Click here to visit the Website

เรื่องเล่าของนักสำรวจพรรณไม้
...... (ต่อจากหน้าที่แล้ว) ทว่า นักพฤกษศาสตร์ ทั่วโลก ก็ยังรู้จัก พืชในโลกใบนี้ น้อยนัก ในขณะที่ การทำลายธรรมชาติ มีแต่จะ รุนแรงขึ้น ทุกที จนมีการทำนายว่า ในเวลาอีก ๒๕ ปีข้างหน้า หนึ่งในสี่ ของ พืชชั้นสูง ที่มีอยู่ทั่วโลก ๒๕๐,๐๐๐ ชนิด จะสูญพันธุ์ไปจากโลกใบนี้

..... สำหรับประเทศไทย นักพฤกษศาสตร์ ประเมินว่า มีพืชชั้นสูง ประมาณ ๓๐๐ วงศ์ หรือประมาณ ๑๐,๐๐๐ ชนิด แต่ปัจจุบัน เรารู้จัก และสามารถ จำแนกชนิดของต้นไม้ ได้เพียงร้อยละ ๓๕ เท่านั้น แม้ว่า จะมีการสำรวจ พรรณไม้ ในเมืองไทย เป็นเวลา หลายร้อยปีมาแล้ว
..... ย้อนกลับไป เมื่อประมาณ ๓๐๐ กว่าปีก่อน เคยมีบันทึกว่า ในปี พ.ศ. ๒๒๓๓ สมัยพระเพทราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา นายอี. แคมป์เฟอร์ (E.Kaempfer) แพทย์ชาวเดนมาร์ก ประจำเรือ ของคณะทูต ผู้ดูแล อาณานิคม ด้านอินเดียตะวันออก ของฮอลันดา ได้แวะผ่าน ปากน้ำ เจ้าพระยา เพื่อลงสำรวจ พรรณไม้ ที่บริเวณปากน้ำ นับเป็น ชาวต่างประเทศ คนแรก ที่เข้ามาสำรวจ พรรณไม้ ในประเทศไทย
..... ซึ่งก่อนหน้านี้ คนไทย ไม่ค่อยมีบันทึก เรื่องพรรณไม้ว่า หน้าตา เป็นอย่างไร จะมีรู้จัก ก็ในแง่ การใช้ประโยชน์ อาทิ ทางยาสมุนไพร ดังนั้น การค้นคว้า ทางพฤกษศาสตร์ ในไทย จึงเริ่มมีขึ้น โดยฝรั่ง ตั้งแต่สมัยนั้น เป็นต้นมา
..... ในปี พ.ศ. ๒๓๒๑-๒๓๒๒ ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี นาย โยฮานน์ โคนิก (J.G. Koenig) แพทย์ชาวเยอรมัน ได้เข้ามาสำรวจ พรรณไม้ แถบจังหวัดอยุธยา ปราจีนบุรี และภาคใต้ ได้ตัวอย่าง เมล็ดพรรณไม้ ๓๑๐ ชนิด ตัวอย่าง เฟิน ผักกูด เห็ดรา อีกกว่า ๒๕๐ ชนิด และได้เขียน บันทึกการเดินทาง ชื่อ Chloris Siamensis หนังสือเล่มนี้ เป็นเอกสาร พรรณไม้ ของไทย เล่มแรก ที่ทำให้ชาวโลก ได้รู้จักพรรณไม้ของไทย ส่วนตัวอย่างพรรณไม้ ที่ได้จากการสำรวจในครั้งนั้น บางส่วน ถูกเก็บ รักษาไว้ ในบริติช มิวเซียม ประเทศอังกฤษ
..... หลังจากนั้นเป็นต้นมา เริ่มมีฝรั่งนักล่าพรรณไม้ เดินทางเข้ามาสำรวจ เก็บตัวอย่าง พรรณไม้ไทย เพื่อนำไปขาย ให้แก่ สวนพฤกษศาสตร์ ในยุโรป อาทิ อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส เดนมาร์ก ฯลฯ ประเทศ นักล่า อาณานิคม ในขณะนั้น ซึ่งนอกจากจะ เข้ายึดครอง ประเทศอาณานิคม แถบเอเชีย แอฟริกา อเมริกาใต้ ขนเอา ทรัพยากรธรรมชาติ ที่สำคัญ กลับประเทศแม่แล้ว บรรดานักล่าอาณานิคม ยังทำการสำรวจ เพื่อเก็บ รวบรวม พรรณไม้ต่างๆ ส่งกลับมาสะสม ในพิพิธภัณฑ์ของตัวเอง เพื่อนำมาศึกษาว่า มีพรรณไม้ชนิดใด ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะ ผลิตเป็นอาหาร ยารักษาโรค ที่สำคัญคือ การนำพรรณไม้ดอก จาก ประเทศอาณานิคมเหล่านี้ มาขยายพันธุ์ เพื่อจำหน่ายเป็น ไม้ดอก ไม้ประดับ ตามสวนในยุโรป ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในสมัยนั้น
..... แต่การสำรวจพรรณไม้ ในเมืองไทย ได้เริ่มเป็นจริงเป็นจังมากขึ้น ในสมัยของ นายแพทย์ เอ.เอฟ.จี. คาร์ (A.F.G. Kerr) (พ.ศ. ๒๔๒๐ - ๒๔๘๕) หรือที่คนไทย รู้จักกันดีว่า หมอคาร์ ซึ่งมาอยู่เมืองไทย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๕ ตลอดเวลา ๒๕ ปีที่อยู่เมืองไทย หมอคาร์ ได้เดินทางไป ทั่วประเทศ เก็บตัวอย่างพรรณไม้ ได้ถึง ๒๕,๐๐๐ เลขหมาย อย่างที่ ไม่เคยมีใคร สำรวจมาก่อน ซึ่งนำไปสู่ การจัดสร้าง หอพรรณไม้ ของกรมป่าไม้ ที่นักพฤกษศาสตร์ ทั่วโลกรู้จักดี ในนามของ BKF (Bangkok Forest Herbarium) หอพรรณไม้เก่าแก่แห่งหนึ่ง ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ เป็นที่รวบรวม เก็บตัวอย่าง พรรณไม้ ที่ได้จาก การสำรวจ ของ นักพฤกษศาสตร์ ทั้งชาวไทย และต่างชาติ ที่เข้ามาทำการสำรวจ ในประเทศไทย ตั้งแต่ยุคเริ่มต้น จนถึงปัจจุบัน หอพรรณไม้แห่งนี้ มี ตัวอย่างแห้ง ที่เก็บรวบรวมไว้ ประมาณ ๑๘๐,๐๐๐ ตัวอย่าง (ไม่ใช่ชนิด) และประมาณ ร้อยละ ๘๐ ของตัวอย่าง พรรณไม้แห้ง เป็นพืชที่ พบในประเทศไทย ส่วนอีกร้อยละ ๒๐ เป็นตัวอย่าง ที่ได้จาก การแลกเปลี่ยนพรรณไม้ กับประเทศอื่น ในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา

(อ่านต่อ คลิก)

เรื่อง : วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์
ภาพ : ชัยชนะ จารุวรรณากร

ต้นหญ้านายเต็ม Isachne smitinandiana A. Camus
ต้นไม้ที่ตั้งชื่อเป็นเกียรติแด่ ดร.เต็ม สมิตินันทน์ คือ ต้นหญ้านายเต็ม Isachne smitinandiana A. Camus พบที่ภูกระดึง จังหวัดเลย เมื่อวันที่ ๘ พฤกษภาคม ๒๔๙๔ และเป็น type specimen คือเป็น พันธุ์ไม้ต้นแบบ และเป็นพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ ของโลก

Vitex negundo Linn. พระยาวินิจวนันดร เป็นผู้พบ
Vitex negundo Linn. พระยาวินิจวนันดร เป็นผู้พบ เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๔๙๕

รักเขา Gluta laccifera (Pierre) Ding Hou
ตัวอย่าง พรรณไม้แห้ง ที่หมอคาร์ สะสม คือ รักเขา Gluta laccifera (Pierre) Ding Hou พบที่อำเภอ หลังสวน จังหวัดชุมพร เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ ๒๔๗๐

นายแพทย์ เอ.เอฟ.จี. คาร์ (A.F.G. Kerr)
นายแพทย์ เอ.เอฟ.จี. คาร์ (A.F.G. Kerr) สำรวจ และเก็บพรรณไม้ ทั่วประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๔๕ - ๒๔๗๕ สามารถ รวบรวมพรรณไม้ ได้ถึง ๒๕,๐๐๐ เลขหมาย

สารบัญ | เขาบันได | โลกใบเล็ก | ภาพถ่ายเก่า | นักสำรวจพรรณไม้ | ไก่ชน

Feature@sarakadee.com
สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)