ดร. เกษียร เตชะพีระ
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-
ตำราเกี่ยวกับเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๑๖ ของกระทรวงศึกษาฯ
จะมีความเป็นทางการ
และอำนาจเหนือกว่า
เวอร์ชั่น / ฉบับอื่น ๆ
-
กระทรวงศึกษาฯ
อาจทำหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา
เพราะต้องการให้เด็ก ๆ
จดจำเหตุการณ์นี้
อย่างที่รัฐอยากให้จำ
-
การเขียนขึ้น
เป็นหนังสือเรียน
โดยผ่านคณะกรรมการ
กลั่นกรอง ของกระทรวง
ศึกษาฯ ทำให้มี
การชำระประวัติศาสตร์
บางส่วนซึ่งมีความสำคัญ
และน่าสนใจทิ้งไป
|
|
"ข้อเรียกร้องให้บรรจุเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖
ไว้ในแบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ
เกิดขึ้นช่วงหลังเหตุการณ์พฤษภาคม ๒๕๓๕ เมื่อคนที่เป็นศิษย์เก่าเดือนตุลาคม
เริ่มกลับเข้ามาอยู่ในวงการต่าง ๆ เช่น แวดวงการศึกษา การเมือง สื่อมวลชน
และอยากให้มีการเรียนหรือบันทึกเหตุการณ์นี้
อย่างเป็นเรื่องเป็นราว
เนื่องจากพบว่าคนรุ่นหลังจำนวนมาก
ไม่ค่อยรู้เรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ทั้ง ๆ ที่เป็นเหตุการณ์สำคัญในการเปิดประชาธิปไตย
"ผมเห็นว่าสมควรที่จะมีการบันทึก
หรือเขียนประวัติศาสตร์ช่วงนั้นไว้อย่างแน่นอน แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าในการบันทึกหรือเขียนประวัติศาสตร์
ไม่ว่าจะทำโดยรัฐหรือเอกชน
มักจะมีอัตวิสัยเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ มีการตัดข้อเท็จจริงจำนวนมากออกไป รวมทั้งมีการเลือกจำ
- เลือกไม่จำบางเรื่อง
ตราบใดที่การบันทึกประวัติศาสตร์เป็นของเอกชน
หรือภาคประชาสังคม
จะมีข้อดีตรงที่ว่ามีการถกเถียงได้หลากหลาย ต่อให้คุณใช้อัตวิสัยหรือมีการเลือกจำแค่ไหน
คนอื่นก็มีสิทธิที่จะใช้อัตวิสัย
และเลือกจำส่วนที่คุณไม่ยอมจำ
แต่เมื่อรัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง
ในการทำให้ความทรงจำต่อเหตุการณ์นี้
มีลักษณะเป็น 'ทางการ' เช่น
ทำให้เป็นแบบเรียน
ที่รับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการ จะเริ่มอันตรายและน่าวิตกแล้ว เพราะกระทรวงศึกษาฯ
ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ผู้บันทึก
หรือผู้เขียนประวัติศาสตร์หนึ่งคน
ซึ่งใช้อัตวิสัยและการเลือกของเขาอย่างเท่าเทียมกับคนทั้งหลาย กระทรวงศึกษาฯ
มีอำนาจที่จะบอกว่าการบันทึกเหตุการณ์อันไหน
ให้เด็กเรียนได้ อันไหนใช้ไม่ได้ เหตุการณ์ ๑๔
ตุลาที่ปรากฏในแบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ
ย่อมจะมีอำนาจเหนือกว่า
และไปกดเวอร์ชั่น / ฉบับอื่น ๆ อย่างเลี่ยงไม่พ้น
"ผมไม่แน่ใจว่ากระทรวงศึกษาฯ
มีนโยบายให้บันทึกเหตุการณ์เดือนตุลา
ไว้ในแบบเรียนเพราะจริงใจ
หรือต้องการสร้างภาพให้ตัวเองดูทันสมัย แต่สมมุติฐานที่น่าสนใจที่สุดก็คือ เพราะกระทรวงศึกษาฯ
ต้องการทำให้ประวัติศาสตร์นี้ลงตัว
เข้ากันได้กับโครงเรื่องประวัติศาสตร์
กระแสหลักของรัฐ เพราะเขามีอำนาจที่จะบอกว่าเด็ก ๆ ควรจำอย่างไหน ทั้งที่จริง ๆ
แล้วเราควรปล่อยให้มีการต่อสู้กัน
ของประวัติศาสตร์หลายกระแส
ไม่ควรจะมีใครที่มีอำนาจบอกว่า
อันไหนใช้ได้หรือใช้ไม่ได้
"กระทรวงศึกษาฯ ควรจะเปิดให้การทำตำราเรียนเป็นอิสระ
ประวัติศาสตร์เดือนตุลาทุกฉบับ
ที่ทุกคนเขียนขึ้น
ควรเป็นตำราฉบับทางการได้เหมือนกันหมด โดยไม่ต้องผ่านการกรองของกระทรวงศึกษาฯ
เพราะการตั้งคณะกรรมการขึ้นมา
กรองเนื้อหาแบบเรียน
ย่อมมีอำนาจเข้าไปเกี่ยวข้อง
ซึ่งในที่สุดก็จะลงเอยด้วยการที่
เนื้อหาของหนังสือบางเล่ม
มีอำนาจรัฐหรืออำนาจทุนเข้าไปค้ำยัน
โดยผู้มีอำนาจควบคุมการผลิตตำรา
จะไม่เปิดช่องให้ฉบับที่ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เขาอยากให้จำ อันนี้เป็นอันตรายที่หนีไม่พ้นของการทำอะไรให้เป็น 'ทางการ' โดยผ่านการกรองหรือการเซ็นเซอร์ของบุคคลกลุ่มหนึ่ง
"ผมเห็นด้วยกับข้อเสนอของอาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ที่ว่า
ตำราเรียนของนักเรียน
ไม่จำเป็นต้องผ่านการปั๊มตรารับรองจากกระทรวงศึกษาฯ ต้องยกเลิกระบบนี้เสีย
แต่การไม่มีมาตรฐานเลย
ก็เป็นอันตรายเหมือนกัน
ผมจึงเสนอให้มีองค์กรหรือหน่วยงานหนึ่ง
ที่ประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ
ซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคม
และเปิดกว้างมากกว่ากระทรวงศึกษาฯ มาเป็นคนจัดเรทติ้งอย่างเปิดเผย ให้เกรดว่าเล่มนี้ดีระดับไหน มีข้อบกพร่องตรงไหน ไม่เหมาะไม่ควรตรงไหน แต่ไม่มีสิทธิบอกว่าห้ามพิมพ์หรือห้ามใช้
ไม่มีการไปบีบบังคับว่า
หนังสือที่จะใช้ประกอบการเรียนได้
ต้องเป็นของมาตรฐานของราชการ
"การเปิดให้มีหลาย ๆ เวอร์ชั่นเป็นเรื่องสำคัญในการบันทึกประวัติศาสตร์
เราควรจะเปิดให้มีการบันทึกกันได้อย่างหลากหลาย
เท่าที่คนทั้งหลายอยากจะบันทึก
ซึ่งสังคมไทยก็มีเพดาน
หรือขีดจำกัดของความหลากหลายอยู่แล้ว
คือมีเรื่องบางเรื่องที่พูดยาก
หรือพูดไม่ได้ในสังคมไทย แต่เพดานนี้จะไม่ถูกกระทบ ถูกแตะหรือผลักเลย ถ้าไม่เริ่มต้นทะเลาะกันในเรื่องต่าง ๆ ตั้งแต่วันนี้
"ในกรณีของตำราเรียนเรื่อง ๑๔ ตุลา
เห็นได้ชัดว่ามีการตั้งคณะกรรมการของฝ่ายราชการขึ้นมา
ตรวจสอบและคุมตำรา
โดยมีผู้ที่มีส่วนเกี่ยวพันได้เสียกับเหตุการณ์อยู่ด้วย ซึ่งก็น่าเห็นใจเขาเหมือนกัน
ถ้าผมเป็นคนที่มีส่วนได้เสีย
กับเหตุการณ์เดือนตุลา แล้วถูกตั้งไปเป็นกรรมการตรวจหนังสือ
ผมจะยอมได้อย่างไร
ถ้าจะมีคนเขียนบอกว่าผมเป็นผู้ร้าย
เพราะฉะนั้นทางที่ดี
ก็ไม่ควรจะมีการกรองเลย ใครจะเขียนอย่างไรก็ปล่อยให้เขียนไป
"ปัญหาอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับเขียนเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาเป็นตำราเรียนก็คือ มันเป็นประวัติศาสตร์ที่มีความขัดแย้งสูง
เราจึงไม่ควรเรียกร้อง
ให้มีความเห็นพ้องต้องกันในประวัติศาสตร์
เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่รุนแรง
และมีข้อขัดแย้งในสังคมมากขนาดนี้ จริง ๆ แล้ว เหตุการณ์ที่น่าจะจำ สำคัญ และมีความขัดแย้งสูงที่ควรจำไม่ได้มีแค่สามเหตุการณ์นี้ แต่ยังมีเรื่องสงครามโลกครั้งที่ ๒, กรณีสวรรคต, กรณี ๒๔๗๕
ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่พอเริ่มจำแล้ว
ก็จะเริ่มทะเลาะกัน
ด้วยความที่มีคนเห็นไม่ตรงกันเช่นนี้
เราจึงไม่ควรที่จะปล่อยให้มีใครมีสิทธิบังคับว่า
ขอบเขตในการจำอยู่แค่ไหน โดยที่ใช้อำนาจทางการเข้าไปตัดสินอย่างที่เป็นอยู่ รวมทั้งไม่ควรจะมีการชำระประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์นี้
เพราะบางครั้งประวัติศาสตร์ที่ถูกชำระแล้ว
กลายเป็นประวัติศาสตร์ที่ปลอดเหล่าข้อมูล ความคิดเห็น ทัศนะที่ขัดต่อผลประโยชน์ของผู้ที่เรืองอำนาจอยู่ในยุคนั้น ทางที่ดีจึงไม่ควรชำระ
แต่เปิดให้มีหลายเวอร์ชั่น
โดยมีกระบวนการขัดเกลา ตรวจสอบ ถ่วงดุลซึ่งกันและกัน ประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ คือ
ประวัติศาสตร์สกปรก
และฝุ่นผงที่ถูกผู้มีอำนาจชำระออกมา เช่น ในชีวประวัติของคุณนรินทร์ ภาษิต ซึ่งอาจารย์ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา
ผู้เขียนได้รวบรวมจดหมายบางฉบับ
ที่คุณนรินทร์เขียนถึงจอมพล ป. ซึ่งมีข้อความไม่สุภาพมาก ๆ
การชำระข้อความไม่สุภาพ
ที่คุณนรินทร์เขียนถึงจอมพล ป. ทิ้งไปเป็นเรื่องน่าเสียดายมาก
เพราะมันสะท้อนจิตวิญญาณอิสระ
ที่ไม่กลัวอำนาจ เป็นต้น
"อาจเป็นไปได้ว่า
ถ้ากระทรวงศึกษาฯ
ไม่ทำเป็นตำรา
หรือบรรจุไว้ในหลักสูตร เด็กรุ่นหลังจะลืม แต่ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับ อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล (ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ที่เคยบอกว่า 'ลืมเสียดีกว่าที่จะจำผิด" คือ ถ้าคุณไม่สามารถจำมันอย่างที่มันเป็นจริงได้ ลืมมันเสียดีกว่า รอไว้วันข้างหน้า ให้มีคนจำมันอย่างถูกต้องแล้วค่อยจำ ผมไม่คิดว่าการอนุญาตให้จำอย่างผิด ๆ หรือไม่เที่ยงตรงเป็นสิ่งที่เราควรส่งเสริม
แต่ขณะเดียวกัน
เราก็ควรพยายามจำให้ถูกต้อง
และพยายามยกเลิกระบบ
ที่มาจำกัดของเขต
ในการจำกันเสียตั้งแต่วันนี้ อย่างไรก็ตาม ผมไม่เห็นด้วยกับความคิดที่ว่า ถ้าเขียนไม่ได้เต็มร้อย ก็จะไม่เขียน เพราะวันที่เราสามารถเขียนเรื่อง ๑๔
ตุลาให้สมบูรณ์ครบถ้วนทั้งหมด
อย่างไม่มีข้อจำกัด ไม่มีการบังคับฝืนใจนั้นไม่มีอยู่จริง หรือกว่ามันจะมาถึง เราอาจจะเบื่อเรื่องราวเหล่านี้แล้วก็ได้
ผมคิดว่าต้องเริ่มเขียนตั้งแต่วันนี้
เพื่อเป็นการผลักขีดจำกัดอันนี้
ให้มันขยับถอยออกไปเรื่อย ๆ
"การมีเรื่อง ๑๔
ตุลาอยู่ในตำราเรียนไม่นับว่าเป็นความสำเร็จ
ของคนเดือนตุลาเสียทีเดียว ในแง่หนึ่งมันเป็นเรื่องน่ายินดี
แต่ผมก็กลัวว่าสักวันหนึ่ง
เราอาจจะมีเด็กที่ถูกครูบาอาจารย์ดุด่าว่ากล่าว ตัดคะแนน เฆี่ยนตีเพื่อนักเรียนท่องจำกันง่าย ๆ เพียงแค่ว่า 'วันที่สิบสี่ตุลาคมสองห้าหนึ่งหก
เป็นวันเริ่มต้นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย' เพียงเท่านี้ ซึ่งตรงข้ามกับสปิริตของ ๑๔ ตุลาอย่างที่สุด
สิ่งที่ต้องเปลี่ยนก็คือ
ระบบการเรียนที่เป็นแบบนี้ทั้งหมด พูดให้ถึงที่สุด
ไม่ใช่เพียงแค่หนังสือแบบเรียน
ของกระทรวงศึกษาฯ เท่านั้นที่จะทำลายจิตวิญญาณของเหตุการณ์ ๑๔
ตุลา แต่ระบบที่มีตำรา
ฉบับทางการที่ให้ราชการรองรับ
และระบบที่มีการตั้งคณะกรรมการ
มาตัดสินชี้ขาด
ว่าตำรานี้จะใช้ได้หรือใช้ไม่ได้
ล้วนขัดเจตนารมณ์ ๑๔
ตุลาทั้งสิ้น
และควรจะเลิกได้แล้ว
"ในเมื่อเรายังเปิดพื้นที่ทางการ
ให้แก่ตำราที่ไม่ผ่านการตรวจ
ของกระทรวงศึกษาฯ ไม่ได้ ก็ควรหาทางทำแบบอื่นดีกว่า เช่น ให้คุณเนาวรัตน์เขียนอย่างที่อยากเขียนเต็มที่เลย โดยไม่ต้องสนใจว่าจะเป็นตำราของกระทรวงศึกษาฯ หรือไม่
ซึ่งผมคิดว่าถ้าให้เสรีภาพ
คุณเนาวรัตน์ในการใช้จินตนาการอย่างเต็มที่
โดยไม่ถูกกรองโดยคณะกรรมการที่กระทรวงศึกษาฯ ตั้งขึ้น เขาจะเขียนได้มหัศจรรย์มาก
อาจเป็นที่นิยมของเด็ก
มากกว่าเป็นแบบเรียนตั้งเยอะ แต่ถ้ามีการนำแบบเรียนเรื่อง ๑๔ ตุลาของกระทรวงศึกษาที่เขียนโดยคุณเนาวรัตน์มาใช้จริง ผมก็หวังว่าเด็ก ๆ จะไม่ถือเอาหนังสือเล่มนี้เป็นจุดจบของสิ่งที่เขาอยากจะเรียนรู้"
|