|
|
.....ที่ภูเก็ต
ไกลออกไปจนเกือบถึงหาดราไวย์ มีสถานที่
ที่น่าสนใจ อยู่แห่งหนึ่ง กับมีคน ที่น่าสนใจ
อยู่อีกสองคน นั่นคือ พิพิธภัณฑ์ เปลือกหอย
กับจอม และพ่อของเขา -- สมหวัง และสมนึก
ปัทมคันธิน นักสะสมเปลือกหอย
ผู้เป็นเจ้าของ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้
.....ใน "โกดังแดง" อันเป็นสถานที่
เก็บเปลือกหอย เตรียมนำไปจัดแสดง ที่พิพิธภัณฑ์
มีเปลือกหอยอยู่เกือบ ๒๐๐ ล้านตัว กว่า ๔,๐๐๐ ชนิด
มีเปลือกหอย ที่ได้รับ การบันทึกว่า มีขนาดใหญ่
และสมบูรณ์ที่สุด ของชนิดนั้น ๆ (world record) อยู่ถึง
๑๐๐ ตัว พวกเขา ได้เปลือกหอย เหล่านี้ มาจาก
การแลกเปลี่ยนกัน โดยตรงกับ เพื่อนนักสะสม
ซื้อจาก ชาวประมง ชาวเล หรือสั่งซื้อจาก
พ่อค้าเปลือกหอย ในต่างประเทศ บางครั้ง พวกเขา
ก็เดินหากันเอาเอง
.....อาจกล่าวได้ว่า สองพ่อลูก
เป็นนักสะสมเปลือกหอย รายใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย
.....แต่สิ่งที่พวกเขาเก็บสะสมไว้
ไม่ได้มีเพียงแค่ เปลือกหอย เท่านั้น
หากยังรวมถึง ความรู้มากมาย เกี่ยวกับ หอย
และทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกี่ยวข้องกับ พวกมันด้วย
....."สะสมอย่างเดียวไม่พอ ไม่สนุก
ต้องศึกษาด้วย" จอมย้ำ ครั้งแล้วครั้งเล่า
.....โชคดีที่พวกเขา อาศัยอยู่ที่นี่ -- ภูเก็ต
ดินแดนที่ พ่อของจอม ยกให้เป็น
"แหล่งปฏิบัติการ ด้านหอย ที่ดีที่สุด"
การสัมผัส และเรียนรู้ ชีวิต ความเป็นอยู่ ของหอย
จึงเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ แค่เดินไปที่ชายหาด บางที
ก็ติดสอยห้อยตาม เรือประมงไป เตร็ดเตร่ไปแถว
สะพานปลา ไปดูว่า มีหอยอะไร ติดมากับอวนบ้าง
บางครั้ง จอมกับพ่อ ก็ชวนกัน ขับรถ ไปสำรวจหอย
ตามถ้ำ ตามป่าชายเลน ที่พังงา และด้วยความที่
จอมและพ่อ เป็นที่รู้จัก ของคนในวงการ
นักสะสมเปลือกหอย ทั่วโลก บ้านของพวกเขา
จึงได้กลายเป็น แหล่งชุมนุม นักสะสมเปลือกหอย
จากทั่วสารทิศ โดยเฉพาะ ชาวตะวันตก
ที่ตื่นตาตื่นใจกับ สีสัน อันจัดจ้าน
ของเปลือกหอย ในเขตเมืองร้อน อย่างภูเก็ต
การได้มา พบปะพูดคุยกับ จอม และพ่อ
จึงเป็นโปรแกรมสำคัญ ที่นักสะสม เปลือกหอย
ชาวต่างชาติ พลาดไม่ได้
.....ผลก็คือ มีเปลือกหอยแปลก ๆ และเรื่องราวใหม่
ๆ เกี่ยวกับ เปลือกหอย จากทั่วโลก เดินทางมาหา
จอมกับพ่อ อยู่เสมอ... จึงไม่แปลกอะไร
ที่เด็กหนุ่มวัย ๒๒ อย่างจอม จะกลายเป็น
ผู้เชี่ยวชาญ ด้านเปลือกหอย และทุ่มเท
ความรู้ทั้งหมดที่มีนี้ สร้างพิพิธภัณฑ์
แสดงเปลือกหอยล้วน ๆ ขึ้นมา
........เราเดินทางไปจนเกือบถึง หาดราไวย์
ไปเที่ยว พิพิธภัณฑ์ เปลือกหอย กับไปพบ จอม
และพ่อของเขาอ่านต่อคลิกที่นี่
เรื่องราวของ
นักสะสมเปลือกหอย แห่งราไวย์ |
|
.....ภูเก็ต
มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ในฐานะ
เมืองท่องเที่ยว ที่มีหาดทราย ปะการัง
และธรรมชาติ อันสวยงาม ในวันนี้ ภูเก็ต
ยังมีสถานที่ ที่น่าสนใจ เพิ่มขึ้น อีกแห่งหนึ่ง
ซึ่งนักท่องเที่ยว และผู้สนใจใฝ่รู้ ไม่ควรพลาด
เป็นอย่างยิ่ง นั่นคือ พิพิธภัณฑ์ เปลือกหอย
ภูเก็ต ซึ่งเป็นรูปเป็นร่างขึ้นได้ จากการ
ทุ่มเท แรงกายใจ ของสองพ่อลูก สมนึก -
สมหวัง (จอม) ปัทมคันธิน ผู้เป็น
นักสะสมหอย รายใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย
.....ตามไปรู้จัก จอม และพ่อของเขา กับเรื่องเล่า
อันน่าทึ่ง ของแวดวง นักสะสมเปลือกหอยอ่านต่อคลิกที่นี่ |
เชอร์ปา คนบนหลังคาโลก |
|
.....นับจาก มนุษย์ ค้นพบว่า
จุดสูงที่สุดของโลก คือ ยอดเขาเอเวอเรสต์
บนเทือกเขาหิมาลัย ก็มีนักเดินทาง
คนแล้วคนเล่า มุ่งมั่นจะไปให้ถึง
ยอดเขาที่สูงถึง ๘,๘๔๘ เมตร ให้ได้ ซึ่งในที่สุด เอ็ดมันด์
ฮิลลารี ชาวนิวซีแลนด์ และ เทนซิง
นอร์เกย์ ชาวเชอร์ปา ก็พิชิต เอเวอเรสต์
ได้สำเร็จ เป็นคณะแรก ในปี ค.ศ. ๑๙๕๓
.....นั่นอาจเป็น เหตุการณ์ที่ทำให้ ชาวโลก
รู้จักชนเผ่าที่ชื่อ เชอร์ปา มากขึ้น
และต้องยอมรับว่า ไม่มีชัยชนะ บนเอเวอเรสต์
ครั้งใด เกิดขึ้นได้ โดยปราศจาก ชาวเชอร์ปา
...ติดตามเรื่องราวของ "คนบนหลังคาโลก"
จากผลงานของ นักเขียนชาวไทย ที่มีโอกาส
เดินทางไปยัง เทือกเขาหิมาลัย ถึงสามครั้งอ่านต่อคลิกที่นี่
|
|
คอลัมน์ประจำ - ปกิณกะ |
ประเทศไทย
สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ |
|
- นกกระสาแดง |
ศรีสัชฯ-สุโขทัย |
|
- แก่งหลวง |
จากบรรณาธิการ |
บ้านพิพิธภัณฑ์ |
|
- ตลาดระแห่ง ปทุมธานี |
เขียนถึงสารคดี
Feature@ Sarakadee.com |
บันทึกนักเดินทาง |
|
- ชีวิตมหัศจรรย์ของ
ผีเสื้อ |
รู้ร้อยแปด |
|
- สยามแตม |
สัมภาษณ์ |
|
- "ต้องทำหน้าที่ คนจน
ให้ดีที่สุด" วาทกรรมใหม่ จาก คนชายขอบ จอนิ
โอ่โดเชา |
ซองคำถาม |
สารคดีภาพ |
|
- โลกของ ละครชาวบ้าน |
ศิลปะ |
|
- ปิกัสโซ กับภาพผู้หญิงร้องไห้ |
บทความพิเศษ |
|
- บทเรียนจาก
บันทายฉมาร์
|
เ ฮ โ ล ส า ร ะ พ า |
|
คำถามประจำฉบับนี้
มีอยู่ว่า... :)
"เพื่อนหมูฯ" |
.... |
|
บันทึกจากเซกอง : สายน้ำ
สายวัฒนธรรม แห่งลาวตอนใต้ |
|
.....ไทย-ลาว สัมพันธ์ใกล้ชิดกัน
มาช้านาน แต่ด้วย ความแตกต่าง ทางการปกครอง
ในระยะหลัง ทำให้ เมืองลาว ที่ดูเหมือนว่า ใกล้
กลับห่างไกล บางเมืองในลาวนั้น แทบไม่เคยมีคนไทย
เดินทาง ไปถึงมาก่อน ดังเช่น เมืองกะลึม ในแขวง
หรือจังหวัด เซกอง ในลาวใต้
ที่นักเขียนของ สารคดี ได้มีโอกาส ไปเยือน
โดยร่วมคณะไปกับ นักวิจัยของ สกว.
.....สองสัปดาห์ ในเมืองกะลึม
ซึ่งเป็นถิ่นของ ชนเผ่า ในตระกูล ภาษามอญ-เขมร
จำนวน ๑๓ เผ่า จะเป็นเช่นไร คำเล่าลือที่ว่า
"เป็นดินแดน แห่งมนต์ดำ คุณไสย ไข้ยุง
และระเบิด ที่ยังฝังอยู่ใต้ดิน"
เป็นจริงหรือไม่... หาคำตอบได้ จากสารคดีพิเศษ
เรื่องนี้ |
Xekong's Spell
Story and Photos by Wiwat
Pandawutiyanon |
|
.....Nineteenth-century French pioneer Henri Mouhot once referred to
Indochina as a sublime land of magnificent landscapes with calm and lively jungles. And if
he was destined to die there, he would joyfully accept such fate without mourning for any
comforts of the civilized world. Mouhot died there from malaria while surveying Luang Phra
Bang. Despite many changes over the 140-year period after Mouhot's time, Laos still
maintains its scenic landscapes, mystifying way of life, particularly in a district called
"Xekong".
.....Named
after a tributary in Southern Laos, Xekong, a new set-up provine next to the Vietnamese
town of Da Nang, is a hometown of 13 ethnic groups who speak Mon-Khmer
languages. They are Alak, Chatong, Dak Kang, Keseng, Katu, Laven, Lavi, Nge, Suai,
Taoi, Tariang, Tariw, and Yaeh. Generally known as "Laos
Terng", these people account for 95% of the population of Xekong. They live
in a serene setting of lush forest hills abound with streams of emerald water. Their way
of life is austere, self-reliant and sufficient. Living in a traditional long house, these
ethnic people still use gourd to contain water as their ancestors did several thousands
years ago. Friendliness and hospitality is remarkable characteristic of them.
.....Reliable
evidences point out that these Mon-Khmer speaking ethnic groups were the people who
originally occupied the Southeast Asia region long before the Tai-Laos speaking groups
moved in and later became the dominant ethnic groups of the region. Such evidences show a
very close tie between Thais and these ethnic people in Xekong. That is why visiting
Xekong in Southern Laos seems like a journey back to our own roots. |
: ชะตากรรม ของปลากะตัก
|