มาริโอ ตามานโญ ในราวต้นศตวรรษที่ ๒๐ (ภาพ : เอเลนา ตามานโญ)   มาริโอ ตามานโญ ยี่สิบห้าปี แห่งการเป็น สถาปนิก ในราชสำนักสยาม (๒๔๔๓-๒๔๖๘)
เรื่อง: เอเลนา ตามานโญ

     ภายหลังจากที่ คุณพ่อ ของดิฉัน ถึงแก่กรรม ในปี พ.ศ.๒๕๓๘ เราได้พบกล่องไม้สัก หลายใบ ภายในบรรจุภาพวาด ภาพถ่าย และเอกสารของ มาริโอ ตามานโญ กล่องเหล่านี้ ถูกส่งจาก กรุงเทพฯ กลับไปยังตูริน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๙ และคงไม่เคยมีใคร แตะต้องอีกเลย นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๔ (ปีที่ท่านถึงแก่กรรม) ทว่าข้าวของ ที่บรรจุภายใน ยังอยู่ในสภาพดี และได้ช่วยให้เรา เรียนรู้เกี่ยวกับ ผลงานสถาปัตยกรรม ของคุณปู่ ซึ่งก่อนหน้านี้ เป็นเพียงเรื่องเล่าในครอบครัว มาริโอ

     ตามานโญ เกิดที่ ตูริน เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๒๐ ภายหลังจบการศึกษาทาง สถาปัตยกรรม จากสถาบันประณีตศิลป์ อัลแบร์ติน่า แห่งตูริน เขาได้มีโอกาส เดินทางเข้ามารับราชการกับ กระทรวงโยธาธิการ ของสยาม ตามานโญ เดินทางเข้ามาถึงกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.๒๔๔๓ และทำสัญญา ระยะเวลายี่สิบห้าปี กับรัฐบาล ในขณะนั้น เนื่องด้วย พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชนิยมใน ศิลปะอิตาเลียน ผู้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงานของตามานโญ ในกระทรวง โยธาธิการ จึงเป็นชาวอิตาเลียนเกือบทั้งหมด ฝีมือ และผลงานของเขา เป็นที่ยกย่อง

     ตามานโญ ยังได้รับ ความไว้วางพระทัย และพระเมตตา จากสมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระยา นริศรานุวัดติวงศ์ องค์เสนาบดี กระทรวงโยธาธิการ ตลอดระยะเวลา ยี่สิบห้าปี ในการรับราชการ ในราชสำนักสยาม ผลงาน การออกแบบของเขา มีมากมาย เริ่มจากชิ้นแรกคือ สะพานมัฆวานรังสรรค์ ต่อจากนั้น ก็ได้แก่ พระที่นั่งอัมพรสถาน และพระที่นั่งอภิเษกดุสิต ในพระราชวังดุสิต, วังบางขุนพรหม
ภาพด้านหน้าของวังเจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์ (วังบางขุนพรหม) กรุงเทพฯ (พ.ศ.๒๔๔๖-๒๔๔๘)(ภาพ : เอเลนา ตามานโญ)

ตำหนักปารุสกวัน และตำหนักจิตรลดา สะพานผ่านฟ้าลีลาศ, พระที่นั่งราชฤทธิ์รุ่งโรจน์ และก่อนจะสิ้นรัชกาล พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ตามานโญ ได้เริ่มงาน โครงการขนาดใหญ่ สองชิ้น คือ พระที่นั่งอนันตสมาคม และพระราชวังพญาไท
พระที่นั่งอนันตสมาคม กรุงเทพฯ (พ.ศ.๒๔๕๑-๒๔๕๙) (ภาพ : เอเลนา ตามานโญ)

ภาพตัด และผังพื้น ท้องพระโรงวังพญาไท กรุงเทพฯ (พ.ศ.๒๔๖๒) (ภาพ : เอเลนา ตามานโญ)

อ่านต่อหน้า ๒/๒


MB-Journal@ViriyahBooks.com

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) วารสาร เมืองโบราณ (Muang Boran Journal) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)