นิตยสารสารคดี Feature Magazine
นิตยสารสำหรับครอบครัว |
www.sarakadee.com ISSN 0857-1538 |
|
|
อันที่จริง ถึงไม่มีเหตุการณ์นี้ โทรศัพท์มือถือก็จัดได้ว่าเป็นสินค้าขายดีอยู่แล้ว และยังเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่แพร่หลายที่สุดนับแต่มนุษย์ประดิษฐ์อุปกรณ์สื่อสารขึ้นมา ธนาคารดอยช์ แบงก์ ของประเทศเยอรมนีรายงานว่า ภายในสองสามปีข้างหน้า จะมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วโลก ประมาณ ๑.๓ พันล้านคน และหนึ่งในสี่ของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ คือเด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี อันเป็นวัยที่สมองกำลังเจริญเติบโต และพัฒนาอย่างเต็มที่ เด็กวัยรุ่นจัดว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายการทำตลาด ของบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือทั่วโลก และในขณะเดียวกัน ดูเหมือนเป็นวัยที่อาจจะได้รับอันตรายจากโทรศัพท์มือถือมากที่สุดด้วย จากการวิจัยของ ดร. เจอราร์ด ไฮแลนด์ แห่งคณะฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยวอร์วิคก์ ประเทศอังกฤษ พบว่าในปี ๒๕๔๒ ร้อยละ ๒๕ ของเด็กระดับมัธยมในประเทศอังกฤษ ใช้โทรศัพท์มือถือ พอปีต่อมาก็เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๖๔ |
||||
ผลการวิจัยชี้ว่า
เด็กและวัยรุ่นของอังกฤษ
อาจได้รับผลกระทบต่อสมอง
อันเนื่องมาจากการใช้โทรศัพท์มือถือ
ทั้งนี้การที่เด็กมีโอกาสเสี่ยงต่อคลื่นโทรศัพท์มือถือ
ที่ผ่านเข้าไปในสมองมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะกะโหลกเด็กนั้นบางกว่าผู้ใหญ่ การดูดซับคลื่นจึงสูงกว่า ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ
มากมายตามมา
หากใช้โทรศัพท์มือถือติดต่อกันเป็นเวลานาน จากการรวบรวมรายงานของนักวิทยาศาสตร์หลายประเทศ ดร. เจอราร์ดพบว่า ผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน จะมีอาการใกล้เคียงกัน คือ ปวดหัว นอนไม่หลับ สูญเสียความจำในช่วงเวลาสั้น ๆ เลือดกำเดาไหล และผู้ใช้โทรศัพท์ที่เป็นเด็ก มีอาการเป็นโรคลมบ้าหมูมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีรายงานการศึกษาจากประเทศอื่น ๆ ด้วย เดือนมกราคมที่ผ่านมา จากการศึกษาของมหาวิทยาลัย Essen พบว่า ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ มีโอกาสเป็นเนื้องอกในม่านตาเพิ่มขึ้นสามเท่า ปี ๒๕๔๑ จากการศึกษาผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ๑๑,๐๐๐ คนในประเทศนอร์เวย์และสวีเดน พบว่าผู้ใช้โทรศัพท์มือถือติดต่อกันนานกว่า ๑ ชั่วโมง จะมีอาการร้อนที่หลังหู มากกว่าคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือติดต่อกันไม่ถึง ๒ นาทีถึง ๒๒ เท่าในสวีเดน และ ๑๖ เท่าในนอร์เวย์ เมื่อนักวิจัยในสวีเดน ทดลองส่งคลื่นโทรศัพท์มือถือให้แก่หนูทดลอง ติดต่อกันเป็นเวลา ๒ นาที ปรากฏว่าผนังกรองโลหิตสู่สมอง ที่ทำหน้าที่คอยสกัดกั้นสารที่เป็นพิษเข้าสู่สมอง มีการทำงานที่เปลี่ยนไป ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างการศึกษางานวิจัยหลายชิ้น ที่พยายามชี้ให้เห็นถึงผลกระทบ ของการใช้โทรศัพท์มือถือติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งก็มีข้อโต้แย้ง จากบริษัทผู้ผลิตมาโดยตลอดว่า งานวิจัยเหล่านี้เชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน บางบริษัทก็ปฏิเสธอย่างแข็งขัน แต่ประเด็นสำคัญที่บรรดานักวิทยาศาสตร์ พยายามจะชี้ให้เห็นก็คือ การใช้โทรศัพท์มือถือนาน ๆ อาจก่อให้เกิดผลกระทบทางสมองกับผู้ใช้ โดยเฉพาะเด็กและวัยรุ่น ที่มีกะโหลกบางกว่าผู้ใหญ่ การทะลุทะลวงของคลื่นย่อมรุนแรงกว่า คงต้องติดตามดูกันต่อไปว่า บริษัทเหล่านี้จะปรับตัวอย่างไร เพื่อไม่ให้เสียลูกค้ากลุ่มนี้ไป ในขณะที่งานวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของการใช้โทรศัพท์มือถือ เริ่มทยอยออกมาเรื่อย ๆ |
|||||
ฉบับหน้า ตามหาจีเอ็มโอ แบบไทย ๆ |
ต่อไปนี้คือวิธีใช้โทรศัพท์มือถืออย่างปลอดภัย พูดให้สั้นที่สุด น้อยที่สุด (ซึ่งสวนทางกับพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ของวัยรุ่นทั่วโลก ที่พูดโทรศัพท์ติดต่อกันนานกว่าผู้ใหญ่มาก) ระหว่างใช้โทรศัพท์พยายามให้เสาอากาศห่างจากศีรษะและมือมากที่สุด เพราะระยะเพียงครึ่งนิ้วก็ช่วยทำให้คลื่นที่เข้าไปสะสมในร่างกายลดความเข้มข้นลงไปได้มาก เมื่ออยู่ในอาคาร ควรใช้โทรศัพท์มือถือใกล้หน้าต่าง เพื่อลดความแรงของคลื่นที่ส่งจากตัวโทรศัพท์มือถือ ควรใช้โทรศัพท์มือถือ เมื่อระดับแสดงความชัดของสัญญาณ ที่ปรากฏบนเครื่องอยู่ที่ระดับที่สี่หรือห้า เพราะความแรงของคลื่นจะสูงขึ้นถึง ๑๐๐ เท่าระหว่างระดับสัญญาณที่ชัดกับไม่ชัด หลีกเลี่ยงโทรศัพท์มือถือที่มีเสาอากาศภายใน ซึ่งมีแนวโน้มว่า จะทำให้ศีรษะและมือได้รับคลื่นมากขึ้น ชุดหูฟังที่มีสายเชื่อมต่อจากโทรศัพท์มือถือ สามารถลดระดับความแรงของสัญญาณคลื่นได้ระดับหนึ่ง เลือกกันเองนะครับ ว่าจะใช้โทรศัพท์มือถือด้วยวิธีใด ตราบใดที่ผู้บริโภคอย่างเรา ยังไม่ทราบข้อมูลที่แท้จริงว่า โทรศัพท์มือถือจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้อย่างไร |
||||
|