นิตยสารสารคดี Feature Magazine
นิตยสารสำหรับครอบครัว |
www.sarakadee.com ISSN 0857-1538 |
|
|
|
|||||
ปีนี้สำนักข่าวรอยเตอร์มีอายุ ๑๕๐ ปี
กำลังขับเคลื่อนเครือข่ายสำนักข่าวใหญ่ที่สุดในโลกใน ๑๖๐ ประเทศ พร้อมกองทัพผู้สื่อข่าวมากกว่า ๒,๕๐๐ คน ประจำสำนักงานใน ๑๙๐ เมือง รายงานข่าวเป็นภาษาต่าง ๆ ๒๓ ภาษา ในตำราวิชาการสื่อสารเมื่อ ๒๐ ปีก่อน จัดให้รอยเตอร์เป็นหนึ่งในสำนักข่าวต่างประเทศ "ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสี่" หรือ Big Four ซึ่งประกอบด้วย เอพี (Associated Press) ยูพีไอ (United Press International) แห่งสหรัฐอเมริกา เอเอฟพี (Agence France Presse) แห่งฝรั่งเศส และ รอยเตอร์ (Reuters) แห่งสหราชอาณาจักร |
||||||
สำนักข่าวแห่งนี้สร้างและสั่งสมชื่อเสียง
ในการให้บริการข้อมูลข่าวสารด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นกลาง จนเป็นที่เชื่อถือของคนทั่วโลก
บรรทัดฐานดังกล่าว
ยังเป็นพื้นฐานวิชาชีพหนังสือพิมพ์ตะวันตก
ที่แพร่หลายจนกลายเป็นสากล ในฐานะที่เป็นผู้ทรงอิทธิพลด้านการข่าว รอยเตอร์จึงเป็นผู้กำหนดทิศทาง และหัวข้อข่าว กรอบการมอง และเนื้อหาข่าวให้แก่โลก นั่นคือเป็นผู้เลือกและไม่เลือก ว่าเหตุการณ์ใดควรเป็น หรือไม่ควรเป็นข่าวด้วย ความหมายการครบรอบ ๑๕๐ ปีของรอยเตอร์ จึงไม่ได้เป็นเพียงการเฉลิมฉลองขององค์กรเท่านั้น แต่ได้แสดงให้คนทั้งโลกเห็นถึงพลังยิ่งใหญ่ ของข้อมูลข่าวสาร - สิ่งที่พลเมืองโลกต้องการ และยอมจ่ายเงินเพื่อบริโภค และความสำคัญขององค์กรจัดหาข่าวอย่างรอยเตอร์ จูเลียส รอยเตอร์ ผู้ก่อตั้งกิจการเป็นดังพ่อมดผู้ล่วงรู้ และซาบซึ้งเรื่องนี้ดี เขายังอาจรู้ด้วยว่าวัตถุดิบ เช่น รายงานข่าวสงคราม สถิติและตัวเลขขึ้นลงของตลาดการค้าและตลาดหุ้น ข่าวภัยธรรมชาติ และเรื่องราวทั้งดีและร้ายของคนสำคัญมาก และสำคัญน้อย ที่สำนักข่าวของเขารายงานแก่โลกตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๙๔ เป็นต้นมานั้น เป็นทั้งตัวประวัติศาสตร์เอง และเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดประวัติศาสตร์ เนื่องจากในแต่ละวัน การตัดสินใจสำคัญ ๆ เกี่ยวกับการเมือง การต่างประเทศ เศรษฐกิจ และธุรกิจนับร้อยนับพัน ล้วนเกิดขึ้นบนพื้นฐานข้อมูลข่าวสารทั้งหลายเหล่านั้น พูดได้ว่า โลกที่เราเห็นและที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ สำนักข่าวรอยเตอร์มีส่วนในการปั้นมันขึ้นมา |
||||||
เรื่องของรอยเตอร์ถึงรอยเตอร์จะเป็นสำนักข่าวแห่งประเทศอังกฤษ แต่ พอล จูเลียส รอยเตอร์ (Paul Julius Reuter) ผู้ก่อตั้งกลับไม่ใช่คนอังกฤษแท้ แถมยังเป็นคนที่ ชาร์ลส์ ดิกเกนส์ เอาไปพูดล้อเลียนในวงสนทนา เป็นคนที่ คาร์ล มาร์กซ์ ไม่ค่อยชอบ เป็นคนที่ได้รับบรรดาศักดิ์บารอนจากควีนวิกตอเรีย และเป็นคนที่ฮอลลีวูดนำชีวิตไปสร้างเป็นหนัง |
||||||
- ๑ -
๑๘๕ ปีก่อน รอยเตอร์เกิดมาในประเทศเยอรมนีด้วยชื่อ อิสราเอล เบะเอล โจเชอฟาท (Israel Beer Josaphat) บอกความเป็นเชื้อชาติยิวชัดเจน พออายุ ๓๐ ปี เขาเดินทางมาอังกฤษด้วยชื่อ จูเลียส โจเชอฟาต (Julius Josaphat) ระบุอาชีพพ่อค้าในพาสปอร์ต ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นพอล จูเลียส รอยเตอร์ และเปลี่ยนศาสนาจากยูดายเป็นคริสต์ |
||||||
ปีรุ่งขึ้น รอยเตอร์ย้ายกลับมาเปิดกิจการโทรเลขในลอนดอน และในปีนั้นเอง ที่ลอนดอนจัด "นิทรรศการครั้งยิ่งใหญ่" (The Great Exhibition)
หรืองานแสดงความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม
และเทคโนโลยี ผู้แสดงงานจำนวน ๑๔,๐๐๐ เจ้า นำของ ๑ แสนอย่าง มาจัดให้คนเป็นล้าน ๆ ได้ชมภายในคริสตัลพาเลซ อาคารกระจกทรงโค้งขนาดมหึมา ณ สวนสาธารณะไฮด์ปาร์ก รอยเตอร์รู้ได้ทันทีว่า เขาตัดสินใจถูกแล้วที่กลับมาลอนดอน เพราะที่นี่เอง ที่เป็นศูนย์กลางการค้าของโลก พ.ศ. ๒๓๙๔ รอยเตอร์เปิดสำนักงานขนาดสองห้อง โดยมีเด็กรับใช้อายุ ๑๑ ปี เป็นผู้ช่วย สำนักงานรอยเตอร์บริการส่งข่าวราคาตลาดหุ้น และราคาสินค้าจากแผ่นดินยุโรป พร้อมประกาศว่า สำนักงานของเขาส่งข่าวราคาตลาดหุ้นได้เร็วที่สุด และเก็บข้อมูลราคาสินค้าทั่วโลก ได้กว้างขวางที่สุด ด้วยเทคโนโลยีที่รอยเตอร์เชี่ยวชาญที่สุด นั่นคือ เครือข่ายโทรเลข นักข่าวชาวเบลเยียมคนหนึ่ง เคยสรรเสริญไว้ว่า เขาสามารถทำให้เสาโทรเลข เป็นแหล่งสร้างความร่ำรวยอย่างมหาศาลให้ นั่นเป็นจริงที่สุด |
||||||
รอยเตอร์รู้จักอำนาจของข้อมูลข่าวสารดี รู้ว่าค่าของข่าวอยู่ที่ความเร็ว และความเร็วที่สุดก็หาได้จากเทคโนโลยี
รอยเตอร์จึงเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีล้ำยุค
อันเกี่ยวกับความเร็วได้คุ้มค่าที่สุดคนหนึ่ง รอยเตอร์จึงมักเป็นผู้รายงานเหตุการณ์สำคัญ ทั้งที่น่าตระหนก และน่าชื่นชมให้ชาวโลกได้รับรู้ก่อนใคร ไม่ว่าจะเป็นการลอบสังหารประธานาธิบดีลินคอล์น การเสียชีวิตของมหาตมะ คานธี หรือการพิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ อันที่จริง รอยเตอร์เคยกังวลว่า เขาไม่สามารถทำให้ตัวเองดูน่าเชื่อถือได้นักในหมู่คนอังกฤษ ความที่รูปร่างหน้าตา และสำเนียงภาษาของเขาส่อว่า เขาไม่ได้เป็นผู้ดีอังกฤษของแท้ แถมอาชีพนักข่าวก็เพิ่งเกิดขึ้น คำว่า Journalism ก็เพิ่งถูกยืมมาจากฝรั่งเศสหมาด ๆ แม้แต่นักข่าวจากหนังสือพิมพ์ใหญ่ ๆ ยังถูกกังขา อย่างไรก็ตาม ความกระตือรือร้นในการหาช่องทางใหม่ ๆ ในการส่งข่าวและความคงเส้นคงวาของเขา ก็ทำให้คนอังกฤษและยุโรปไว้เนื้อเชื่อใจ ๒๐ ปีหลังย้ายมาอยู่ลอนดอน เขาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น "บารอน" จากควีนวิกตอเรีย |
||||||
- ๒ -
คาร์ล มาร์กซ์ นินทาเรื่องนี้กับเอเกิลว่า
การได้รับบรรดาศักดิ์บารอนของรอยเตอร์
เป็นเรื่องการเมือง |
||||||
ในขณะที่รอยเตอร์เชี่ยวชาญการโทรเลข
และการตัดสินใจทางธุรกิจ เองเลนเดอร์ผู้ไม่ถนัดเรื่องเหล่านั้นเลย กลับชำนาญข่าวรายวัน เป็นได้ทั้งบรรณาธิการคนแรกของสำนักข่าวรอยเตอร์
ผู้สื่อข่าวและนักเจรจาต่อรอง
พร้อมกันในคนเดียว ชาร์ลส์ ดิกเกนส์ นักเขียนคนดังร่วมยุคสนใจรอยเตอร์ และมีแก่ใจจะพูดล้อเลียนเขาในงานเลี้ยงมื้อค่ำ ในสมาคมแห่งหนึ่งว่า ตอนกลางคืนรอยเตอร์คงนอนอยู่ข้าง ๆ เมีย พร้อมกับแบตเตอรี่ไฟฟ้าใต้หมอน สายโทรเลขที่หัวเตียง และกระดิ่งไฟฟ้าเสียบอยู่ในหูทั้งสองข้าง คอยรับส่งข่าว แต่ถึงอย่างไร นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ก็ยังเรียกรอยเตอร์ว่า "รอยเตอร์ผู้ยิ่งใหญ่" นอกจากนั้น นิตยสารชั้นแนวหน้าของอังกฤษอย่าง พันช์ และ วานิตี แฟร์ ก็เขียนถึงคนดังอย่างรอยเตอร์ด้วย รอยเตอร์เกษียณตัวเองจากงานเมื่ออายุ ๖๒ ปี และให้ลูกชายสืบทอดกิจการแทน ๓๗ ปีต่อมา ลูกชายฆ่าตัวตาย เป็นอันสิ้นสุดการบริหารงานตามสายโลหิต ชีวิตของรอยเตอร์ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์โดยฮอลลีวูด This Man Reuter ออกฉายในประเทศอังกฤษ ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ นำแสดงโดย เอ็ดเวิร์ด โรบินสัน นักวิจารณ์บอกว่าหนังห่วยแตก แต่ วอร์เนอร์ บราเดอร์ ผู้สร้างไม่สนใจ |
||||||
เรื่องของสำนักข่าวรอยเตอร์
ใน "คู่มือสำหรับนักข่าวรอยเตอร์" (REUTERS Handbook for Journalists) เขียนโดย เอียน แม็กโดวอลล์ (Ian MacDowall) หัวหน้าบรรณาธิการข่าวคนหนึ่งของสำนักข่าวรอยเตอร์ กล่าวว่า ชื่อเสียงของสำนักข่าวรอยเตอร์ตั้งอยู่บนความถูกต้อง ความรวดเร็ว และความเชื่อถือได้ เขาย้ำว่า "ผู้อ่านไม่ควรต้องสงสัยว่า รอยเตอร์ (และสำนักข่าวอื่น ๆ) รู้ได้อย่างไรว่าเรื่องนี้เป็นจริง" |
||||||
- ๑ -
รอยเตอร์เติบโตมั่นคงคู่ไปกับจักรวรรดินิยมอังกฤษ จนมีคนบอกว่า
ข่าวของรอยเตอร์
คือมุมมองของอังกฤษที่มีต่อโลก แม้ครึ่งศตวรรษที่แล้ว
ระบบอาณานิคมจะล้มเลิก
และจักรวรรดิอังกฤษจะสูญไป
แต่สำนักงานของรอยเตอร์
ก็ยังตั้งอยู่ในอดีตเมืองอาณานิคมเหล่านั้น
และเจริญงอกงามไปเรื่อย ๆ |
||||||
หลักกิโลแรกทางเทคโนโลยีของรอยเตอร์
คือ โทรเลขและนกพิราบ และหลักกิโลต่อ ๆ
มาของประวัติศาสตร์รอยเตอร์
ก็เกาะติดกับประวัติศาสตร์ของเทคโนโลยีด้านสื่อ
และโทรคมนาคมอยู่ตลอดมา ปัจจุบันรอยเตอร์ใช้การสื่อสาร ผ่านเทคโนโลยีนำสมัยมากกว่า ๓๐ อย่าง ก่อตั้งบริษัทอินเทอร์เน็ต และประกาศว่าจะสร้าง Reuters.Net ที่จะเป็นชุมทางของตลาดการเงินโลก ร่วมกับไมโครซอฟต์ และบริษัทการเงินชั้นนำอีก ๒๕ บริษัท ทั้งนี้ทั้งนั้น รอยเตอร์ไม่เคยทอดทิ้งเทคโนโลยีรุ่นโบราณ อย่างโทรเลขเลย เหตุผลสำคัญอีกข้อที่ทำให้รอยเตอร์มั่นคงตลอดมา คือบุคลากร การรับคนมีการศึกษาสูงเข้ามาทำงาน และฝึกฝนคนเหล่านั้นให้มีมาตรฐานสูงยิ่งขึ้นไปอีก คือนโยบายของรอยเตอร์ มูลนิธิรอยเตอร์ (Reuters Foundation) องค์กรฝึกฝนนักข่าว ก็คือรูปธรรมส่วนหนึ่งของนโยบายดังกล่าว นักเขียนคนดังมากมายที่ไม่ได้ดังในตลาดหนังสือเมืองไทยอย่าง จอห์น บะคาน เฟรดเดอริก ฟอร์ซิท ล้วนเคยทำงานกับรอยเตอร์มาก่อน เช่นเดียวกับนักเขียนที่เราและคนทั่วโลกรู้จักกันดีอย่าง เอียน เฟลมมิง ผู้เขียนหนังสือชุด เจมส์ บอนด์ ก็ให้เครดิตแก่รอยเตอร์ว่า "เป็นเพราะรอยเตอร์ทำให้ผมฝึกฝนการเขียนเร็ว และเหนือสิ่งอื่นใดคือเรื่องความถูกต้อง เพราะที่รอยเตอร์ ถ้าคุณไม่ถูกต้องแม่นยำ คุณถูกไล่ออก" |
||||||
- ๒-
สถานีโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ชั้นนำในบ้านเรา ล้วนเป็นลูกค้าของรอยเตอร์ |
||||||
๑๕๐ ปีแห่งการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารของรอยเตอร์
๒๓๙๓ - พอล จูเลียส รอยเตอร์
เป็นคนแรกที่ใช้โทรเลขในการรับส่งราคาหุ้น
และข่าวสารโดยเฉพาะให้แก่หนังสือพิมพ์
และบริษัทการเงินในยุโรปตะวันตก
และใช้นกพิราบส่งข่าว
ในที่ที่ไม่มีเครือข่ายโทรเลข |
||||||
๒๕๑๓ - รอยเตอร์เริ่มใช้ "Videomaster" แสดงราคาหุ้นและราคาสินค้าทางจอภาพ ๒๕๑๖ - บริการ "The Reuter Monitor Money Rates Service" ของรอยเตอร์เสนอะบบการค้าเงิน ผ่านจอภาพให้ตลาดโลก นอกเหนือจากค้าผ่านทางโทรศัพท์และเทเลกซ์ พร้อมกันนั้นสำนักงานรอยเตอร์แห่งนิวยอร์ก ได้เริ่มใช้ระบบการตัดต่อวิดีโอเป็นครั้งแรก นักข่าวได้ใช้ VDU (video display unit - จอภาพ) แทนเครื่องพิมพ์ดีดเพื่อเขียนและส่งข่าว ๒๕๒๔ - "The Reuter Moniter Dealing Service" เปิดให้บริการทำให้ผู้ค้าเงินตราต่างประเทศ ได้สรุปข้อมูลการค้าผ่านชุมทางวิดีโอเป็นเจ้าแรกของโลก บริการนี้ย่นเวลาสื่อสารจาก ๔๐ วินาที ให้เหลือ ๒ วินาที ๒๕๒๙ - รอยเตอร์เข้าถือสิทธิ์ "Instinet" - บริษัทอิเล็กทรอนิกส์โบรกเกอร์ที่ใหญ่ที่สุด ช่วยให้ลูกค้าค้นราคาที่ดีที่สุด ด้วยวิธีที่ง่าย และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ๒๕๓๐ - ให้บริการ "Reuters Equities 2000" ทาง IDN ซึ่งเป็นศูนย์รวมภาพข่าว มีระบบตัดต่อภาพอิเล็กทรอนิกส์ และจอภาพขนาดกระเป๋าพกพาได้เพื่อให้บริการข้อมูลการเงิน ทั้งยังเป็นบริษัทแรกที่ใช้ดาวเทียม INTELSAT ส่งข่าว ภาพ และราคาตลาด ในช่วงนี้รอยเตอร์เริ่มใช้ "ระบบเปิด" ทำให้ลูกค้าไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะ เพื่อรับข้อมูลข่าวสาร ๒๕๓๕ - เริ่มใช้ Dealing 2000-2 บริการการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศผ่านระบบคอมพิวเตอร์ และ GLOBEX ระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับอนาคต ๒๕๓๗ - รอยเตอร์เข้าถือสิทธิ์ TIBCO ซึ่งกลายเป็นผู้นำด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับอินเทอร์เน็ต และเริ่มให้บริการธุรกิจแบบอินเตอร์แอ็กทีฟ ๒๕๓๘ - ตั้ง Reuters Greenhouse Fund เพื่อลงทุนให้รอยเตอร์เข้าถึงเทคโนโลยีไฮเทคได้ก่อนใคร |
||||||
๒๕๓๙ - เปิดให้บริการ Reuters 3000 คลังข้อมูลการเงิน และเปิดเว็บไซต์ Reuters.com ๒๕๔๑ - Reuter Mobile ให้บริการการเข้าถึงข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต PccketReuters เพจเจอร์ให้ข้อมูลการเงินตลอด ๒๔ ชั่วโมง และ Newsbreaker ชุดข่าวมัลติมีเดียแรกของโลก พร้อมกันนั้นช่างภาพกีฬาของรอยเตอร์ ก็ได้ใช้เทคโนโลยีใหม่ในการส่งข่าวถึงโต๊ะข่าวในสำนักงาน ได้ในเวลา ๕ นาที ๒๕๔๒ - ให้บริการ Rerters 3000 xtra service พัฒนาการล่าสุดของเทคโนโลยีเดสก์ทอป และอินเทอร์เน็ต ตั้งบริษัท Reuters Inform ให้บริการข้อมูลอีคอมเมิร์ชผ่านอินเทอร์เน็ต และ Reuters Online Report PLUS บริการข่าวรายวันและวิดีโอ ๒๕๔๓ - ตั้งบริษัท Multex Investor Europe และ Sila Communications เพื่อความเป็นผู้นำเทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ต ๒๕๔๔ - ประกาศการพัฒนา Reuters.Net ชุมทางตลาดการเงินโลก ร่วมกับไมโครซอฟต์และบริษัทการเงินชั้นนำ ๒๕ บริษัท |
||||||
หนังสือประกอบการเขียน
๑. การสื่อสารมวลชนโลก (๒๕๔๒), ดรุณี หิรัญรักษ์, โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ. |