วารสาร เมืองโบราณ
Muang Boran Journal

ISSN 0125-426X
ปีที่ ๒๔ ฉบับ ๑ มกราคม - มีนาคม ๒๕๔๑
Vol. 24 No. 1 January -March 1998
วารสารวิชาการรายสามเดือน เพื่อการอนุรักษ์มรดกไทย
ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ และวัฒนธรรม
หน้าปกเล่มที่ ๒๔
สารบัญ
แม่น้ำเจ้าพระยา ชื่อนั้นสำคัญไฉน
ภาพเก่าแม่น้ำเจ้าพระยา... เอนก นาวิกมูล

The Pictorial Reflection of the Chao Phraya River... Anake Nawigamune

แม่น้ำเจ้าพระยา...เกื้อ ศาลิคุปต
เครื่องถ้วยที่สามโคก... กฤษฎา พิณศรี

Ceramics at Sam Khok... Krisda Pinsri

เกาะเกร็ด กับงานบ้าน งานบุญ
ของชาวรามัญ ริมเจ้าพระยา... ไพโรจน์ บุญผูก
ลายปูนปั้นประดับกู่ วัดพระธาตุช้างคำวรวิหาร
จังหวัดน่าน... จิรศักดิ์ เดชวงศ์ญา

The Ku at Wat Phrathat Chang Kham,
Nan Province...
Chirasak Dejwongya

มหรสพหน้าไฟ และการละเล่น ในงานพระบรมศพ พระพุทธเจ้า
จากจิตรกรรมฝาผนัง วัดไทรอารีรักษ์... ปาริสุทธิ์ สาริกะวณิช

Performanecs at the Lord Buddha's Funeral : An Observation on the Mural Paintings of Wat Sai Areerak, Ratchaburi Province... Parisut Sarikawanich

"กู่ผียักษ์ " ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง
จังหวัดลำพูน... ม.ล. สุรศักดิ์ สุขสวัสดิ์

The Preliminary Analysis of Ku Phiyak,
Lamphun Province...
M.L. Surasvasti Suksvasti

อนุรักษ์วัดศรีชุม "แปลงโฉม" พระอจนะ?... กฤช เหลือลมัย
ของฝากจากยี่สาร... มุฑิตา ณรงค์ชัย
ข้อมูลใหม่
รายงานข่าว
ข้อคิดใหม่
ก่อนหน้าสุดท้าย

Buddhaghosa Nithan... Sran Tongpan

บทบรรณาธิการ
แม่น้ำเจ้าพระยา ชื่อนั้นสำคัญไฉน
เรื่องเด่นที่น่าสนใจในฉบับ .....คนในสมัยกรุงเทพฯ กับกรุงศรีอยุธยานั้น ต่างกัน ความต่างในที่นี้ ไม่ใช่เรื่องของเวลา หากแต่ต่างกันในเรื่อง การมองบ้านเมือง และภูมิประเทศ ข้าพเจ้าไม่แน่ใจว่า คนในสมัยกรุงศรีอยุธยา จะมองอยุธยาว่าเป็นศูนย์กลาง ของความยิ่งใหญ่ทั้งหลายในเมืองไทย อย่างที่ คนสมัยกรุงเทพฯ มองกรุงเทพฯ ในปัจจุบันนี้หรือไม่ และในขณะเดียวกัน ก็ไม่แน่ใจว่า คนในสมัยกรุงเทพฯ ยุคต้น ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑-๓ นั้น จะมองกรุงเทพฯ เหมือนกับคนในสมัย รัชกาลที่ ๔-๕ ลงมาจนถึงปัจจุบันหรือไม่
.....ที่พูดเช่นนี้ ก็เพื่อที่จะ เชื่อมโยงความรู้สึกนึกคิด ของคนในปัจจุบัน ว่าเป็นผลผลิตจาก กระบวนการรับรู้ และเรียนรู้ที่มีมาแต่สมัยเวลาที่มีการสร้างรัฐชาติขึ้นมาตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ ๔ นั่นเอง
.....เรื่องเช่นนี้ สะท้อนให้เห็นได้จากความคิดในเรื่องแม่น้ำ และชื่อแม่น้ำเจ้าพระยา
.....จากหลักฐานทางเอกสาร และชื่อสถานที่ ซึ่งบอกเล่า สืบกันมานั้น ชื่อแม่น้ำ ลำคลอง มีที่มาจาก คำเรียก ของคนภายในท้องถิ่น และนอกท้องถิ่นเป็นสำคัญ โดยมี ความแตกต่างกัน ชนิดคนละขั้วทีเดียว คือ คนภายในท้องถิ่น ก็จะตั้งชื่อโดย เอาท้องถิ่นที่อยู่อาศัย และบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ตั้ง เลยทำให้แม่น้ำลำคลองแต่ละสาย มีชื่อหลายชื่อแตกต่างกัน เช่น แม่น้ำมะขามหย่อง แม่น้ำบางแก้ว แม่น้ำพุทเลา ในเขตพระนครศรีอยุธยา หรือ คลองบางหลวง คลองบางกอกน้อย คลองด่าน คลองสนามชัย และคลองมหาชัย ในเขตกรุงเทพฯ ธนบุรี และสมุทรสาคร เป็นต้น ทำให้ลำน้ำลำคลอง ดูเป็นสายสั้นๆ ไป
.....ชื่อเหล่านี้ และระยะทางที่ ชื่อแต่ละชื่อ แสดงจุดเริ่มต้น และบริเวณที่สิ้นสุดนั้น คนภายนอก ท้องถิ่นมักไม่รู้ จะรู้กันก็แต่คนภายในเท่านั้น
.....ส่วนคนภายนอกนั้น มักมองแม่น้ำลำคลองที่ สัมพันธ์กับ ภูมิศาสตร์การเมือง เป็นสำคัญ ดังเห็นได้จาก เอาชื่อเมือง มาตั้งเป็นชื่อของ แม่น้ำลำคลอง ช่วงเวลาเริ่มต้น และสิ้นสุดซึ่ง สัมพันธ์กับเขตเมือง และปริมณฑลของเมือง เช่น แม่น้ำสุพรรณบุรี แม่น้ำนครชัยศรี และแม่น้ำท่าจีน เป็นต้น
ภาพเก่าแม่น้ำเจ้าพระยา

ภาพเก่าแม่น้ำเจ้าพระยา

MB-Journal@ViriyahBooks.com

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) วารสาร เมืองโบราณ (Muang Boran Journal) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)