วารสาร เมืองโบราณ
Muang Boran Journal
หน้าปกวารสาร เมืองโบราณ ฉบับเดือน ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๔๒ปีที่ ๒๕ ฉบับ ๔ ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๔๒
ISSN 0125-426X Vol. 25 No. 4 October-December 1999
วารสารวิชาการรายสามเดือน เพื่อการอนุรักษ์มรดกไทย ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ และวัฒนธรรม
พิพิธภัณฑ์ : ของต้องแสดงและการซ่อนเร้น (ราคา ๑๒๐ บาท)

"อยุธยาพิพิธภัณฑสถาน" ในยุคเริ่มแรก (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)
"อยุธยาพิพิธภัณฑสถาน" ในยุคเริ่มแรก
(คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)
พระพุทธรูปที่อัญเชิญมาประดิษฐาน ในวัดเบญจมบพิตร (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)
พระพุทธรูปที่อัญเชิญมาประดิษฐาน ในวัดเบญจมบพิตร
พระพุทธรูปที่อัญเชิญมาประดิษฐาน ในวัดเบญจมบพิตร (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)
พระพุทธรูปที่อัญเชิญมาประดิษฐาน ในวัดเบญจมบพิตร
เศียรพระพุทธรูป ศิลปะทวารวดี ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ แทบทุกแห่ง (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)
เศียรพระพุทธรูป ศิลปะทวารวดี ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ แทบทุกแห่ง
โบราณวัตถุที่พบ ในการขุดแต่งอโรคยศาลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดขอนแก่น (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)
โบราณวัตถุที่พบ ในการขุดแต่งอโรคยศาลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดขอนแก่น
พานเหลี่ยมฝังมุก ที่พิพิธภัณฑ์วัดท่าพูด (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)
พานเหลี่ยมฝังมุก ที่พิพิธภัณฑ์วัดท่าพูด
โบราณวัตถุ สมัยทวารวดี ที่พบในจังหวัดนครปฐม (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)
โบราณวัตถุ สมัยทวารวดี ที่พบในจังหวัดนครปฐม
พิพิธภัณฑ์ สิ่งของต้องแสดง และการปกปิดซ่อนเร้น (ต่อ)
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์

    สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนสังเกตพบก็คือ ได้มีการใช้ พิพิธภัณฑ์/   มิวเซียม/ เอกษบิชัน เป็นการร่วมเฉลิมฉลองในวาระของ "การเปลี่ยนผ่าน" เสมอ

    ในระดับส่วนพระองค์ (หรือระดับบุคคล) มีการจัดแสดง "มิวเซียม" สำหรับสาธารณชนชาวสยามเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ.๒๔๑๗ เมื่อพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเริ่มรับพระราชภาระ บริหารราชการแผ่นดิน โดยสิทธิขาด และเมื่อพระองค์ ทรงมีพระชนมมายุครบ ๒๕ พรรษาในปี พ.ศ.๒๔๒๑ งานมิวเซียมก็ได้จัดขึ้น ยิ่งใหญ่กว่าครั้งอื่นใด ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๒๕ ได้มีการจัด "เอกซฮิบิเชน" ขึ้นที่ท้องสนามหลวง เพื่อสมโภชพระนครครบ ๑๐๐ ปี ซึ่งนับเป็นโอกาสการก้าวขึ้นสู่ศตวรรษที่สอง ของกรุงเทพฯ และพระราชวงศ์จักรี ก็ถือได้ว่าเป็นการร่วมเฉลิมฉลอง "การเปลี่ยนผ่าน" ที่สำคัญ ของพระราชอาณาจักรด้วยเช่นกัน
    สิ่งของที่นำมาจัดแสดงนั้น ล้วนแสดงให้เห็นความก้าวหน้า ของพระราชอาณาจักร มีทั้งผลิตผลทางการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติ งานช่างฝีมือ โบราณวัตถุ ตลอดจนสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ
    เมื่อกรุงเทพฯ   มีอายุครบ ๒๐๐ ปี ในปี พ.ศ.๒๕๒๕ มีการปรับปรุงพระที่นั่ง ศิวโมกข์พิมานเสียใหม่ ให้เป็นห้องแสดงประวัติศาสตร์ชาติไทย และห้องเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์
    "เอกซฮิบิเชน" คราวนี้ดูจะแตกต่างไปจากเมื่อร้อยปีก่อน เราไม่ได้สนใจความ "เจริญ" ของบ้านเมืองมากมายนัก หากแต่เราสนใจอดีต กันอย่างเข้มข้น และต้องการสร้างภาพอดีตกาลกัน รุ่งเรืองของชาติขึ้นมาใหม่ อีกทังยังไม่ปรากฏร่องรอย ของ"โลกของธรรมชาติ" ให้เห็นอีกต่อไป
    ความเปลี่ยนแปลงของการจัดแสดงสิ่งของ ในพิพิธภัณฑ์ เป็นตัวอย่างอันดี ที่ชี้ให้เห็นว่า พิพิธภัณฑสถาน มิได้เป็นเป็นนิวาสถานอันไพบูลย์ ของความจริง ความรู้ และความงาม ตรงกันข้าม สิ่งของ เรื่องเล่า และอดีต แต่ละเรื่อง แต่ละสิ่ง ล้วนมีเวลา และยุคสมัยเป็นของตนเอง   สิ่งซึ่งครั้งหนึ่งได้รับการเชิดชู แต่เมื่อเวลาผ่านไป ก็อาจถูกละทิ้ง หรือปิดบังซ่อนเร้นไว้
    เมื่อเดินเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นที่แห่งใดก็ตาม... ไม่ควรพึงใจรับฟังแต่เพียงว่า ผู้จัดพยายามจะบอกอะไรแก่เราเท่านั้น แต่ควรได้ค้นหาด้วยว่า พวกเขาพยายามซ่อนเร้นอะไรเอาไว้

ตะเกียง ที่พิพิธภัณฑ์วัดท่าพูด (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)
ตะเกียง ที่พิพิธภัณฑ์วัดท่าพูด
ตะเกียง ที่พิพิธภัณฑ์วัดท่าพูด (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)
ตะเกียง ที่พิพิธภัณฑ์วัดท่าพูด
ตะเกียง ที่พิพิธภัณฑ์วัดท่าพูด (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)
ตะเกียง ที่พิพิธภัณฑ์วัดท่าพูด


MB-Journal@ViriyahBooks.com

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) วารสาร เมืองโบราณ (Muang Boran Journal) หน้าที่แล้ว (Previous Page)