|
|
ประชาชนชาวอินโดนีเซียวัย ๕๐
ปีขึ้นไป
ยังคงรำลึกถึงความหฤโหดของทหารอินโดนีเซีย
ในช่วงทศวรรษ ๑๙๖๐ ได้เป็นอย่างดี
กล่าวกันว่าตลอดช่วงเวลานั้น แม่น้ำลำธารเกือบทุกสายในอินโดนีเซียกลายเป็นสีเลือด เนื่องจากมีผู้คนถูกสังหารล้มตายลงเป็นจำนวนมาก
เชื่อกันว่าครั้งนั้นทหารอินโดนีเซีย
เข่นฆ่าประชาชนร่วมแผ่นดินลงร่วม ๑ ล้านคน
ในเวลานั้นนายพลซูฮาร์โต
ภายใต้การหนุนหลังของหน่วยสืบราชการลับสหรัฐอเมริกา หรือซีไอเอ ทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากนายซูการ์โน ประธานาธิบดีคนแรกของอินโดนีเซีย (บิดาของนางเมกาวาตี ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน)
และถือโอกาสทำการปราบปรามพรรคคอมมิวนิสต์แห่งอินโดนีเซีย
ซึ่งในเวลานั้นมีสมาชิกพรรคหลายล้านคน
นับว่าใหญ่เป็นอันดับสอง
รองจากพรรคคอมมิวนิสต์ประเทศจีน
สหรัฐฯ
ยอมไม่ได้ที่จะให้พรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย
ปกครองประเทศ
จึงหนุนหลังให้นายพลซูฮาร์โต
จัดการทำลายพรรคคอมมิวนิสต์ให้เหี้ยนไปจากแผ่นดินชวา
ซูฮาร์โต
และพลพรรคก็ไม่ได้ทำให้สหรัฐฯ ผิดหวัง
จัดการไล่ฆ่าพลพรรคคอมมิวนิสต์
รวมถึงประชาชนร่วมชาติล้มตายราวผักปลาไปเกือบล้านคน
แต่ดูเหมือนประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานั้น
จะไม่ค่อยมีใครอยากจำ เหตุการณ์เหล่านี้จึงได้รับการบันทึกไว้น้อยมาก จนถือเป็นช่วงเวลาดำมืดที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาวอินโดนีเซีย
แม้กระทั่งรัฐบาลสหรัฐฯ เองก็ไม่อยากจะจำ
เมื่อเร็ว ๆ นี้มีรายงานข่าวว่า ซีไอเอและกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา
ได้เรียกคืนหนังสือประวัติศาสตร์
ที่ตีพิมพ์โดยรัฐบาลเล่มหนึ่งจากห้องสมุดทั่วโลก
เนื่องด้วยหนังสือดังกล่าว
เปิดโปงเบื้องหลังเบื้องลึกของสหรัฐอเมริกา
ในการให้การสนับสนุน
การกวาดล้างคอมมิวนิสต์
ในอินโดนีเซียอย่างโหดเหี้ยม
ในช่วงทศวรรษ ๑๙๖๐ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตราว ๑ ล้านคน
หนังสือเล่มที่ว่านี้อ้างถึงเอกสารที่เก็บอยู่ใน
แผนกประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย
ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ
ที่แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลอเมริกัน
ให้การสนับสนุนทางการเงิน
แก่กลุ่มทหารที่ทำหน้าที่สังหารโหดในครั้งนั้น
และยังช่วยรวบรวมข้อมูล
รายชื่อผู้นำกลุ่มคอมมิวนิสต์
ส่งให้แก่รัฐบาลทหารซูฮาร์โตด้วย
แอนดี้ เชอร์แมน
โฆษกประจำสำนักงานการพิมพ์ของรัฐบาล
ซึ่งทำหน้าที่แจกจ่ายหนังสือดังกล่าว กล่าวว่า ความผิดพลาดที่ไม่ได้ตั้งใจได้เกิดขึ้นแล้ว และขณะนี้ก็กำลังพยายามดำเนินการเรียกคืนหนังสือเหล่านั้นกลับมา
ขณะที่ ทอม เบลนตัน หัวหน้ากองจดหมายเหตุแห่งชาติ กลุ่มงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน กล่าวกับหนังสือพิมพ์ วอชิงตันโพสต์ ว่า
"สิ่งที่พวกเขาทำตอนนี้
ก็เหมือนกับพยายามจะเอายาสีฟัน
ใส่กลับเข้าไปในหลอด"
และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
ทางกองจดหมายเหตุ
ก็ได้จัดการซื้อหนังสือประวัติศาสตร์เล่มนี้มา แล้วนำเนื้อหาไปบรรจุลงในเว็บไซต์ของตนเองชื่อ www.nsarchive.org ทันที
รวมไปถึงเอกสารที่ซีไอเอ
พยายามปกปิดอย่างเต็มที่ด้วย
เอกสารสำคัญชิ้นหนึ่งคือ เอกสารของซีไอเอ ลงวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๑๙๖๖ โดยนายมาร์แชล กรีน ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำอินโดนีเซีย มีใจความว่า
บัญชีรายชื่อของผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์แห่งอินโดนีเซีย
ซึ่งจัดทำขึ้นโดยสถานทูต ได้ถูกนำไปใช้โดยเจ้าหน้าที่ความมั่นคงของอินโดนีเซีย
เอกสารดังกล่าวเปิดเผยว่า เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๑๙๖๕ นายกรีนได้อนุมัติการจ่ายเงินอย่างลับ ๆ จำนวน ๕๐ ล้านรูเปียชให้แก่ผู้นำกลุ่มแคป-เกสตาปู กองกำลังขวาจัดที่ทำหน้าที่กวาดล้างคอมมิวนิสต์ในเกาะชวา โดยนายกรีนยังกล่าวด้วยว่า เงินจำนวนนั้นน้อยมาก แต่ก็ทำให้ภารกิจสำเร็จเกินคุ้ม ด้วยผลงานการฆ่าคนนับล้านคน
ทั้งยังทำลายพรรคคอมมิวนิสต์
ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกลงอย่างย่อยยับ
อีกไม่นานคงมีเอกสารเปิดเผยออกมาเรื่อย ๆ ว่า
ซีไอเอได้ทำการหว่านเงินจำนวนน้อยนิดเช่นนี้
เพื่อภารกิจในการทำลายล้างคนทั่วโลก
ที่ขัดผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาไว้ที่ไหนกันบ้าง |
|