Page 6 - Skd 381-2559-11
P. 6
เธอคอื เอวา*
ชาญพชิ ติ พงศ์ทองสำ� ราญ
มเหสกั ข์
มเหสกั ข ์ คอื ชอื่ พระราชทานของตน้ สกั ทใ่ี หญแ่ ละมอี ายมุ ากทสี่ ดุ
ในโลก อยู่ภายในวนอุทยานต้นสักใหญ่ บ้านปางเกลือ ต�ำบลน้�ำไคร้
อ�ำเภอน�้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ มีอายุมากกว่า ๑,๕๐๐ ปี สูง ๔๗
เมตร เส้นรอบวงล�ำต้น ๑๐ เมตร ๒๓ เซนติเมตร ราวเก้าคนโอบ
ปัจจุบันเรือนยอดสูงเหลือประมาณ ๓๗ เมตร เน่ืองจากถูกลมพัดหัก
เมื่อวนั ท ่ี ๑๘ เมษายน ๒๕๒๐
ค�ำว่า “สัก” หรือ “สักกะ” หมายถึงพระอินทร์ผู้มีอ�ำนาจ
ยง่ิ ใหญท่ ส่ี ดุ ในสรวงสวรรค ์ และยงั พอ้ งเสยี งกบั คำ� วา่ “ศกั ด”์ิ หมายถงึ
ยศถาบรรดาศักดิ์หรือศักด์ิศรี ในศาสนาพราหมณ์ไม้สักทองเป็นส่ิง
ศักด์ิสิทธ์ิคุ้มครองให้ความม่ันคงตลอดไป
เร่ือง “เศร้า” เหตุผลท่ีทราบแน่ชัดว่ามเหสักข์มีอายุมากกว่า
๑,๕๐๐ ปี คือการเทียบเคียงขนาดและจ�ำนวนวงปีของตอไม้สักใหญ่
ห่างไปเพียง ๕ เมตร ซึ่งถูกตัดโดยผู้รับสัมปทานเมื่อในอดีตไม่เกิน
๑๐๐ ปี หากวันน้ีต้นไม้ยังอยู่เป็นไม้ใหญ่ยักษ์สองต้นอยู่เคียงกัน
ภาพทป่ี รากฏจะใหญโ่ ต สวยงาม นา่ ตนื่ ตะลงึ นา่ โอบกอดมากเพยี งใด
เราอาจเรียกขานว่า สักพ่ีน้อง สักแฝด หรือสักยักษ์คู่ ๑,๕๐๐ ป ี
ส�ำหรับเหตุผลที่มเหสักข์ยังคงอยู่จนมีขนาดใหญ่และมีอายุมากที่สุด
ในโลก เพราะความไม่สมบูรณ์ทางพันธุกรรม มีโพรงลึกจากด้านบน
ลงมาต้ังแต่เร่ิมเติบโต...ถึงตัดก็ไม่ได้ราคา เป็นความโชคดีท่ีหดหู่และ
เศรา้ ที่สุด
อยู่รอด เติบใหญ่ อายุมากที่สุดของสายพันธุ์ เพราะความ
ไม่สมบรู ณ์
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ ก�ำหนดให้ไม้สักเป็นไม้
หวงหา้ มประเภท ก. ตอ้ งขออนญุ าตทำ� ไมจ้ ากเจา้ หนา้ ทกี่ อ่ นแมก้ ระทงั่
อยู่ในที่ดินของตนเอง แต่ข่าวการลักลอบตัดไม้สักมีให้เห็นเสมอ ๆ
สะท้อนความจริงของค�ำว่า “อนุรักษ์” ท่ีเจ็บปวดในความรู้สึกคนที่
อยากรกั ษาตน้ ไมใ้ ห้คงอยู่
ผมนึกถึงเน้อื เพลงทอ่ นหน่ึงในเพลง “ต้นไมข้ องพอ่ ”
“จากวันน้ีสักหมื่นปี ต้นไม้ท่ีพ่อปลูก ต้องสวยต้องงดงามและ
ย่ิงใหญ่ สืบสานและติดตาม จากรอยที่พ่อตั้งใจ เหง่ือเราจะเทไป ให้
ตน้ ไม้ของพ่อยงั งดงาม”
ถ้าเราปลูกต้นไม้วันน้ี ดูแลให้ดี เราจะได้เห็นต้นไม้เติบโตถึง
อาย ุ ๕๐ ปหี รอื มากกวา่ นน้ั ถา้ ลกู หลานเหลนโหลนชว่ ยกนั ดแู ลตอ่ ไป
เรื่อย ๆ ต้นไม้จะอายุถึงหลายร้อยปี
และถ้าทุกคนท�ำ ทุกคนปลูก ด้วยจิตส�ำนึกและการปฏิบัติ
เราจะมีต้นไม้ที่เต็มไปด้วยความรักมากมายเต็มแผ่นดิน
4 พฤศจิกายน ๒๕๕๙