
|
 |
|
คุณที่รัก
ขณะอ่านสารคดี ฉบับนี้
คุณคงทราบผลการเลือกตั้ง
สมาชิกวุฒิสภา
รุ่นเลือกตั้งครั้งแรก
ของประเทศไทย ไปเรียบร้อยแล้ว
แต่ปลายกุมภาอันเป็นเวลาที่
"หมูฯ" เขียนต้นฉบับชิ้นนี้
คุณ ๆ ที่อยู่เมืองไทยส่วนใหญ่
คงยังไม่ได้ไปใช้สิทธิ์
จนกว่าจะถึงวันที่ ๔ มีนาคม
ผิดกับหมูฯ
และผองเพื่อนชาวไทยในต่างแดน |
|
|
|
หลายท่านคงทราบแล้วว่า
การเลือกตั้งครั้งนี้
เปิดโอกาสเป็นครั้งแรกเช่นกัน
สำหรับคนไทยในต่างประเทศ
ให้ได้ใช้สิทธิ์เช่นเดียวกับคนไทยในประเทศ
เรื่องนี้ "หมูฯ"
ติดตามข่าวมาตั้งแต่
สมัยอยู่เมืองไทย และตัดสินใจ
เดินทางไปอยู่ฝรั่งเศสล่วงหน้าถึงสองปี
ยอมเสียสิทธิ์ที่พึงมีพึงได้หลายอย่าง
เช่น ได้เป็นแฟนกับหมิว,
ได้ดูปฏิทินของลูกเกด และเฮเลน,
ได้ขึ้นรถไฟฟ้า จากหมอชิตไปสีลม,
ดูหนังเรื่องแม่นาก,
ได้ดูแลหมาแก่อายุ ๑๗
ปีที่เริ่มเดินยักแย่ยักยัน
อย่างหมูอ้วน
และได้กอดจูบลูบฟัด
กับหมาเตี้ยตาโศกขี้เล่นจอมตะกละ
อย่างสาคูลูกรัก (ชีวิต "หมูฯ"
รักหมาเพียงสองตัวเท่านั้นจ้ะ
คือหมาตัวที่เราเป็นเจ้าของ
กับหมาตัวที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ)
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ยอมเสียสิทธิ์ได้อยู่ใกล้ ๆ
หัวใจของคุณ (สตรีมีครรภ์
หากเกิดอาการคลื่นเหียน
มีเหตุผลสมควรแก่การยอมรับได้)
ทั้งนี้
เพื่อต้องการรับประสบการณ์ตรง
ของการเลือกตั้ง
ในต่างแดนครั้งแรกของไทย |
 |
|
ในฐานะพลเมืองดีของประเทศ
ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง
"หมูฯ"
ไม่เคยละเลยการไปใช้สิทธิ์
(เขียนแล้วก็อาย
เพราะเท่ากับคุณทราบโดยปริยายว่า
"หมูฯ" อายุเกิน ๑๘ แล้ว)
รูปแบบการเลือกตั้งโดยทั่วไป
ที่เคยสัมผัสก็คือ
มีทะเบียนบ้านอยู่ที่ไหน
ก็มีสิทธิ์เลือกตั้ง ณ ที่นั้น
แต่สำหรับการจัดเลือกตั้งในต่างประเทศ
เพื่อให้คนไทย
ที่มาจากหลากหลายจังหวัดได้ใช้สิทธิ์นั้น
ขอสารภาพว่าออกจะเป็นเรื่องเกินสมองน้อย
ๆ ของ "หมูฯ"
เลยทีเดียวว่าจะเลือกตั้งกันยังไง
อย่างไรก็ตาม "หมูฯ"
เป็นผู้หนึ่ง
ที่เห็นด้วยกับเจตนาดี
ที่รัฐธรรมนูญใหม่
เปิดโอกาสให้คนไทยในต่างแดน
ได้ใช้สิทธิ์ด้วย
แม้จะมีผู้ไม่เห็นด้วย
โดยยกเรื่องค่าใช้จ่ายที่ไม่คุ้มค่ากับการจัดการก็ตาม
"หมูฯ"
เห็นว่าเราไม่ควรปิดกั้น
ความคิดริเริ่มใหม่ ๆ
ที่ก็ฟังดูเข้าที
เพียงเพราะติดปัญหาค่าใช้จ่าย
ค่อยคิดค่อยทำ
ค่อยปรับปรุงกันไป
ก็คงไม่เสียหลายอะไร
ขณะเขียนต้นฉบับนี้
การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
ที่ฝรั่งเศสเสร็จสิ้นลงแล้ว
โดยเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
ให้สถานทูตไทยในต่างประเทศกำหนดวันเลือกตั้งเอง
ตามความเหมาะสม
ก่อนการเลือกตั้งในเมืองไทย
อย่างน้อยเจ็ดวัน
การเลือกตั้งครั้งนี้
"หมูฯ"
อาสาเข้าไปช่วยงานสถานทูต
และเป็นหนึ่ง
ในคณะเจ้าหน้าที่เลือกตั้งด้วย
ได้คลุกกับข้อมูล
และบรรยากาศการเลือกตั้ง
พอสมควร จึงขอแต่งตั้งตัวเอง
เป็นผู้สื่อข่าวเฉพาะกิจประจำฝรั่งเศส
รายงานความเป็นไป โดยรวม ๆ
ของการเลือกตั้งครั้งแรก
ในต่างประเทศ ดังนี้
ก่อนวันเลือกตั้งนานหลายเดือน
ฝ่ายกงสุลประจำสถานทูตไทย
ได้ประชาสัมพันธ์ให้คนไทยที่โน่น
รู้ถึงสิทธิ์ในการเลือกตั้งในต่างแดนตามรัฐธรรมนูญใหม่
และให้ไปลงทะเบียน
แจ้งขอทำบัตรผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในต่างแดน
|
 |
|
เมื่อลงทะเบียนแล้ว
ทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง
จะถอนชื่อผู้แจ้งขอใช้สิทธิ์เลือกตั้งนอกประเทศ
ออกจากหน่วยเลือกตั้งเดิมในเมืองไทย
แล้วใส่ชื่อผู้แจ้งลงในบัญชี
รายชื่อผู้มีสิทธิ์ ณ
ประเทศที่เจ้าตัวอาศัยอยู่ในปัจจุบัน
ขั้นตอนนี้สำคัญ ถ้าไม่ไปแจ้ง
สิทธิ์ในการเลือกตั้งของเขา
ก็จะยังคงอยู่ในเมืองไทย
ในวันเลือกตั้งจริง
แม้จะนำบัตรประชาชนและหลักฐานอื่นครบถ้วน
ที่แสดงว่าเป็นคนไทยไปแสดงต่อ
เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง
เพื่อขอใช้สิทธิ์
ก็มิอาจได้สิทธิ์
สิ่งที่ทำได้คือ
เจ้าหน้าที่จะขอให้คนคนนั้น
เขียนคำร้องลงทะเบียนขอเลือกตั้งในต่างประเทศ
เพื่อใช้สิทธิ์คราวต่อไป
ซึ่งก็คือการเลือกตั้ง สส.
นั่นเอง
ยอดรวมของผู้แจ้งความจำนง
ขอใช้สิทธิ์เลือกตั้งในประเทศฝรั่งเศส
คือ ๓๑๓ คน มาจาก ๕๕ จังหวัดของไทย
โดยยังมีคนไทยในฝรั่งเศส
อีกจำนวนหนึ่ง
ที่ไม่รู้ว่ามีการเลือกตั้งครั้งนี้
และแล้ววันอาทิตย์ที่ ๒๐
กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
อันเป็นวันเลือกตั้งของคนไทย
ในฝรั่งเศสก็มาถึง สถานทูตไทย ณ
กรุงปารีส
ถูกกำหนดเป็นสถานที่เลือกตั้ง
อย่างเป็นทางการ เพียงจุดเดียว
โดยเริ่มลงคะแนนได้ ตั้งแต่เวลา
๑๐.๐๐-๑๖.๐๐ น.
เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ผู้เลือกตั้ง
ต้องไปใช้สิทธิ์ด้วยตัวเอง
ไม่อาจเลือกตั้งทางไปรษณีย์ได้
ก่อนหน้าวันที่ ๒๐
กุมภาพันธ์จึงมีจดหมายหลายฉบับ
ส่งมาจากคนไทยที่ยื่นขอใช้สิทธิ์ไว้แล้ว
แต่เนื่องจาก
มีที่พักไกลจากปารีส
หลายร้อยกิโลเมตร
คำนวณค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
แล้วเห็นว่าไม่คุ้ม
จึงขอสละสิทธิ์ดังกล่าว
นอกจากนี้ จดหมายแจ้งรายละเอียด
เกี่ยวกับวัน เวลา
สถานที่เลือกตั้ง
ที่เจ้าหน้าที่ส่งถึง
ผู้มีสิทธิ์แต่ละราย
ก็ถูกตีกลับเป็นจำนวนมาก
เนื่องจาก
ชื่อที่อยู่ที่จ่าหน้าไม่ชัดเจนเพียงพอ
คณะทำงานจึงคาดว่า
ผู้มาเลือกตั้งอาจมีเพียงครึ่งเดียว
จากจำนวนผู้ที่แจ้งความจำนงไว้
แล้ว "หมูฯ"
ก็ได้เลือกตั้ง
ในต่างประเทศสมใจ
และประจักษ์ว่า
แม้ตัวเองจะอยู่ไกลจากประเทศไทย
แต่การเลือกตั้ง
ยังคงยึดหลักการคล้าย ๆ ของเดิม
คือทะเบียนบ้านอยู่ที่ไหน
ก็เลือกผู้สมัครในจังหวัดนั้น
เพียงแต่แทนการเดินทาง
กลับไปใช้สิทธิ์ที่เมืองไทย
เราก็ไปยังหน่วยเลือกตั้ง
ในสถานทูตไทยแทน
โดยใช้หน่วยเลือกตั้งหน่วยเดียวนั้นร่วมกับ
คนในจังหวัดอื่น ๆ
ในฝรั่งเศสมีคนไทยจาก ๕๕ จังหวัด
ที่มาลงทะเบียนขอใช้สิทธิ์
ทางหน่วยเลือกตั้ง
จึงต้องทำงานหนัก
เพราะต้องเตรียมบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์
และผู้สมัครเลือกตั้งของทั้ง ๕๕
จังหวัดนั้น ไว้ให้ครบครัน
เบื้องหลังการทำงาน
จึงโกลาหลพอสมควร |
|
|
สิ่งที่เป็นปัญหาอย่างหนึ่งของคนไทย
ที่อยู่ต่างประเทศเป็นเวลานาน
คือไม่รู้จะเลือกใคร
เพราะมีข้อมูล
เกี่ยวกับผู้สมัครแต่ละคนน้อยมาก
หรือไม่มีเลย ส่วนใหญ่
จึงแก้ปัญหาโดยการโทรศัพท์
ไปขอคำแนะนำจากญาติมิตร
ทางเมืองไทย
บ้างก็เลือกจากจดหมายที่ผู้สมัคร
(บางคน) ส่งไปแนะนำตัวเอง
ถึงเมืองนอก
บ้างก็เลือกจากหน้าตาของผู้สมัคร
หรือเลือกจากนามสกุลที่มักคุ้น
เมื่อเลือกผู้สมัครได้แล้ว
ก็เป็นขั้นตอนทั่วไป
ของการเลือกตั้ง
คือเดินเข้าคูหาเลือกตั้ง
แสดงหลักฐานประจำตัวกับเจ้าหน้าที่
เพื่อใช้สิทธิ์
รับบัตรเลือกตั้งพร้อมซอง
ซึ่งก่อนรับ
ต้องปั๊มลายนิ้วมือหัวแม่มือขวา
จากนั้นเข้าช่องลงคะแนนลับ
เสร็จแล้วเอาบัตรใส่ซอง
ปิดผนึกด้วยตนเอง
แล้วให้คณะกรรมการเลือกตั้งสองคน
เซ็นชื่อรับรอง หย่อนบัตรลงหีบ
เป็นอันเสร็จพิธี
เมื่อหมดเวลาเลือกตั้ง
คณะกรรมการจะนับจำนวนบัตร
แยกบัตรของแต่ละจังหวัด
ลงถุงพลาสติก
โดยไม่มีการเปิดซองออกดู
จากนั้นบรรจุถุงพลาสติกทั้งหมด
ลงถุงผ้าใบ ส่งกลับเมืองไทย
เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องส่งบัตร
ไปตามจังหวัดนั้น ๆ
เพื่อเปิดนับคะแนนพร้อมกัน
ในวันที่ ๔ มีนาคมต่อไป
ในวันเลือกตั้ง
บรรยากาศค่อนข้างคึกคัก
ทั้งข้าราชการ
เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
นักเรียนไทย
แม่บ้านจากสมาคมต่าง ๆ
รวมทั้งผู้ทำงานรับจ้าง
นานาประเภท นัดกันไปเลือกตั้ง
อย่างไม่ขาดสายตลอดทั้งวัน
เลือกตั้งเสร็จ
ก็ยืนจับกลุ่มคุยกัน
เฮฮาสนุกสนาน
อยู่ในบริเวณสถานทูต เท่าที่
"หมูฯ" สอบถามความคิดเห็น
ทุกคนดีใจ
ที่มีโอกาสได้เลือกตั้ง
สรุปผู้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
คิดเป็นร้อยละ ๖๐
ของผู้มีสิทธิ์ทั้งหมด
นั่นคือมีผู้ไปใช้สิทธิ์ ๑๘๘ คน
และที่น่าภูมิใจมากคือ
คืนก่อนวันเลือกตั้งไม่มีหมาหอนเลยจ้ะ
"หมูอมตะ"
รายงานจากกรุงปารีส ฝรั่งเศส |
 |
|
มาเฉลยปัญหากันดีกว่า
เนื่องจากพื้นที่จำกัดเช่นเคย
จึงขอเฉลยปัญหา
จับคู่ประโยคเด็ดแบบรวบรัด
ไม่อธิบายวิธีเดากันละ
คำตอบมีดังนี้ คุณอานันท์
ปันยารชุน พูดประโยคที่ ๕,
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
พูดประโยคที่ ๔, ชวน หลีกภัย
พูดประโยคที่ ๗, นิธิ
เอียวศรีวงศ์ พูดประโยคที่ ๓,
โกวเล้งพูดประโยคที่ ๒, ฟรานซิส
เบคอน พูดประโยคที่ ๑ และ หลิน ยู
ถัง พูดประโยคที่ ๖
มีผู้ตอบปัญหานี้ถูกเพียงเจ็ดคน
ได้แก่ ๑. คุณชัยทัต อิฐรัตน์ จ.
ขอนแก่น ๒. คุณขวัญใจ ทองดี จ.
สมุทรปราการ ๓. คุณจรรยา ทองเทพ จ.
สมุทรสาคร ๔. คุณมาลัย
กิจสนาโยธิน กรุงเทพฯ ๕.
คุณภานุวัฒน์ เลิศฤทธิ์ภูวดล จ.
ระยอง ๖. คุณนุชนาฏ คงวัน จ.
สุรินทร์ ๗. คุณมณีรัตน์
อุฬารตินนท์ จ.� สมุทรปราการ
โปรดรอรับหนังสือ อาชญากรเด็ก ?
ของ อรสม สุทธิสาคร เป็นของรางวัล |
|
|
|
|
|
|
|
|
เผาก่อนตายทีหลัง
?
ชายคนหนึ่งถูกฆ่าตาย
เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
และศพของเขา ถูกเผาเมื่อวันที่
๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๕
...เรื่องนี้จริงหรือหลอก
เพราะเหตุผลใด ?
รู้เหตุผลแล้ว
รีบส่งไปรษณียบัตรไปยัง"หมูอมตะ"
ภายในวันที่ ๑๕ เมษายน ศกนี้ |