Click here to visit the Website

เรื่องเล่าของนักสำรวจพรรณไม้
...... (ต่อจากหน้าที่แล้ว) BKF (Bangkok Forest Herbarium) หอพรรณไม้เก่าแก่แห่งหนึ่ง ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ เป็นที่รวบรวม เก็บตัวอย่าง พรรณไม้ ที่ได้จาก การสำรวจของ นักพฤกษศาสตร์ ทั้งชาวไทย และต่างชาติ ที่เข้ามาทำการสำรวจ ในประเทศไทย ตั้งแต่ยุคเริ่มต้น จนถึงปัจจุบัน หอพรรณไม้แห่งนี้ มีตัวอย่างแห้ง ที่เก็บรวบรวมไว้ ประมาณ ๑๘๐,๐๐๐ ตัวอย่าง (ไม่ใช่ชนิด) และประมาณ ร้อยละ ๘๐ ของตัวอย่าง พรรณไม้แห้ง เป็นพืชที่ พบในประเทศไทย ส่วนอีกร้อยละ ๒๐ เป็นตัวอย่าง ที่ได้จาก การแลกเปลี่ยนพรรณไม้ กับประเทศอื่น ในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา

..... ภายในหอพรรณไม้ จัดแบ่งเป็น สามห้อง คือห้องพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ห้องพืชใบเลี้ยงคู่ และห้องเฟิน แต่ละห้อง จะมีตู้ไม้ขนาดใหญ่ สำหรับ เก็บตัวอย่างพรรณไม้ ทั้งหมด แต่ละตู้ จัดเรียงตัวอย่าง ตามอักษร A-Z เรียงจาก ชื่อวงศ์ ไปสู่ ชื่อสกุล และชื่อชนิดพันธุ์ไม้ ตามลำดับ ซึ่ง ตัวอย่าง ที่เก็บมานั้น ยังมีอยู่ เป็นจำนวนมาก ที่รอการตรวจสอบ และ จำแนกชนิด อย่างละเอียด จากนักพฤกษศาสตร์ต่อไป
..... ทุกวันนี้ ที่หอพรรณไม้ แห่งนี้ จะมีนักเรียน นักศึกษา ประชาชน นักวิชาการ
มาใช้บริการ เพื่อตรวจสอบ ลักษณะพันธุ์ไม้ ที่ถูกต้อง โดยเฉพาะบรรดา นักวิจัย ที่นำเอา คุณสมบัติจากพืช ไปใช้ประโยชน์ ในเชิงเศรษฐกิจ อาทิ เภสัชกร นักวิจัยจาก วงการเครื่องสำอาง วงการอุตสาหกรรมไม้ และ ชาวบ้าน ที่นำเอาสมุนไพร มาให้ตรวจสอบ ลักษณะที่ถูกต้อง
..... ปัจจุบัน นักพฤกษอนุกรมวิธาน ที่มีความเชี่ยวชาญ สามารถ จำแนก พรรณไม้ได้ ในเมืองไทย มีไม่ถึง ๓๐ คน กำลังมุ่งมั่นที่จะศึกษา จำแนกชนิด ของพืชชั้นสูง ในเมืองไทย ที่มีอยู่ประมาณ หมื่นชนิด ให้ได้คำตอบ ออกมาเร็วที่สุด หลายคน ที่เกษียณแล้ว ก็ยังกลับเข้ามา ทำงาน วิจัยพรรณไม้ ที่ตัวเองมีใจรักต่อไป ดั่งชีวิตของ ดร. เต็ม สมิตินันทน์ ผู้บุกเบิก งานวิจัยด้าน พฤกษอนุกรมวิธานของไทย ตลอดชีวิต ของท่าน ได้ตระเวนเก็บตัวอย่าง พรรณไม้ ทั่วประเทศ ได้ถึง ๑๒,๐๐๐ เลขหมาย และยังนั่งทำงาน จำแนกชนิดพันธุ์ไม้ต่อไป แม้ว่าจะ เกษียณ มานาน นับสิบปีแล้ว จนกระทั่ง วาระสุดท้ายแห่งชีวิต เช่นเดียวกับ หมอคาร์ นักสำรวจพรรณไม้ ผู้ยิ่งใหญ่ ของประเทศ
..... "มันเป็นชีวิตที่ดี เป็นการทำงาน ที่มีความสุข สบายใจ เราไม่ต้อง แข่งกันใคร แต่ต้องแข่งกับตัวเอง เพราะเวลาในแต่ละวัน มีน้อย รู้สึกว่า มันสั้นเหลือเกิน ตลอดระยะเวลา ๓๐ ปีที่ผ่านมา ที่เริ่มมีการ จำแนก ชนิดพืช ในเมืองไทย อย่างเป็นทางการนั้น นักพฤกษศาสตร์ สามารถ จำแนกได้เพียง ร้อยละ ๓๕ เท่านั้น มันเกินกำลังของพวกเรา แต่หน้าที่ ของเราคือ ต้องพยายามศึกษาให้หมดให้ได้" นักพฤกษศาสตร์คนหนึ่ง ให้ข้อสรุป

(กลับไปอ่านหน้าแรก คลิก)

เรื่อง : วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์
ภาพ : ชัยชนะ จารุวรรณากร

Macuna thailandica Niyomdham & Wilmot-Dear
Macuna thailandica Niyomdham & Wilmot-Dear เป็นไม้วงศ์ หมามุ่ย พบที่ดอยอินทนนท์ ระดับความสูง ๑,๘๐๐ เมตร เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๒๑ เป็น type specimen

ต้นสิบสองประดง Bauhinia sirindhorniae K. & S.S.Larlen ดร. ชวลิต นิยมธรรม เป็นผู้ค้นพบ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๓๘
ต้นสิบสองประดง Bauhinia sirindhorniae K. & S.S.Larlen ดร. ชวลิต นิยมธรรม เป็นผู้ค้นพบ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๓๘ ที่ป่าภูทอกน้อย จังหวัดหนองคาย เป็น type specimen ล่าสุด ในเมืองไทย

กระเช้าหนู Aristolochia helix Phuphathanaphong
กระเช้าหนู Aristolochia helix Phuphathanaphong พบที่จังหวัด กระบี่ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๒๕ เป็น type specimen

ศ.ไค ลาร์เซน และ ดร.วีระชัย ณ นคร
ศ. ไค ลาร์เซน และ ดร.วีระชัย ณ นคร สองนักพฤกษศาสตร์ กำลังสำรวจ พรรณไม้ บนยอดดอย อินทนนท์ ตามโครงการ Flora of Thailand อันเป็นการสำรวจพรรณไม้ ร่วมกัน ระหว่าง ไทย-เดนมาร์ก

สารบัญ | เขาบันได | โลกใบเล็ก | ภาพถ่ายเก่า | นักสำรวจพรรณไม้ | ไก่ชน

Feature@sarakadee.com
สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)