Click here to visit the Website

กลับไปหน้า สารบัญ การแปลงพันธุกรรม
คั ด ค้ า น
วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ
วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ
ผู้ประสานงานเครือข่าย สิทธิ ภูมิปัญญาไทย
  • พืชแปลงพันธุกรรม ไม่ได้ทำลายแต่ เฉพาะ แมลงศัตรูพืชเป้าหมาย เท่านั้น แต่ยังทำลาย สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในระบบนิเวศ อีกด้วย

  • เปิดโอกาส ให้บริษัทข้ามชาติ เข้ามา ผูกขาด เมล็ดพันธุ์พืช, ภาคเกษตรกรรม จะถูกบริษัทข้ามชาติ ครอบงำ

  • การผสมข้ามพันธุ์ เป็นการทำลาย พันธุ์พืช พื้นเมือง

  • พืช และอาหาร แปลงพันธุกรรม อาจมีสาร ที่เป็นอันตราย ต่อผู้บริโภค

....."ธรรมชาติ สร้างสิ่งมีชีวิต ให้ผสมพันธุ์กับ สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน แต่เทคโนโลยี การแปลงพันธุกรรม นำเอายีนจาก สิ่งมีชีวิตอะไรก็ได้ มาผสมกัน ทำให้เกิด ผลกระทบต่อ ระบบนิเวศ และผู้บริโภค อย่างละเอียดอ่อน และกว้างขวาง กว่าที่เคยเกิดขึ้นจาก เทคโนโลยีชนิดอื่น ๆ จากข้อมูล ที่มีอยู่ตอนนี้ ยังไม่เห็น ข้อดีที่ชัดเจน ของเทคโนโลยีตัวนี้เลย
....."ข้ออ้างที่ว่า พืชตัดต่อพันธุกรรม จะช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิต และแก้ปัญหา การขาดแคลนอาหาร เพราะประชากรโลกเพิ่มขึ้น เป็นเรื่องโกหกโดยสิ้นเชิง จำนวนประชากร กับการขาดแคลนอาหารนั้น ไม่เกี่ยวข้องกัน ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ การขาดแคลนเทคโนโลยี และการเพิ่มผลผลิต แต่อยู่ที่ การกระจายอาหาร ที่ไม่เป็นธรรม และการ ไม่เปิดโอกาสให้ชาวบ้าน มีสิทธิ ในที่ดินทำกิน นอกจากนี้ นักวิจัย ชาวอเมริกัน ยังได้วิเคราะห์ ปริมาณผลผลิต ของพืชแปลงพันธุกรรม ที่ปลูกในอเมริกา เมื่อปี ๒๕๔๐ แล้วพบว่า พืช GMOs ไม่ได้ให้ผลผลิต ที่สูงกว่า พันธุ์พืชทั่วไป ฝ้ายบีที ที่นำมาปลูกในไทย ก็ให้ผลผลิตเท่า ๆ ฝ้ายพันธุ์พื้นเมือง อย่าง พันธุ์ศรีสำโรง ของเรา
....."เรื่องช่วยรักษา สิ่งแวดล้อม และลดต้นทุนการผลิต เนื่องจาก ใช้สารเคมีน้อยลงนั้น ก็ไม่จริงอีก ขณะนี้ ๗๑ เปอร์เซ็นต์ ของพืชแปลงพันธุกรรม เป็นพืชที่ ใส่ยีน ต้านทาน ยาปราบวัชพืชเข้าไป เท่ากับ ส่งเสริมให้เกษตรกร ใช้ยาปราบศัตรูพืชมากขึ้น เพราะเห็นว่า พืชที่ปลูก สามารถทนยาได้ นักวิทยาศาสตร์ ชาวอเมริกันคนหนึ่ง พบว่า เมล็ดพันธุ์ ต้านทานยาปราบวัชพืช ของ บริษัท มอนซานโต้ ทำให้เกษตรกร ใช้ยาเพิ่มขึ้น ๒.๕ เท่า ของที่เคยใช้ ยาปราบวัชพืชของ มอนซานโต้ จึงขายดีขึ้น อย่างเห็นได้ชัด เมล็ดพันธุ์พืชแปลงพันธุกรรม ก็ราคาแพงมาก เช่น เมล็ดพันธุ์ฝ้ายบีที ราคากิโลกรัมละ ๖๐๐ บาท สูงกว่า เมล็ดพันธุ์ฝ้ายศรีสำโรง ซึ่งราคากิโลกรัมละ ๓๕ บาท ถึง ๑๗ เท่าตัว
....."คำโกหกต่อมา คือ ข้ออ้างว่า การตัดต่อยีน จะช่วยอนุรักษ์ และขยายพันธุ์พืช ที่กำลังสูญพันธุ์ ความจริง การปลูกพืช GMOs คือตัวการ ทำลายความหลากหลาย ทางชีวภาพ เพราะทำให้ เกิดการผสมเกสร ข้ามไปสู่พันธุ์พืชพื้นเมือง อย่างไม่อาจควบคุมได้ พันธุ์พืชดั้งเดิมในธรรมชาติ จะถูกทำลายไป อย่างรวดเร็ว ยิ่งกว่า ที่เคยเกิดขึ้น ในยุคปฏิวัติเขียว นอกจากนี้พืช GMOs ยังเป็นตัว ทำลายแมลง ที่มีประโยชน์ ต่อการผสมเกสร ซึ่งไม่ได้เป็น ศัตรูเป้าหมายของพืช เช่น ฝ้ายบีที ไม่ได้ทำลายแต่เฉพาะ หนอนเจาะสมอฝ้าย แต่ยังทำลาย แมลงช้าง ด้วงเต่า และผีเสื้อ อีกด้วย เช่นเดียวกับที่ นักวิทยาศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกา พบว่า ตัวอ่อนของ ผีเสื้อโมนาร์ช ที่กินละอองเกสร ข้าวโพดบีที ในแปลง ตายไปถึง ๔๔ เปอร์เซ็นต์ ภายในสี่วัน
....."ถ้าเลือกจะปลูกพืช GMOs ก็เตรียมใจไว้ได้เลยว่า อนาคตของ เกษตรกร จะตกอยู่ในกำมือของ บริษัทข้ามชาติ เพียงห้าแห่ง ซึ่งผูกขาด ตลาดพันธุ์พืชแปลงพันธุกรรมไว้ เกษตรกรไทย จะต้องพึ่งพาต่างชาติ ไปชั่วลูกชั่วหลาน
สอนลูกเองที่บ้าน ดีหรือไม่ ....."เราไม่ควรนำเข้า เทคโนโลยีที่ทำลาย ฐานทรัพยากรของชาติ อย่างการแปลงพันธุกรรม และควรพัฒนาเกษตรกรรม ขึ้นมาจาก ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของตัวเอง เราเป็นประเทศที่ มีความหลากหลาย ทางชีวภาพ มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เกษตรกร มีความสามารถ ในการพัฒนาพันธุ์พืช เราผลิตอาหารได้มาก ติดอันดับ หนึ่งในหก ของโลกมาตลอด โดยไม่ต้องอาศัย เทคโนโลยีตัวนี้เลย
....."ผลกระทบประการต่อมา คือ อันตรายของอาหาร ที่ผลิตจาก GMOs เนื่องจาก การแปลงพันธุกรรม จะมีการใช้ยีนบางตัว ที่ทำให้ คน หรือสัตว์ ดื้อยาปฏิชีวนะ British Medical Association ซึ่งเป็น องค์กร ทางการแพทย์ ในอังกฤษ ที่มีสมาชิกนับแสนคน ถึงกับเสนอให้รัฐบาล ยุติการนำเข้าพืช และอาหาร GMOs ผลการทดลอง ที่แพร่หลายของ ดร. พุสซไต ยังพบอีกด้วยว่า หนูทดลอง ที่กินมันฝรั่ง แปลงพันธุกรรมนั้น มีภูมิคุ้มกันลดลง เนื้อเยื่อของ อวัยวะภายใน เช่น หัวใจ ตับ ไต สมอง พัฒนาผิดปรกติ
....."การแปลงพันธุกรรม เพิ่มคุณค่าทางอาหารได้ก็จริง แต่มันก็เสี่ยงอยู่ดี วิธีการ เพิ่มคุณค่าอาหาร แบบใส่ยีนเข้าไป อาจก่อให้เกิด ผลกระทบ ที่คาดไม่ถึง เพราะยีน ที่เราใส่เข้าไปนั้น อาจทำให้เกิดสารอย่างอื่น ที่เป็นอันตราย ถ้าอยากเพิ่มสารอาหารชนิดใด ก็ควรกินอาหาร ที่มีสารอาหารชนิดนั้น ให้มากขึ้น หรือกินอาหารที่หลากหลายขึ้น โดยไม่จำเป็นจะต้อง เสี่ยงกับอาหาร GMOs
....."หลายประเทศ เรียกร้องให้ติดฉลากบอกว่า สินค้าตัวไหนบ้าง ที่เป็นผลิตภัณฑ์ GMOs ผู้บริโภค จะได้มีสิทธิเลือก ถ้าเลือกกินอาหาร GMOs ก็หมายถึง พร้อมที่จะเสี่ยง และถ้าเกิดเป็นอะไรขึ้นมา ก็จะได้รู้ว่า อาจเป็นผลมาจาก อาหารชนิดนี้
....."ผลกระทบต่อผู้บริโภค เป็นเรื่องที่ ต้องรอดูผลในระยะยาว ไม่มีใคร กล้ายืนยันว่า ไม่มีอันตราย ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ในยุโรป อย่าง มาร์คแอนด์สเปนเซอร์ และคาร์ฟูร์ บริษัทผลิตอาหารอย่าง เนสท์เล่ และยูนิลิเวอร์ ก็ประกาศ ไม่ขายผลิตภัณฑ์ ที่มาจาก การตัดต่อยีน
....."สำหรับคนไทย ที่ไม่ต้องการกินอาหาร GMOs ควรหลีกเลี่ยง ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง และข้าวโพด อาหารที่ค่อนข้าง มั่นใจได้ว่า ปลอดจาก พืชแปลงพันธุกรรม ได้แก่ น้ำมันรำข้าว น้ำมันปาล์ม และพืชที่ปลูกภายในประเทศ
....."พ.ร.บ. กักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ แก้ไขปรับปรุง พ.ศ.๒๕๓๗ ระบุว่า การนำพันธุ์พืช เข้ามาในประเทศ ต้องมีการทดสอบ ความปลอดภัย ทางชีวภาพก่อน แต่ขณะนี้ กระบวนการทดสอบ ความปลอดภัย ทางชีวภาพ ของไทย หละหลวม และไร้ประสิทธิภาพ โดยสิ้นเชิง ไม่อาจคุ้มครอง ทรัพยากรชีวภาพ ของไทยได้เลย มีการปล่อยให้ อาหาร และพืช GMOs ซึ่งอันตรายกว่า พืชต้องห้ามตัวอื่น ๆ เข้ามาในประเทศ ได้ง่าย ๆ
....."ภายในห้าปีนี้ ไม่ควรนำพืช และอาหาร GMOs เข้ามาในประเทศ ระหว่างนี้ ก็ต้องศึกษาผลกระทบ พร้อมกับ ออกกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วย ความปลอดภัย ทางชีวภาพ กฎหมายบังคับให้มี การชดเชยความเสียหาย กฎหมายคุ้มครอง ผู้บริโภค และตั้งองค์กร ที่เชื่อถือได้ มาดูแลเรื่องนี้ เมื่อพร้อมแล้ว จึงเริ่มเอามาทดสอบ แต่ต้องควบคุม อย่างเคร่งครัด
....."อนาคตของพืช และอาหาร GMOs ไม่สดใสนัก เห็นได้จาก การที่เกษตรกร ในอเมริกา ชักชวนกัน ไม่ปลูกพืชตัดต่อยีน ธนาคารดอยช์แบงก์ ซึ่งเป็นธนาคารใหญ่ที่สุด ของยุโรป ก็เสนอแนะให้นักลงทุน ขายหุ้นของบริษัท เทคโนโลยีชีวภาพ เช่น โนวาติสต์ และมอนซานโต้ เนื่องจาก บริษัทอาหาร ธุรกิจค้าปลีก ผู้แปรรูปธัญพืช และรัฐบาล ในหลายประเทศ ยังไม่พร้อมที่จะรับ GMOs แต่ก็น่าเป็นห่วงว่า ผลผลิต หรือเทคโนโลยีตัวนี้ จะถูกถ่ายโอนมาสู่ ประเทศกำลังพัฒนา ที่ไม่เท่าทันเรื่อง ความปลอดภัย และมีการคุ้มครอง สิ่งแวดล้อม ที่ไม่เข้มงวดนัก"
ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน
ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน
ผู้อำนวยการ ศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพ แห่งชาติ

click hereอ่าน (ฝ่ายสนับสนุน) คลิกที่นี่

แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน !


แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น

ชื่อ-สกุล: *
E-Mail:
สนับสนุน หรือ คัดค้าน: *
*

 

สนับสนุน หรือ คัดค้าน เรืออวนครอบปั่นไฟปลากะตัก
สนับสนุน หรือ คัดค้าน สอนลูกเองที่บ้าน
สนับสนุน หรือ คัดค้าน การแปลงพันธุกรรม


Feature@sarakadee.com

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ |
WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)