สารคดี ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๑๒ เดือน ตุลาคม ๒๕๔๕
สารคดี ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๑๒ เดือน ตุลาคม ๒๕๔๕ "การเดินทางของก้อนหิน"
นิตยสารสารคดี Feature Magazine ISSN 0857-1538
  ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๑๒ เดือน ตุลาคม ๒๕๔๕  

เมื่อกรมป่าไม้เปิดทางให้เอกชน
บริหารบ้านพักและกิจกรรมการท่องเที่ยวในอุทยานฯ

เมื่อกรมป่าไม้เปิดทางให้เอกชน บริหารบ้านพักและกิจกรรมการท่องเที่ยวในอุทยานฯ
(ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณ คลิกที่นี่)
เกษร สิทธิหนิ้ว : รายงาน / บันสิทธิ์ บุณยะรัตเวช : ถ่ายภาพ
      นอกจากงบประมาณหลายร้อยล้านบาทที่กรมป่าไม้ทุ่มให้แก่แผนงานส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวแล้ว โครงการนำร่องให้เอกชนบริหารบ้านพักอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ก็เป็นอีกหนึ่งรูปธรรมที่ยืนยันว่า กรมป่าไม้กำลังเตรียมพัฒนาอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ เพื่อรองรับธุรกิจท่องเที่ยว--สินค้าตัวใหม่ ที่คาดว่าจะนำรายได้เข้าประเทศได้จำนวนมหาศาล
      "คอมเพล็กซ์ธรรมชาติ" คือชื่ออันทันสมัย อธิบายง่าย ๆ ว่าคือการจัดการอุทยานให้มีองค์ประกอบครบถ้วนทั้งในด้านสิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก มีกิจกรรมการท่องเที่ยวเต็มรูปแบบเท่าที่พื้นที่นั้น ๆ จะมีศักยภาพ มีการจัดการระบบคมนาคมให้เข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ที่สำคัญที่สุดคือเน้นคุณภาพด้านการบริการและดำเนินการโดยมืออาชีพที่มีประสบการณ์และความชำนาญเท่านั้น
      นายวิชิต วัฒนโกสัย เปิดเผยในขณะยังปฏิบัติราชการทำหน้าที่ผู้อำนวยการส่วนอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาว่า กรมป่าไม้มีแผนพัฒนาอุทยานแห่งชาติครั้งใหญ่ นอกจากเน้นเรื่องการป้องกันไม่ให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าและการพัฒนาด้านวิชาการแล้ว แผนงานที่สำคัญก็คือการพัฒนาอุทยานฯ เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยการจัดสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ปรับปรุงบ้านพักและระบบสุขาภิบาลให้ได้มาตรฐาน
      "ต่อไปจะไม่เห็นห้องน้ำสกปรกแบบเดิม ๆ อีก" นายวิชิตกล่าว
      กรมป่าไม้วางแผนดำเนินการต่อเนื่องคือ การพัฒนาบ้านพัก และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในปี ๒๕๔๕ ได้รับงบกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวน ๓๓๕ ล้านบาท สำหรับพัฒนาอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่, อุทยานแห่งชาติเอราวัณ, อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน, อุทยานแห่งชาติเขาสก, อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง, อุทยานแห่งชาติหาดวนกร, อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด, หาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี (หลายแห่งได้รับการพัฒนามาบ้างแล้วแต่ได้รับงบเพิ่มในปีนี้) ส่วนแผนในปี ๒๕๔๖ จะพัฒนาต่อเนื่องในอีกเก้าพื้นที่ ใช้งบประมาณ ๑๔๕ ล้านบาท รวมเม็ดเงินที่ใช้ดำเนินการทั้งหมด ๔๘๐ ล้านบาท (กรุงเทพธุรกิจ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๕)
      สิ่งที่น่าจับตาเป็นอย่างยิ่งก็คือ แผนงานที่จะเปิดทางให้เอกชนเข้ามาร่วมบริหารบ้านพักของกรมป่าไม้ในอุทยานฯ ในแผนงานมีแนวทางจะเปิดให้เอกชนเข้ามาบริหารในสามระยะคือ ระยะที่ ๑ ให้เอกชนเข้ามาบริหารในส่วนบ้านพักและร้านค้า ระยะที่ ๒ ให้เอกชนเข้ามาดำเนินกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว และระยะที่ ๓ ให้เอกชนเข้ามาลงทุนด้านการก่อสร้าง ดำเนินการ และกำกับดูแล ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการกำหนดมาตรฐานและเงื่อนไขของเอกชนที่สนใจ
      "เรากำลังลองทำที่เขาใหญ่เพื่อดูว่าจะเปิดให้ที่อื่นได้ไหม" นายปลอดประสพ สุรัสวดี อธิบดีกรมป่าไม้กล่าว
      เมื่อปลายปี ๒๕๔๒ กรมป่าไม้จัดทำแผนพัฒนาพื้นที่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอันจะนำรายได้เข้าสู่ประเทศ โดยรัฐบาลเป็นผู้จัดหาแหล่งเงินกู้ยืมและจัดสรรงบประมาณจากรัฐมาให้
      "แผนพัฒนาพื้นที่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว" ถูกแปรมาเป็น การขยายถนนสายปากช่อง-ปราจีนบุรี (๒๐๙๐) ที่ผ่ากลางเขาใหญ่ให้กว้างขึ้น บริเวณจุดชมวิวและชมสัตว์ป่าได้รับการพัฒนาให้สวยงามขึ้น อาคารบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติที่ประกอบด้วยร้านค้าสวัสดิการ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว สำนักงานอุทยาน ถูกรื้อถอนและปรับพื้นที่ โดยมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวที่ครบครันและทันสมัยมาแทน ฝั่งตรงข้ามที่ทำการอุทยานแห่งชาติเดิม เป็นที่ตั้งร้านอาหารที่มีบริการนวดตัวและจำหน่ายของที่ระลึกพร้อมสรรพในตัว
      บริเวณมอสิงโตซึ่งเดิมเป็นหอส่องสัตว์ มอสิงโตที่นักท่องเที่ยวนิยมมาส่องสัตว์เนื่องจากเป็นแหล่งพบเห็นสัตว์ป่าได้ง่าย ถูกเปิดพื้นที่เพื่อก่อสร้างที่ทำการอุทยานแห่งชาติแห่งใหม่ จากที่ทำการอุทยานแห่งชาตินี้ เลยลงไปด้านหลังซึ่งเคยเป็นที่ตั้งค่ายเยาวชน ขณะนี้มีศูนย์ฝึกอบรมแห่งใหม่มาแทนที่ ประกอบด้วยอาคารฝึกอบรม อาคารที่พัก ระบบสาธารณูปโภคครบครัน รองรับผู้เข้ารับการอบรมได้มากถึง ๒๐๐ คน และให้ชื่ออาคารนี้ว่า "สุรัสวดี" ตามชื่อสกุลของอธิบดีกรมป่าไม้คนปัจจุบัน
      นอกจากนี้ยังมีสิ่งก่อสร้างใหม่ ๆ อีกเช่น แคมป์ลำตะคองบริเวณผากล้วยไม้ ที่ประกอบไปด้วยลานกางเต็นท์ ห้องน้ำ ร้านอาหาร ลานกิจกรรม และเวทีกิจกรรมกลางแจ้ง ล่าสุดมีโครงการจัดทำเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติเป็นเรื่อง ๆ เช่น เส้นทางเดินศึกษากล้วยไม้ เส้นทางเดินศึกษาเฟิน เป็นต้น
      "การพัฒนาด้านสิ่งสร้างเสร็จไปแล้ว แต่การจัดการยังบริหารโดยเจ้าหน้าของกรมป่าไม้อยู่ ขณะนี้กำลังมองหาว่าจะจ้างใครมาทดลองบริหารดี ถ้าประเมินแล้วพบว่ามันดีจริง จึงจะขยายไปยังอุทยานฯ อื่น ๆ" อธิบดีกรมป่าไม้กล่าว
      สิ่งที่เกิดขึ้นกับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และอุทยานฯ โครงการนำร่องเหล่านี้ เป็นเพียงตุ๊กตาที่ "ทดลอง" ทำขึ้นมาก่อนจะ "เอาจริง" กับที่อื่น ๆ ในระยะ ๕ ปี กรมป่าไม้มีการวางแนวทางพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวไว้สามรูปแบบคือ 
      ๑. การพัฒนาเต็มรูปแบบ ครอบคลุมทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน การบริการที่พักแรม การ
      บริการการท่องเที่ยวและนันทนาการ สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ทั้งแบบไปกลับและแบบพักค้างคืน โดยเฉพาะแบบพักค้างคืนสามารถรับได้ไม่ต่ำกว่า ๑๕๐ คน
      ๒. การพัฒนากึ่งเต็มรูปแบบ มีลักษณะคล้ายแบบที่ ๑ แต่ลดขนาดการรองรับนักท่องเที่ยวเหลือไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ คน
      ๓. การพัฒนารองรับการบริการพื้นฐาน มีลักษณะคล้ายกันแต่สามารถบริการนักท่องเที่ยวเฉพาะแบบไปกลับเท่านั้น
      แม้ว่าบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรงหลีกเลี่ยงที่จะพูดคุย "อย่างเป็นทางการ" ถึง "แผน" ที่คาดว่าจะออกมาเป็นระเบียบชัดเจนในอีกไม่กี่เดือนนี้ ด้วยเหตุผลว่ายังไม่มีระเบียบชัดเจนจึงไม่สามารถพูดได้ / ต้องรอดูโครงสร้างองค์กรหลังปฏิรูประบบราชการก่อน / เป็นเรื่องของนโยบายต้องให้ท่านอธิบดีพูดเท่านั้น ฯลฯ และตบท้ายเอาไว้ว่า "รอให้มีแผนออกมาให้แน่นอนก่อนแล้วค่อยมาพูดกัน"
      แต่เราจะไม่พูดถึงและตรวจสอบจนกว่าจะถึงวันที่ "ทุกอย่างกำหนดเอาไว้หมดแล้ว" ได้หรือ ?

ร่วมแสดงความคิดเห็น สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
คลิกที่นี่


ปลอดประสพ สุรัสวดี  อธิบดีกรมป่าไม้ปลอดประสพ สุรัสวดี
อธิบดีกรมป่าไม้

      "อุทยานแห่งชาติในประเทศที่พัฒนาแล้วมีไว้ทั้งเพื่ออนุรักษ์และนันทนาการ อุทยานแห่งชาติของเมืองไทยก็เช่นกัน กรมป่าไม้มีนโยบายที่จะพัฒนาอุทยานฯ เพื่อรองรับการท่องเที่ยว ทั้งนี้ก็เพื่อให้คนไทยได้เห็นความสวยงามตามสภาพธรรมชาติอย่างแท้จริง เมื่อได้เห็นได้รู้ก็จะเกิดความรักความหวงแหน ผมไม่เห็นว่ามันจะผิดอะไรเลย
      "โครงการนำร่องที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ขณะนี้ได้ทำในส่วนการก่อสร้างอาคารบ้านพัก สิ่งอำนวยความสะดวกเรียบร้อยแล้ว และเปิดให้บริการแต่ยังบริหารโดยกรมป่าไม้อยู่ ก็ได้เงินทุกวัน ทุกคนก็ชอบ แต่เรากำลังตั้งคำถามว่าถ้าคนอื่นทำจะดีกว่าเราไหม หน้าที่ของเราไม่ควรจะไปเสิร์ฟน้ำ ปูผ้าปูที่นอน หรือคอยปลุกนักท่องเที่ยวตอนเช้า ขณะนี้เรากำลังจะทดลองให้เอกชนเข้ามาบริหารจัดการบางจุดในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยเราเพียงแต่จ้างให้เอกชนเข้ามาบริหารแทนกรมป่าไม้เท่านั้น เพื่อจะดูว่าเป็นอย่างไร จะเกิดผลดีกับเราไหม เรากำลังคิดจะจ้างโรงแรมแถว ๆ นั้นมาบริหาร เอาบุคลากรของเขามาทั้งทีมเลย แต่ไม่ใช่การให้สัมปทาน เราจ้างเขาเพียงบางจุดเท่านั้น แล้วมาดูว่านักท่องเที่ยวจะพึงพอใจมากกว่าที่บริหารโดยกรมป่าไม้ไหม อาหารจะอร่อยกว่าไหม สะอาดกว่าเก่าไหม เห็นบ่นกันนักว่าเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้พูดจาไม่ดี กระโชกโฮกฮาก หน้าตาก็ไม่หล่อ ขอน้ำกินก็เสิร์ฟช้า แต่ขณะนี้ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะให้ใครมาบริหาร เพราะยังหาเอกชนที่ถูกใจไม่ได้ วงเงินเท่าไรก็ยังไม่รู้ 
      "แม้ว่าจะมีที่พักของเอกชนอยู่นอกอุทยานฯ เขาใหญ่ แต่ที่พักของเราอยู่บนเขาใหญ่ยังไงก็ดีกว่า สวยกว่ามาก มีอยู่ห้องหนึ่งจอมพลสฤษดิ์เคยมาพัก เราซ่อมแซมปรับปรุงอย่างดีราคาคืนละ ๑ หมื่นบาท ไม่ได้ดีเด่ ไม่ได้สวยอะไร แต่มันมีประวัติศาสตร์เท่านั้นเอง ใครอยากนอนก็มานอน ไม่อยากนอนก็ไม่ต้องนอน ไม่ต้องมาบ่นว่าแพง อุทยานฯ ไม่ใช่มีแค่ต้นไม้ หรือแค่สัตว์ป่าเท่านั้น แต่มันมีประวัติศาสตร์ มีวัฒนธรรมประเพณีด้วย
      "บางคนบอกว่าทำไมไปทำใหญ่โต แต่คุณเห็นสภาพปัจจุบันกับสมัยก่อนไหม ก่อนหน้านั้นที่เป็นศูนย์ฝึกเยาวชน ลูกหลานพวกคุณไปนอน ถูกงูกัด ถูกตะขาบกัด เราจึงปรับปรุงใหม่ สร้างใหม่ในที่เดิมนั่นแหละ ให้มันดีกว่าเดิม เป็นเตียงสองชั้น ไม่ได้หรูหราอะไร ทุกวันนี้ที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีเยาวชนมาต่อคิวยาวเหยียดขอใช้สถานที่ไม่เคยว่างเว้น เพราะที่นี่มีความพร้อม น่าไปเที่ยว เหมาะสมที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
      "ถ้าเราประเมินแล้วพบว่าดี เราก็จะขยายไปที่อื่นอีก เจ้าหน้าที่ป่าไม้จะได้ไปทำงานอื่น ไปดูแลรักษาป่าไม้และสัตว์ป่า ดูแลความปลอดภัยของประชาชน ไม่ใช่มาเสิร์ฟน้ำ เสิร์ฟอาหาร หรือคอยปูผ้าปูที่นอน 
      "เรื่องการพัฒนาอุทยานแห่งชาติเพื่อรองรับการท่องเที่ยว โดยแบ่งเป็นระดับท้องถิ่นหรือระดับประเทศ จะให้ใครมาทำอะไรยังไง ก็แล้วแต่ท่านผู้อำนวยการอภิวัฒน์ ผมเป็นแค่คนกำหนดนโยบาย ท่านผู้อำนวยการอภิวัฒน์จะวางแผนอะไรยังไงผมไม่ทราบ ท่านก็อาจจะแบ่งเป็นหลายระดับ มีการบริหารจัดการหลายรูปแบบถ้าท่านเห็นว่าเป็นประโยชน์"

อภิวัฒน์ เศรษฐรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้อภิวัฒน์ เศรษฐรักษ์
ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้
สุรเชษฎ์ เชษฐมาส  คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สุรเชษฎ์ เชษฐมาส
คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

ส นั บ ส นุ น

คั ด ค้ า น

"การพัฒนาอุทยานแห่งชาติ ได้กำหนดแนวทางไว้สามระดับ ระดับแรกคือ การพัฒนาเพื่อรองรับคนท้องถิ่น ระดับที่ ๒ คือ การพัฒนาเพื่อรองรับคนทั้งประเทศ และระดับที่ ๓ พัฒนาเพื่อคนไทยทั่วประเทศ และชาวต่างชาติด้วย นี่คือสามระดับที่กรมป่าไม้ทำ...

"เป้าหมายหลักของการจัดการอุทยานฯ คือการคุ้มครองรักษาระบบนิเวศให้คงอยู่ เพื่อให้คนรุ่นหลังมีโอกาสได้ใช้อย่างยั่งยืน อนุญาตให้ใช้ประโยชน์ได้ทั้งด้านนันทนาการ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ รวมถึงใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาเรียนรู้ของเยาวชน เพราะพื้นที่อุทยานฯ ...

อ่านฝ่ายสนับสนุน คลิกที่นี่
click here
อ่านฝ่ายคัดค้าน คลิกที่นี่
click here
กลับไปหน้า สารบัญ

แสดงความคิดที่ สารคดีกระดานข่าว (Sarakadee Board)


แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน !

ต้องการ แสดงความคิดเห็นเพิ่ม คลิกที่นี่


แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น เ พิ่ ม เ ติ ม

ชื่อ-สกุล: *
E-Mail:
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม: *
*

 

พบเห็น ข้อความไม่เหมาะสม กรุณาช่วยกันแจ้ง ผู้ดูแลเว็ป (WebMaster) ขอบคุณครับ

บทเรียนที่ผ่านมาก็มีหลายแห่งแล้วท่านไม่เอามาพิจารณาบ้างเลยเหรอ (พีพี,เกาะช้าง,เสม็ด หาดแขยง เกาะขยะ- - เขาใหญ่ช้างหงุดหงิด ลิงขอทาน สัตว์หนีรัง อาคารมหึมา )ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ที่ชุมชนท้องถิ่น และประชาชนทั้งหลาย
พื้นที่อนุรักษ์หากท่านใส่อะไรลงไปมากๆ อย่าลืมว่ามันไม่สามารถลบแล้วทำให้กลับมาเหมือนเดิมได้ พัฒนาไปแล้วทำอย่างไรก็ไม่สามารถทำให้เหมือนเดิม
ดูเหมือนว่าโครงการนี้ผลประโยชน์จะตกให้กับคนไม่กี่คน แต่ผลเสียที่ตามอีกเพียบ ไม่ทราบว่าก่อนทำเนี่ยคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมบ้างหรือเปล่า
ขอบคุณอาจารย์สุรเชษฎ์ เชษฐมาส

ประชาชน
- Tuesday, December 09, 2003 at 07:46:31 (EST)

บทเรียนที่ผ่านมาก็มีหลายแห่งแล้วท่านไม่เอามาพิจารณาบ้างเลยเหรอ (พีพี,เกาะช้าง,เสม็ด หาดแขยง เกาะขยะ- - เขาใหญ่ช้างหงุดหงิด ลิงขอทาน สัตว์หนีรัง อาคารมหึมา )ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ที่ชุมชนท้องถิ่น และประชาชนทั้งหลาย
พื้นที่อนุรักษ์หากท่านใส่อะไรลงไปมากๆ อย่าลืมว่ามันไม่สามารถลบแล้วทำให้กลับมาเหมือนเดิมได้ พัฒนาไปแล้วทำอย่างไรก็ไม่สามารถทำให้เหมือนเดิม
ดูเหมือนว่าโครงการนี้ผลประโยชน์จะตกให้กับคนไม่กี่คน แต่ผลเสียที่ตามอีกเพียบ ไม่ทราบว่าก่อนทำเนี่ยคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมบ้างหรือเปล่า
ขอบคุณอาจารย์สุรเชษฎ์ เชษฐมาส

ประชาชน
- Tuesday, December 09, 2003 at 07:45:42 (EST)

บทเรียนที่ผ่านมาก็มีหลายแห่งแล้วท่านไม่เอามาพิจารณาบ้างเลยเหรอ (พีพี,เกาะช้าง,เสม็ด หาดแขยง เกาะขยะ- - เขาใหญ่ช้างหงุดหงิด ลิงขอทาน สัตว์หนีรัง อาคารมหึมา )ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ที่ชุมชนท้องถิ่น และประชาชนทั้งหลาย
พื้นที่อนุรักษ์หากท่านใส่อะไรลงไปมากๆ อย่าลืมว่ามันไม่สามารถลบแล้วทำให้กลับมาเหมือนเดิมได้ พัฒนาไปแล้วทำอย่างไรก็ไม่สามารถทำให้เหมือนเดิม
ดูเหมือนว่าโครงการนี้ผลประโยชน์จะตกให้กับคนไม่กี่คน แต่ผลเสียที่ตามอีกเพียบ ไม่ทราบว่าก่อนทำเนี่ยคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมบ้างหรือเปล่า
ขอบคุณอาจารย์สุรเชษฎ์ เชษฐมาส

ประชาชน
- Tuesday, December 09, 2003 at 07:45:29 (EST)

ไม่ทราบว่าผู้บริหารจะขายอุทยานแห่งชาติ ใช้อุทยานแห่งชาติ ซึ่งถือได้ว่าถูกจัดตั้งให้ดูแลรักษาป่าเป็นวัตถุประสงค์สำคัญ กินจนหมดเลยหรืออย่างไร กินอย่างอื่นกันไม่พอหรือง ถึงต้องมากินที่อยู่ของสัตว์ป่า กินแม้กระทั่งสิ่งที่จะช่วยรักษาบ้านเกิดเมืองนอนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีๆ นี่หรือทำเพื่อเมืองไทย
นีรนาท ทาทอง <->
- Tuesday, December 09, 2003 at 06:13:53 (EST)

ไม่ทราบว่าผู้บริหารจะขายอุทยานแห่งชาติ ใช้อุทยานแห่งชาติ ซึ่งถือได้ว่าถูกจัดตั้งให้ดูแลรักษาป่าเป็นวัตถุประสงค์สำคัญ กินจนหมดเลยหรืออย่างไร กินอย่างอื่นกันไม่พอหรือง ถึงต้องมากินที่อยู่ของสัตว์ป่า กินแม้กระทั่งสิ่งที่จะช่วยรักษาบ้านเกิดเมืองนอนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีๆ นี่หรือทำเพื่อเมืองไทย
นีรนาท ทาทอง
- Tuesday, December 09, 2003 at 06:13:44 (EST)

ไม่ทราบว่าผู้บริหารจะขายอุทยานแห่งชาติ ใช้อุทยานแห่งชาติ ซึ่งถือได้ว่าถูกจัดตั้งให้ดูแลรักษาป่าเป็นวัตถุประสงค์สำคัญ กินจนหมดเลยหรืออย่างไร กินอย่างอื่นกันไม่พอหรือง ถึงต้องมากินที่อยู่ของสัตว์ป่า กินแม้กระทั่งสิ่งที่จะช่วยรักษาบ้านเกิดเมืองนอนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีๆ นี่หรือทำเพื่อเมืองไทย
นีรนาท ทาทอง <DAONUUA@hotmail.com>
- Tuesday, December 09, 2003 at 06:13:34 (EST)

ไม่ทราบว่าผู้บริหารจะขายอุทยานแห่งชาติ ใช้อุทยานแห่งชาติ ซึ่งถือได้ว่าถูกจัดตั้งให้ดูแลรักษาป่าเป็นวัตถุประสงค์สำคัญ กินจนหมดเลยหรืออย่างไร กินอย่างอื่นกันไม่พอหรือง ถึงต้องมากินที่อยู่ของสัตว์ป่า กินแม้กระทั่งสิ่งที่จะช่วยรักษาบ้านเกิดเมืองนอนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีๆ นี่หรือทำเพื่อเมืองไทย
นีรนาท ทาทอง <pranuda.jokinen@lako.fi >
- Tuesday, December 09, 2003 at 06:13:02 (EST)

ไม่ทราบว่าผู้บริหารจะขายอุทยานแห่งชาติ ใช้อุทยานแห่งชาติ ซึ่งถือได้ว่าถูกจัดตั้งให้ดูแลรักษาป่าเป็นวัตถุประสงค์สำคัญ กินจนหมดเลยหรืออย่างไร กินอย่างอื่นกันไม่พอหรือง ถึงต้องมากินที่อยู่ของสัตว์ป่า กินแม้กระทั่งสิ่งที่จะช่วยรักษาบ้านเกิดเมืองนอนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีๆ นี่หรือทำเพื่อเมืองไทย
นีรนาท ทาทอง <seesan@hotmail.com>
- Tuesday, December 09, 2003 at 06:12:26 (EST)

ไม่ทราบว่าผู้บริหารจะขายอุทยานแห่งชาติ ใช้อุทยานแห่งชาติ ซึ่งถือได้ว่าถูกจัดตั้งให้ดูแลรักษาป่าเป็นวัตถุประสงค์สำคัญ กินจนหมดเลยหรืออย่างไร กินอย่างอื่นกันไม่พอหรือง ถึงต้องมากินที่อยู่ของสัตว์ป่า กินแม้กระทั่งสิ่งที่จะช่วยรักษาบ้านเกิดเมืองนอนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีๆ นี่หรือทำเพื่อเมืองไทย
นีรนาท ทาทอง
- Tuesday, December 09, 2003 at 06:10:56 (EST)

ในความเห็นของผมมีดังนี้ ควรแบ่งระดับในส่วนของอุทยานแห่งชาติที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศหรืออาจจะจัดแบ่งออกเป็นโซนที่มีความแตกต่างกันมาพิจารณาถึงความเหมาะสมที่จะเปิดทางให้เอกชนเข้ามาดูแลในจุดนั้นๆ โดยมองถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น การป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น รวมทั้งการปรับปรุงแก้ไขรักษาให้คงสภาพเดิมมากที่สุด หากเป็นโซนเกรด A ก็ไม่ควรให้ใครเข้าไปยุ่งเป็นอันขาด ทั้งนี้ต้องอยู่ในความดูแลที่เคร่งครัดที่สุด
อนุสรณ์ ตันธิมา <mmpans>
- Sunday, September 14, 2003 at 07:33:27 (EDT)

I'm just a Thai who live abroad, but I do love nature and I've been study concerning ecotourism. I agree with the idea of developing our National park as your ask entrance fee quite much from foreigner. Most of national park in develop countries, they have most of convinient things include and also they have very good management system. If the pilot project went well, I do agree that this will bring more tourist to our nature point in Thailand.
Pranuda Jokinen <pranuda.jokinen@lako.fi>
- Wednesday, July 09, 2003 at 04:07:41 (EDT)

การสนับสนุนให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมน่าจะดีกว่า เพียงแต่ควรจะยึดมั่นอยุ๋บนกฎระเบียบและความควบคุมของกรมป่าไม้ ไม่ใช่ว่ายังไม่มีการเห็นรูปแบบ หรือกฎระเบียบก็มาค้านซะแล้ว โถ่ กรรม
A. Cetaraque
- Monday, March 24, 2003 at 01:45:58 (EST)

ไม่เห็นด้วย การพัฒณาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ควรยืนอยู่บนพื้นฐานการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติไว้อย่างดีที่สุด การนำอุทธยานฯ มาเป็นสินค้าชิ้นใหญ่ให้กับเอกชน หรือแม้แต่ทางกรมป่าไม้จะสร้างอะไรใหม่ๆ ที่ถ้าเรียกง่ายๆก็คือสิ่งแปลกปลอมทางวัตถุ แล้วจะมีอะไรมารับรองว่าจะไม่เกิดผลลบต่อระบบนิเวศ และถ้ามันเกิดขึ้นแล้วใครจะรับผิดชอบ แล้วมันจะคุ้มหรือเปล่าสำหรับเมืองไทย แล้วเราจะหาฃื้อธรรมชาติ และระบบนิเวศอย่างเดิมใด้ที่ใหน กรุณาอย่าทำร้ายธรรมชาติและหัวใจของคนรักธรรมชาติอีกเลย
นายชรินทร์ ศิลป์พิสุทธิ์ <Info@siamadventuretourism.com>
- Saturday, March 01, 2003 at 19:45:55 (EST)

การสร้างอาคารในอุทยานนั้น เมื่อเอกชนมามีส่วนร่วมคิดแต่จะหาประโยชน์ส่วนตนไม่คิดเพื่อประโยชน์ส่วนตัว และอยากให้เอกชนมามีว่วนร่วมน้อยที่สุด
ดนัย แลเชอะ <->
- Friday, February 28, 2003 at 01:13:45 (EST)

ผมคิดว่าการสร้างอาคารบ้านเรือนในเขตอุทยานต่างฯจะต้องตัดไม้ ทำให้ต้นไม้น้อยใหญ่ถูกโค่นอย่างไร้ประโยชน์ และไม่อยากให้ตัดถนนเข้าอุทยานเพราะจะทำให้ชีวิตสัตว์ป่าน้อยใหญต้องระวังจากภัยรอบข้างมากขึ้นกว่าเดิม
ดนัย แลเชอะ <->
- Friday, February 28, 2003 at 01:07:14 (EST)

ที่จริงเราคนไทยก็ชอบที่จะเที่ยว ที่จะพัก....แต่ในส่วนของราชการแล้งเรื่องมาก เต็มไปด้วยกฏเกรณ์...สมควรแล้วที่มีโครงการแบบนี้คนไทยชอบสะดวก แต่ต้องเน้นความสะอาด ให้ช่วยกันรณณรงค์ และควรทีเจ้าหน้าที่ที่คอยแนะนำ ชี้แจงข้อมูล รายละเอียด ในสถานที่นั้นๆด้วย.จะดีมากค่ะ.
Daonuua Chantra <DAONUUA@hotmail.com>
- Friday, January 31, 2003 at 19:34:23 (EST)

ผมสิ้นหวังและหมดความเชื่อมั่นต่อโครงการของรัฐ อย่าง อุทยานแห่งชาติ ที่เป็นเกาะต่าง ๆ นั้น เช่น เสม็ด พีพี ฯลฯ บัดนี้ ด้วยความไม่พร้อมของ ประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งรวมถึงผู้ประกอบการที่พักอาศัย................. ไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไรดี

ทั้ง ๆ ที่ เหล่านั้น เป็น สาธารณประโยชน์ ของชาติ แต่ก็ยังออกเอกสารสิทธิ์ได้ และ นโยบายการใช้การท่องเที่ยวดึงรายได้ที่ผ่านมา เป็น การเห็นแต่กำไร ...................

ธรรมชาติบอบช้ำเกินกว่าที่จะแก้ให้บริสุทธิ์ดังเดิมแล้ว

ด้วยเงิน แท้ ๆ ที่ทำให้แทบทุกคนในประเทศเป็นแบบนี้ เราเดินทางผิดมายาวนานแล้ว

หยุดกันเสียทีเถอะครับ

*-*
- Friday, January 17, 2003 at 05:51:30 (EST)

ไม่ควรให้เอกชนเข้ามาดำนเินการ เนื่องจากเอกชนมักจะมุ่งเน้นเรื่องกำไรในการประกอบการมากกว่าจะช้่วยอนุรักษ์ธรรมชาติให้ดีขึ้น
รัตนวดี อินทร์สกุล <rattanawadee.in@pasi.rd.go.th>
- Tuesday, January 07, 2003 at 01:32:24 (EST)

คัดค้านไม่เห็นด้วยที่จะให้เอกชนเข้ามาดำเนินการทั้งหมด ถ้าหากเป็นแค่เพียงเรื่องบ้านพักก็พอได้ แต่โดยร่วมแล้วไม่เห็นด้วย ดูตัวอย่างพื้นที่ของอุทยานทางทะเลหรือเกาะต่างๆที่ให้เอกชนเข้าไปดำเนินการ ผลไม่ได้ทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมกลับควบคุมยากกว่าเดิมเสียอีก ไม่ว่าจะเป็นที่ หมู่เกาะ พี พี, เขาแหลมหญ้า-เกาะเสม็ด พื้นที่ถูกแบ่งออกให้เอกชนดำเนินการ ก็ล้วนแล้วแต่ทำให้สิ่งแวดล้อมเลวลง เพราะภาคเอกชนแล้วสิ่งแรกก็คือมุ่งเน้นแสวงหากำไร สิ่งที่ละเลยได้ก็จะละเลย สิ่งที่กอบโกยได้ก็กอบโกยไป ไม่ได้มุ่งเน้นในการสงวนรักษาโดยแท้จริง พื้นที่อุทยานแห่งชาติเป็นห้องเรียนธรรมชาติ เป็นสมบัติของชาติที่ต้องสงวนรักษาเอาไว้เพื่อการศึกษาเรียนรู้ และพักผ่อนหย่อนใจ ควรที่จะมีบรรยากาศของป่า หรือธรรมชาติเต็มที่ คนหรือสิ่งก่อสร้างถือเป็นสิ่งแปลกปลอมที่ต้องควบคุมจำกัดจำนวน เพื่อความสมดุลย์ไม่เป็นการทำร้ายธรรมชาติ การเร่งให้มีการพัฒนาเรื่องที่พักและบริการโดยเอกชน เป็นการเพิ่มสิ่งแปลกปลอมอย่างมากให้แก่ธรรมชาติ เมื่อสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมมูลครบครับอุทยานแห่งชาติก็กลายเป็นรีสอร์ตไปโดยปริยาย มองกันไปอีกทุกวันนี้อุทยานแห่งชาติถือได้ว่าเป็นสถานที่ที่คนทุกระดับชั้นในสังคมสามารถเข้าไปใช้สอยได้ แต่เมื่เอกชนเข้ามาดำเนินการสิ่งที่ปฎิเสธไม่ได้ที่ตามมาคือค่าบริการซึ่งนั้นคือต้นทุน+กำไร ยิ่งลงทุนมากบริการดีเยี่ยม สถานที่สวยงาน ค่าบริการยิ่งสูงตามตัว อันเป็นเรื่องที่ควบคุมยาก ที่นี้ก็เป็นการตัดสิทธ์คนรายได้น้อย นักเรียน นิสิตนักศึกษา ในการเข้าไปใช้บริการ การที่คนไปเที่ยวอุทยานแห่งชาติควรที่จะใคนเหล่านั้นได้สิ่งหนึ่งที่ นอกเหนือจากการผักผ่อน คือ จิตใจที่รักและห่วงแหนในธรรมชาติ จิตสำนึกในด้านอนุรักษ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้น่าจะมาจากความประทับใจกับธรรมชาติที่สวยงาม การได้กลมกลืนไปกับธรรมชาติ ไม่ใช้มาจากความสะดวกสบายจากบริการที่พร้อมมูลสำเร็จรูป ซึ่งสิ่งเหล่านั้นหาได้ง่ายทั่งไปตามรีสอร์ตที่รายล้อมพื้นที่อุทยานทั่วไป
ประเด็นที่รัฐหรือกรมป่าไม้ควรที่จะหันมาดูแลหรือทำอย่างจริงจังต่อเนื่องควรเป็นเรื่องทำอย่างไรจะไม่ให้การที่คนเข้าไปท่องเที่ยวรบกวนสร้างความเสียหายแก่ธรรมชาติน้อยที่สุด สร้างความสมดุลย์ เน้นที่การอนุรักษ์ให้คงอยู่ตลอดไป สร้างจิตสำนึกในการใช้พื้นที่อุทยานแห่งชาติอย่างถูกต้อง พัฒนาปรับปรุงแต่สิ่งทีมีอยู่แล้วให้ดีขึ้น ไม่เสื่อมโทรม พัฒนาเฉพราะด้านสาะรณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็นจริงๆให้ดี เน้นเรื่องข้อบริการด้านความรู้และการศึกษาธรรมชาติ ทุกวันนี้ทางบางอุทยานก็มีการจัการที่ดีด้านนี้อยู่บ้างแต่ก็ไม่ต่อเนื่อง ส่วนมากจะขึ้นอยู่กับงบประมาณ หรือนโยบายหรือความเข้มงวดและวิศัยทัศน์ของเจ้าหน้าที่ระดับหัวอุทยาน ซึ่งควรจะปรับให้เป็นมารตราฐานเดียวกัน

Chalermpol Wara-Eksiri <chlrmpol@totonline.net>
- Sunday, January 05, 2003 at 16:54:43 (EST)

ไม่อยากให้เอกชนมาลงทุนเลย กลัวปัญหาที่ไม่สามารถควบคุมได้จะเกิดขึ้น ที่สำคัญกลัวเขาใหญ่จะสูญมนต์ขลังของความเป็นธรรมชาติไป ถ้าต้องการไปชื่นชมธรรมชาติก็ไปแบบกางเต๊นท์นอนกลางดินกินกลางทรายสิคะ ทำไมจะต้องไปตอกเสาโครมๆ ทำไมจะต้องไปตัดต้นไม้สร้างที่อยู่ให้ตนเองสะดวก อย่างนั้นก็ไปแย่งที่อยู่เขา ไปรังแกเขานี่นา แค่ตัดถนนผ่ากลางก็น่าสงสารเขาใหญ่จะแย่อยู่แล้ว ถ้าพัฒนาแบบไปพักอยู่กับชาวบ้านเป็นการเพิ่มรายได้ให้ชุมชนแถบนั้นคิดว่าเท่านั้นก็น่าจะเพียงพอ อย่าให้พวกสัตว์ป่าที่นั่นต้องอยู่ด้วยความหวาดระแวงเหมือนกับสัตว์ในเขาดินเลยค่ะ
Weeraya Dejboon <4dechboon@chaiyo.com>
- Saturday, January 04, 2003 at 20:26:36 (EST)

ธรรมชาติควรเป็นแบบธรรมชาติ สิ่งที่ธรรมชาติสร้างสรรค์มาอย่างไรก็ขอให้เป็นอย่างนั้น ดังกรณีเกาะช้างเดิมไม่มีโรงแรมมากมายเหมือนปัจจุบันนี้ช่างเหมือนเกาะสวรรค์จริง ๆ มันเงียบสงบ แต่เดี๋ยวนี้ล่ะ เน่าสิ้นดี ไม่อยากให้ธรรมชาติที่อื่น ๆ ต้องถูกรบกวนอีก

o6=0iu0yomi <midori02@thaimail.com>
- Tuesday, December 24, 2002 at 08:06:40 (EST)

ธรรมชาติควรเป็นแบบธรรมชาติ สิ่งที่ธรรมชาติสร้างสรรค์มาอย่างไรก็ขอให้เป็นอย่างนั้น ดังกรณีเกาะช้างเดิมไม่มีโรงแรมมากมายเหมือนปัจจุบันนี้ช่างเหมือนเกาะสวรรค์จริง ๆ มันเงียบสงบ แต่เดี๋ยวนี้ล่ะ เน่าสิ้นดี ไม่อยากให้ธรรมชาติที่อื่น ๆ ต้องถูกรบกวนอีก

o6=0iu 0yomi <midori02@thaimail.com>
- Tuesday, December 24, 2002 at 08:05:49 (EST)

ขอคัดค้านนะครับเพราะการพัฒนาอย่างนั้นจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นแต่สิ่งที่จะตามมาอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ก็คื่อ ความเสื่อมโทรมของป่า ทุกท่านก็ลองคิดดูแล้วกันว่าจะเอาป่าหรือความเจริญ???
""" <thepto@hotmail.com>
- Friday, December 20, 2002 at 00:30:49 (EST)

*เวลาที่คนเราคิดจะทำอะไร มีโครงการอะไรที่มีผลต่อส่วนรวม มีผลต่อคนหมู่มาก มันไม่ใช่ว่าจะทำได้เลย จะตัดสินใจเลยได้ มันต้องให้คนหมู่มากเขาใด้แสดง
ความคิดเห็น และสิ่งนี้จะเป็นตัวบ่งชี้ตัดสิน เพราะบ้านเรา
***เป็นประชาธิปไตย ไม่ใช่เผด็จการ***
ยังมีสัตว์ป่า อีกร้อยพันร่วมอาศัยอยู่

**ที่สำคัญอย่าใช้สำนึกของคุณคุกคามธรรมชาติ
คุกคามระบบนิเวศวิทยา ที่มีมาช้านาน

เวลาที่เราไปเที่ยวไปสัมผัสธรรมชาติเราก็ต้องการที่จะใด้สัมผัสกับธรรมชาติจริงๆ เราต้องการเห็นธรรมชาติยังคงอยู่
*** จึงขอแนะนำให้ใช้วิธีการกางเต้นท์ ดีที่สุดถ้าต้อง
การไปพบไปเห็นธรรมชาติจริงๆ ถ้าคุณต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ก็นอนอยู่บ้านดีกว่า ไม่ต้องมาเที่ยวที่นี่หรอกไปที่อื่นที่มีโรงแรม มีสิ่งอำนวยความสะดวก หรือถ้าต้องการจะปลูกสร้างสิ่ง
ต่างๆก็ปลูกมันในเมืองนั่นละค่ะ ปลูกมันเข้าไป ให้หรูหรา สมฐานะคุณ
อย่าย่างกรายเข้ามา

เบียดเบียนธรรมชาติเลย * สาธุ

อลิศรา อุปลา <noknoyfreedom@hotmail.com>
- Tuesday, December 17, 2002 at 22:19:28 (EST)

ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งเพราะจะทำให้ภาคเอกชนเข้าไปกอบโกยประโยชน์ได้อย่างอิสระเสรี ต่อไปจะกลายเป็นสนามกอล์ฟ,รีสอร์ทในป่าใหญ่แล้วจะไปชมธรรมชาติที่ไหนกันดี
สุภาพ ศรีทรัพย์ <pw-sp3@thaimail.com>
- Sunday, December 08, 2002 at 05:12:17 (EST)

ไม่คัดค้าน ไม่เห็นด้วย แต่ไม่เฉยครับ
วิธีคิดแต่ละอย่างย่อมมีข้อดี-เสียในตัวเอง
แต่เมื่อจะลงมือทำกันจริงๆ
ต้องมั่นใจว่าจะแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้
(ในส่วนนี้อ.สุรเชษฏ์ ได้กล่าวไว้แล้ว)
ผมเสนอเพิ่มเติมว่าควรจะ
1.สัญญาที่ให้เอกชนต้องต่อกันแบบปีต่อปี
มีโอกาสให้ล้มกันได้
หากตรวจสอบแล้วมีผลกระทบเกินกว่าจะยอมรับได้
ซึ่งคนตรวจสอบผู้มีสิทธิ์งดการต่อสัญญาต้องมี
โควต้าของประชาชน/NGOด้วย
ไม่ใช่นักวิชาการ/ผู้เชี่ยวชาญ อย่างเดียว
เพราะทรัพยากรนี้เป็นสมบัติของคนทั้งประเทศ
ไม่ใช่คนหยิบมือเดียว
2.ต้องมีการจัดสรรโควต้าสิทธิ์ในการจัดการของชุมชน ด้วย ไม่ใช่เอกชนอย่างเดียว
จริงอยู่ การจัดการของกลุ่มนี้
คงมีคุณภาพไม่เทียบเท่าบริษัทเอกชน
แต่ป่าไม้ยังมีความหลากหลาย
แล้วทำไมการจัดการจะมีความหลากหลายไม่ได้
อย่างน้อยก็น่าจะมีศักยภาพด้านการตลาดระดับล่างอยู่
ทีนี้โควต้าตัวนี้จะจัดสรรอย่างไร
บอกตรงๆ ผมไม่แน่ใจเท่าไหร่ว่าจัดสรรให้โรงแรมท้องถิ่น เป็นผู้ดำเนินการแล้วจะถือเป็นตัวแทนของชุมชนได้ น่าจะเป็นในทำนองชุมชนในระดับ
จังหวัด/ภูมิภาคของอุทยานนั้นๆ (ซึ่งเชื่อได้ว่าจะมีอีก
หลายอุทยาน)
และถ้าทำแล้วคุณภาพการบริการไม่ดีจริง
ก็จะแสดงให้เห็นว่า ชุมชนไม่มีความสามารถด้าน
การจัดการบริหารเพียงพอต่องานscale ใหญ่ๆ
(อันจะก่อให้เกิดการทำงานเฉพาะด้านที่ได้เงินและ
เป็นการบริการสาธารณะด้วย โดยไม่ยึดติดกับพื้นที่ของชุมชนนั้นๆ)
ถึงตอนนั้นจะริบไปให้ชุมชนเจ้าอื่นก็ยังไม่สาย
(ก็ต่อสัญญาแบบปีต่อปีนี่นา)
แถมมีข้ออ้างยืนยันความชอบธรรมในการพัฒนาโครงการนี้อีกด้วย
(เพราะให้สิทธิ์ในการมีส่วนร่วมกับปชช.แล้ว)

ศุภฤทธิ์ ทวีเกียรติ <goldman@lemononline.com>
- Monday, December 02, 2002 at 01:49:43 (EST)

เมื่อมีป่า...ประชาราษฎร์ไม่ขาดน้ำ
จึงขอย้ำป่าของเราเข้าใจไหม
จะให้คนเอกชนมาเอาไป
จะแน่ใจ...หรือว่า...ป่าจะยัง...
...บังกะโล จะผุด..ขุดรีสอร์ท...
สัตว์จะปลอด... ที่พักพิง...ลิงถูกขัง
...โอ้อนาจใจหนาป่าจะพัง
เหลือแต่วัง..บังกะโล..โถเมืองไทย...
ใช่ใส่ความ..ตามป้ายสี..ให้มีผิด
แต่ลองคิดดูสิ...ผิไฉน
รัฐบาลมีป่า..ไม่ใส่ใจ
แกล้งโยนให้...ใครเขาเข้ามาจอง..
แต่พอพี่...เพื่อนพ้อง..น้อง..ลุงป้า
เข้าทำมา..หากิน..ถิ่นป่าป้อง
ถูกหาว่า..บุกป่า...น้ำตานอง
แล้วจะร้อง...ให้ใครเขา...เข้าดูแล
คนอยู่กรุงให้สร้างป่าเพื่อคนกรุง
มันจะยุ่งตุงนังอย่างแน่แน่
คนอยู่กรุงสร้างป่าเพื่อตนแล
ผลประโยชน์ของเขาแท้แน่จริงเทียว...

.............ไม่คัดค้าน แต่เมื่อจะให้เอกชนมาดูแล ต้องวางมาตรฐานให้ดีๆๆ นะครับ.......

สิ้นศึก มุงคุณ <sinsuek@icqmail.com>
- Thursday, November 28, 2002 at 07:43:08 (EST)

คุณจะเอาโลกหรือจะเอาคน
Think Earth <Somphop.p@delta.co.th>
- Wednesday, November 27, 2002 at 06:18:15 (EST)

คัดค้าน ธรรมดาของเอกชนมักจะคิดถึงผลประโยชน์ของตนมากกว่าจะอนุรักษ์ธรรมชาติ
นายธนุส ธนะวิโรจน์ <thanus2002@hotmail.com>
- Wednesday, November 20, 2002 at 07:22:36 (EST)

เห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะให้เอกชนมาลงทุน การจัดการท่องเที่ยวเอกชนทำได้ดีกว่า ยกตัวอย่างเรื่องบ้านพัก ถ้าไม่มีญาติพี่น้องที่เป็นเจ้าหน้าที่หรือคนรู้จักที่พักก็ไม่มี การจองจากกรมป่าไม้ดูเหมือนยากกว่าหาเข็มในมหาสมุทร ถ้าให้เอกชนลงทุน การจัดการคงดีกว่าเพราะเอกชนวิสัยทรรศน์ดีกว่าคนของรัฐมากมายหลายเท่า แต่ต้องทำข้อตกลงในรายละเอียดที่จะต้องคงไว้ตามสัญญาและระเบียบที่เคร่งครัดด้วย ทุกคนได้รับประโยชน์ทั้งคนเที่ยว คนศึกษา รัฐ และเอกชนที่เข้าไปลงทุน
วัชระ ชำนาญฤทธิ์ <vachara44@hotmail.com>
- Monday, November 18, 2002 at 23:49:59 (EST)

ผมค่อนข้างโน้มเอียงไปทางฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยนะครับ เนื่องจากเกรงว่าหากให้ทางภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการแล้ว จะทำให้ความเป็นธรรมชาติที่มีอยู่เดิมสูญเสียไป โอเคที่ว่า ณ ปัจจุบัน สภาพของบ้านพักกรมป่าไม้ที่มีอยู่นั้น ถึงจะไม่ค่อยดีนัก แต่ผมว่ามันก็เป็นธรรมชาติและเข้ากับบรรยากาศรอบตัวได้ดี ( ต้องขอบอกก่อนว่าผมเป็นคนหนึ่งที่ใช้บริการบ้านพักของกรมป่าไม้เป็นประจำเวลาไปเที่ยวตามอุทยานแห่งชาติต่าง ๆ ) ดังนั้นผมจึงคิดว่าการที่เราจะไปปลูกสร้างอาคารอะไรให้มันใหญ่โตและดูแตกต่างจากสภาพธรรมชาติรอบด้านนั้นคงจะไม่เป็นการดีแน่ เพราะการที่คุณไปเที่ยวตามอุทยานแห่งชาติต่าง ๆ คุณคงหวังว่าจะได้ไปพบกับธรรมชาติหรือบรรยากาศที่แตกต่างไปจากในเมืองที่มีแต่อาคารตึกสูงระฟ้า และมลพิษต่าง ๆ ใช่มั๊ยครับ แต่ถ้าคุณคิดว่าคุณไปเที่ยวแล้วจะต้องมีห้องพักที่ทันสมัย มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ หรือว่ามีอาหารการกินเหมือนกับอยู่ที่บ้านตัวเอง ผมว่าคุณควรไปหาที่พักของเอกชนซึ่งสามารถรองรับความต้องการตรงนั้นได้ดีกว่าที่จะมาปรับในส่วนนี้นะครับ อย่างไรก็ตามผมก็ยังดีใจที่ทางราชการนั้นต้องการปรับปรุงในส่วนนี้เพราะจะได้ทำให้นักท่องเที่ยวสะดวกสบายมากขึ้น แต่ขอให้มันพอดี ๆ และอย่าไปทำลายธรรมชาติที่มีอยู่เดิมเลยครับ เพราะปัจจุบันก็เหลือน้อยมากอยู่แล้ว รวมทั้งถ้าคิดจะทำจริง ๆ ขอให้มีมาตรการในการควบคุมภาคเอกชนที่จะเข้ามาดำเนินการด้วยครับ เพราะผมเชื่อเลยว่าในอนาคตหากภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการแล้ว ราคาของสถานที่พักแรมดังกล่าวจะต้องเพิ่มขึ้นมากอย่างแน่นอน ซึ่งจะทำให้นักท่องเที่ยวที่อาจจะไม่มีทุนรอนมากนักนั้นไม่สามารถเข้าพักได้ และมันจะไปมีประโยชน์อะไรครับ หากการพัฒนาดังกล่าวไม่ได้ก่อประโยชน์แก่คนส่วนใหญ่ แต่เป็นการกระทำเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนเพียงบางกลุ่มเท่านั้น
สรวิทย์ จินตสุนทรอุไร <SORRAWIT@HOTMAIL.COM>
- Friday, November 15, 2002 at 04:51:25 (EST)

ขอคัดค้านค่ะ
mumset <mumset89@yahoo.com>
- Wednesday, November 13, 2002 at 00:07:58 (EST)

ตามความคิดเห็นของผมเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวนั้น ก็ไม่อยากจะฟันธงลงไปว่าดีหร์อไม่ดีกับการที่ใหเอกชนเข้ามาดำเนินการจัดการท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติ แต่การจะดำเนินการอะไรก็ตามผมเห็นว่าควรจะมีที่มา และที่ไปเกี่ยวกับการดำเนินงานในพื้นที่ป่าสงวนแต่ละแห่ง และก็ไม่ใช่ว่าพื้นที่ป่าสงวนในทุกแห่งนั้นจะจัดการท่องเที่ยวได้ เพราะพื้นที่ป่าในเมืองไทยนั้นมีลักษณะทางกายภาพที่หลากหลายของป่าเมืองไทย จนยากที่คนอย่างเราจะเข้าใจ ดังนั้นการจะทำอะไรสักอย่างควรจะศึกษาถึงผลกระทบกับธรรมชาติให้ดีที่สุด เพราะถ้าหากเกิดผลกระทบแล้วมันไม่คุ้มกันกับทรัพยากรที่มีคุณค่าเอนกอนันต์กับชีวิตของเรา และก็มีหลายกรณีเกี่ยวกับกลุ่มเอกชนที่มุ่งหวังผลกำไรมากกว่าส่วนรวม เช่นมีการล๊อบบี้เพื่อให้ได้รับสัมปทาน พอได้แล้วก็ปล่อยปละเลยจนส่งผลเสียต่อพื้นที่ป่าไม้ซึ่งจะส่งผลเสียหายของคนส่วนใหญ่ เพราะน้ำมือของคนบางกลุ่มเท่านั้น ด้งนั้นการจะทำอะไรควรจะทำด้วยความจริงใจและเต็มเปี่ยมด้วยสำนึกรักธรรมชาติมากที่สุดครับ
บุณเอก อรุณเลิศสันติ <boonake_13@hotmail.com>
- Tuesday, November 12, 2002 at 13:06:42 (EST)

ขอร่วมคัดค้านค่ะเหตุผลหลักๆ คงเหมือนท่านอาจารย์สุรเชษฏ์ค่ะ เท่าที่ผ่านมา หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถควบคุมเอกชนผู้ได้สัมปทานในการดำเนินกิจการต่างๆ แทนรัฐได้เลย เอกชนใช้ช่องโหว่ของกฎหมาย สัญญาเอาเปรียบ และเอาประโยชน์ของตัวเป็นหลักเสมอ
สำหรับเรื่องป่าไม้แล้วอย่าให้ดูแลรักษาไว้ ให้อยู่คู่เมืองไทยตลอดไป

นางสาวอรนิตย์ เนติธรรมกุล <t_kj@lycos.com>
- Tuesday, November 12, 2002 at 05:32:51 (EST)

ไม่เห็นด้วยครับ เพราะเมื่อมีเรื่องผลประโยชน์เข้ามา จะแน่ใจได้อย่างไรว่าจะมีการรักษาสภาพทรัพยากรธรรมชาติไว้ได้ ผมเห็นด้วยครับถ้าจะปรับปรุงร้านค้า, ห้องน้ำ ที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น แต่ไม่ใช่การบุกรุกเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอย สร้างสิ่งก่อสร้างเพิ่ม เอาความเจริญไปยัดเยียดให้ธรรมชาติ ไม่งั้นอีกหน่อยเราคงเห็นศูนย์การค้า หมู่บ้านจัดสรร หรืออะไรทำนองนี้เข้าไปตั้งในเขตอุทยานซึ่งเป็นพื้นที่ที่ควรอนุรักษ์และมีการท่องเที่ยวที่รบกวนธรรมชาติน้อยที่สุด

จริงๆ แล้วหลายคนที่ชอบเที่ยวและมีจิตใจอนุรักษ์ อีกทั้งชอบความเรียบง่าย เค้าไม่ต้องการอะไรมากมายหรอกครับ ขอแค่พื้นที่กางเต็นท์ ผูกเปล อยู่อย่างเงียบๆ ฟังเสียงธรรมชาติ (ไม่มีพวกเปิดเครื่องเสียงดังๆ) ก็พอแล้ว บางคนฝืนยังไม่คิดจะเก็บจากธรรมชาติเลย ถึงต้องขนเตาแก็สเข้าไปใช้เอง

ถ้าอยากจะเที่ยวธรรมชาติ...ก็ควรเรียนรู้วิธีการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ถ้าคิดจะหาความสะดวกสบาย...อย่ามาเลยครับ อยู่ในเมืองแบบเดิมนั้นแหล่ะ สบายกว่า

ก็แค่ความเห็นส่วนตัวครับ...

ชิษณุ ทองฉิม <shisanu@hotmail.com>
- Tuesday, November 12, 2002 at 01:46:14 (EST)

คัดค้าน ครับ
อันนี้ผมไม่ได้พูดถึงแง่สิ่งแวดล้อม เพราะการพัฒนาย่อมคู่ไปกับการทำลาย เพียงแต่เราจะมองเห็นประโยชน์ในด้านใดมากกว่า ดังนั้นจึงอยากจะเสนอความคิดเห็นในแง่การจัดการ
ในความเห็นส่วนตัว อยากเห็นการพัฒนา และจัดการโดยภาครัฐ น่าจะดีกว่า เพราะถ้ามีเอกชนเข้าไปแล้วปัญหาต่างๆ ก็น่าจะตามมาอีกมากมาย ไว่จะเป็นปํญหาของ การคอรัปชั่น เกี่ยวกับ สัมปทาน , เรื่องค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวที่ต้องจ่ายมากขึ้นเพราะการผูกขาดในการจัดการของเอกชนที่ได้รับสัมปทาน ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ตู้เสบียงรถไฟ เมื่อ ก่อนนี้ทาง รฟท.ทำเอง ผู้โดยสารก็ได้อาหารที่ดี มีคุณภาพ ราคายุติธรรม แต่ต่อมาได้มีการให้สัมปทานแก่เอกชน ซึ่งปผลที่ออกมา ก็อย่างที่เห็นในปัจจุบัน อาหารเลวๆ ที่แสนจะราคาแพง

ชัยวัฒน์ ลิ้มตระกูล
- Monday, November 11, 2002 at 21:20:33 (EST)

คัดค้าน ครับ
อันนี้ผมไม่ได้พูดถึงแง่สิ่งแวดล้อม เพราะการพัฒนาย่อมคู่ไปกับการทำลาย เพียงแต่เราจะมองเห็นประโยชน์ในด้านใดมากกว่า ดังนั้นจึงอยากจะเสนอความคิดเห็นในแง่การจัดการ
ในความเห็นส่วนตัว อยากเห็นการพัฒนา และจัดการโดยภาครัฐ น่าจะดีกว่า เพราะถ้ามีเอกชนเข้าไปแล้วปัญหาต่างๆ ก็น่าจะตามมาอีกมากมาย ไว่จะเป็นปํญหาของ การคอรัปชั่น เกี่ยวกับ สัมปทาน , เรื่องค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวที่ต้องจ่ายมากขึ้นเพราะการผูกขาดในการจัดการของเอกชนที่ได้รับสัมปทาน ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ตู้เสบียงรถไฟ เมื่อ ก่อนนี้ทาง รฟท.ทำเอง ผู้โดยสารก็ได้อาหารที่ดี มีคุณภาพ ราคายุติธรรม แต่ต่อมาได้มีการให้สัมปทานแก่เอกชน ซึ่งปผลที่ออกมา ก็อย่างที่เห็นในปัจจุบัน อาหารเลวๆ ที่แสนจะราคาแพง

ชัยวัฒน์ ลิ้มตระกูล
- Monday, November 11, 2002 at 21:20:29 (EST)

อยากเห็นอุทยานแห่งชาติมีการพัฒนา ปรับปรุงให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีโดยการจัดการของภาครัฐมากกว่าภาคเอกชน เพราะว่าหากให้ภาคเอกชนเข้าไปจัดการทั้งหมด สภาพแวดล้อมแบบเดิมๆ จะหายไปหมด ต่อไปก็คงไม่แตกต่างจากรีสอร์ทที่ดูแล้ว มันไม่เป็นธรรมชาติเลย ปล.เป็นแค่ความคิดเห็นส่วนตัวค่ะ
ศรีสุดา คล้ายคล่องจิตร <->
- Friday, November 08, 2002 at 01:44:49 (EST)

เห็นด้วย แต่ทางภาครัฐจะต้องควบคุมเรื่องมลภาวะต่างๆ เช่นการปล่อยน้ำเสีย การใช้เสียงที่ดังรบกวนสัตว์ป่า ฯลฯ
pp
- Thursday, November 07, 2002 at 05:40:16 (EST)