Click here to visit the Website

ว า ร ส า ร เ มื อ ง โ บ ร า ณ
Muang Boran Journal

หน้าปกเล่มที่ ๒๕ (คลิกเพื่อดูรูปใหญ่) ISSN 0125-426X
ปีที่ ๒๕ ฉบับ ๒ เมษายน - มิถุนายน ๒๕๔๒
Vol. 25 No. 2 April - June 1999
วารสารวิชาการรายสามเดือน เพื่อการอนุรักษ์มรดกไทย
ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ และวัฒนธรรม

ส า ร บั ญ

การธำรง เอกลักษณ์ท้องถิ่น ในสังคมไทย

การปรับเปลี่ยน อายุ พุทธศิลป์ ในประเทศไทย ... รศ.พิริยะ ไกรฤกษ์

A New Chronology of Buddhist Art in Thailand... Dr. Piriya Krairiksh

ย้อนรอยร้อยปี ในการค้นพบ อักษรกระดูกสัตว์ กระดองเต่า ของจีน ... นริศ วศินานนท์
ประกิต (จิตร) บัวบุศย์ ชีวิตคือ การรับใช้... ศรัณย์ ทองปาน
ลวดลายแบบ "โยเดีย" ที่เมืองลำปาง: สายสัมพันธ์ไทย - พม่า ในดินแดนล้านนา... สุรชัย จงจิตงาม

The "Yidaya" (Siamese) Decorative Patterns in Lampang: The Burmese - Thai Connections in Lanna... Surachai Jongjitngam

เมืองสร้อย ชุมชนโบราณ อันรุ่งเรือง ในล้านนา... ไพฑูรย์ พรหมวิจิตร
พิพิธภัณฑสถาน ตลาดจีน และอาคารเก่า เมืองลำปาง... ม.ล. สุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์

The "Gingerbread" Buildings in Downtown Lampang: History and Preservation... M.L. Surasvasti Suksavasti

ผีย่าหม้อนึ่ง... ลักขณา จินดาวงษ์

Phi Ya Mo Nung : The Healing Ritual in Nan Province... Luckana Jindawong

ความจริงลวง ที่ปราสาทหินพิมาย ... ชมรมนักโบราณคดี สมัครเล่น
บรรณวิพากษ์
รายงาน
ข้อมูลใหม่
ข้อคิดใหม่
ก่อนหน้าสุดท้าย

การปรับเปลี่ยน ยุคสมัยของ พุทธศิลป์ ในประเทศไทย
รศ.พิริยะ ไกรฤกษ์

พระโพธิสัตว์ ปัทมปาณี (คลิกเพื่อดูรูปใหญ่)
พระโพธิสัตว์ ปัทมปาณี
สำริด สูง ๖๓ ซม.
    เมื่อยี่สิบปีที่แล้ว ผู้เขียนได้วิจารณ์ การจำแนก ยุคสมัย ของสมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ และ ยอร์ช เซเดส์ ไว้ในหนังสือเรื่อง ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ แบบศิลปในประเทศไทย โดยมีความประสงค์ ที่จะแยก แบบของศิลปะ ออกจาก สมัยทางประวัติศาสตร์ และเสนอแนะว่า น่าจะแบ่งศิลปะ ในประเทศไทย โดยใช้เชื้อชาติเป็นเกณฑ์ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ เป็นสี่กลุ่ม คือ มอญ เขมร ไทย และ กลุ่มชนภาคใต้ และ แยกออกเป็นสกุลช่าง ตามท้องถิ่นอีกต่อหนึ่ง โดยให้เหตุผลว่า กลุ่มชนแต่ละกลุ่ม เป็นผู้กำหนด ลักษณะเฉพาะ ของผลงานที่ เขาเป็นผู้สร้างขึ้นมา แต่หลังจากที่ ได้มีการ ค้นคว้าเพิ่มเติมแล้ว ปรากฏว่า การจำแนก รูปแบบของศิลปะ ตามแนวเชื้อชาติ และ สกุลช่างนั้น ยังยึดติดอยู่กับ การศึกษา ประวัติศาสตร์ศิลปะ ตามแนวทาง การศึกษา แบบตะวันตก ซึ่งไม่เหมาะสมกับ การศึกษาศิลปกรรม ที่พบในประเทศไทย ดังนั้น จึงจะต้อง ใช้แนวทาง ที่สอดคล้องกับ ข้อมูลทางศิลปกรรม และ พื้นฐานทางวัฒนธรรม ของไทยเป็นหลัก ในการ จำแนกยุคสมัย
พระวัชริน (คลิกเพื่อดูรูปใหญ่)
พระวัชริน
สำริด สูง ๒๔ ซม.

     ตัวอย่างของ การศึกษาศิลปะไทย ตามแนวทาง การศึกษาศิลปะ แบบตะวันตก ดังที่เคยศึกษากันมา คือ การจำแนกศิลปะ ในประเทศไทย ออกเป็นหมวดหมู่ โดยใช้รูปแบบ ที่มีลักษณะ ใกล้เคียงกัน เป็นหลัก และตั้งชื่อ ให้กับ แต่ละหมวดหมู่เหล่านั้น ตามชื่อของรัฐ ในประวัติศาสตร์ จากนั้น จึงกำหนดอายุของ แต่ละหมวด โดยใช้ ช่วงเวลาของ ความเจริญของ รัฐเหล่านั้น เช่น การกำหนดชื่อของ ศิลปะสมัยทวารวดี ของสมเด็จฯ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ และยอร์ช เซเดส์ กระทำโดย รวบรวมพระพุทธรูป ที่มีรูปแบบคล้ายกับ พระพุทธรูป ของอินเดีย สมัยคุปตะ (ประมาณพุทธศักราช ๕๐๐-๑๑๕๑) ขึ้นมาเป็นกลุ่มหนึ่ง และตั้งชื่อว่า สมัยทวารวดี ตามชื่อของ อาณาจักร ที่จดหมายเหตุของจีน กล่าวถึงในช่วง พุทธศักราช ๑๑๐๐-๑๒๐๐ (ค.ศ.๕๕๗-๖๕๗) ซึ่งในบริเวณ เขตแดน ที่สันนิษฐานว่า เป็นอาณาจักร ทวารวดีนั้น ได้พบพระพุทธรูป ที่มีลักษณะคล้ายกับ พระพุทธรูปสมัย คุปตะ ดังนั้น รูปแบบของ พระพุทธรูป จึงถูกนำมาใช้ กำหนดเขตแดนของ อาณาจักร ทวารวดีด้วย

Click hereอ่านต่อคลิกที่นี่

A New Chronology of Buddhist Art in Thailand
Dr. Piriya Krairiksh
พระสมณโคดม (คลิกเพื่อดูรูปใหญ่)
พระสมณโคดม
พ.ศ. ๑๙๖๙ สำริด
    Although H.R.H. Prince Damrong Rajanubhab, in 1926 did classify Buddhism in Siam into four periods the Theravada school of the Hinayana, the Mahayana school, the Hinayana of Pagan, and the Ceylon Order he did not correlate them with works of art. Instead he formulated a periodization based on the supposititious correlation between religious art and historical sources. Hence from 1926 to the present day students are required to study Buddhist art within the conceptual framework of political history. Since no such frame of reference exists for religious art that is based on religion, it is the aim of this paper to restore Buddhist art of its rightful place - in the service of Buddhism.
    Within the last couple of years I have published articles pointing out that Prince Damrong's and Coedes' periodization of Thai art cannot be applied to images of Buddha. These scholars made the fundamental error of taking images of Buddha to be analogous with Western works of art, which can be classified into time spans. They failed to see that an image of Buddha is a copy of its stylistic prototype. The Pali word for an image of Buddha is "patima" meaning "replica" - the very nature of an image of Buddha defies categorization into a neat time slot. Hence, where a Buddha image is concerned, style cannot be correlated with a time period.

Click hereNext Page


พระพุทธสิหิงค์จำลอง (คลิกเพื่อดูรูปใหญ่)
พระพุทธสิหิงค์ จำลอง
สำริด สูง ๑๐๑ ซม.
พระสมณโคดม (คลิกเพื่อดูรูปใหญ่)
พระสมณโคดม
พ.ศ. ๑๙๖๕ สำริด

 


สารบัญ | พุทธศิลป์ ในประเทศไทย หน้า ๒ | Buddhist Art in Thailand 2


สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) วารสาร เมืองโบราณ (Muang Boran Journal) email