ค่อยๆ ลดจำนวน และคุณภาพลง เอาไว้ และ การชนไก่ ก็เป็นหนทางเดียว ในการอนุรักษ์ไก่ชนไว้ เนื่องจาก ผู้เลี้ยง จะคัดเลือก และผสมพันธุ์ อย่างเข้มงวด เพื่อให้ได้ ไก่ชนพันธุ์แท้ บริสุทธิ์ นักวิชาการ ด้านการเกษตร บางคน ถึงกับกล่าวว่า
....."คนเล่นไก่ชน คือกลุ่มที่ อนุรักษ์ให้ไก่พื้นเมือง ของไทย ดำรงอยู่ มาจนทุกวันนี้ ถ้าไม่มี นักเลี้ยงไก่ชน ไก่พื้นเมือง สูญพันธุ์ จากเมืองไทย ไปนานแล้ว" และ "หากต้องการได้ ไก่ สายพันธุ์ดีๆ ก็หนีไม่พ้น การชนไก่" อีกฝ่ายหนึ่ง ประกาศว่า ไม่ได้คัดค้าน การอนุรักษ์ หรือส่งเสริม การเลี้ยงไก่ชน หากแต่ ไม่เห็นด้วย กับการชนไก่ เนื่องจาก เป็นกิจกรรมที่ ทรมานสัตว์ และไม่สามารถ แยกออกจาก การพนันได้ ถ้าผู้เกี่ยวข้องจริงจัง และจริงใจ ในการอนุรักษ์ พันธุ์ไก่พื้นเมือง ย่อมต้องมี ทางเลือกอื่น
โรเจอร์ โลหะนันทน์ (คัดค้าน)
โรเจอร์ โลหนันทน์
ผู้จัดการ สมาคม ป้องกัน การทารุณสัตว์ แห่งประเทศไทย
คัดค้าน
....."ความเสื่อมคลาย ของความนิยม ในการเพาะเลี้ยง และคัดเลือก สายพันธุ์ไก่ชน ของชาวบ้านไทยนั้น ไม่ได้เป็นผลมาจาก การที่ การพนันชนไก่ ไม่เฟื่องฟู แต่เป็นผลมาจาก การล่มสลายของ วิธีการเลี้ยงไก่ แบบพื้นเมือง ซึ่งถูกแทนที่ด้วย วิธีการเลี้ยงไก่สมัยใหม่ แบบฟาร์ม" (ผู้จัดการ, ๑ เมษายน ๒๕๔๐)
.....ปีเดียวกันนั้น สวนดุสิตโพล สำรวจประชามติ ประชาชน ในกรุงเทพ ฯ และต่างจังหวัด จำนวนกว่า ๒,๐๐๐ คน ผลปรากฏว่า ๖๙ เปอร์เซ็นต์ ไม่เห็นด้วย กับการ แยกการชนไก่ ออกจาก การควบคุมของ พ.ร.บ. การพนัน ๘๙ เปอร์เซ็นต์ เห็นว่า เป็นการทรมานสัตว์ ๕๗ เปอร์เซ็นต์ เห็นว่า ไม่จำเป็น ต้องอนุรักษ์กิจกรรมนี้ไว้
.....ล่าสุด -- กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ ที่จังหวัดชลบุรี สมาคมอนุรักษ์ และพัฒนา ไก่พื้นเมืองไทย ได้จัด "การแข่งขัน กีฬาชนไก่สมัครเล่น สายพันธุ์นานาชาติ ครั้งที่ ๑" ขึ้น โดยมี ผู้เข้าร่วม หลายพันคน ไก่ที่นำมาชน มีนับร้อยตัว ทั้งจาก จีน ญี่ปุ่น บรูไน พม่า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ฯลฯ
.....ผู้จัด ประชาสัมพันธ์ว่า งานนี้ ไม่มีการพนัน อย่างเด็ดขาด และกำหนด กติกาใหม่ เพื่อให้ไก่ บาดเจ็บน้อยลง เช่น สวมนวม ที่เดือยไก่, แข่งขันเพียง ๕ ยก ยกละ ๑๕ นาที พัก ๓ นาที ไม่มีการถ่างตา และเย็บแผล ระหว่างพักยก, ห้ามใช้น้ำมันหม่อง สารเคมี และยาโด๊ป, หากปากหลุด ปากถอด ตาปิด หรือมีเลือดวิ่งเข้าตา และบาดแผล นายสนาม สั่งยุติ การแข่งขัน ทันทีที่เห็นว่า ไก่บาดเจ็บมาก เป็นต้น
.....ด้านสมาคม ป้องกันการทารุณสัตว์ ยืนยันว่า ถึงอย่างไร ก็ต้องยกเลิก กิจกรรมนี้ โดยเด็ดขาดเพราะ "ไม่ว่าจะทารุณมาก หรือน้อย ก็เป็นการทารุณ"
.....ข้อถกเถียงว่า การชนไก่ ควรจะ "อยู่" หรือ "ไป" ไม่ได้เกิดเฉพาะ ในเมืองไทย เท่านั้น นี่เป็นประเด็น ที่มีการพูดถึง กันอย่างกว้างขวาง เพราะประเทศอื่นๆ ก็มีการชนไก่ เหมือนกัน เคยมี การสำรวจ ความคิดเห็น ของประชาชน ในรัฐอริโซนา สหรัฐอเมริกา ปรากฏว่า ๙๕ เปอร์เซ็นต์ เห็นว่า การชนไก่ เป็นกิจกรรมที่โหดร้าย ป่าเถื่อน ๗๐ เปอร์เซ็นต์ คิดว่า มันเป็นวัฒนธรรม ไม่จำเป็นต้องสืบทอด
.....ปัจจุบัน การชนไก่ ถูกประกาศให้เป็น กิจกรรมต้องห้าม และผิดกฎหมายใน ๙ ประเทศ กับอีก ๒๐ เมืองทั่วโลก
ไก่ชน เกมกีฬา หรือเกมทารุณ (คลิกเพื่อดูรูปใหญ่)
อ่านต่อ คลิกที่นี่

สารบัญ | เขาบันได | โลกใบเล็ก | ภาพถ่ายเก่า | นักสำรวจพรรณไม้ | ไก่ชน

Feature@sarakadee.com
สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)