Click here to visit the Website

กลับไปหน้า สารบัญ การแปลงพันธุกรรม
ส นั บ ส นุ น
ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน
ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน
ผู้อำนวยการ ศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยี ชีวภาพ แห่งชาติ
  • ปี ๒๐๒๐ ประชากรโลก จะเพิ่มเป็น ๗.๕ พันล้านคน ถ้าไม่ใช้ เทคโนโลยี การแปลงพันธุกรรมพืช หรือสัตว์ อาหาร จะไม่เพียงพอกับ มนุษย์

  • GMOs ให้ผลผลิตสูง ลดต้นทุนการผลิต เนื่องจาก มีความต้านทานต่อโรค และแมลง

  • รักษาสิ่งแวดล้อม เพราะเกษตรกร ใช้สารเคมีน้อยลง

  • ช่วยอนุรักษ์ และขยายพันธุ์พืช และสัตว์

....."การแปลงพันธุกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นสิ่งที่น่าสนับสนุน ถ้าใช้ในทางที่ถูกต้อง และมีการควบคุมที่ดี เพราะเป็นเทคโนโลยี ที่มีประสิทธิภาพ มีศักยภาพสูง ที่จะทำให้ เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
....."วันนี้ ถ้าไม่มี GMOs ผู้คนก็ไม่อดตาย แต่เมื่อประชากรโลกเยอะขึ้น อาจจะเป็นปัญหาก็ได้ เรามั่นใจได้อย่างไรว่า ในอนาคต อาหารจะพอ เทคโนโลยีตัวนี้ ช่วยแก้ปัญหา ความอดอยากได้ เนื่องจาก สามารถเพิ่ม ประสิทธิภาพ การผลิตพืช และสัตว์ ที่มีคุณภาพสูง ให้สามารถ ทนต่อโรค แมลงศัตรูพืช และสภาพแวดล้อม ที่ไม่เหมาะสม ให้ผลผลิตสูง ช่วยลดปริมาณ การใช้สารเคมี หรือใช้สารเคมีที่ มีอันตราย น้อยลง ซึ่งนอกจากจะ ช่วยลดต้นทุนการผลิตแล้ว ยังเป็นการ รักษาสิ่งแวดล้อม อีกด้วย นับว่า เป็นเทคโนโลยี ที่เป็นประโยชน์ กับเกษตรกรมาก
....."ถ้าสังคม เข้าใจเทคโนโลยีนี้ดีพอ ก็จะรู้ว่า GMOs ไม่ใช่สิ่งเลวร้าย จริงอยู่ ที่ไม่มีใครกล้าพูดว่า มันปลอดภัย ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะในโลกนี้ มันไม่มีอะไร ที่เรียกได้ว่า ปลอดภัยเต็มที่ แต่พืช และอาหาร GMOs เท่าที่เอาออกมาใช้ ทุกวันนี้ ผ่านการตรวจสอบ จนมั่นใจแล้วว่า มีความปลอดภัย ยังไม่มีอะไรที่ ส่งผลกระทบ ในทางที่ไม่ดี เพราะทันทีที่ เขาพบว่า มีอันตราย มันก็จะถูกหยุดไป ในกระบวนการทดลอง และการทดสอบแล้ว จึงไม่มีโอกาส จะเกิดอันตรายกับ ผู้บริโภคเลย มันไม่ใช่สิ่งเป็นพิษ ไม่ใช่ตัวเชื้อโรค และไม่อันตรายเหมือน สารเคมีหลายชนิด ที่ใช้ในการเกษตร
....."ถ้าให้เลือกระหว่าง กินอาหารที่ ปนเปื้อนสารเคมี กับอาหาร GMOs ผมเลือกกิน GMOs เรื่องอะไร จะไปกินอาหารที่รู้ว่า ปนเปื้อนสารเคมี ซึ่งรู้แน่ ๆ ว่า จะทำให้เป็นมะเร็งได้ แต่ GMOs ไม่ทำให้เป็นมะเร็ง หรือหัวใจวายแน่นอน ทั้งยังไม่มีโอกาส หรือมีโอกาสน้อยมาก ที่จะไปสร้างให้เกิด การต้านทานยาปฏิชีวนะ ยาหลายชนิด ที่วงการแพทย์ ใช้อยู่ทุกวันนี้ ก็มาจาก GMOs ดังนั้น ผู้บริโภค ไม่ควรตื่นตระหนก
....."จริงอยู่ที่ สหภาพยุโรป (EU) ได้สร้างกฎเกณฑ์ ที่เข้มงวดขึ้น ในการค้าขาย ผลิตภัณฑ์ GMOs ในช่วง ห้าหกปีต่อจากนี้ แต่อะไร ที่นำเข้ามาแล้ว ก็ให้ขายต่อไปได้ ซึ่งถ้ามันไม่ดีจริง ก็ต้องห้ามขาย ห้ามนำเข้า แต่นี่เขายังให้ขายต่อ แสดงว่ามันปลอดภัย ผมยืนยันว่า อาหาร GMOs ที่ขายอยู่ ทั้งในอังกฤษ อเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนีนั้น ผ่านการประเมินมาแล้วว่า ปลอดภัย เขาถึงยอมให้ขาย ประเทศพวกนี้ เขาไม่ยอม ให้ประชาชนของเขา ต้องเสี่ยงอยู่แล้ว
....."สาเหตุที่ห้างสรรพสินค้าในยุโรป ประกาศไม่วางขาย ผลิตภัณฑ์ GMOs คงเป็นเพราะ อาศัยกระแส มาเป็นจุดขายเท่านั้น เพราะก่อนหน้านี้ อาหาร GMOs ขายได้ดีใน ประเทศอังกฤษ เช่น ซอสมะเขือเทศ ที่ผลิตจาก มะเขือเทศตัดต่อยีน เพราะราคาถูกกว่า สีสดกว่า ผมเชื่อว่า มันเป็นเรื่องธุรกิจเท่านั้น เขาไม่ได้เชื่อ หรือรู้แน่ชัดว่า ผลิตภัณฑ์ GMOs มีพิษมีภัยจริง ๆ
....."ชาวอเมริกัน ๓๐๐ ล้านคน ซึ่งบริโภคผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ กันมาหลายปี ไม่เห็นเขาเป็นห่วงอะไรกันมากนัก แล้วก็ไม่เห็นมีข่าวว่า ใครเป็นอะไร จากการกินอาหาร GMOs เข้าใจว่า ที่มีคนต่อต้าน เพราะเป็นห่วงว่า บริษัทข้ามชาติ จะมาครอบงำ ภาคเกษตรกรรม กลัวว่า จะไม่สามารถจัดการกับ ผลกระทบได้ ไม่ไว้ใจ กลไกของรัฐ ซึ่งก็เป็นเรื่อง น่าเป็นห่วงจริง ๆ แต่มันไม่ใช่ปัญหาของ ตัวเทคโนโลยี เพราะฉะนั้น จะมาบอกว่า การแปลงพันธุกรรม เป็นสิ่งเลวร้ายไม่ได้ ประเด็นที่บอกว่า เทคโนโลยีไม่ดีนั้น นักวิทยาศาสตร์ อธิบายได้เป็นส่วนใหญ่ และสามารถ หาวิธีป้องกัน ผลกระทบ ที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย ส่วนอันตรายกับ ระบบนิเวศนั้น ขึ้นอยู่กับว่า เราควบคุมได้ดีแค่ไหน แต่ละประเทศ จึงต้องมี กระบวนการทดสอบ วิเคราะห์ผลกระทบ เพื่อให้แน่ใจว่า พืช GMOs ที่นำเข้ามาปลูก จะไม่ทำลาย พันธุ์พืชพื้นเมือง ซึ่งโอกาสที่จะเกิดขึ้น มีน้อยมาก แต่ถ้าเป็นพืชบางประเภท ที่มีถิ่นกำเนิด อยู่ในประเทศเรา เช่น ข้าว ก็ต้องระวังมากขึ้น แต่ถ้าเป็นพืช ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดอยู่แถวนี้ เช่น มันสำปะหลัง ยางพารา หรือแม้แต่ มะละกอ ก็อาจจะ ไม่ต้องระวังมากเท่า พืชท้องถิ่น
....."เราคงไม่สามารถ ป้องกันการผสมข้ามพันธุ์ ได้ทั้งหมด แต่การเว้นระยะห่าง ระหว่างแปลงที่ปลูกพืช GMOs กับพืชพื้นเมือง ก็ช่วยป้องกันได้มาก
....."ตอนนี้สายไปแล้ว ถ้าเราจะออกประกาศ ห้ามนำเข้า GMOs หรือทำให้สังคมไทย เป็นสังคมปลอด GMOs คำถามคือ จะจัดการอย่างไรกับ ผลิตภัณฑ์ ที่เข้ามา เช่น ต้องติดฉลาก ให้รู้ว่า อาหารชนิดไหน ผลิตจาก GMOs ผมไม่ได้สนับสนุน ให้มีการนำเข้า พืช/อาหาร GMOs อย่างขาดการดูแล แต่เราไม่ควรจะปฏิเสธ ตัวเทคโนโลยี ถ้าเราต้องการ เพิ่มผลผลิต ลดการใช้สารเคมี อยากได้ ข้าวที่ทนแล้ง ให้ชาวเขาปลูก อยากได้ มะละกอที่ไม่เป็นโรคใบลาย GMOs ก็เป็นทางเลือก ที่ปฏิเสธได้ยากมาก เราต้องให้โอกาสมัน แสดงตัวว่า มันดีจริง อย่าไปปิดทางเลือก ต้องยอมให้ GMOs เกิดขึ้นได้ และน่าจะทำให้มัน เป็นพระเอกตัวหนึ่ง ของประเทศเกษตรกรรมให้ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะละเลย การพัฒนาเทคโนโลยี ทางการเกษตร ตัวอื่น ๆ
....."ความรู้สึก ต่อต้านเทคโนโลยี การตัดต่อยีน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก การที่ธุรกิจ พยายามผลักดัน เพื่อให้สินค้าของตน เป็นที่ยอมรับ มากเกินไป และถ้าบริษัทข้ามชาติอย่าง มอนซานโต้ จะมาทำธุรกิจ GMOs ในบ้านเรา เขาก็ควรจะต้อง ให้อะไรเรา มากกว่านี้ เช่น ให้ความรู้ ข้อมูล ถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือฝึกคนของเรา ให้เก่งในเรื่องนี้
....."สำหรับอนาคตของ GMOs ถ้าผู้บริโภคไม่ยอมรับ มันก็หยุดโตไปเอง ในไทยคิดว่า คนค่อนข้างยอมรับ มองว่า เทคโนโลยี มีประโยชน์ ควรทำการวิจัย และพัฒนาต่อไป"
วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ
วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ
ผู้ประสานงานเครือข่าย สิทธิ ภูมิปัญญาไทย

click hereอ่าน (ฝ่ายคัดค้าน) คลิกที่นี่

แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน !


แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น

ชื่อ-สกุล: *
E-Mail:
สนับสนุน หรือ คัดค้าน: *
*

 

สนับสนุน หรือ คัดค้าน เรืออวนครอบปั่นไฟปลากะตัก
สนับสนุน หรือ คัดค้าน สอนลูกเองที่บ้าน
สนับสนุน หรือ คัดค้าน การแปลงพันธุกรรม


Feature@sarakadee.com

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ |
WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)