

รศ.ดร.พีรศักดิ์
วรสุนทโรสถ
ผู้ว่าการสถาบันวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี
แห่งประเทศไทย
-
ระบบบริหารคุณภาพ ISO
9002 จะช่วยเพิ่ม
ประสิทธิภาพ
ให้องค์กรที่อ่อนแอ
บริหารงานโดยไม่มีระบบ
หรือมีประสิทธิภาพต่ำ
-
ช่วยให้ต้นทุนการผลิตสินค้า
ต่ำลงส่งออกได้รับการยอมรับ
จากต่างประเทศ
-
ISO 9002 เป็นพื้นฐาน
ที่จะสร้างฐานทางระเบียบวินัย
จึงเหมาะกับคนไทย
-
ค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้ใบรับรอง
มาตรฐาน ISO น้อยกว่า
ผลประโยชน์ที่จะได้รับ
|
|
"การที่จะนำระบบมาตรฐานสากล
ISO
มาใช้นั้นทั้งสังคมจะต้องมีความเชื่อเรื่องคุณภาพ
คุณภาพและมาตรฐานเป็นสิ่งจำเป็น
ไม่อย่างนั้นไม่มีทางทำให้โลกเจริญ
ถ้าเราต้องการให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น
คุณภาพชีวิตดีขึ้น
ปัจจัยสี่ต้องพร้อม
หากปัจจัยสี่แพงเกินไปเพราะสินค้าผลิตออกมาน้อยแล้วราคาแพง
คนก็ไม่มีทางมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
ระบบ ISO 9002
เป็นระบบบริหารคุณภาพที่ช่วยให้งานไม่ซ้ำซ้อน
ลดความเสียหาย
ลดปริมาณสินค้าย้อนกลับ
ช่วยให้ต้นทุนสินค้าราคาถูกลง
และทำงานง่ายขึ้น
แต่ทั้งนี้ก็เป็นเพียงเครื่องมือขั้นพื้นฐานเท่านั้น
โดยหลักการของระบบ ISO ก็คือ
"เขียนสิ่งที่คุณทำ
ทำในสิ่งที่คุณเขียน
และพิสูจน์ให้ได้ว่าคุณได้ทำตามระบบที่เขียนไว้แล้ว"
อยู่ที่ว่าคุณเขียนระบบงานไว้ว่าอย่างไร
แล้วต้องทำอย่างที่เขียน
ตรวจสอบตามที่เขียน
องค์กรที่ฉลาด
ก็จะเขียนให้มันเป็นเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาองค์กร
เช่น ขสมก.ก็ควรเขียนว่าจะบริการประชาชนอย่างไร
ขับรถอย่างไร
รวมทั้งระยะเวลา
ในการตรวจซ่อมบำรุงรถ
ถ้าเขียนเข้มงวดเกินไป
หรือลอกของที่อื่นมา
เพียงเพราะอยากจะได้ ISO
บ้างก็จะไม่เกิดประโยชน์
และอาจเป็นผลเสียต่อองค์กรเอง
คุณก็จะได้ ISO แบบห่วย ๆ ไป
เวลาเขียนระบบถ้าคุณต้องการจ้างบริษัทที่ปรึกษาก็ได้
ถ้าไม่ต้องการคุณก็ต้องไปศึกษาเอง
และก็ต้องเข้าใจด้วยว่า
conflict of interest มีอยู่ในทุกเรื่อง
ก็ต้องดูว่าสิ่งไหนก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรมากที่สุด
อย่างเรื่องรถเมล์ไม่เปิดประตูให้ขึ้นลงตรงไฟแดง
ผู้โดยสารก็อาจว่าว่าไม่ยืดหยุ่น
แต่แบบนั้นผมคิดว่าจะช่วยลดอุบัติเหตุ
ลดการจราจรติดขัดได้
แล้วเขาก็ต้องเขียนไว้ด้วยว่า
จะเปิดประตูรถนอกป้ายต่อเมื่อ
เกิดเหตุฉุกเฉิน แต่ถ้าได้
ISO
แล้วเขายังจะไม่ยอมจอดป้ายเวลาคนโบก
ก็คงไม่มีอะไรจะเป็นหลักประกัน
เพราะนั่นคือ คนใช้ ISO ทำผิด
มาตรฐาน ISO
จึงไม่ได้หมายถึงคุณภาพของสินค้า
คุณอาจทำของออกมาห่วยอย่างสม่ำเสมอก็ได้
ISO ได้
ซึ่งคนซื้อก็ต้องดูอีกทีว่าจะซื้อหรือไม่
แต่ในบางกรณีถ้าไม่ผ่านมาตรฐาน
ISO
ลูกค้าก็อาจตัดสินใจไม่ซื้อสินค้าตั้งแต่ต้นแล้ว
เพราะไม่แน่ใจว่าล็อตนี้มาดี
ล็อตหน้าอาจไม่ดีก็ได้
ISO
เป็นเพียงระบบหรือเครื่องมือ
ซึ่งเราควรใช้ให้เป็น
สมัยก่อนผู้ผลิตสินค้าไม่จำเป็นต้องมีมาตรฐานรับรอง
ไม่ต้องมีข้อกำหนดเรื่องรูปแบบของสินค้า
ทำออกมาก็ขายไปเรื่อย ๆ
แต่ตอนหลังก็มีปัญหา
เพราะมีผู้ผลิตที่ทำงานเป็นระบบกว่า
ถูกกว่า คุณภาพดีกว่า
เร็วกว่า
ส่งสินค้าตรงเวลากว่า
แม้ว่าคุณพอใจจะเป็น SME
ไปจนตาย
พอวันหนึ่งคุณถูกบีบคุณก็ตาย
แต่ถ้าคุณคิดจะขยายตลาดสินค้า
คิดจะขายสิ้นส่วนให้เจเนอรัลมอเตอร์
โตโยต้า
เขาเรียกร้องว่าต้องมี ISO
รับรองก็จำเป็นต้องมี
แต่ไหน ๆ ทำ ISO
แล้วก็น่าจะให้ต้นทุนต่ำลงมาด้วย
โดยการทำให้มีสินค้าเสียหายลดลง
งานไม่ต้องนำกลับมาทำใหม่มาก
ต้นทุนเวลาของพนักงานก็ลดลง
มีเวลาเหลือไปพัฒนาอย่างอื่นให้มันดีขึ้น
ของบางอย่างแม้ไม่ได้ส่งขายต่างประเทศ
แต่ก็ช่วยให้มีระบบที่ดีขึ้นได้
ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียน
โรงพยาบาล
ประเทศไหนที่อุตสาหกรรมอ่อนแอ
วิศวกรไม่พอ
เครื่องจักรประสิทธิภาพต่ำ
ระบบนี้จะช่วยได้
เช่นประเทศไทยขณะนี้
วิศกรเรามีหนึ่งแสนคน
แต่ธุรกิจ SME
มีมากกว่าแสนราย
จึงไม่เพียงพอ ธุรกิจ SME
อ่อนแอฐานของประเทศก็อ่อนแอไปด้วย
ผมมองว่าถ้าองค์กรใดไม่มีระบบ
หรือมีระบบที่อ่อนแอ
แต่การบริหารงานเริ่มเป็นระบบมาตรฐาน
ประสิทธิภาพขององค์กร
จะเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก
ส่วนใครที่แข็งแรงแล้วระบบพวกนี้อาจไม่จำเป็น
หรืออาจมีระบบที่ไม่ต้องเสียเงินมากเท่านี้
แล้วถามว่าเราแข็งแรงหรือเปล่าล่ะ...
ในประเทศไทยตอนนี้
เกือบไม่มีอุตสาหกรรมไหนที่มีระบบที่ดี
ข้อสำคัญอันหนึ่ง
คือคนไทยไม่ค่อยมีระเบียบวินัย
ISO
เป็นพื้นฐานที่จะสร้างฐานทางระเบียบวินัยพอสมควร
เพราะการเขียนอย่างที่ทำ
ทำอย่างที่เขียนมันก็คือระเบียบวินัยถูกไหม
หลายหน่วยงานในประเทศไทย
ทำงานโดยการถ่ายทอดกันเป็นรุ่น
ๆ ซึ่งเกิดการผิดเพี้ยนได้
แต่ระบบ ISO
เขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
อย่างน้อยคนที่เข้ามา
จะได้รู้ว่ามีกระบวนการทำงานอย่างไรบ้าง
แต่ไม่ได้หมายความว่า
ระบบมาตรฐานที่เขียนไว้นี้
เป็นคัมภีร์ที่เปลี่ยนไม่ได้
ถ้าทำให้หน่วยงานนั้น ๆ
ดีขึ้นก็สามารถทำหนังสือแจ้งขอเปลี่ยนได้เสมอ
แต่ประเทศไทยตอนนี้เกือบจะไม่มีอุตสาหกรรมไหน
ทำ ISO แบบไดัประโยชน์
คนส่วนใหญ่ใช้ ISO
โดยคิดว่าหาคนมาช่วยทำยังไงก็ได้
เพื่อให้ได้กระดาษมาแผ่นนึง
อย่างนี้ถือว่าคนใช้ ISO ผิด
ไม่ยอมให้ ISO
เป็นสิ่งที่ดีขึ้น
และจะเสียเงินมาก
ง่าย ๆ เลยนะ
ตอนนี้ประเทศไทยส่งออกอาหารทะเลเป็นอันดับ
๑ ของโลก
และเราผลิตเปลือกกุ้งได้จำนวนมาก
เปลือกกุ้งนี้เอาไปสกัดสารเคมี
ซึ่งราคาแพงมาก เรียกว่า
ไคโตไซด์
แต่เราทำแล้วไม่ได้คุณภาพ
เนื่องจากใช้ ISO
เป็นยันต์กันผี
ใช้แค่เป็นแผ่นกระดาษ
แล้วเราเข้าใจผิดว่าในองค์กรขนาดใหญ่
ส่วนงานแต่ละส่วนต้องได้ ISO
แต่ผมขอเสนอให้ส่วนงานต่าง
ๆ ขององค์กรอยู่ภายใต้ ISO
อันเดียวกัน
ถ้าเรามีโรงงานสิบแห่ง
แล้วขอ ISO ทั้ง ๑๐ โรง
ค่าใช้จ่ายจะสูงมาก
เราสามารถทำแค่โรงแม่โรงเดียวเป็นตัวคุม
แล้วทำเสริมโรงอื่น ๆ
จะทำให้เสียเงินน้อยลง
และทำให้รู้จักทำงานเป็นทีม
มีความผูกพันธ์กันในแต่ละโรงงาน
เพราะหากโรงใดโรงหนึ่งไม่ได้ต่อ
ISO
โรงอื่นก็พลอยเจ๊งไปด้วยทั้งหมด
เราควรทำให้ระบบ ISO 9002
ได้รับการยอมรับในฐานที่ต่ำลงมา
หรือราคาถูกลง
แล้วทำประโยชน์จากมันให้ได้จริง
ระบบเหล่านี้จะเวิร์กและมีประสิทธิภาพเสมอ
แล้วก็ต้องให้มีบริษัทที่ได้
ISO มากๆ จนเป็นเรื่องปรกติ
ให้ผลิตสินค้าแข่งกัน
ถ้ามีน้อยเกินไป ISO
จะกลายเป็นของวิเศษ
อาจตกเป็นเครื่องมือ
ของการแบ่งเกรดกันเองภายในประเทศ
ค่าใช้จ่ายสำหรับใบรับรองมาตรฐาน
ISO เป็นเงิน ๒ แสนบาทต่อปี
และเสียค่าใช้จ่ายอีกจำนวนหนึ่งทุกครั้ง
ที่มีการเข้ามาตรวจ
การตรวจสอบจะมีทุก ๆ ๖
เดือน
ถ้าพบว่าไม่พร้อมตามที่ระบุก็ต้องแก้ไขให้ได้ภายในช่วงเวลาที่กำหนด
ไม่เช่นนั้นจะถูกถอนใบรับรอง
ซี่งลักษณะนี้ถือว่าดีกับองค์กร
เพราะการตรวจสอบอยู่เสมอ
จะทำให้บุคคลากรเกิดความกระตือรือร้นมากขึ้น
บริษัทที่ปรึกษาเรื่องการวางระบบทำงาน
เพื่อให้ได้มาตรฐาน ISO
ไม่ใช่ว่าต้องจ้างฝรั่งเท่านั้น
ของคนไทยที่มีคุณภาพดีก็มีบ้าง
และแนวโน้มในอนาคต
ก็น่าจะเพิ่มขึ้น
เพราะเราได้เรียนรู้
รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีมาพอสมควร
แต่ตอนนี้เราเริ่มต้น
จ้างบริษัทที่ปรึกษาของฝรั่งบ้างก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย
เพราะถ้าเสียค่าจ้างไป ๑
ล้านบาท
แล้วองค์กรนั้นทำถูกต้องตามระบบ
ที่เขียนไว้ทำให้ปรับลดค่าใช้จ่ายได้ถึง
๒
ล้านบาทก็ถือว่าได้ประโยชน์
ถ้าปรับปรุงได้ ๒
แสนบาทก็ขาดทุนไป
ประเทศไทยเราเวลามีเรื่องกับต่างประเทศ
มักร้องแรกแหกกะเฌอ
ว่าคนอื่นแกล้งแต่เราไม่เคยปรับปรุงตัวของเรา
ว่าทำยังไงจึงจะให้สู้เขาได้
คือในโลกอนาคต
มันไม่ใช่ใครแกล้งใครหรอก
เราต้องพร้อมจะสู้ในฐานที่เท่ากัน
ไม่เช่นนั้นจะเสียเปรียบ
เรื่องนี้ถ้าเรายอมให้ฝรั่งหลอกเราก็ถูกหลอก
ถ้าเราไม่ให้หลอกก็ไม่ถูกหลอก
สมมุติว่าฝรั่งมาตั้งโรงงาน
เพื่อหวังแรงงานราคาถูก
แล้วภายหลังก็ย้ายฐานการผลิตไปยังที่ใหม่
ถ้าโรงงานนั้นมีระบบ ISO
ผมว่ามีสิทธิ์ที่คนไทยจะทำได้เอง
เพราะมันรู้ว่าทำอย่างไร
ของทุกอย่างมันเป็นดาบสองคม
แล้วแต่ว่าเราจะใช้ประโยชน์ของมันจากส่วนไหน"
|