Click here to visit the Website

การปรับเปลี่ยน ยุคสมัยของ พุทธศิลป์ ในประเทศไทย
วัดพระธาตุ หริกุญชัย (คลิกเพื่อดูรูปใหญ่)
พระมหาธาตุ
วัดพระธาตุ หริกุญชัย
จังหวัดลำพูน
(ต่อ)
    การเชื่อมโยงระหว่าง พุทธศิลป์ กับชื่อของ อาณาจักร มีความสำคัญต่อ อาณาจักรเหล่านี้มาก เพราะศิลปะ เป็นหลักประกันว่า อาณาจักรเหล่านี้ มีจริง แต่หากใช้ หลักฐาน ทางเอกสารอย่างเดียว มายืนยันแล้ว อาณาจักรเช่น ทวารวดี และศรีวิชัย ก็คงจะมี ความสำคัญทาง ประวัตศาสตร์ ไม่มากไปกว่า จิถู ลังยาสู หรือ รัฐเล็กรัฐน้อยต่างๆ ที่กล่าวถึง ในเอกสารของจีน ดังนั้น เมื่อแยกงานศิลปะ ออกจาก ชื่ออาณาจักรแล้ว ความเป็นจริงก็คือ ทวารวดี และศรีวิชัย มิได้มีความสำคัญไปกว่า เมืองท่าอื่นๆ ที่ทำการค้า กับจีนเลย
    เช่นเดียวกันกับ การสร้างภาพลักษณ์ว่า อาณาจักรสุโขทัย เป็นอาณาจักรที่ ยิ่งใหญ่ โดยอาศัย งานสร้างสรรค์ ทางศิลปะ โดยเฉพาะพระพุทธรูป ซึ่งมี "สุนทรียภาพ อันประเสริฐ เป็นเลิศ" และเมื่อผนวกเข้ากับ แนวความคิดที่ว่า อาณาจักรสุโขทัย มีความยิ่งใหญ่แล้ว ก็ยากที่จะ แยกออกจาก มโนทัศน์ของ "สุโขทัย ยุคทองของ สยาม" ไปได้ เพราะ ศิลปะ เป็นตัวยืนยัน ความสำคัญ ของอาณาจักร สุโขทัย
พระมหาไวโรจนะ (คลิกเพื่อดูรูปใหญ่)
พระมหาไวโรจนะ
สำริด สูง ๔๒ ซม.

    ความผิดพลาดของ นักปราชญ์รุ่นเก่า ที่สำคัญ อีกประการหนึ่ง คือการที่ละเลย ประเด็นที่ว่า พระพุทธรูป เป็นรูปจำลอง หรือรูปเลียนแบบ ซึ่งไม่ได้อยู่ใน ขอบข่าย ของงานศิลปะเสรี แบบตะวันตก ที่จะมาจำแนก ตามยุคสมัยได้ พระพุทธรูป หรือพระปฏิมา คือรูปจำลอง ที่เลียนแบบ สืบต่อกันมา จากพระพุทธรูป ที่มีความนิยมสูง ในแต่ละช่วงเวลา หรือเพราะ พระพุทธรูปองค์นั้น มีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นพิเศษ นอกจากนั้นแล้ว พระพุทธรูป ยังเป็นรูปสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นรูปธรรม ของปรัชญา ในพุทธศาสนา ที่เป็นนามธรรม หากสร้างภาพ ขึ้นตามใจชอบแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะ สื่อความคิดนั้นได้ ดังนั้น พระพุทธรูป จึงอยู่เหนือกาลเวลา และสถานที่ เพราะพุทธศาสนิกชน คนใด ก็สามารถ จำลองพระพุทธรูป ตามแบบที่ต้องการได้ ไม่ว่าคนคนนั้น จะอยู่ ณ ที่ใด ในสมัยใด
    ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นความผิดพลาดของ นักปราชญ์รุ่นเก่า ที่นำเอา พุทธศิลป์ ไปไว้ในบริบทของ รัฐศาสตร์ โดยนำมาใช้เป็น เครื่องมือ ในการ สร้างอาณาจักร เช่นทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี เชียงแสน และสุโขทัย ซึ่งหากนำศิลปะ ไปไว้ภายใต้ศาสนา ตามที่ควรจะเป็นแล้ว ก็จะเป็นเครื่องมือ ในการศึกษา ความเปลี่ยนแปลง และ ความหลากหลาย ทางด้าน พุทธปรัชญา ในประเทศไทย ได้ดีกว่า ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
    การปรับเปลี่ยน ยุคสมัย ของพุทธศิลป์ ในประเทศไทย ในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะ แยกพุทธศิลป์ ออกจากรัฐศาสตร์ และการเมือง โดยนำไปไว้ ภายใต้บริบทของ พุทธศาสนา ซึ่งจากการ ศึกษา ประติมานิรมาณวิทยา ของพุทธศิลป์ ในประเทศไทยแล้ว ก็สามารถที่จะ จำแนกออกตาม ความเปลี่ยนแปลง ของพุทธศาสนา ในแต่ละช่วงเวลา ได้ดังต่อไปนี้

พระพุทธจักรพรรดิ (คลิกเพื่อดูรูปใหญ่)
พระพุทธจักรพรรดิ
สำริด
สูง ๒๑๔ ซม.

๑) ลัทธิหีนยาน นิกาย มหาสังฆิกะ และมูลสรรวาสติวาท
ประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๓ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๕ - กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๗)
๒) ลัทธิมหายาน
ประมาณ กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๖ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๖ - กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐)
๓) ลัทธิหีนยาน นิกายเถรวาท
ประมาณ ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๗ - ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐)
๔) ลัทธิวัชรยาน
          ๑. ลัทธิวัชรยาน จากอินเดีย ชวา และจัมปา
ประมาณ ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๔ - กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๖ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๘ - กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑)
          ๒. ลัทธิวัชรยาน จากกัมพูชา
ประมาณ กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐ - กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓)
          ๓. ลัทธิวัชรยาน ในประเทศไทย
ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ - กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔)
๕) นิกายเถรวาท จากลังกา
ประมาณ ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔ - กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖)
๖) นิกายสยามวงศ์
ประมาณ กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ - กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙)
๗) ธรรมยุตนิกาย
ประมาณ ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ - ปัจจุบัน (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ - ปัจจุบัน)

Click hereกลับไปอ่านหน้าแรก คลิกที่นี่

วัดเจดีย์หลวง (คลิกเพื่อดูรูปใหญ่)
เจดีย์หลวง วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่
A New Chronology of Buddhist Art in Thailand
วัดเจดีย์เก้าแถว (คลิกเพื่อดูรูปใหญ่)
วิหารเก้ายอด วัดเจดีย์เก้าแถว จังหวัดสุโขทัย
(Cont.)
    So supercilious were these early scholars with their Eurocentric attitude that they made no effort to understand the Thai Buddhist point of view. By imposing their own methodology and valued judgement on an alien culture, they created an art history in their own likeness. As Prince Damrong's and Coedes' primary interest was empire building, they used art as a tool of political history. Their method for resurrecting forgotten kingdoms like Dvaravati, Srivijaya, Lop Buri, and Chiang Saen is to have works of art on one side and written sources on the other, supporting each other like two arms of an isosceles triangle.
    Since most works of art found in Thailand serve the Buddhist religion, it is logical to classify them into schools depending on the name of the school, or sect, that inspired their creation. Moreover, the changes in the iconography, as well as the iconology, of Buddhist art reflect the evolution of Buddhist thought over two and a half millennia of existence, making it possible to draw up a relative chronology for each school. In chronological order, Buddhist art in Thailand may be classified as follows;
พระสมณโคดม (คลิกเพื่อดูรูปใหญ่)
พระสมณโคดม
พ.ศ. ๒๐๘๔ สำริด
สูง ๑๘๗ ซม.

1) The Early Hinayana Schools (the Mahasamghika and the Mulasarvastivada):
Mid-Fifth to Mid-Seventh Centuries
2) The Mahayana Schools:
Mid-Sixth to Tenth Centuries
3) The Theravada Schools:
Mid-Seventh to Early Tenth Centuries
4) The Vajrayana Schools:
Mid-Eighth to Mid-Fourteenth Centuries
5) The Lankavamasa (Sinhalese Theravada) Schools:
Mid-Fourteenth to Mid-Sixteenth Centuries
6) The Sayamvamsa (Siamese Theravada) Schools:
Sixteenth to Mid-Nineteenth Centuries
7) The Dhammayutti Nikaya:
Mid-Nineteenth Century to the present

Click herePrevious Page



สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) วารสาร เมืองโบราณ (Muang Boran Journal) email