วารสาร เมืองโบราณ
Muang Boran Journal
ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๔๑ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๔๑ ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๔
ISSN 0125-426X October - December 1998 Vol. 24 No. 4

วารสารวิชาการรายสามเดือน เพื่อการอนุรักษ์มรดกไทย
ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ และวัฒนธรรม
จิตรกรรมไทย (ราคา ๑๒๐ บาท)

สารบัญ
การเคลื่อนไหวของ ธรรมกาย กับปัญหาสังคม
รูปเขียน-ภาพพิมพ์ ศรันย์ ทองปาน

The History of Reproduction of Thai Paintings... Sran Tongpan

จิตรกรรมฝาผนัง: ภาพวัฒนธรรมมีสี... วิไลรัตน์ ยังรอด
จิตรกรรมในพระที่นั่ง ไพศาลทักษิณ และพระราชพิธี บรมราชาภิเษก... นภาพร เล้าสินวัฒนา

The Mural Paintings at the Phaisan Thaksin Throne Hall... Napaporn Laosinwattana

จิตรกรรม เทพผู้พิทักษ์ พุทธสถาน สมัยต้น กรุงรัตนโกสินทร์ กับคัมภีร์ นารายณ์สิบปาง... อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

The Paintings of Thai Guardians... Aroonsak Kingmanee

อิทธิพลศิลปะตะวันตก ในงานจิตรกรรมฝาผนัง วัดโพธินิมิตรสถิต มหาสีมาราม... กฤษฎา พิณศรี

Western Influences in the Mural Paintings at Wat Bodhi Nimit... Krisda Pinsri

หน้าประวัติศาสตร์ ที่หายไป ของงาน จิตรกรรม ล้านนา ที่วัดอุโมงค์... สุรชัย จงจิตงาม

The Lost Mural of Wat Umong... Surachai JongJitNgam

เทคนิค และวัสดุของ จิตรกรรมฝาผนัง แบบดั้งเดิม... ชมพูนุท ประศาสน์เศรษฐ

Technique and Materials of Tradition Thai Mural Paintings... Chompunut Prasartset

หอยเบี้ย: เงินตรา จากท้องทะเล... วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เส้นทางสายผ้าลาวครั่ง... อรชร เอกภาพสากล
ฮูปแต้มสินอีสาน จังหวัดมหาสารคาม... ศิริพันธ์ ตาบเพ็ชร
สัมภาษณ์ ฉลอง ภู่สว่าง ครูเพลงมหัศจรรย์... ปั้นนักร้อง ดังได้ในเพลงเดียว... นคร สำเภาทิพย์
พระอุปคุต กับงานบุญผะเหวด... ธีรพงษ์ จตุรพาณิชย์
พิมาย: ว่าด้วยความสะอาด กับปราสาทหิน... กฤช เหลือลมัย

The Alternative Approach to the Preservation of Archaeological Monuments... Krit LuaLaMai

บรรณวิพากษ์ "แนะนำ เว็ปไซท์ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี"... นิติ แสงวัณณ์
www.britanica.com
www.historychannel.com
www.moe.go.th/finearts
www.cs.ait.ac.th/~wutt/oldindex.html
รายงาน "การประชุมทางวิชาการของ EASEAA ที่เบอร์ลิน"
ข้อมูลใหม่
- แผ่นศิลาฤกษ์ พบใหม่ ที่ซุ้มทิศ ปราสาทเมืองสิงห์
- เมรุ พรหมทัต: ความรับรู้ในช่วง ก่อนและหลัง การขุดแต่ง พ.ศ.๒๕๓๔
- เขื่อนกั้นน้ำโบราณ ในประเทศไทย
- แหล่งหินตั้ง ที่ม่อนผาต้าย
ก่อนหน้าสุดท้าย
ภาพปก
.....พระพุทธจุฬาลักษณ์ พระพุทธรูปประธาน ภายในอุโบสถ วัดราชสิทธาราม กรุงเทพฯ เชื่อกันว่า พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้า นภาลัย ทรงปั้นพระเศียร และพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปั้นพระองค์
.....พระพุทธรูปองค์นี้ ประทับนั่ง ปางมารวิชัย แวดล้อมด้วย ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ที่ประกอบด้วย ภาพมารผจญบนผนังสกัดหน้า ภาพจักรวาลบนผนังสกัดหลัง ผนังแปร ระหว่างช่องหน้าต่างเป็นภาพ พุทธประวัติ และเวสสันดรชาดก และเหนือช่องหน้าต่างขึ้นไป เป็นภาพเทพชุมนุม
.....กล่าวได้ว่า การจัดวางภาพ จิตรกรรมฝาผนัง ในลักษณะเช่นนี้ เป็นแบบแผนที่ ปรากฏมาตั้งแต่ สมัยอยุธยาตอนปลาย สืบต่อมา จนถึง ช่วง ต้นรัตนโกสินทร์ รับกับประวัติ ของวัดแห่งนี้ ซึ่งใน พงศาวดาร กล่าวว่า เป็นวัดเก่า ที่พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลก ทรงสถาปนาขึ้นใหม่ ดังนั้น การ "สถาปนา" เฉพาะกรณีที่ เกี่ยวข้องกับ จิตรกรรมฝาผนังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ ทั้งอาจเป็น เพียงแค่ ซ่อมแซม จิตรกรรมขึ้นใหม่ ตามแบบแผนเดิม ที่มีอยู่ก่อน หรือไม่เช่นนั้น ก็อาจเป็น การวาดขึ้นใหม่ โดยสืบขนบการวาด มาจาก สมัยอยุธยาตอนปลาย แต่ทั้งนี้ ภาพจิตรกรรม ก็คงได้รับ การซ่อมแซม ในรัชกาลต่อๆ มาโดยตลอด
.....น่าสังเกตว่า แบบแผนการจัดภาพ จิตรกรรม ภายในพระอุโบสถ ตามแบบแผนนี้ สอดคล้องกับ เรื่องราวใน ปฐมสมโพธิกถา ซึ่งเป็น คัมภีร์โบราณ ที่เล่าเรื่องเกี่ยวกับ พุทธประวัติ ในปัจจุบัน ฉบับที่ใช้กัน อย่างแพร่หลาย เป็นพระนิพนธ์ของ สมเด็จ กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส ที่ทรงชำระมาจาก ปฐมสมโพธิ์ สำนวนล้านนา เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๗-๒๓๘๘
.....นั่นคือ หากเราลองนำ พุทธประวัติ ในปริเฉท ๑๐ "อภิสัมโพธิปริวรรต" มาเปรียบเทียบกับ ภาพจิตรกรรมแล้ว จะเห็นว่า มีเนื้อหาตรงกัน โดยเทียบได้จาก เมื่อพระองค์ตรัสรู้ ซึ่งสื่อได้ด้วยภาพ มารผจญบนผนังสกัดด้านหน้า ก็เกิด ปรากฏการณ์ขึ้น มากมาย ดังพรรณนาได้ว่า
........สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธ สัพพัญญู ตรัสรู้ พระสัพพัญญุตาญาณ อันประดับด้วย อุฬารโลกุตร คุณสมบัติ มีพระจตุเวสารัชชญาณ แลทสพลญาณ เป็นต้น ในลำดับแห่งเวลา ตามพารุณสมัย พร้อมกันกับ มหัศจรรย์ทั้งปวง ในกาลนั้น ก็บังเกิดโกลาหล ทั้งสกลโลกธาตุ เป็นอันหนึ่งอันเดียว ตั้งแต่ เหฏฐาภาคปฐพีดล จนตราบเท่าถีง พรหมโลก เป็นกำหนด...
เรื่องเฉพาะเล่ม
"...อาจวิเคราะห์ เชิงสังคมวิทยา ได้ว่า พฤติกรรม การนั่งทำสมาธิ หรือวิปัสสนา ของชนชั้นกลาง ในสังคมนั้น ก็คือ การหนีตัวเอง หนีสังคมที่วุ่นวายเพียงชั่วคราว โดยยังไม่ ละทิ้ง โลกที่เป็นอยู่จริงไป..."

 

รูปสุนทรีวาณี"...ภาพจากเรื่อง รามเกียรติ์ และภาพเทวดา ที่เคยถือว่า ศักดิ์สิทธิ์ เช่นที่เคยอยู่ใน ตำราพระเทวรูป กลับกลายเป็น ของซื้อของขาย แลกเปลี่ยน ที่แพร่หลาย และพบเห็นได้ ทั่วไป..."
อ่านต่อ คลิกที่นี่Click here

 

ภาพจักรวาล (คลิกเพื่อดูรูปใหญ่)"...ภาพจักรวาล จึงน่าจะเป็น ทั้งภาพขยาย สภาวการณ์ในช่วงขณะที่ พระพุทธเจ้า กำลังทรงเจริญพระญาณทั้งสาม เข้าสู่ห้วงเวลา แห่งการตรัสรู้ และเป็นภาพที่แสดง สภาวะการ อยู่เหนือจักรวาล รวมทั้งแสดงความเป็น ศูนย์กลางจักรวาล ของพระพุทธองค์ด้วย ในเวลาเดียวกัน..."


 

จิตรกรรมในพระที่นั่ง ไพศาลทักษิณ (คลิกเพื่อดูรูปใหญ่)"...จิตรกรรมในพระที่นั่ง ไพศาลทักษิณ มีหน้าที่ บ่งบอกถึง ความเป็นใหญ่ ทั้งทางพุทธ และพราหมณ์ ของพระมหากษัตริย์ ในพระราชพิธี บรมราชาภิเษก โดยสถาปนาให้พระองค์เป็นเสมือน เทพผู้ยิ่งใหญ่ คือพระอินทร์ และพระอิศวร..."

 

คติการเขียนภาพ เทพผู้พิทักษ์ (คลิกเพื่อดูรูปใหญ่)"...คติการเขียนภาพ เทพผู้พิทักษ์ ในลักษณะเช่นนี้ คงไม่ได้รับ ความนิยม เท่าใดนัก เพราะหลังจากสมัย รัชกาลที่ ๔ การเขียนภาพ เทพผู้พิทักษ์ ก็กลับไปเขียนเป็นภาพ เทวดายืนแท่นตามเดิม ดังที่เคยเขียนกันมา ในสมัยก่อนหน้านี้..."

รูปเขียน-ภาพพิมพ์

MB-Journal@ViriyahBooks.com

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) วารสาร เมืองโบราณ (Muang Boran Journal) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)