Click here to visit the Website

ว า ร ส า ร เ มื อ ง โ บ ร า ณ
Muang Boran Journal

หน้าปกเล่มที่ ๒๕ ISSN 0125-426X
ปีที่ ๒๕ ฉบับ ๑ มกราคม - มีนาคม ๒๕๔๒
Vol. 25 No. 1 January -March 1999
วารสารวิชาการรายสามเดือน เพื่อการอนุรักษ์มรดกไทย
ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ และวัฒนธรรม

ส า ร บั ญ

โลกจริง กับโลกสมมุติ ในสังคมไทย

คาร์ล เดอห์ริง และการสร้างสรรค์ งานสถาปัตยกรรม ในประเทศ สยาม ... ดร.กฤษณา หงษ์อุเทน

Karl Dohring and His Architecture in Siam... Krisana Honguthen

สถานีรถไฟกรุงเทพฯ ที่ไม่ได้สร้าง: หน่ออ่อน ของสถาปัตยกรรม ยุคใหม่ ในสยาม

The Unexecuted Bangkok Railway Station... Somchart Chungsiri-arak

เทคนิค การลดชั้นหลังคา ในวิหารโถง สกุลช่างลำปาง: กรณีศึกษา วิหาร จามเทวี วัดปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จัหวัดลำปาง... สุกัญญา เบาเนิด
ฮูปแต้ม เมืองร้อยเอ็ด... ธีรพงษ์ จตุรพาณิชย์
ระบบชลประทาน ระบบประปา สมัยสมเด็จ พระนารายณ์ มหาราช... ร้อยเอก บุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ

Ancient Irrigation System in Lopburi... Boonyarit Chaisuwan

น้ำเสียง ในพิพิธภัณฑ์ พระปฐมเจดีย์ใหม่... กฤช เหลือลมัย
แซบส้อยอีสาน... วีระ สุดสังข์
เจดีย์วัดเกาะกลาง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ... จิรศักดิ์ เดชวงศ์ญา

The Chedi at Wat Ko Klang... Jirasak Dejwongya

ลายคำ ประดับ รอยพระพุทธบาทไม้ ภายในวิหาร พระเจ้าศิลา วัดพระธาตุ ลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง... สุรชัย จงจิตงาม
คันสุนศร.. เด่นดาว ศิลปานนท์
บรรณวิพากษ์
ข้อมูลใหม่

Quite to the East Indies... Julie Barrie

ข้อคิดใหม่
ก่อนหน้าสุดท้าย

คาร์ล เดอห์ริง และการสร้างสรรค์งาน สถาปัตยกรรม ในประเทศสยาม
ดร. กฤษณา หงษ์อุเทน

ภาพถ่าย คาร์ล เดอห์ริง
ภาพถ่าย คาร์ล เดอห์ริง
.......ชื่อของสถาปนิกชาวเยอรมัน คาร์ล ซีกฟรีด เดอห์ริง (Karl Siegfried Dohring ๒๔๒๒-๒๔๘๓) อาจจะเคยผ่านตา ผู้อ่านบางท่านมาบ้างแล้ว ส่วนผลงาน ทางสถาปัตยกรรม ของเขาก็นับได้ว่าพอเป็นที่รู้จักกัน บ้างพอสมควรในปัจจุบัน บทความเรื่องนี้ เป็นส่วนย่อของ วิทยานิพนธ์ ฉบับภาษาเยอรมัน ของข้าพเจ้า ที่มุ่งหมาย จะแนะนำให้ผู้อ่าน ได้รู้จัก สถาปนิกผู้นี้ และผลงานของเขา ให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังถือเป็นการ เผยแพร่ ผลการวิจัย ครั้งล่าสุด ที่จะช่วยแก้ไข เพิ่มเติม ข้อมูล ที่ขาดหายไป ในอดีต ให้ถูกต้อง และสมบูรณ์มากขึ้น
วังวรดิศ
วังวรดิศ

.......เดอห์ริง เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๒๒ ที่เมืองโคโลน ประเทศเยอรมนี สำเร็จการศึกษา สาขา สถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่เบอร์ลิน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๙ ขณะมีอายุ ๒๖ ปี ความสนใจ และประทับใจ ในสถาปัตยกรรม และลวดลาย ประดับประดา ตกแต่งสถาปัตยกรรม ของประเทศในแถบ ภาคพื้น เอเชียอาคเนย์ ดึงดูดใจ ให้สถาปนิกหนุ่ม สมัครเข้ารับราชการ ในประเทศสยามทันที หลังจากที่ สำเร็จการศึกษา เขาเข้ารับราชการใน กรมรถไฟหลวง เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๙ และ ได้ออกแบบ ก่อสร้างอาคารต่างๆ สำหรับกรมรถไฟไว้ หลายแห่ง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๒ เขาจึงได้ย้ายไป ดำรงตำแหน่ง เป็นสถาปนิก และวิศวกร กรมศุขาภิบาล สังกัด กระทรวง มหาดไทย

Click hereอ่านต่อคลิกที่นี่


Karl Dohring and His Architecture in Siam
Krisana Honguthen
คาร์ล เดอห์ริง ในวัดพระเชตุพนฯ
คาร์ล เดอห์ริง ในวัดพระเชตุพนฯ ประมาณปี พ.ศ.๒๔๔๙ - ๒๔๕๓
.......Karl Dohring was born on 14 August 1879 in Koln, Germany. In 1905, he graduated from a university in Berlin with a degree in architecture. Impressed by the art and architectural decoration of Southeast Asia, he came to Siam in July 1906 to work as an engineer of the Royal Siamese Railways Department.
.......During 1906-1912, Dohring designed and supervised the construction of several buildings of the Department, such as the Department's headquarter, the staff's houses, storages and publishing house, and the stations at Bangkok Noi, Phitsanulok, Phichit, Phichai, Uttaradit, and Sawankhalok. Beside his work for the Royal Railways Department, Dohring had also drawn several blueprints for residences and commercial buildings, whose concrete evidence has not yet been identified.
พระรามราชนิเวศน์
พระรามราชนิเวศน์ มุมมองจากทิศ ตะวันตกเฉียงใต้
.......In 1909, Dohring was appointed to work as an architect and engineer of the Ministry of Interior. His new position gave him an opportunity to become acquainted with the Ministry's high-ranking officers as well as the members of Royal family, who worked for the Ministry, such as H.R.H. Prince Damrong and H.R.H. Prince Dilok of Sarn. With his outstanding skill and ability, Dohring's career at the Ministry of Interior took off. During 1909-1911, Dohring was commissioned to design and supervise the construction of King Rama V's villa in Phetchaburi, Prince Dilok's palace, Prince Damrong's Varadis Palace, and Somdej's Residence in the palace of H.R.H. Prince Paribatra of Nakhon Sawan. He was also responsible for the layout of a city plan for Nakhon Pathom and Phetchaburi.

Click hereNext Page

 


สารบัญ | คาร์ล เดอห์ริง หน้า ๒ | Karl Dohring page 2


สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) วารสาร เมืองโบราณ (Muang Boran Journal) email