Click here to visit the Website

กลับไปหน้า สารบัญ เรื่องราวของ นักสะสมเปลือกหอย แห่งราไวย์
เรื่อง : กุลธิดา สามะพุทธิ
ภาพ : บันสิทธิ์ บุณยะรัตเวช, ประเวช ตันตราภิรมย์

คลิกเพื่อดูรูปใหญ่
กิจกรรมในวันว่างของ สองพ่อลูก ปัทมคันธิน

คลิกเพื่อดูรูปใหญ่
โกดังแดง

นักสะสมเปลือกหอย แห่งราไวย์

นักสะสมเปลือกหอย แห่งราไวย์

นักสะสมเปลือกหอย แห่งราไวย์

นักสะสมเปลือกหอย แห่งราไวย์

นักสะสมเปลือกหอย แห่งราไวย์

นักสะสมเปลือกหอย แห่งราไวย์

The Shell Collectors

 

.....อีกแค่สามร้อยเมตร ก็จะถึง หาดราไวย์ และถ้าขับรถ เลยไป อีกหน่อย ก็จะได้เห็น พระอาทิตย์ตกทะเล ที่แหลมพรหมเทพ แต่เรากลับไปไม่ถึง...
.....จอม และพ่อของเขา หยุดความสนใจของเราเอาไว้ ด้วยเปลือกหอย จำนวนมากมายมหาศาล ทั้งที่วางอวดโฉมอยู่ใน พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย และใน "โกดังแดง" ซึ่งเป็น สถานที่เก็บเปลือกหอย กว่า 200 ล้านตัว !
.....สำหรับจอมกับพ่อ เปลือกหอยเหล่านี้ "มีค่าเสียยิ่งกว่าเพชรพลอย" พ่อลูกคู่นี้ คือนักสะสมหอย รายใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย ที่ยังไม่ค่อยมีใครรู้จักนัก และแน่นอน องค์ความรู้เกี่ยวกับหอย หลากหลายแง่มุม อยู่ในกำมือของ พ่อ - สมนึก ปัมทคันธิน (Patamakanthin) ชายวัย ๕๒ ปี จบชั้นประถมศึกษาปีที่สี่ และลูก - สมหวัง ปัทมคันธิน หรือ จอม เด็กหนุ่มวัย ๒๒ ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ที่ คณะมนุษยศาสตร์ ม.รามคำแหง ทั้งคู่ ไม่ได้เรียนมาทาง ชีววิทยา แต่สามารถบอก ชื่อวิทยาศาสตร์ ของหอย ได้ทุกตัว ทันทีที่เห็น ตอบคำถาม เกี่ยวกับหอย ได้มากมาย จนน่าทึ่ง ตั้งแต่ ทำไม มันถึงมีรูปร่างอย่างนี้ ทำไมหอยชนิดนี้ ต้องมีสีนี้ มันกินอะไร อยู่อย่างไร จะพบมันได้ที่ไหน ฯลฯ
....."เรื่องราว" ของหอยที่พวกเขาเล่าให้ฟัง ระหว่างสิบวัน ที่เราอาศัยอยู่ บนเกาะนั้น น่าตื่นตาตื่นใจ ไม่น้อยไปกว่า จำนวน สีสัน และรูปทรง อันแปลกตา ของเปลือกหอยเหล่านี้
........ตัวซ้ายเป็น แอมโมไนต์ ตัวขวาเป็น นอติลุส นอติลุสก็คือ หอยงวงช้าง ตำราส่วนใหญ่ จะสอนว่า แอมโมไนต์ เป็นบรรพบุรุษของ นอติลุส แต่เมื่อศึกษาลึกลงไปแล้ว พบว่า มันไม่ใช่ ยังสรุปไม่ได้แน่นอน อย่างนั้น เพราะ นอติลุสบางตัว ก็ยังอายุมากกว่า แอมโมไนต์เสียอีก
........ตัวนี้ได้จากเยอรมันครับ เจอตอนสร้างถนน สมัยสงครามโลก
........นี่เป็นฟอสซิลของ หอยจุ๊บแจงยักษ์ - จุ๊บแจง ก็คือหอย ที่เขาเคาะหัว แล้วเอาตัว มาแกงกินกันนั่นละ อยู่ตามป่าชายเลน นี่ยังไม่ใช่ ชิ้นใหญ่สุดนะ ที่ใหญ่จริงๆ มันหายาก
........หอยไข่นก หรือ "Bubble shell" จะสร้างเปลือก ให้บางเบาที่สุด พอแค่ป้องกัน อวัยวะที่สำคัญเท่านั้น เพราะว่า มันจะร่อนไปตามผืนทราย กินพวกเศษเลน ต่างกับหอยบางชนิด ที่ต้องสร้างเปลือกให้หนา เพราะอาศัยอยู่ในบริเวณที่ กระแสน้ำแรง จึงต้องถ่วงตัว
........ฝรั่งคนแรก ที่มาคุยกับพ่อ เรื่องหอย ชื่อ Ken Stoppler เขาต้องการรู้เกี่ยวกับ ลักษณะทางธรณีวิทยา แหล่งอาหาร และสมุทรศาสตร์ ของพื้นที่ ซึ่งหอย สามารถบอกได้ ผมมารู้ภายหลัง คนนี้มีอาชีพเป็น "สายลับ" ที่มาหาข้อมูลทางการทหาร ให้รัฐบาลอเมริกัน
.....ความฝันของสองคนนี้คือ พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย ซึ่งบัดนี้ พวกเขา ทำสำเร็จไปแห่งหนึ่งแล้ว แม้นักศึกษา และนักสะสมหอย ที่มาเยือน หลายคนจะชมว่า มันเป็นพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย ที่มีมาตรฐานระดับโลก แต่ก็ยังนับว่า ไม่ได้ดั่งใจ จอม ใฝ่ฝันจะเปิด พิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ ที่สมบูรณ์มากกว่านี้
.....นักสะสมหอยชาวต่างชาติ เดินทางมาภูเก็ต เพื่อพบ จอมกับพ่อ อยู่เสมอ เราเจอ Tom Rice บรรณาธิการนิตยสาร เกี่ยวกับหอย ชาวอเมริกัน หอบกระเป๋าสีแดงเลือดหมู ที่อัดแน่นไปด้วย เปลือกหอย มาฝากพวกเรา เราเจอ Peer schepanski นักปั่นจักรยาน ชาวเยอรมัน รุ่นราวคราวเดียวกับจอม ที่สะสมเปลือกหอย เป็นงานอดิเรก เอาเปลือกหอยชนิดหนึ่ง ซึ่งเขาเจอ ระหว่างการปั่นจักรยาน ขึ้นไปบน ยอดเขาหิมาลัย มาให้จอม โดยขอแลกกับ หอยสังข์หนาม ซึ่งเป็นชนิดที่ เขาหลงใหลเป็นพิเศษ
.....ภูเก็ต พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย จอมและพ่อ กลายเป็นชื่อ ที่นักสะสมหอย จากทั่วทุกมุมโลก จดไว้ใน โปรแกรมการเดินทาง ของพวกเขา... ไม่น่าเล่า ทั้งสองคน ถึงมีเรื่องราวสนุกๆ มากมาย เล่าให้เราฟัง พาเราก้าวเข้าไปรู้จักกับ พรมแดน ที่หลายคน ยังไม่เคยคุ้น - แวดวงของนักสะสมหอย
.....ลองได้ฟัง ได้ดูเปลือกหอย ของเขาแล้ว บางที ไปไม่ถึงหาดราไวย์ ไม่ได้ดูพระอาทิตย์ตก ที่แหลมพรหมเทพ ก็ไม่เห็นจะเป็นอะไร...
Click to see bigger image The Shell Collectors of Rawai Beach
Story : Kultida Samabuddhi
Photos : Bansit Bunyaratavej, Pravej Tantrapirom

Click to see bigger image (จอม - สมหวัง ปัทมคันธิน)
จอม - สมหวัง ปัทมคันธิน
Jom - Somwang Patamakanthin and his museum

 

.....Rawai Beach was only a fifth of a mile away, and the sunset at Cape Promthep just a short drive further, but we made it to neither. Jom and his father held our attention with their enormous collection of shells. Their museum displays priceless species while the "Red Shed" houses over 200,000,000 shells!
.....For Jom and his father, these limestone formations are "worth more than gems." Together, they are the biggest shell collector in Thailand though not so well-known. Neither has studied biology, but both can give a shell's scientific name on sight as well as answer endless questions about shells: Why are they shaped this way? Why is this kind this color? What do they eat? How do they live? The list goes on.
.....The "story" of shells Jom and his father told us during our ten days in Phuket was as exciting as their number, colors and shapes. We heard about the one from Germany, found during the construction of a road in WWI, the fossil of the bell clapper, the delicate bubble shell, and the American spy. We talked to the shell magazine editor Tom Rice and admired his packed bag of "souvenirs" for Jom and his father. We met the German biker Peer Schepanski and saw the Himalayan find he brought to trade with his fellow enthusiast.
.....With such tales from shells and sights of one of the oldest and most abundant group of living creatures awaiting us, missing Rawai Beach and the sunset at Cape Promthep doesn't seem to matter all that much.

The Shell Collectors

สารบัญ | นักสะสมเปลือกหอย | เชอร์ปา | สัตว์ป่าในบอสเนีย | ภาษาตะโกน |
ร่วมแสดงความคิดเห็น พ.ร.บ.ชื่อบุคคล | เฮโลสาระพา


Feature@sarakadee.com

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ |
WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)