ว า ร ส า ร เ มื อ ง โ บ ร า ณ
Muang Boran Journal

ISSN 0125-426X
ปีที่ ๒๗ ฉบับ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๔๔
Vol. 27 No. 1 January-March 2001

วารสารวิชาการรายสามเดือน เพื่อการอนุรักษ์มรดกไทย
ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ และวัฒนธรรม
วารสาร เมืองโบราณ เดือน มกราคม - มีนาคม ๒๕๔๔ ฉบับที่ ๑ ปีที่ ๒๗

ส า ร บั ญ
บทบรรณาธิการ :

เรือนไม้พื้นถิ่น จังหวัดเชียงใหม่... วิชุลดา เดชรุ่งถวิล

The Traditional Timber Houses of Chiang Mai...Wichulada Taycharungtawin

มองภูมิปัญญาพื้นบ้าน ผ่านคุตีข้าว ของชาวเชียงใหม่... สมปอง เพ็งจันทร์

Wicker Rice Threshing Tool ... Sompong Pengchan

เรือนปกาเกอะญอ และความเชื่อบางประการ... ปาริสุทธิ์ สาริกะวณิช

PgazK'Nyau Houses and some Beliefs... Parisut Sarigawanit

การค้นพบครั้งล่าสุด ในจิตรกรรมฝาผนังวัดป่าแดด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่... คลอตีน ทรีโอโล/ภาณุพงษ์ เลาหสม

Recent Findings in the Mural Paintings of Wat Pa Daet, Chiang Mai... Claudine Triolo

ปูนปั้นวัดศรีสุทธาวาส: ผลงานสล่าพม่า จากเมืองร่างกุ้ง... วิไลรัตน์ ยังรอด

The Stucco at Wat Srisutawat, A Work of a Rangoon Craftsman... Wilairat Yongrot

กริช ผู้หญิง และความตายในละคลรำ... ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล

Kris, Women and Death in Thai Dance - Drama... Paritta Chalermpow Koanantakool

ความเชื่อ เรื่องพระเสฏฐีนวโกฏิ... ธีรพงษ์ จตุรพาณิชย์
ระบบการประปา ในพระราชวังกรุงศรีอยุธยา... สุนิสา มั่นคง
พระวิหารวัดทองธรรมชาติ... สุรชัย จงจิตงาม

Wat Thong Thammachat... Surachai Jongjitngam

สวดคฤหัสถ์ - จำอวด... ใหญ่ นภายน
จิตวิญญาณแบบไทยสมัยใหม่: ผลงานสถาปัตยกรรมแบบ Modernism ของพระพรหมพิจิตร... สมชาติ จึงสิริอารักษ์

The Modern Architectural Works of Phra Phrom Phichit...  Somchart Jungsiri-arak

เมื่อวันวานที่ย่านถนนดินสอ... ปราณี กล่ำส้ม
รายงาน
ข้อมูลใหม่
ก่อนหน้าสุดท้าย
คลิกดูภาพใหญ่
 
มองภูมิปัญญาพื้นบ้าน ผ่านคุตีข้าวของชาวเชียงใหม่
สมปอง เพ็งจันทร์* เรื่อง/ภาพ
ตีข้าว

คลิกดูภาพใหญ่     พื้นที่เพาะปลูกข้าวของภาคเหนือ มักอยู่ตามที่ราบก้นหุบเขา และตามไหล่เขา เมื่อการเกี่ยวข้าวแล้วเสร็จราวปลายเดือนพฤศจิกายน ถึงต้นเดือนธันวาคม ชาวนาภาคเหนือจะมีวิธีหลักๆ ในการแยกเมล็ดข้าวออกจากรวง หรือการ "ตีข้าว" ที่เหมาะกับสภาพพื้นที่อยู่ ๓ วิธี คือ
    
๑. การตีตาลาง เป็นการตีข้าวบนลานดินหรือลานนวดข้าว โดยใช้ท้องนาที่เกี่ยวข้าวเสร็จแล้วทำตาลาง เริ่มจากเตรียมพื้นที่ด้วยการตัดตอข้าว ปรับพื้นดินให้เรียบแน่นแล้วใช้มูลควายสด มาละลายน้ำทาเคลือบผิวหน้าดิน ทิ้งให้แห้ง เรียกลานนวดข้าวนี้ว่า "ตะราง" หรือ "ตาลาง" หรือออกเสียงว่า "ต๋าลาง" หลังจากนั้นจึงเตรียมหาบข้าวที่เกี่ยวมัดไว้ในท้องนา มากองรวมกันที่ตาลางแล้วลงมือตี โดยเจ้าของที่นาสามารถขอแรงให้เพื่อนบ้านมาช่วยตี หรือ "เอามื้อ" หรือ "ลงแขก" ได้พร้อมกันหลายคน จนสามารถตีข้าวให้แล้วเสร็จได้ภายในหนึ่งหรือสองวัน เพราะตาลางมีขนาดกว้างพอที่จะตีข้าวพร้อมๆ  กันได้ถึง ๑๐ คน
     ๒. การตีแคร่ การตีแคร่คล้ายกับการตีตาลาง คือจะต้องเตรียมตาลาง แล้วหาบข้าวมากองรวมกันที่ตาลาง แต่ต่างกันที่มีการนำแคร่ไม้มาวางไว้กลางตาลาง แคร่ไม้นี้มีลักษณะคล้ายโต๊ะสี่ขา หรือบางที่ก็เป็นแบบสองขา สูงประมาณ ๕๐-๖๐ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๗๐-๘๐ เซนติเมตร ส่วนพื้นแคร่ใช้ไม้เนื้อแข็ง หรือไม้ไผ่หน้ากว้างประมาณ ๕-๘ เซนติเมตร ตีเว้นระยะห่างประมาณ ๘-๑๐ เซนติเมตร เพื่อปล่อยให้เมล็ดข้าวร่วงผ่านได้ง่าย การตีแคร่จะตีได้ครั้งละ ๓-๔ คน ต่อหนึ่งแคร่ แต่ถ้าเพิ่มความยาวแคร่ หรือเพิ่มจำนวนแคร่ ก็สามารถเพิ่มจำนวนคนตีข้าว เพื่อช่วยกันได้มากขึ้น และเร็วขึ้น การตีแคร่ในปัจจุบันมักจะไม่เตรียมตาลาง แต่จะใช้ผ้าพลาสติกผืนใหญ่ปูรอง แล้วนำแคร่มาวางตีข้าว เสร็จแล้วก็เก็บผ้าพลาสติกไว้ใช้ต่อไป

คลิกดูภาพใหญ่     ๓. การตีคุและตีแอ่ว การตีข้าวด้วยคุและการตีแอ่ว ไม่ต้องเตรียมตาลาง ไม่ต้องมัดข้าว และไม่ต้องหาบฟ่อนข้าวมากองรวมที่เดียวกันเหมือนการตีตาลาง เพราะคุและแอ่ว เป็นภาชนะที่รองรับการตีข้าวได้ดี และสามารถยกเคลื่อนย้าย ไปหากองข้าวที่เกี่ยวกองไว้เป็นจุด ๆ จึงเป็นการสะดวก ง่าย และเหมาะกับสภาพภูมิประเทศภาคเหนือ ซึ่งมีพื้นที่บางแห่งแคบ ลาดเอียง เป็นไหล่เขา ไม่เหมาะที่จะตีตาลางและตีแคร่ ซึ่งต้องเตรียมตาลาง และยุ่งยากต่อการหาบฟ่อนข้าวไปยังตาลาง และหากฝนตก ตาลางที่เตรียมไว้จะเปียกชื้นเสียหายได้ แต่การตีคุและตีแอ่ว เป็นการย้ายภาชนะไปหากองข้าวที่เกี่ยวกองไว้เป็นแห่งๆ กระจายทั่วท้องนา
     ด้วยข้อจำกัดในการทำลานนวดข้าวดังเช่นพื้นที่ราบ ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาด้วยการสานภาชนะ ที่เหมาะกับการตีข้าวในพื้นที่ดังกล่าวขึ้น เริ่มจากเป็นกระบุงขนาดใหญ่ เรียกว่า "แอ่ว" เส้นผ่าศูนย์กลางปากประมาณเมตรเศษ ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะกับการเคลื่อนย้าย ไปตามไหล่เขาที่ปลูกข้าวไร่ นอกจากแอ่วขนาดเล็ก ที่ใช้ตามพื้นที่ไหล่เขาแล้ว ในเขตอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ยังนิยมสานแอ่วขนาดใหญ่ เพื่อยกเคลื่อนย้ายไปตีข้าวตามที่ต่าง ๆ ได้ ไม่เฉพาะแต่ตามไหล่เขา แต่ยังรวมถึงพื้นที่ราบ ระหว่างหุบเขา และที่ราบเชิงเขาด้วย
คลิกดูภาพใหญ่     แอ่วมีรูปทรงคล้ายกระบุงปากผายขนาดใหญ่ ก้นสี่เหลี่ยม ขนาดที่นิยมสานใช้ทั่วไปคือ เส้นผ่าศูนย์กลางปากประมาณสองเมตร วิธีการสานจะสานบนพื้นราบ โดยช่างจะปักหลักไม้สี่มุม ตีไม้โยงสี่ด้าน เพื่อพยุงเส้นตอกให้อยู่ในรูปแบบ และขนาดตามต้องการ 
     เริ่มจากก้นแอ่ว จะใช้ตอกปื้นส่วนผิวเส้นใหญ่สานด้วยลายอำคู่ ส่วนตัวแอ่ว ใช้ตอกส่วนผิวเส้นเล็กสานด้วยลายไพรเก้า ขึ้นมาจนถึงปาก ในลักษณะสานขัดวนต่อเนื่องกัน เนื่องจากแอ่วมีขนาดใหญ่  ช่างสานจึงจะต้องลงไปนั่งสานข้างใน ส่วนบนสุดมัดยึดปิดขอบปากด้วย "ไม้บ่าตันขอ" หรือไม้พุทราหนาม แอ่วนิยมใช้กันมากแถบจังหวัดลำปาง และบางส่วนของจังหวัดพะเยา 
     นอกจากนั้น ก็ยังมี "คุตีข้าว" ซึ่งนิยมใช้กันในหมู่ชาวนาของเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งจะได้กล่าวถึงในบทความนี้ต่อไป

Click hereอ่านต่อคลิกที่นี่


Wicker Rice Threshing Tool
Sompong Pengchan
คลิกดูภาพใหญ่       The village of Don Kaew in the district of Saraphi in Chiang Mai province is a village that produces khu, a large wickerwork tool for beating rice to separate the chaff from the grain. They have been selling these to the farmers of Chiang Mai and surrounding areas for not less than three generations. Although the khu is large, it is also light, easy to move and so is appropriate for narrow northern fields and those with high locations.
       Because the khu is large, there are a number of complex and difficult steps in its production and use. Three sizes of bamboo strips are needed and a large number of craftsmen must spend at least three months preparing the raw materials. Also, it is impossible for a single person to weave the khu. This requires a team of no less than 4 - 6 strong men for each one. Because of these things there is an effect on the work of the group of weavers of Don Kaew. When the work is finished the head craftsman will give khu to each man according to the amout of bamboo strip he has prepared. This is the ancient way that cannot be seen today. 
คลิกดูภาพใหญ่       These days use of the khu can be seen in outlying districts of Chiang Mai province and some parts of Lamphun province, but the popularity of the khu is steadily declining due to the reduction of land used for agriculture along with the use of new materials and technology.
      In 1999, only 10 khu were manufactured at the village of Don Kaew. So it could be said that the production of khu that has lasted more than three generations is quickly fading in necessity and will probably soon disappear.