Click here to visit the Website

สารคดีพิเศษ

เรื่อง: ชนินทร์ โถรัตน์
ภาพ: วิภาส วิเชียรสินทธุ์

 

กล้วยไม้ไทย ความหลากหลาย ที่ยังรอการ ค้นพบ (หน้า๒)
.....(ต่อจากหน้าที่แล้ว)
.....กล้วยไม้นับเป็นหลักฐาน สนับสนุน คำกล่าว ข้างต้น ได้อย่างดี ทั้งนี้เพราะ กล้วยไม้แต่ละชนิด มักมีอาณาเขต การกระจายพันธ์ุ ไม่กว้างขวาง เช่น พืชพรรณกลุ่มอื่นๆ

.....ทางภาคเหนือ และภาคอีสาน มีกล้วยไม้ หลายชนิด ที่พบมาก แถบเทือกเขาหิมาลัย และ ประเทศจีน รวมทั้ง เทือกเขาอันนัม ของประเทศ เวียดนาม ส่วนทางภาคใต้ และภาคตะวันออก ก็พบกล้วยไม้ ที่มีอยู่ในภูมิภาค อินโดมาลายัน เป็นส่วนใหญ่ แต่ทว่า ในขณะเดียวกัน ก็มี กล้วยไม้ ของ ประเทศไทย หลายชนิด ที่เป็น พรรณไม้ เฉพาะถิ่น (Endemic Species) ซึ่งไม่พบในที่อื่นใด
.....จนถึงปัจจุบัน มีการสำรวจพบ พืชวงศ์กล้วยไม้ ในประเทศไทยแล้ว ประมาณ ๑,๑๕๐ ชนิด ใน จำนวนนี้ กว่าครึ่งหนึ่ง จัดเป็น พรรณไม้ที่หายาก และอีก หลายร้อยชนิด แทบไม่มีการพบอีกเลย นับตั้งแต่ หลังยุคทอง ของการศึกษา สำรวจทาง พฤกษศาสตร์ ในประเทศไทย เมื่อกว่า ๕๐ ปีที่แล้ว
.....ทุกวันนี้ อาจดูเหมือนว่า การสำรวจ ทาง พฤกษศาสตร์ ในบ้านเรา ได้หยุดชะงักลง ทว่าที่จริง หาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะยังคงมี กลุ่มคน จำนวนหนึ่ง กำลังทำหน้าที่ ค้นหาความหลากหลาย ของ พืชพรรณ รวมทั้่งกล้วยไม้ อยู่อย่างต่อเนื่อง
.....อาจกล่าวได้ว่า ในช่วงเวลา ก่อนจะสิ้นสุด คริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ นี้เอง ที่การค้นพบ กล้วยไม้ ชนิดใหม่ๆ ในประเทศไทย กำลังปรากฏผลออกมา อย่างเป็นรูปธรรม มากที่สุด มีการตีพิมพ์ การตั้งชื่อ กล้วยไม้ ชนิดใหม่ของโลก (New Species) ซึ่งพบ ใน ประเทศไทย มากกว่า ๒๐ ชนิด รวมทั้ง ที่พบ เป็น รายงานใหม่ (New Record) อีกประมาณ ๒๐ ชนิด
.....ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีตัวอย่าง (Specimens) ที่ถูกค้นพบแล้ว แต่ยังต้องรอการ จัดจำแนก โดย ผู้เชี่ยวชาญ อยู่อีก เป็นจำนวนมาก คาดกันว่า ยังคงมีกล้วยไม้ ที่ไม่มีใครรู้จัก อีกไม่น้อย ที่หลบ ซ่อนอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ในป่าดิบรกชัฏ ของ ประเทศ ไทย ที่ไม่มีใคร เคยเหยียบย่างเข้าไปถึง
.....จึงยังคงเป็น สิ่งที่น่าเย้ายวน และท้าทาย สำหรับ ผู้พิสมัยการสำรวจ และการค้นพบ ให้เดินทาง เข้าไปสู่ โลกอันมหัศจรรย์ ของกล้วยไม้

กล้วยไม้น้ำ (Epipactis flava Seidenf.)

เอื้องนวลจันทร์ หรือ เหลืองพิสมร (Spathoglottispubescen Lindl.) คลิกเพื่อดูรูปใหญ่

กล้วยไม้ชนืดใหม่ของโลก (Bulbophyllum albidostylidium Seidenf.) คลิกเพื่อดูรูปใหญ่

Eria cainata Lindl. คลิกเพื่อดูรูปใหญ่

Eria marginata Rolfe. คลิกเพื่อดูรูปใหญ่

สังหิน หรือ ลิ้นมังกร (Habenaria rhodocheila Hance) คลิกเพื่อดูรูปใหญ่

 

สารบัญ | งานภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ | กล้วยไม้ไทย | ของเล่นพื้นบ้าน | ดื่มนม


Feature@sarakadee.com
สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)