|
|
|
กุลธิดา สามะพุทธิ
แปลและเรียบเรียง
จากนิตยสาร Far Eastern Economic Review, 12 October, 2000
|
"พระสงฆ์ในประเทศเกาหลี
ทำงานเป็นดีเจจัดรายการเพลงทางอินเทอร์เน็ต
และเป็นพรีเซ็นเตอร์
ในโฆษณานมเปรี้ยวทางโทรทัศน์,
นักร้องชื่อดังในฮ่องกง
ประกาศกลางคอนเสิร์ตร็อกที่จัดขึ้น
เนื่องในวันวิสาขบูชา
ว่าเขาจะเป็นพุทธศาสนิกชนที่เคร่งครัด,
ร้านอาหารเปิดใหม่แห่งหนึ่งที่สิงคโปร์
ขายเหล้ายี่ห้อ "พระพุทธเจ้าแย้มสรวล",
บนหน้าจอคอมพิวเตอร์
ปรากฏเว็บไซต์ว่าด้วยเทคโนโลยี
เพื่อการรู้แจ้งของชาวเอเชีย..."
|
วง Raihan
ซึ่งนำเอาเพลง
ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ
ศาสนาอิสลาม มาขับร้อง
กำลังเป็นที่นิยมอย่างสูง
ในหมู่วัยรุ่นมาเลเซีย |
|
สิ่งที่นิตยสาร Far Eastern Economic Review เสนอไว้ในบทความเรื่อง "กลับคืนสู่ที่พักพิง" บอกให้รู้ว่าในยุคนี้ ปรากฏการณ์แปลกประหลาดที่เชื่อมโยงอยู่กับเรื่องของ "ศาสนา" ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น
บทความดังกล่าวรายงานถึงการเกิดขึ้นของกระแส "กลับมายึดเอาศาสนาเป็นที่พึ่ง"
ของชาวเอเชียหลังจากที่ผู้คนประสบปัญหาชีวิต
อันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ
ในช่วงสามปีที่ผ่านมา
ซึ่งรูปแบบในการกลับมาของศาสนานั้น
น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง
กระแสนี้ทำให้เกิดการดึงคน
เข้ามานับถือศาสนาต่าง ๆ อย่างคึกคัก
เริ่มต้นด้วยการเกทับกัน
เรื่องจำนวนศาสนิกชน --
พวกคาทอลิกอ้างว่าปัจจุบันนี้
มีชาวเอเชียที่นับถือศาสนาคริสต์
นิกายคาทอลิก ถึง ๑๒๕ ล้านคน
ด้านชาวมุสลิมกล่าวว่า
ปริมาณผู้นับถือศาสนาอิสลามเพิ่มขึ้นถึงปีละ ๑๒.๕ เปอร์เซ็นต์ในรอบ ๑๐ ปีที่ผ่านมา
ศาสนาพุทธประกาศว่าทุกวันนี้
มีพุทธศาสนิกชนอยู่ ๓๖๐ ล้านคนทั่วโลก
โดยมีชาวยุโรป
และอเมริกัน
นิยมเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
การแย่งชิงผู้ศรัทธาในครั้งนี้เข้มข้นถึงขั้น
เกิดการต่อต้านมิชชันนารีหัวรุนแรง
ที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในภูมิภาคเอเชีย
โดยปัจจุบันนี้จำนวนมิชชันนารีชาวคริสต์ในเอเชีย
มีจำนวนมากถึงหนึ่งในสามของทั้งหมด
ที่ทำงานอยู่ทั่วโลก
การต่อต้านเกิดขึ้นเนื่องจากชาวพุทธ ฮินดู
และคาทอลิกในหลายประเทศ
ไม่ชอบใจวิธีการอันก้าวร้าว ของมิชชันนารีบางกลุ่ม
ในประเทศอินเดียเกิดเหตุมิชชันนารีชาวออสเตรเลีย
พร้อมด้วยลูกชายอีกสองคน
ถูกเผาจนเสียชีวิตเมื่อปี ๑๙๙๘ และเมื่อเร็ว ๆ นี้
รัฐคุชราตของอินเดีย
ก็ออกกฎหมายห้ามเปลี่ยนศาสนา
เพื่อมุ่งกีดกันผู้ที่จะเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์เป็นหลัก
|
|
|
นอกจากนี้ยังเกิดปรากฏการณ์ที่ศาสนา
และลัทธิความเชื่อต่าง ๆ
นิยมจัดคอนเสิร์ต
หรือการบรรยายพิเศษขึ้นในมหาวิทยาลัย
เพราะต่างเล็งเห็นว่ากลุ่มคนหนุ่มสาว
เป็นกำลังสำคัญที่จะทำให้ศาสนาของตนเป็นที่นิยม
"ถ้าอยากให้พวกเด็ก ๆ สนใจ เราต้องใช้กลวิธีที่แยบยล" นักบวชคนหนึ่งในกรุงกัวลาลัมเปอร์กล่าว
ซึ่งคนหนุ่มสาวในมาเลเซีย
ก็ให้การตอบรับเป็นอย่างดี
เห็นได้จากการที่วงดนตรี
ซึ่งนำเอาบทเพลงที่เป็นคำสอน
ของศาสนาอิสลาม
มาใส่จังหวะให้ฟังดูคึกคักร่วมสมัย
ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากกลุ่มวัยรุ่น อัลบัมแรกของพวกเขาขายได้ถึง ๗ แสนตลับ (อัลบัมยอดฮิตในมาเลเซีย
โดยทั่วไปขายได้ประมาณ ๒๕,๐๐๐ ตลับ) อัลบัมต่อมาขายได้ ๑.๓ ล้านตลับ สมาชิกคนหนึ่งในวงให้สัมภาษณ์ว่า "ตอนแรกเราไม่มั่นใจว่าจะมีคนฟังเพลงประเภทนี้
แต่ปรากฏว่าเป็นที่ถูกใจของวัยรุ่น
เพราะทุกวันนี้พวกเขาโหยหาเพลง
ที่เกี่ยวกับเรื่องศีลธรรม หรือเพลงที่พูดถึงพระผู้เป็นเจ้า"
เจ้าหน้าที่ประจำสมาคมชาวคริสต์แห่งมาเลเซีย
ตั้งข้อสังเกตที่น่าสนใจว่า
การหันกลับมายึดศาสนาเป็นที่พึ่งนั้น
เกิดขึ้นในสังคมชนบทก่อนหน้านี้นานแล้ว
แต่เหตุที่ผู้คนเพิ่งมาตื่นเต้นกันก็เพราะ
ศาสนาเหล่านี้ดึงเอาชนชั้นกลาง
มาเป็นสาวกได้สำเร็จนั่นเอง
|
|
|
นักวิชาการประจำภาควิชาปรัชญาแห่ง National University of Singapore วิเคราะห์ว่า
การที่เอเชียเร่งรัดเปลี่ยนแปลงสู่ความทันสมัย
โดยไล่ตามตะวันตกตลอด ๑๕ ปีที่ผ่านมา
ทำให้ผู้คนรู้สึกไร้ราก
และละเลยการดูแลจิตวิญญาณของตน
เป็นปัจจัยสำคัญที่เร่งเร้าให้ชาวเอเชีย
กระหายที่จะเข้าโบสถ์ สุเหร่า หรือวัดกันมากขึ้น นอกจากนี้ ความล่มสลายของเศรษฐกิจเมื่อปี ๑๙๙๗ , กระแสชาตินิยม,
การปฏิวัติเทคโนโลยีและอาจจะรวมถึงความตื่นตูม
ในเรื่องของสหัสวรรษใหม่
ก็ล้วนมีส่วนให้เกิดกระแสนี้ด้วยเช่นกัน แต่จาน ชุน ฮิง ผู้เชี่ยวชาญด้านปรัชญาและศาสนาแห่ง Hong Kong's Babtist University กลับมองว่า การที่คนแห่มายึดศาสนากันอีกครั้งเป็นเพราะศาสนาต่าง ๆ ค้นพบสิ่งที่เป็น "จุดขาย" ของตัวเองในเมืองใหญ่ต่างหาก
เพราะสภาพของผู้คนในสังคมสมัยใหม่
ที่เต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวาย
และอ้างว้างโดดเดี่ยวนั้น
เป็นเสมือนผืนดินอันอุดมสมบูรณ์
ที่จะทำให้ศาสนาหรือลัทธิความเชื่อต่าง ๆ เจริญเติบโต
|
|
|
|