สิ่งพิมพ์ ที่ผลิตออกมามาก และแพร่หลาย ไปในที่ต่างๆ นี้ ได้กลายเป็น ต้นแบบใหม่ สำหรับช่างเขียน จิตรกรรมฝาผนัง ดังเช่น รูปล่าง เป็นภาพ จิตรกรรมฝาผนัง ในอุโบสถ วัดบ้านยาง อำเภอเสาไห้ สระบุรี
คลิกเพื่อดูรูปใหญ่ (Click for more detail)
รูปเขียน-ภาพพิมพ์

ศรัณย์ ทองปาน

รูปสุนทรีวาณี คลิกเพื่อดูรูปใหญ่ (Click for more detail).....ในสังคมไทยโบราณ การคัดลอกภาพ เป็นทั้งกระบวนการเรียนรู้ และการทำงาน ของช่างไทย ตั้งแต่เริ่มฝึกฝน การหัดเขียน ตามแบบของครู ถือได้ว่า เป็นหัวใจสำคัญ แม้จนเมื่อชำนาญแล้ว การคัดลอกภาพ ก็ยังคงเป็น ส่วนสำคัญของงาน โดยเฉพาะภาพ ซี่งถือกันว่า มีความงดงามเป็นพิเศษ อิทธิพลของสื่อ จากโลกภายนอก ยิ่งเพิ่ม "ต้นแบบ" ให้กับช่างไทย มากขึ้นไปอีก ทูตจากรัฐบาลอังกฤษ ผู้เดินทางมายังสยาม เมื่อ พ.ศ.๒๓๖๔ ได้บันทึกไว้ว่า จิตรกรรมฝาผนัง ในวิหาร วัดพระเชตุพน มีภาพที่ลอกมาจาก ภาพพิมพ์ของอังกฤษ และฝรั่งเศส รวมอยู่ด้วย

รูปยาซิกาแรต ภาพตัวละครจาก รามเกียรคิ์ และเทวดา ที่พิมพ์แจกกับ บุหรี่ตรา นกอินทรี ของบริษัทยาสูบ บริติช-อเมริกัน ในช่วง รัชกาลที่ ๖ .....การคัดลอกภาพ จากรูปฝรั่ง เช่นนี้ ยิ่งมีเพิ่มขึ้น ในรัชกาลต่อๆ มา โดยเฉพาะเมื่อถึง รัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว เทคโนโลยีการพิมพ์ ในโลกตะวันตก ที่ก้าวหน้ามากขึ้น จนสามารถพิมพ์ภาพสี ได้ใกล้เคียงกับ ต้นฉบับ ทำให้เกิด นวัตกรรมใหม่ขึ้นมาในงานช่างของไทย คือ พระบฏ ที่ได้จาก การนำภาพเขียน ไปเป็นต้นแบบ ทำแม่พิมพ์ แล้วพิมพ์ลงบนกระดาษ นำออกวางจำหน่าย ในฐานะกึ่งวัตถุมงคล กึ่งของตกแต่งบ้าน ปรากฏว่า ภาพพิมพ์พระบฏเหล่านี้ ได้รับความนิยม แพร่หลายในท้องตลาดมาก เนื่องจาก มีราคาถูก
คลิกเพื่อดูรูปใหญ่ (Click for more detail)

คลิกเพื่อดูรูปใหญ่ (Click for more detail)

คลิกเพื่อดูรูปใหญ่ (Click for more detail)
.....ภาพพิมพ์ จากงานจิตรกรรมไทย อีกประเภทหนึ่ง ที่แพร่หลายในช่วง รัชกาลที่ ๖ ก็คือ "รูปยาซิกาแรต" ที่เป็นแผ่นภาพ พิมพ์สอดสีสวยงาม แถมมาในซองบุหรี่ รูปยาซิกาแรตนี้ มีพิมพ์ออกมาเป็นชุด ทำเป็นรูปเรื่องราวต่างๆ แม้แต่ภาพตัวละคร ในเรื่องรามเกียรติ์ และภาพเทวดา ที่เคยถือกันว่า ศักดิ์สิทธิ์ ก็มีการซื้อขาย แลกเปลี่ยน กันแพร่หลาย ยิ่งไปกว่านั้น รูปยาซิกาแรตนี้ ยังเป็นอุปกรณ์ เล่นสนุก ของเด็กๆ ในยุคนั้นด้วย ทว่าความเชื่อที่ว่า ภาพเหล่านี้ มีความศักดิ์สิทธิ์ หรือเป็น"ของร้อน" ก็ยังคงมีอยู่ ดังนั้น ในรัชกาลที่ ๗ เมื่อมีการพิมพ์ สมุดภาพรูป หนังใหญ่ ซึ่งก็คือ ภาพตัวละคร ในเรื่อง รามเกียรติ์ ผู้จัดพิมพ์ จึงต้องให้คำอธิบายว่า การ"ถือ"เรื่องนี้นั้น เป็นความเข้าใจผิด และว่า การพิมพ์ภาพเหล่านี้ ไว้นั้น เป็นการสงวน แบบเก่าโบราณไว้ ให้คนชั้นหลัง ได้ดูกัน จะเห็นได้ว่า เพียงในช่วงระยะเวลา ร้อยกว่าปีมานี้ เทคโนโลยี ทั้งการถ่ายภาพ และการพิมพ์ ได้ก่อให้เกิด ความหมายใหม่ๆ ขึ้นแก่ ภาพจิตรกรรมไทย อย่างมากมาย ชนิดที่ ไม่เคยปรากฏมาก่อน การ"เคลื่อนย้าย"รูปเขียน ออกจาก บริบทดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็น ในโบสถ์วิหาร หรือในสมุดข่อยคัมภีร์ ออกไปเป็น ภาพพิมพ์ในหนังสือ รูปถ่าย หรือเป็นแผ่นกระดาษ ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับ การเปลี่ยนผ่านของ ความหมายของภาพ จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ กลายเป็นสินค้า ไปจนถึง ความเป็นเอกลักษณ์ หรือมรดก วัฒนธรรมของชาติ ที่พึง"สืบสาน"ต่อไป ยังคนรุ่นหลัง
รูปยาซิกาแรต ชุดอาชีพ เช่นภาพคนขายห่อหมก และเจ๊กขายขวด ที่ออกเผยแพร่ในปี พ.ศ.๒๔๖๓ ก็ได้กลายเป็น ต้นแบบ ภาพประกอบใน จิตรกรรมฝาผนัง ที่วัดบางนมโค พระนครศรีอยุธยา ที่สร้างขึ้นในสมัยของ พระครูหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน) เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๗
คลิกเพื่อดูรูปใหญ่ (Click for more detail)

The History of Reproduction of Thai Paintings


Sran Tongpan

.....Learning to be a traditional painter in pre-modern Siam, one must begin with copying the masters' masterpieces. A novice painter must take pain in making a reproduction of the great pieces of work until he develops his own skill. Besides its educational purpose, making a reproduction of the masters' paintings also has another function to preserve and to pass on sacred manuscripts and artistic traditions.
The advent of western printings since the 19th century has increased the originals from which replications have been made. Inexpensive prints from the west were taken to recreate as parts of the mural paintings. The pictures of Hindu Gods in a book published in the 19th century London were also replicated and included in a sacred text of Thai mythology.

คลิกเพื่อดูรูปใหญ่ (Click for more detail) .....The advance of color printing technology has fostered the proliferation of artistic replications. Some Buddhist painting replicas were printed and sold as worshipping-cum-decorative objects. In the early 20th century, cigarette cards bearing the images of Gods and key characters from Thai Ramayana were invented and later on have become popular collectibles. Furthermore, print technology has also created art books containing a number of traditional, religious paintings.
คลิกเพื่อดูรูปใหญ่ (Click for more detail)คลิกเพื่อดูรูปใหญ่ (Click for more detail) .....To some, print technology has trivialized what used to be deemed sacred. To others, print technology has brought exclusive paintings and drawings to a wider appreciation of the public.

รูปเขียน-ภาพพิมพ์

MB-Journal@ViriyahBooks.com

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) วารสาร เมืองโบราณ (Muang Boran Journal) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)