ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เวรแบบอย่าง กระทรวงโยธาธิการ ที่วันพระเชตุพน ในราวต้นศตวรรษที่ ๒๐ (ภาพ : เอเลนา ตามานโญ)   มาริโอ ตามานโญ ยี่สิบห้าปี แห่งการเป็น สถาปนิก ในราชสำนักสยาม (๒๔๔๓-๒๔๖๘)
เรื่อง: เอเลนา ตามานโญ
หน้า ๒/๒ ต่อจาก หน้าที่แล้ว

     มาในรัชกาล พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ผลงาน สถาปัตยกรรม ของตามานโญ ยิ่งหลากหลายมากขึ้น เขาออกแบบ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สถานีรถไฟหัวลำโพง
ภาพด้านข้างของ สถานีรถไฟ กรุงเทพฯ (พ.ศ.๒๔๕๕) (ภาพ : เอเลนา ตามานโญ)

บ้านพระยาอนิรุทธเทวา (บ้านพิษณุโลก) กรุงเทพฯ (พ.ศ.๒๔๖๓-๒๔๖๖) (ภาพ : เอเลนา 
ตามานโญ)      สถานีรถไฟสวนจิตรลดา, สะพานขนาดเล็กในชุด "เจริญ" ที่สร้างขึ้น ในโอกาส วันเฉลิม พระชนมพรรษา ของรัชกาลที่ ๖ หลายแห่ง, ที่ทำการ กระทรวงพาณิชย์, บ้านนรสิงห์ ของเจ้าพระยา รามราฆพ (ปัจจุบันคือ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล)
บ้านนรสิงห์ (ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล) กรุงเทพฯ (พ.ศ.๒๔๖๓-๒๔๖๙) (ภาพ : เอเลนา 
ตามานโญ)

บ้านบรรทมสินธุ์ ของเจ้าพระยา อนิรุทธเทวา (ปัจจุบันคือ บ้านพิษณุโลก) และ ห้องสมุด เนลสัน เฮย์ส
ห้องสมุดเนลสัน เฮย์ส กรุงเทพฯ (พ.ศ.๒๔๖๔-๒๔๖๕) (ภาพ : เอเลนา ตามานโญ)

     หลังจาก สัญญาที่ทำไว้กับ รัฐบาลสยาม หมดอายุลง ในปี พ.ศ.๒๔๖๘ มาริโอ ตามานโญ ยังคงควบคุม การก่อสร้างที่ บ้านนรสิงห์ ต่อมาอีกระยะหนึ่ง แล้วจึงเดินทางกลับ ไปยังอิตาลี

     ตูริน ในปี พ.ศ.๒๔๖๙ แตกต่างไปจาก ตูริน ที่ตามานโญ เคยรู้จัก เป็นอย่างมาก และยิ่งห่างไกลจาก ราชสำนักสยาม ที่เขาเคยใช้ขีวิตอยู่ ถึงเสี้ยวหนึ่งของ ศตวรรษ อิตาลีในขณะนั้น อยู่ในระยะเริ่มต้นของ ระบอบฟาสซิสม์ มีการออกกฎหมายใหม่ ให้สถาปนิก ต้องเข้าเป็น สมาชิก ในองค์กรสถาปนิก ตามานโญ จึงต้องรวบรวมเอกสาร ภาพถ่าย และแบบแปลน เพื่อจัดทำรายการผลงาน ยื่นแสดงเพื่อการนั้น และนั่นคือ ที่มาของ บทความเรื่องนี้

     ตามานโญ ยังคงประกอบอาชีพ สถาปนิกต่อมา และยังคงท้าทายต่อ ระบอบทางการเมือง ที่เขาไม่พอใจ ดังมีหลักฐานว่า ในบรรดา สถาปนิกตูริน มีเขาเพียงคนเดียว ที่มิได้เป็นสมาชิก พรรคฟาสซิสต์ ทว่า เขาก็มิได้ มีชีวิตอยู่ยืนยาว พอที่จะเห็น ความล่มสลายของมัน ตามานโญ ถึงแก่กรรม ด้วยโรคมะเร็ง ในเดือนมกราคม ปี พ.ศ.๒๔๘๔

บ้านของครอบครัว ตามานโญ กรุงเทพฯ (พ.ศ.๒๔๖๓-๒๔๖๔) (ภาพ : เอเลนา ตามานโญ)

กลับไปหน้า ๑/๒


MB-Journal@ViriyahBooks.com

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) วารสาร เมืองโบราณ (Muang Boran Journal) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)