Click here to visit the Website

คาร์ล เดอห์ริง และการสร้างสรรค์งาน สถาปัตยกรรม ในประเทศสยาม
กลับไปที่หน้าแรก back (ต่อ)
.......การเข้ารับตำแหน่งใหม่ ในกระทรวงมหาดไทย นับเป็นการปูทาง ให้สถาปนิกหนุ่ม มีโอกาสได้คุ้นเคย และใกล้ชิดกับ พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ่ที่รับราชการ อยู่ในกระทรวงนี้ เช่น สมเด็จฯ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ และ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ
.......ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๕๒ พระองค์เจ้า ดิลกนพรัฐ ทรงว่าจ้างให้ เดอห์ริง ออกแบบก่อสร้าง วังของพระองค์ และต่อมา ในเดือนกันยายน พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ให้เขาเป็น สถาปนิกผู้ออกแบบ และควบคุมการก่อสร้าง พระราชวังแห่งใหม่ ที่เพชรบุรี
ÀÒÂã¹ ¾ÃÐÃÒÁÃÒª¹ÔàÇȹì
พระรามราชนิเวศน์ โถงเฉลียง

.......ในปี พ.ศ.๒๔๕๔ สมเด็จฯ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ ทรงว่าจ้าง เดอห์ริง ให้ออกแบบ ก่อสร้างวังใหม่ ของพระองค์ ที่ถนนหลานหลวง (วังวรดิศ) และในปีเดียวกันนี้ เขายังได้รับ ความไว้วางพระทัยจาก สมเด็จฯ เจ้าฟ้าบริพัตร สุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์ วรพินิต ให้ออกแบบก่อสร้าง ตำหนักที่ประทับ ของสมเด็จ พระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี พระมารดา ของพระองค์ (ตำหนักสมเด็จ) ในวังบางขุนพรหมอีกด้วย
.......ความเครียดทั้งทางร่างกาย และจิตใจ อันเนื่องมาจาก การหักโหมงานหนัก อีกทั้ง บรรยากาศ ในการทำงาน ที่เต็มไปด้วย ความแก่งแย่งชิงดี ระหว่าง ชาวต่างประเทศ ทำให้ เดอห์ริง ล้มป่วยลงอย่างหนัก ในปี พ.ศ.๒๔๕๖ จนกระทั่ง คณะแพทย์ มีความเห็นพ้องต้องกันว่า ควรส่งผู้ป่วย กลับไปทำการรักษา ในทวีปยุโรปโดยด่วนที่สุด
.......ถึงแม้ว่า เดอห์ริง จะไม่มีโอกาส กลับเข้ามารับราชการ ในประเทศสยามอีก แต่เขาก็พยายามเสมอ ที่จะกลับเข้ามา เพื่อศึกษาค้นคว้า ทางด้านศิลปะ และ สถาปัตยกรรมไทย ตลอดจนเพื่อการ ขุดค้นทางโบราณคดี

พระรามราชนิเวศน์ โค้งบันไดทางขึ้น
พระรามราชนิเวศน์ โค้งบันไดทางขึ้น ด้านทิศใต้ ของโถงทางเข้าด้านหน้า
.......สงครามโลกครั้งที่ ๑ (พ.ศ.๒๔๕๗-๒๔๖๑) นับเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ เดอห์ริง ไม่สามารถกลับเข้ามา ยังประเทศสยาม เมื่อสงครามสิ้นสุดลง เดอห์ริง ได้หันมา ประกอบอาชีพ นักประวัติศาสตร์ศิลปะ และ โบราณคดี หนังสือ และ บทความต่างๆ เกี่ยวกับสถาปัตยกรรม ศิลปะ และ วัฒนธรรมไทย ของเขา ได้รับความสนใจ นิยมยกย่อง และ ได้รับการยอมรับ เป็นอย่างสูง นอกจากนั้นแล้ว เดอห์ริง ยังประกอบอาชีพเสริม เป็นนักออกแบบผลิตภัณฑ์ เช่นออกแบบลวดลายผ้า พรม กระดาษติดผนัง เครื่องทองสำริด และเครื่องถ้วยชาม ทั้งยัง แปลนวนิยาย ของนักเขียนชื่อดัง ชาวอังกฤษ และ อเมริกันอีกด้วย
.......ถึงแม้ว่าเดอห์ริง จะเป็นชาวเยอรมัน ที่เข้ามารับราชการ ในประเทศสยาม เพียงหกปีเท่านั้น แต่เขากลับแสดง ความรัก และหวงแหนศิลปะ โบราณสถาน และ โบราณวัตถุ ของไทย อย่างออกนอกหน้า ทั้งนี้เป็นเพราะ เขายอมรับนับถือ ตลอดจน รู้ซึ้งถึงคุณค่า ทางภูมิปัญญา และฝีมือของช่างไทย หนังสือทุกเล่ม และบทความทุกเรื่อง ของเขา สะท้อนให้เห็นถึง ความรู้ ความเข้าใจ และ การยกย่องเชิดชู คุณค่าศิลปะไทย อย่างชัดแจ้ง
.......ท่ามกลางสภาวะ สงครามโลกครั้งที่ ๒ คาร์ล เดอห์ริง ได้เสียชีวิตลง เนื่องจาก ผลของการผ่าตัด ในโรงพยาบาล ณ เมืองดาร์มสตัท (Darmstadt) เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๔ ขณะที่มีอายุเพียง ๖๒ ปี
วังวรดิศ ห้องประทับพักผ่อน
วังวรดิศ ห้องประทับพักผ่อน
.......ผลงานสำคัญของเขา ที่ยังหลงเหลืออยู่ ในปัจจุบัน ได้แก่ วังของพระองค์เจ้า ดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี ซึ่งนับเป็น วังแห่งแรก ที่เดอห์ริง ได้ออกแบบก่อสร้าง วังแห่งนี้ ได้สูญไปจาก ความทรงจำ ของผู้คน และเพิ่งถูกค้นพบ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อไม่นานมานี้เอง ปัจจุบันคือ ที่ทำการของ การไฟฟ้านครหลวง สามเสน นอกจากนั้น ผลงานของเขา ที่เป็นที่รู้จักกันดีแล้ว ก็ได้แก่ พระรามราชนิเวศน์ หรือวังบ้านปืน ที่จังหวัดเพชรบุรี วังวรดิศ ถนนหลานหลวง ของสมเด็จฯ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ และ ตำหนักสมเด็จในวังบางขุนพรหม ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่ง ของธนาคารแห่งประเทศไทย
วังวรดิศ มุมมองจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
วังวรดิศ มุมมองจากทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือ
.......พระราชวัง และวังทั้งสามแห่ง ที่เดอห์ริง ออกแบบก่อสร้าง ไว้ในประเทศไทย นับเป็นงานออกแบบ และสร้างสรรค์ทางสถาปัตยกรรม ที่มีค่าควรแก่การศึกษา และทำนุบำรุงรักษา เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นอาคาร ที่มีความสำคัญ ต่อประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม ของไทย และที่สำคัญที่สุด คือเป็นอาคาร ที่แตกต่างจาก อาคารส่วนใหญ่ ในสมัยเดียวกัน ที่มักปราศจาก ความริเริ่ม และสร้างสรรค์ เพราะมุ่งลอกเลียนแบบ สถาปัตยกรรมยุโรป ในรูปแบบต่างๆ เพื่อเอาใจ ผู้ว่าจ้าง ที่มีทรัพย์ แต่ถ่ายเดียว ส่วนงานของเดอห์ริง นอกจากจะเป็น ความภาคภูมิใจ ของสถาปนิกแล้ว ยังนับเป็น ตัวอย่างที่ดี ของการนำเอาสถาปัตยกรรม แบบตะวันตก มาประยุกต์เข้ากับ บางอย่างของ สถาปัตยกรรมไทย ในแนวคิดแบบ ประโยชน์นิยม (Functionalism)
ตำหนักสมเด็จ หน้าตึกด้านตะวันตก
ตำหนักสมเด็จ หน้าตึกด้านตะวันตก
.......อาคารทุกหลัง ที่เขาออกแบบก่อสร้าง จะมีรูปแบบที่งดงาม ไม่ซ้ำแบบกัน และไม่ซ้ำแบบใคร ไม่ว่าจะเป็น การจัดวางองค์ประกอบ ทางสถาปัตยกรรม บนหน้าตึก หรือลวดลาย ที่ใช้ประดับประดา ตกแต่ง อาคาร ทั้งภายนอก และภายใน ยิ่งไปกว่านั้น เอกลักษณ์ของ แต่ละอาคาร ราวกับว่า ได้ถอดแบบมาจาก คุณลักษณะ ของผู้เป็นเจ้าของ เช่น พระรามราชนิเวศน์ ถูกสร้างให้ใหญ่โต โอ่อ่า สง่างาม และตระการตา เพื่อให้คู่ควรกับ พระบารมีของ องค์ราชา, วังวรดิศ เผยให้เห็นถึง ความนอบน้อมถ่อมตน ซื่อสัตย์ และจริงใจ อันเป็น คุณลักษณะเด่น เฉพาะพระองค์ ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ, วังของพระองค์เจ้า ดิลกนพรัฐ เน้นความมัธยัสถ์ ซื่อตรง เข้มแข็ง หนักแน่น และสง่างาม สมชายชาตรี ส่วนรูปแบบภายนอก ของตำหนักสมเด็จ นำเสนอ ความสวยสง่า ของสตรีเพศ ที่ไม่จำต้องมี ถนิมพิมพาภรณ์ใด มาส่งเสริม ส่วนการตกแต่งภายใน แสดงให้เห็นถึง ความงดงาม อ่อนหวาน และละมุนละไม อันเป็นรูปสมบัติ และคุณสมบัติ ของ อิสตรี พระรามราชนิเวศน์ วังวรดิศ และตำหนักสมเด็จ ต่างก็ได้รับการ บูรณะ ซ่อมแซม และดูแลรักษา เป็นอย่างดีแล้ว จากรัฐบาล และผู้เป็นเจ้าของ แต่ตำหนักของ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ นั้น อยู่ในลักษณะที่ น่าเศร้าใจยิ่งนัก ข้าพเจ้าจึงขอฝากเอาไว้ ให้ผู้เกี่ยวข้อง และผู้ที่น่าจะเกี่ยวข้อง ช่วยคิดหาหนทาง ร่วมกันแก้ไข ในเรื่องนี้ต่อไป

Karl Dohring and His Architecture in Siam
กลับไปที่หน้าแรก back (Cont.)
.......Unlike the work of his contemporary Western architects in Siam, Dohring's designs were not copies of Western styles of architecture so as to please the local customers, but different pieces of his work showed Dohring's intention to blend western to Thai architectural styles with the emphasis on functions. His individual building, therefore, is unique as if it was inspired by a characteristic of the owner. For example, King Rama V's villa in Phetchaburi was imposing and grand. Prince Damrong's palace was simple yet elegant. Prince Dilok's palace was economical and straightforward, candid and masculine, where Somdej's residence was graceful with sweet interior to reflect the feminine quality of the owner.
ภาพฉาย กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
กรมพระนครสวรรค์ วรพินิต ทรงฉายร่วมกับ สมเด็จพระนางเจ้า สุขุมาลมารศรี และกรมหลวง ศรีรัตนโกสินทร์
.......In 1911, Dohring became disheartened by the sudden death of his wife and intense rivalry among foreign employees in Siam. He then decided to take a one-year leave from work to spend time in Germany. After Dohring came back to Bangkok in 1913, the scope of his work at the Ministry of Interior had expanded. Beside his routine as an architect and engineer, he was also assigned to undertake archaeological excavation and survey in some Northern areas of Siam.
.......In 1913, Dohring was asked to design several buildings, some of which have never been built, such as the Navy Headquarter, the Navy Hospital, etc. Overwhelmed by work and stress, Dohring fell gravely sick and doctors recommended that he should be sent back to Europe.
.......After recovering from sickness in Germany, Dohring attempted a return to Siam but the First World War (1914-1918) had prevented him from coming back. After the War ended, Dohring decided to quit his career as an architect and turned to be an art historian and archaeologist. With his first hand experience in Siam, his insightful writings on Siamese art, architecture and culture received great attention and admiration from Western readers. In addition to his career as Siamese art historian, Dohring also took his sideline jobs as a product designer and translator of English and American novels.
.......Dohring's death came in the midst of the Second World War. He died in the hospital in Darmstadt on 1 June 1941, at the age of 61.

 

สารบัญ | คาร์ล เดอห์ริง ๑ | Karl Dohring 1


สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) วารสาร เมืองโบราณ (Muang Boran Journal) email