Click here to visit the Website

กลับไปหน้า สารบัญ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ในศตวรรษที่ ๒๑
ที่ ค น ไ ท ย ต้ อ ง รู้ จั ก
เรื่อง : คณะนักวิชาการ สาขา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
ภาพ : ฝ่ายภาพสารคดี

ข้อสะโพกเทียม ผลิตจากไทเทเนียม
ข้อสะโพกเทียม ที่ใช้ทดแทน ข้อสะโพกของมนุษย์ ผลิตจากไทเทเนียม

สารไคตินและสารไคโตซาน
สารไคติน และสารไคโตซาน เป็นพอลิเมอร์ชีวภาพ ซึ่งผลิตจาก เปลือกกุ้ง และเปลือกปู

แผ่นเมมเบรนจากไคโตซาน
แผ่นเมมเบรน จากไคโตซาน ใช้ในการปิดแผล มีคุณสมบัติ ช่วยลดแผลเป็น บนผิวหนัง


วัสดุศาสตร์ และเทคโนโลยี
ผลกระทบต่อ คุณภาพ ชีวิตมนุษย์ ในศตวรรษที่ ๒๑

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

.....เทคโนโลยีวัสดุ (Materials Technology) จัดเป็น หนึ่งในเทคโนโลยี ยุทธศาสตร์ ที่ประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะ ประเทศมหาอำนาจ ให้ความสำคัญ ในอันดับต้น ๆ โดยถือเป็น ปัจจัยหลัก ที่จะเพิ่ม ความได้เปรียบ ในการแข่งขัน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และการเมือง ทุกวันนี้ มีวัตถุสังเคราะห์ ชนิดใหม่ ๆ เกิดขึ้นทุกวัน และนับวัน วัสดุเหล่านี้ ก็จะยิ่ง ทรงประสิทธิภาพ มากขึ้น และมีบทบาทอย่างสูง ในการกำหนด คุณภาพชีวิตมนุษย์ ในอนาคต ทั้งในระดับ บุคคล ระดับประเทศ และระดับโลก
.....ในแง่ที่เกี่ยวข้องกับ ชีวิตประจำวันทั่วไป ของเรา วัสดุ ไฮเทคเหล่านี้ ได้ก้าวเข้ามา มีส่วนอยู่ไม่น้อย นับตั้งแต่ แปรงสีฟันยุคใหม่ ที่ขนแปรงทำด้วย ไนล่อน ซึ่งมีความยืดหยุ่น และคืนรูปได้ดี, ยาเม็ด ลดความอ้วน ที่ผลิตจาก สารไคโตซาน ที่ได้จากการ สกัดเปลือกกุ้ง และปู, เลนส์แว่นตากันแดด ที่เปลี่ยนสีได้ ตามความเข้มของแสง ซึ่งจัดเป็น วัสดุฉลาด (smart materials) ที่ใช้ในทางการค้า ชนิดแรก ๆ ของโลก, แบตเตอรีรุ่นใหม่ ที่ประสิทธิภาพ ดีกว่าเดิม แต่ไม่มีส่วนผสมของ โลหะหนัก ที่เป็นอันตราย, รถยนต์ไฟฟ้า ที่ช่วยลดมลพิษ ฯลฯ
.....วัสดุสังเคราะห์ยุคใหม่ ยังมีบทบาท ในหลากหลายวงการ ไม่ว่าในด้าน การกีฬา การสื่อสาร การคมนาคม การแพทย์ การสำรวจอวกาศ ฯลฯ เรามีรองเท้ากีฬา น้ำหนักเบา ที่ช่วยลดแรงกระแทก และช่วยให้ การวิ่ง มีประสิทธิภาพดีขึ้น, มีกาวติดแผล ทดแทนการเย็บแผล ในบางกรณี และมีกระดูกเทียม ที่ได้รับการพัฒนา ให้ใช้งานได้ดี และไม่มีผลข้างเคียง ต่อร่างกาย, มีกระเบื้อง เซรามิกส์ ทนความร้อนสูง ที่ใช้ปูบน ผิวยาน กระสวยอวกาศ เพื่อให้ทนต่อ ความร้อนจัด ที่เกิดจาก การเสียดสี เมื่อยานแล่นกลับสู่ ชั้นบรรยากาศโลก, มีวัสดุที่ "คิด" และ "ทำ" ได้ด้วยตัวเอง ที่ใช้ในงาน สำรวจต่าง ๆ ฯลฯ
.....ในศตวรรษหน้า เทคโนโลยีวัสดุ ก็จะยิ่งก้าวล้ำยิ่งขึ้น สิ่งของ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ จะมีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพ มากขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็จะมีความคุ้มค่า สามารถ หมุนเวียนกลับ มาใช้ได้ใหม่ และเป็นอันตราย ต่อสิ่งแวดล้อม น้อยลง เป็นที่แน่นอนว่า โลกในศตวรรษหน้า จะเปลี่ยนโฉมหน้า ไปจากเดิม โดยมี เทคโนโลยีวัสดุ เป็นตัวแปรสำคัญ

อะตอมของธาตุเหล็ก ถูกเรียงตัวใหม่
อะตอมของธาตุเหล็ก ถูกเรียงตัวใหม่ ให้เป็นตัวอักษรญี่ปุ่น

มนุษย์โมเลกุล
มนุษย์โมเลกุล ตัวนี้ เกิดจากการ จัดเรียงอะตอมของ คาร์บอนมอนอกไซด์ บนทองคำขาว


นาโนเทคโนโลยี (nanotechnology)
ดร. สุทัศน์ ยกส้าน

.....ในอนาคตอันใกล้ ตึกระฟ้าสูงจรดเมฆ เครื่องบินโดยสารไอพ่น ขนาดใหญ่ ที่จุผู้โดยสารได้ หลายร้อยคน อาจไม่สร้าง ความตื่นเต้น ให้แก่มนุษย์อีกต่อไป เพราะวิศวกร และนักเทคโนโลยี อนาคต กำลังหันมาประดิษฐ์ และคิดสร้างอุปกรณ์ ขนาดเล็กจิ๋วแทน เทคโนโลยีที่ว่านี้ รู้จักกันในชื่อ นาโนเทคโนโลยี ซึ่งหมายถึง เทคโนโลยีในการ สร้างอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีขนาดประมาณ นาโนเมตร หรือ ๑๐-๙ เมตร ซึ่งเป็นระดับที่ ใกล้เคียงกับ ขนาดของอะตอม (๑๐-๑๐ เมตร)
.....ก่อนที่เทคโนโลยีในการสร้างเครื่องจักรกล หรืออุปกรณ์ ที่มีชิ้นส่วน ประกอบด้วย อะตอม จะเกิดขึ้นจริงได้ นักวิทยาศาสตร์ จำต้องมี อุปกรณ์สำหรับ จัดวางเรียงอะตอม ให้ตรงตามตำแหน่งที่ ต้องการให้ได้ก่อน การเคลื่อนย้ายอะตอม เพิ่งประสบความสำเร็จ เป็นครั้งแรกในปี ๒๕๓๒ เมื่อนักฟิสิกส์ ประจำห้องทดลอง ของบริษัท IBM ใช้เข็มปลายแหลม ของกล้องจุลทรรศน์ พิเศษ ที่เรียกว่า STM ทำการเคลื่อนย้าย อะตอมของธาตุ xenon จำนวน ๓๕ อะตอม มาวางเรียงกัน จนได้เป็น ป้ายชื่อบริษัท IBM ขนาดเล็กที่สุดในโลก คือมีขนาดเพียง ๐.๐๐๐๐๐๑๗ เมตร หลังจากนั้น ก็ได้มีการทดลอง และศึกษาเกี่ยวกับ เทคโนโลยี ในระดับนาโน ขึ้นอีกหลายชิ้น เพื่อนำความรู้ที่ได้มา พัฒนาอุปกรณ์ ขึ้นใช้ประโยชน์ ในด้านต่าง ๆ ต่อไป
.....ปัจจุบันเทคโนโลยีนาโน กำลังเข้ามา มีบทบาทมากขึ้น ในวงการต่าง ๆ มีการใช้ เทคโนโลยีนาโน วัดปริมาณความร้อน ที่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ปล่อยออกมา เพื่อตรวจวัด ความแตกต่างระหว่างเซลล์ ที่สุขภาพดี กับเซลล์ที่ผิดปรกติ, ในวงการ ธรณีวิทยา ก็มีการสร้าง อุปกรณ์ตรวจจับ ปรากฏการณ์ แผ่นดินไหว ที่สามารถตรวจวัด ความเปลี่ยนแปลง ในระดับนาโนเมตร ซึ่งจะช่วยให้ เราทำนายการเกิดแผ่นดินไหว ได้ล่วงหน้านานนับเดือน นอกจากนี้ ยังมีการผลิตเส้นลวด ที่บางที่สุดในโลก เส้นผ่าศูนย์กลาง เพียง ๑๐ นาโนเมตร ซึ่งสามารถ นำไปทำเป็นตัวนำยิ่งยวด ใช้ประกอบในวงจรคอมพิวเตอร์ อันจะมีผลให้ กระแสไฟฟ้า ไหลผ่านระหว่างชิ้นส่วนต่าง ๆ ได้ โดยปราศจาก แรงต้านทานใด ๆ ฯลฯ
.....จากความก้าวหน้าของ เทคโนโลยีนาโนในปัจจุบัน ทำให้เชื่อกันว่า อีกไม่นาน มนุษย์คงสามารถ สร้างเครื่องจักรโมเลกุล ที่ประกอบไปด้วย อะตอมของธาตุต่าง ๆ เพื่อทำงานให้แก่มนุษย์ เราอาจจะมี เครื่องจักรโมเลกุล ที่สามารถ ส่งเข้าไปในร่างกาย เพื่อทำลายเซลล์ร้าย เช่น เซลล์มะเร็ง ได้ มีหุ่นยนต์โมเลกุล ที่จะช่วย ขจัดไขมัน อุดตันในเส้นเลือด หรือซ่อมแซม เซลล์ที่บกพร่อง เสื่อมสภาพ มีหุ่นยนต์โมเลกุล ที่สามารถ ผลิตอาหารจำนวนมาก เพื่อแก้ไขปัญหา การขาดแคลนอาหาร ฯลฯ
.....แม้ในวันนี้ เทคโนโลยีนาโน จะยังไม่พัฒนา ไปถึงขั้นนั้น แต่นักวิทยาศาสตร์ ก็เชื่อว่า เวลาที่มนุษย์โลก จะได้ทำความรู้จักกับ ผู้ช่วยขนาดเล็กจิ๋ว ทว่า ทรงประสิทธิภาพ ยิ่งนี้ ไม่ได้อยู่ไกลจนเกิน จินตนาการ เพราะโลกยุคใหม่ ที่ว่าอาจ เดินทางมาถึง ภายใน ๕๐ ปีข้างหน้านี้เท่านั้น

พระพุทธรูปนั่ง ปางมารวิชัย
พระพุทธรูปนั่ง ปางมารวิชัย บนหน้าผา เขาชีจรรย์ วัดญาณสังวราราม จังหวัดชลบุรี สูง ๑๐๙ เมตร วาดขึ้นโดย ใช้แสงเลเซอร์ ขนาดกำลัง ๒๐ วัตต์

การใช้แสงเลเซอร์ ยิงตรวจสอบ เนื้อเยื่อ ของเซลล์มะเร็ง
ภาพแสดง การใช้แสงเลเซอร์ ยิงตรวจสอบ เนื้อเยื่อ ของเซลล์มะเร็ง ในห้องปฏิบัติการ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยี พระจอมเกล้า


เลเซอร์ : เทคโนโลยีแห่งศตวรรษที่ ๒๑
ดร. ชัยวัฒน์ คุประตกุล

.....หากเทคโนโลยีประจำศตวรรษที่ ๒๐ คือ ไฟฟ้า
.....อะไร คือเทคโนโลยีแห่งศตวรรษใหม่ ที่กำลังจะมาถึง ?
.....คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ หุ่นยนต์ เทคโนโลยีชีวภาพ การสำรวจอวกาศ ฯลฯ ต่างก้าวเข้ามา มีบทบาท ต่อชีวิต และการรับรู้ ของผู้คน นับแต่ศตวรรษที่ ๒๐ และก็ดูจะ มีบทบาทยิ่งขึ้นต่อไป เมื่อก้าวสู่ศตวรรษหน้า
.....แต่สิ่งที่ผู้คนในวงการต่าง ๆ มองเห็นว่า จะมีบทบาท เหนือเทคโนโลยีอื่น ๆ และมีความสำคัญ ต่อชีวิตมนุษย์ ในระดับที่ ไม่แตกต่างจากไฟฟ้า ที่เราคุ้นเคย ก็คือ เลเซอร์ เชื่อกันว่า ในศตวรรษใหม่ ที่กำลังจะมาถึง เลเซอร์ จะเข้ามามีบทบาท เกี่ยวพันกับ ชีวิตมนุษย์ ในทุกเวลา และทุกสถานที่ นับแต่ลืมตาตื่น จนกระทั่งเข้านอน
.....ทุกวันนี้ เรามีเลเซอร์ ที่ใช้ในวงการแพทย์ ช่วยให้แพทย์ สามารถทำการผ่าตัด ที่ต้องการ ความละเอียด และแม่นยำสูง เช่น การผ่าจัดกระจกตา ผ่าตัดสมอง มีเลเซอร์ ที่ใช้ในวงการบันเทิง มีเครื่องพิมพ์เลเซอร์ ที่เข้ามาช่วยงาน การพิมพ์หนังสือ และเอกสาร ฯลฯ ทว่าดูเหมือน ศักยภาพของเลเซอร์ จะไม่หยุดอยู่เพียงแค่นั้น นับจากระยะเวลา ไม่กี่สิบปีที่ เลเซอร์ ถือกำเนิดขึ้นในโลก มันได้พัฒนา ศักยภาพของมันขึ้นมา อย่างน่าทึ่ง จนทำให้เชื่อกันว่า ศักยภาพของเลเซอร์ ที่จะปรากฏต่อไป ในศตวรรษหน้า จะต้องเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น และท้าทาย จินตนาการ อย่างยิ่ง
.....เชื่อกันว่าในศตวรรษที่ ๒๑ เลเซอร์ และใยแก้วนำแสง (fiber obtics) จะจับคู่กัน ครองความเป็นเจ้าระบบ การสื่อสาร ในโลกการพิมพ์ เลเซอร์จะเข้ามา เปลี่ยนแปลงระบบการพิมพ์ ครั้งใหญ่ โดยจะช่วย ลดขั้นตอนการพิมพ์ และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ลง จนกระทั่ง ห้องสมุด อาจเป็นได้ทั้ง สถานที่เก็บ หนังสือ-เอกสาร และเป็น สำนักพิมพ์ไปด้วยในตัว ในด้านการแพทย์ บทบาทของเลเซอร์ จะยิ่งพัฒนาก้าวหน้าขึ้น ทำให้แพทย์ สามารถเห็น และแก้ไข ความผิดปรกติ ของร่างกาย ในระดับที่ เล็กละเอียด ลงไปได้มาก อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และในด้านการทหาร การพัฒนา อาวุธเลเซอร์ ก็จะไม่ใช่เพียง จินตนาการ อีกต่อไป
.....เราคงไม่อาจปฏิเสธ บทบาทของเลเซอร์ ที่มีต่อ ชีวิตของเรา ทั้งในวันนี้ และในอนาคตได้ สิ่งสำคัญคงอยู่ที่ว่า มนุษย์ จะสามารถ ควบคุม และใช้งาน ประดิษฐกรรม ที่เราคิดสร้างขึ้นมานี้ ให้เป็นไปในทาง สร้างสรรค์ ได้เพียงไร

การถ่ายทอดสด ผ่านอินเทอร์เน็ต
การถ่ายทอดสด ผ่านอินเทอร์เน็ต การปล่อยยานอวกาศ Discovery ขององค์การนาซา ให้ผู้ชมทั่วโลกได้เห็น เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๒

เครื่องบอกพิกัด ผ่านดาวเทียม (GPS)
รถสายตรวจ ๑๙๑ รุ่น C3I ติดตั้งคอมพิวเตอร์ และเครื่องบอกพิกัด ผ่านดาวเทียม (GPS)


อินเทอร์เน็ตในศตวรรษหน้า
ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์

.....อินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาด กว้างใหญ่ไพศาล และควบคุมดินแดน เกือบทุกแห่งบนโลก ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกับ ระบบอินเทอร์เน็ต สามารถใช ้บริการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในระบบได้ บริการที่กล่าวถึง คือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และเวิลด์ไวด์เว็บ จะเป็นพื้นฐาน สำหรับบริการ ที่จะเกิดในอนาคต
.....-ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) เป็นบริการที่ช่วยให้ สามารถ ติดต่อสื่อสารกันได้ ทั้งในรูปแบบ เอกสารข้อความ เสียง และภาพ ทำให้นักธุรกิจ ที่ต้องเดินทางตลอดเวลา ได้รับความสะดวกมาก
.....-เวิลด์ไวด์เว็บ หรือ WWW เป็นนวัตกรรม ของระบบอินเทอร์เน็ต เป็นที่รวมของ เอกสารหลายมิติ หรือ Hypertext ซึ่งจัดเอกสาร ไว้ในแบบที่ ผู้ใช้ สามารถอ่านเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้อย่างสะดวก และยังมีโปรแกรม ค้นหาเอกสาร จากทุกมุมโลก เอกสารที่กล่าวถึงนี้ ไม่จำเป็น จะต้องเป็นข้อความ เท่านั้น อาจเป็นภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว ก็ได้ ด้วยสมรรถนะนี้เอง เวิลด์ไวด์เว็บ จึงกลายเป็น เครื่องมือสำคัญ สำหรับเผยแพร่ ข่าวสาร ซึ่งอยู่ในรูปของ เว็บเพจ (web page) หรือโฮมเพจ (home page)
.....ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และมีบทบาทมาก คือ
.....การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคือการทำธุรกิจ ที่ใช้ระบบสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์ เป็นเครื่องมือ แต่ความหมายในปัจจุบัน เราจำกัดตัวเองเป็น การขายสินค้า ผ่านอินเทอร์เน็ต การขายสินค้า ผ่านอินเทอร์เน็ตนี้ มีปัญหาหลายประการ แต่มีทางแก้ไขได้ โดยใช้ข้อกฎหมายควบคุม
.....รัฐบาลดิจิตอล คือรัฐบาลที่ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องมือ เพื่อให้บริการ ที่เยี่ยมยอดที่สุด แก่ประชาชน และในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ นี้ รัฐบาลดิจิตอล จะเกิดขึ้นทั่วโลก รวมถึงรัฐบาลไทยด้วย ระบบอินเทอร์เน็ต จะเป็นเครื่องมือ ที่ช่วยให้ รัฐบาล สามารถ เป็นผู้ให้บริการสาธารณะ ที่ดีได้ และในอนาคต ระบบอินเทอร์เน็ต จะกลายเป็น เครื่องมือสำหรับ หยั่งเสียงของรัฐบาล ดังนั้น ในศตวรรษหน้า คนของรัฐบาล จะต้องใช้อินเทอร์เน็ตเป็น แต่รัฐบาลดิจิตอล ก็จะยังไม่เกิดขึ้นได้ง่าย ๆ เพราะระบบข้อมูล และสารสนเทศ สำหรับ รัฐบาลดิจิตอล มีขนาดใหญ่มาก เราต้องมีความพร้อม ในทุก ๆ ด้าน
.....สำหรับปัญหาของ อินเทอร์เน็ตในอนาคตนั้น มีผู้ศึกษาสถิติ การใช้ อินเทอร์เน็ต ทั่วโลก พบว่าในปี ๒๐๐๐ เครื่องแม่ข่าย อาจจะมีจำนวนมากถึง ๑๐๐ ล้านเครื่อง และคาดว่า มากกว่าหนึ่งในสี่ จะต้องเป็น เครื่องแม่ข่าย ของบริษัท ธุรกิจทั่วโลก การที่อินเทอร์เน็ต แพร่กระจายนี้ ทำให้เกิดปัญหา มากขึ้น คือ เมื่อผู้ใช้เพิ่มขึ้น ย่อมทำให้ สมรรถนะของระบบ อินเทอร์เน็ต ตกต่ำลง การค้นหา ข้อมูลข่าวสาร จะต้องเสียเวลามากขึ้น
.....ปัญหาอีกประการก็คือ อินเทอร์เน็ต เป็นระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ที่กว้างขวาง ดังนั้น จึงเป็นเป้าหมายของ นักก่อกวน นักต้มตุ๋น และอาชญากร ปัญหาของอินเทอร์เน็ต ที่พบบ่อย ๆ คือ ใช้ในการ ปล่อยข่าว ให้ร้ายป้ายสี โจมตีบุคคลอื่น ใช้เป็นสถานที่ เล่นการพนัน ให้สมาชิกเล่นการพนัน จากบ้านโดยตรง ใช้เป็นเครื่องมือ บ่อนทำลาย ข้อมูลของหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และเอกชน ใช้หลอกลวง และสร้างความยุ่งเหยิง ให้ผู้อื่น โดยทำเป็น จดหมายลุกโซ่ หรือไวรัส เป็นต้น

ต้นกุหลาบ และต้นสร้อยไก่
ต้นกุหลาบ และต้นสร้อยไก่ ออกดอกใน ขวดเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อพืช

ภาพโครงสร้าง โปรตีนของเอ็นไซม์ ในเชื้อมาเลเรีย
ภาพโครงสร้าง โปรตีนของเอ็นไซม์ ในเชื้อมาเลเรีย


เทคโนโลยีชีวภาพ : โอกาสทองของไทย ?
ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์

.....ในขณะที่ ประเทศไทย กำลังซวนเซ อันเนื่องจาก วิกฤตเศรษฐกิจ หลายคน หันมาคิดได้ว่า เราต้องหาทาง ตั้งตัวใหม่ ผลิตสินค้า และเปิดบริการใหม่ ๆ แทนที่จะอาศัย วัตถุดิบ และค่าแรงราคาถูก ซึ่งเคยเป็น ข้อได้เปรียบ ของไทย ในเวลานี้ เราไม่อาจอยู่รอดได้ ในโลกของ การแข่งขัน ยุคปัจจุบัน เพราะค่าแรงของเรา ไม่ได้ถูกไปกว่า ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม หรือจีน อีกทั้ง วัตถุดิบ ในบ้านเรา ก็แพง และหายากขึ้นทุกที แนวทางใหม่ คงต้องเป็น การใช้สมอง ใช้ความสามารถ ที่เรามีอยู่บ้าง มาเพิ่มพูน และผสมผสาน กับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อผลิตสินค้า หรือเสนอบริการ ที่สามารถแข่งขัน ในตลาดโลกได้ ทั้งยังจะช่วย ลดการนำเข้า จากต่างประเทศ และทำให้ คุณภาพชีวิต ของคนไทย ดีขึ้น
.....โชคดีที่ จังหวะเหมาะ ของประเทศไทย อาจกำลังมาถึง ในช่วงต้น สหัสวรรษหน้านี้ เทคโนโลยีในโลก กำลังก้าวหน้าไป อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ "เทคโนโลยีชีวภาพ" ซึ่งเป็น เทคโนโลยีสำคัญ เปรียบดังเชื้อเพลิง ที่เครื่องยนต์ ของระบบเศรษฐกิจไทย กำลังขาดแคลน อยู่ในขณะนี้ ประเทศไทย มีความหลากหลาย ทางชีวภาพ เป็นทุนเดิม อยู่มากมาย คนไทยเอง ก็มีความชำนาญ ทางการเกษตร ส่วนในด้าน การดูแลสุขภาพ ซึ่งเป็นเรื่องของ การใช้ เทคโนโลยีชีวภาพเช่นกัน เราก็มีความก้าวหน้า อยู่แล้ว พอสมควร ประเด็นสำคัญ อยู่ที่ว่า ในการไปให้ถึง จุดหมาย คือสร้างเศรษฐกิจที่ดี เพิ่มคุณภาพชีวิต ให้แก่คนไทย เราจะต้อง ลงทุนเพิ่มขีดความสามารถ ทางเทคโนโลยีชีวภาพ อย่างจริงจัง และต่อเนื่อง หากเรา ไม่เอาจริงเรื่องนี้ ก็คงจะเป็นการ ปล่อยให้โอกาสทอง หลุดลอยไป อย่างน่าเสียดาย

แคลลัสกระเบื้องดำ
แคลลัสกระเบื้องดำ เกิดจาก การนำเซลล์ หรือชิ้นส่วนของพืช มากระตุ้น ให้เกิดการเจริญ อย่างรวดเร็ว ด้วยสาร ควบคุมการเจริญเติบโต มีคุณค่าในการ นำไปสกัด หาสารสำคัญ เพื่อการผลิตยา และการผลิตสี ในอุตสาหกรรม อาหาร และเครื่องสำอาง

การเก็บรักษา แบคทีเรีย เชื้อรา และสาหร่าย มากกว่า ๕๐๐๐ ตัวอย่าง
การเก็บรักษา แบคทีเรีย เชื้อรา และสาหร่าย มากกว่า ๕๐๐๐ ตัวอย่าง ภายใต้อุณหภูมิ -๑๙๖ องศาเซลเซียส

เทคโนโลยีชีวภาพคืออะไร ?
.....เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับ การนำสิ่งมีชีวิต และผลผลิต มาใช้ประโยชน์ ถ้ามองอย่างกว้าง ๆ บ้านเรา มีเทคโนโลยี ดังกล่าวมานานมากแล้ว ตั้งแต่ ยังไม่ได้ติดต่อกับ ตะวันตกด้วยซ้ำ การทำน้ำปลา ซีอิ๊ว การหมักอาหาร หมักเหล้า ล้วนเป็น เทคโนโลยีชีวภาพ แบบดั้งเดิม เช่นเดียวกับ การปรับปรุงพันธุ์พืช สัตว์ ให้มีผลผลิตมากขึ้น คุณภาพดีขึ้น การนำสมุนไพร มาใช้รักษาโรค บำรุงสุขภาพ ก็จัดได้ว่า เป็นเทคโนโลยีชีวภาพ แบบดั้งเดิม อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน เมื่อพูดถึง เทคโนโลยีชีวภาพ เรามักหมายถึง เทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่มีวิทยาศาสตร์ เป็นรากฐาน ประกอบด้วย หลายสาขาวิชา ผสมผสานกันอยู่ ตั้งแต่ ชีววิทยา เคมี ไปจนถึง วิศวกรรม อาจเรียกได้ว่า เป็นสหวิทยาการ ที่นำความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับ สิ่งมีชีวิต ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ตั้งแต่เรื่อง การขยาย และปรับปรุงพันธุ์ ของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย การนำผลผลิต จากสิ่งมีชีวิต ไปแปรรูปเป็น อาหารหรือยา รวมถึง กระบวนการที่ใช้ แปรรูปผลผลิตดังกล่าว ในระดับโรงงาน และกระบวนการที่ใช้ สิ่งมีชีวิต เช่นจุลชีพ ในการบำบัดน้ำเสีย หรือการนำของเสีย ไปใช้ประโยชน์ เช่นนำไปทำปุ๋ย เป็นต้น
.....ในระยะ ๒๐ ปีที่ผ่านมา วิทยาศาสตร์ ของสิ่งมีชีวิต ที่เรียกว่า ชีววิทยาโมเลกุล ได้ทำให้เรา เข้าใจกลไก การสืบพันธุ์ และการดำรงอยู่ ของสิ่งมีชีวิต อย่างละเอียดลึกซึ้ง ที่น่าทึ่งมาก ก็คือ จากความเข้าใจนี้ เราสามารถ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ลักษณะทาง พันธุกรรม ของสิ่งมีชีวิตได้ เช่น ให้จุลชีพ ผลิตฮอร์โมน หรือโปรตีน ของมนุษย์ ที่ใช้เป็นยา ซึ่งสามารถ ทำในระดับอุตสาหกรรม ได้ง่ายกว่า และดีกว่าเดิม ที่ต้องนำมาจาก สัตว์ หรือจากเลือดมนุษย์ ปัจจุบัน เราสามารถ ใส่ลักษณะพิเศษ ทางพันธุกรรม เข้าไปในพืช หรือสัตว์ ทำให้ได้พืช ที่สามารถ ต้านทานแมลง ที่เป็นศัตรูของมันได้ หรือสัตว์ ที่ผลิตวัคซีน ในน้ำนมของมันได้ การปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ลักษณะทางพันธุกรรม ของสิ่งมีชีวิตนี้ เรียกว่า พันธุวิศวกรรม ทั้งหมดทำได้โดย การตัดต่อยีน
.....และเรื่องที่มีการพูดกันมาก ก็คือ การทำโคลนนิง ซึ่งยังมีเรื่อง ที่ต้องถกเถียงกันมาก ในประเด็น จริยธรรม และกฎหมาย
มือหุ่นยนต์
มือหุ่นยนต์ ซึ่งประกอบไปด้วย ส่วนของข้อต่อ นิ้วมือต่างๆ ที่มีลักษณะ การทำงาน คล้ายมือมนุษย์

มือหุ่นยนต์


เทคโนโลยีหุ่นยนต์ จากปัจจุบันสู่อนาคต
ชิต เหล่าวัฒนา

.....หลายคน คงตื่นเต้นกับ บทบาทหุ่นยนต์ ในภาพยนตร์ แนววิทยาศาสตร์ หลายเรื่อง จนมีจินตนาการ ตามภาพยนตร์ไปว่า หุ่นยนต์ มีความฉลาดลึกล้ำ เหนือมนุษย์ ถึงขั้น ครอบครองโลก ในอนาคตได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว หุ่นยนต์ ยังมีความสามารถ ค่อนข้างจำกัด ด้านกลไก ที่ใช้ในอุตสาหกรรม ก็เป็นแต่เพียง ส่วนแขน ขา และรถขนถ่ายชิ้นส่วนอัตโนมัติ ที่ทำงาน ตามคำสั่ง ของมนุษย์ นักวิจัย จากมหาวิทยาลัย ชั้นนำ ทั่วโลก รวมทั้ง จากศูนย์ปฏิบัติการ พัฒนาหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ) มหาวิทยาลัย เทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี กำลังทำงานวิจัย และพัฒนา ด้านหุ่นยนต์ กันอย่างขะมักเขม้น เพื่อออกแบบ ปรับปรุงหุ่นยนต์ ให้สามารถ ทำงาน ที่มีความ สลับซับซ้อนได้ แน่นอนที่สุด... ส่วนที่เป็น สมองกล หรือ "คอมพิวเตอร์" ต้องเข้าใจ เหตุผล มากกว่าที่เป็นอยู่ ในปัจจุบัน ปัญญาจริง ของมนุษย์ผู้สร้าง กำลังถูกท้าทายจาก ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) มากขึ้น อย่างต่อเนื่อง จากแนวโน้ม ผลลัพธ์การแข่งขันกัน พัฒนาหุ่นยนต์กระมัง ที่ทำให้ เกิดความเชื่อว่า หุ่นยนต์ประเภท Terminator II: The Judgement Day มีความเป็นไปได้ เชิงเทคนิค
.....สำหรับประเทศไทย ดูเหมือนว่า ความเข้าใจพื้นฐาน เกี่ยวกับ เทคโนโลยีหุ่นยนต์ ต่อการเพิ่ม productivity ในระบบการผลิต แบบอัตโนมัติ น่าจะมีความสำคัญ มากกว่า การมีหรือไม่มี Terminator II โดยเฉพาะในช่วง หัวเลี้ยวหัวต่อ สำคัญ ของการปรับโครงสร้าง อุตสาหกรรมไทย ให้สามารถ แข่งขันได้ ในตลาดโลก เราจำเป็น ต้องบอกได้ว่า เมื่อใด และอย่างไร การใช้เทคโนโลยีนี้ จึงให้ประโยชน์สูงสุด

กลับไปหน้า สารบัญ Science and Technology in the 21st Century
Contributed by a team of Thai professors and researchers in science and technology
Photos by Photography staff

Advance Ceramic
Advance Ceramic
.....It was cloudy late that morning of Tuesday, August 18, 1868, in the sub-district of Hwa Ko, Prachuap Khiri Khan Province, 250 kilometers south of the capital Bangkok. But when the sky cleared, King Rama IV along with awaiting courtiers and foreign guests witnessed the sun being swallowed by the moon as predicted by the King two years before. That day marked an important step for modern science in Thailand. Now, over a century later and with the new millenium approaching, we take a look at prospects of the world of science. Here are six areas of technology that are pushing the boundaries of science as well as imagination. Who would think possible metal that didn't conduct electricity? or ceramics that didn't break? Materials science promises us these and more.

.....Giant scale structures like the pyramids are wonders for modern beholders, but monuments of the future may be ten million times smaller that the period at the end of this sentence. Nanoscale creations are the object of nanotechnology which, for example, enables scientists to observe chemical reactions between atoms or develop molecule-size machines.

.....We have had the laser for so long it doesn't seem at all new to us. But the laser of forty years ago is far from what it is today. And the laser of tomorrow will definitely change the way we watch movies, print books, or treat patients.

.....When a hundred million fingers are typing away each minute at computers on the information highway, things are bound to happen, fast. The internet's implications on commerce, government, scholarship and everyday life are immense, aiding both creativity and destruction. In this highly globalized electronic setting, long distance communication is as easy as computer virus transmission or fraud.

.....Biotechnology is another challenge for Thailand. Our long tradition in agriculture and our biodiversity give us a valuable edge in this field where species development is key. Genetic engineering, cloning and gene mapping are buzz words for many who aspire immortality or customized life forms. But what about developing pesticide from our local insect-killing fungus?

.....Smaller and smarter seems to be the slogan for future technological products. Robotics gurus are fiddling with precision technology and fuzzy logic to create ever tinier artificially intelligent machines. These glimpses into tomorrow's science certainly gives us much to look forward to. For one, we can prepare to greet the 1,000 robots to be operating in Thai factories by next year.

สนับสนุน หรือ คัดค้าน การแปลงพันธุกรรม
สนับสนุน หรือ คัดค้าน เรืออวนครอบปั่นไฟปลากะตัก

สารบัญ | หมายุคหิน | แขกกินเนื้อฝรั่งกินเจ | วิทยาศาสตร์ กับสังคมไทย สู่ศตวรรษที่ ๒๑
ซองคำถาม | เฮโลสาระพา


Feature@sarakadee.com

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)