รศ. ปัทมวดี
จารุวร
กรรมการตรวจ
พิจารณาภาพยนตร์
หนังเรื่องนี้
แสดงการลบหลู่ ราชานุภาพ
และบิดเบือน ประวัติศาสตร์
อย่างชัดเจน
นวนิยายของแอนนา
ไม่น่าเชื่อถือ และผู้สร้างหนัง
ยกย่องแอนนา มากเกินความจริง
ถ้าปล่อยให้ฉาย
ในเมืองไทยจะเกิดผลเสีย
มากกว่าผลดี
|
|
"ภาพยนตร์เรื่องนี้
ไม่ใช่ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์
อย่างที่บริษัทฟ็อกซ์กล่าวอ้าง
เพราะภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์
จะต้องมีองค์ประกอบบังคับ
ที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง
หรือมีหลักฐานอ้างอิง
ทางประวัติศาสตร์ ของชนชาตินั้น
ๆ เช่น สถานที่ เวลา ฉาก
บุคคลที่มีตัวตนจริง
แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้
มีเพียงชื่อบุคคลบางท่าน
กับสถานที่เท่านั้นที่เป็นจริง
ส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ
เป็นสิ่งที่แต่งเติมขึ้น
จากจินตนาการของผู้ประพันธ์
และผู้สร้างหนัง
เพราะไม่ปรากฏหลักฐาน
ในบันทึกประวัติศาสตร์ไทย
อย่างเช่น เจ้าจอมทับทิบ
กับคนร้ายชื่ออาลัก
ทั้งสองคนไม่เคยมีชื่อ
อยู่ในประวัติศาสตร์เลย
นอกจากนี้ เนื้อหาหลัก
ของภาพยนตร์
ยังแสดงการลบหลู่ราชานุภาพ
ซึ่งขัดต่อกฎหมายภาพยนตร์
ที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. ภาพยนตร์ ปี
๒๔๗๓
หากเราอนุญาตให้ฉายหนังเรื่องนี้
ในเมืองไทย ก็หมายความว่า
เราไม่ปฏิบัติ ตามกฎหมาย
และกำลังรับรองประวัติศาสตร์
ที่บิดเบือนว่าเป็นความจริง
"ประเด็นที่รุนแรงที่สุด คือ
การแสดงล้อเลียน
หรือลบหลู่ราชานุภาพ
ซึ่งมีอยู่มากมายหลายตอน
ตั้งแต่การให้โจวเหวินฟะ
แต่งตัวเป็นรัชกาลที่ ๔
แล้วใช้พระนามจริงของพระองค์ท่าน
การกระทำเช่นนี้
ก็ถือว่าหมิ่นราชานุภาพแล้ว
และพระองค์ ก็ไม่ได้ทรงมีบุคลิก
แบบคนขี้โมโห
ไม่รู้จักควบคุมอารมณ์
เหมือนโจวเหวินฟะในเรื่อง
ระยะเวลาแค่ร้อยกว่าปี
เราสามารถค้นประวัติศาสตร์ได้ว่า
พระองค์จริงทรงมีบุคลิกอย่างไร
ที่สำคัญรัชกาลที่ ๔
กับรัชกาลปัจจุบัน
ก็ทรงสืบเชื้อสายกันโดยตรง
คนไทยที่ได้ชมภาพยนตร์เรื่องนี้
จะรู้สึกอย่างไรที่เห็นหนัง
ฉายภาพรัชกาลที่ ๔ ในแง่ลบ
นอกจากการแต่งตัวเป็นพระองค์ท่าน
การวางบุคลิกในแง่ลบ
ในหนังยังมีบทพูดของตัวละครอื่น
ๆ
ที่แสดงการหมิ่นพระมหากษัตริย์
อีกหลายตอน
อย่างเช่นตอนที่ตัวกบฏ
ชื่ออาลักพูดว่า
ขอให้พระราชวงศ์ จงล่มสลายไป
พร้อมกับตะวันที่ลับฟ้า
และในบทบรรยายภาษาอังกฤษ
เขียนไว้ชัดเจนว่า CHAKRI dynasty
คำพูดนี้ เราถือว่า
กำลังดูหมิ่นราชวงศ์จักรี
ทั้งราชวงศ์
"นอกจากนี้
หนังยังแสดงการดูหมิ่นรัฐ
ด้วยการเผยแพร่ขนบธรรมเนียม
ที่ไม่ถูกต้อง
เพราะเขาตีความจากมุมมองของเขา
ซึ่งเป็นฝรั่ง
ไม่เข้าใจประเพณีไทยอย่างแท้จริง
ทำให้เกิดข้อผิดพลาดมากมาย
อย่างเช่น พระราชพิธีแรกนาขวัญ
เขาเอาไปตีความว่า
พระเจ้าแผ่นดิน
ทรงมีอำนาจขอให้ฝนตกได้
และยังมีบทสนทนาล้อว่า
ทำไมไม่ทำให้หิมะตกซะเลย
แสดงการล้อเลียน
พระเจ้าแผ่นดินของเราว่า
ทำได้ทุกอย่าง ดลบันดาลให้ฝน
หรือหิมะตกก็ได้
"ส่วนเรื่องการบิดเบือนประวัติศาสตร์
เราคงต้องวิเคราะห์ลงไปว่า
ใครบิดเบือนกันบ้าง
เพราะหนังเรื่องนี้
มีผู้เกี่ยวข้องสองส่วน
คือแอนนาผู้เขียนนวนิยาย
และบริษัทฟ็อกซ์
ผู้สร้างภาพยนตร์
ถ้าดูเฉพาะนวนิยายของแอนนา
เราจะพบความไม่น่าเชื่อถือมากมาย
อยู่ในงานเขียนของเธอ
เพราะเธอยกย่องตัวเอง
จนเกินความจริง
บางเรื่องเป็นไปไม่ได้
และไม่ตรงกับหลักฐาน
ในประวัติศาสตร์ของเรา เช่น
อ้างว่าเป็นที่ปรึกษาใกล้ชิด
รัชกาลที่ ๔ แต่ความจริง
เป็นเพียงลูกจ้าง
ที่ถูกว่าจ้างให้มาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ
และมีโอกาสเข้าเฝ้า
เพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น
และพระราชกระแสของรัชกาลที่ ๔
เกี่ยวกับแอนนา ที่ปรากฏอยู่
ในเอกสารประวัติศาสตร์
ก็ไม่ได้ชื่นชม
หรือทึ่งในความสามารถของแอนนา
ดังที่เธอบรรยายไว้
แต่ทรงตำหนิว่าจุ้นจ้าน
เพราะแอนนา เข้าไปยุ่งเกี่ยว
กับราชการบ้านเมืองมากเกินไป
นอกจากนี้ เธอยังอ้างว่า
สามารถพูดคุย
กับสนมกำนัลรู้เรื่อง ทั้ง ๆ
ที่เธออยู่เมืองไทยเพียงแค่ห้าปี
และภาษาไทย ก็เป็นภาษาที่ยาก
สำหรับเธอ
ดังนั้นข้อมูลที่ได้มา
จึงไม่น่าเชื่อถือ
แล้วจะให้เรายอมรับ
ว่านวนิยายของเธอ
เป็นเรื่องอิงประวัติศาสตร์
ได้อย่างไร
ในเมื่อเธอไม่มีคุณสมบัติ
เป็นนักประวัติศาสตร์
แม้แต่นิดเดียว
และสิ่งที่เธอเขียน
ก็ไม่ตรงกับหลักฐานที่เรามีอยู่
เราจะต้องเชื่อหลักฐาน
ที่เรามีมากกว่าบันทึก
ของแหม่มแอนนาอย่างแน่นอน
"เมื่อฟ็อกซ์นำมาทำเป็นหนัง
ฟ็อกซ์ก็แต่งเติมเรื่องราว
ลงไปเองอีกมาก
และเพิ่มตัวละครมากกว่าที่ปรากฏ
ในฉบับนวนิยาย ทั้ง ๆ ที่ตอนแรก
ประกาศเจตนารมณ์ว่า
ต้องการสร้างภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์
เพื่อแสดงให้เห็นว่ารัชกาลที่ ๔
ทรงเป็นผู้นำอันแข็งแกร่ง
และต้องการให้เกิดความเข้าใจ
ที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเทศไทย
แต่สิ่งที่เราเห็นในหนัง
ก็คือฟ็อกซ์ไม่ได้พยายามทำ
อย่างที่บอกเอาไว้เลย
ไม่ว่าจะเป็นการคัดเลือกตัวละคร
ให้ใกล้เคียงกับบุคคลจริง
ในประวัติศาสตร์
ซึ่งฟ็อกซ์สามารถทำได้
เพราะหนังหลาย ๆ
เรื่องก็ทำมาแล้ว
แต่ฟ็อกซ์ก็ไม่ทำ
กลับไปเลือกโจวเหวินฟะ
ซึ่งมีบุคลิก
และอายุห่างจากพระองค์จริง
หลายสิบปี หรือเลือก โจดี้
ฟอสเตอร์ มาแสดงเป็นแอนนา ทั้ง ๆ
ที่โจดี้เป็นหญิงชาวเวลส์แท้
ไม่ใช่ลูกครึ่งอังกฤษ -
อินเดียเหมือนแอนนา
เรื่องการวางบุคลิก
ตัวละครก็เหมือนกัน
ฟ็อกซ์ไม่ได้ยกย่องรัชกาลที่ ๔
แต่กลับยกย่องแอนนา
ให้มีความสำคัญอย่างมาก
ทั้งที่บางเรื่อง
ก็เป็นไปไม่ได้ เช่น
การปรึกษาราชการแผ่นดิน
โดยมีแอนนาร่วมอยู่ด้วย
หรือการแสดงให้เห็นว่า
แอนนาเป็นผู้นำความคิด
เรื่องเลิกทาส
ทำให้คนดูเกิดความเข้าใจผิด
เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย
ทั้งหมดนี้ ฟ็อกซ์ทำตรงกันข้าม
กับเจตนารมณ์ที่เคยชี้แจงไว้
ในตอนแรกทั้งสิ้น
"อันที่จริงเรื่องประวัติศาสตร์เป็นเรื่องรอง
เพราะถึงแม้จะผิดเพี้ยนยังไง
ก็ยังค้นหาข้อมูล
มาตีความกันใหม่ได้
แต่เรื่องหมิ่นราชานุภาพ
เป็นเรื่องสำคัญ
เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์
เป็นสถาบันที่คนไทย
เทิดทูนสูงสุด
ไม่สมควรจะนำมาแสดงล้อเลียน
หรือดูหมิ่น
ถ้าหนังกล่าวถึงพระมหากษัตริย์
ในทางบวก อย่างเช่น เรื่อง
ด้วยเกล้า ของ บัณฑิต ฤทธิ์ถกล
หรือ สุริโยไท
ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
เราก็ยินดีให้ฉาย
เพราะทั้งสองเรื่อง
เทิดทูนความดี
หรือวีรกรรมของพระมหากษัตริย์ไทย
ส่วนหนังเรื่องนี้
ถ้าอนุญาตให้ฉายในเมืองไทย
ก็คงถูกเซ็นเซอร์ฉาก
ที่ลบหลู่ราชานุภาพ
และบิดเบือนประวัติศาสตร์
ออกไปมากมาย หลายฉาก
จนดูไม่รู้เรื่อง
"แม้ว่าบางคนจะบอกว่า
หนังก็คือหนัง
คนดูไม่คิดอะไรมาก
แต่ถ้าเราปล่อย
ให้ฉายหนังเรื่องนี้ในเมืองไทย
แล้วเกิดวิพากษ์วิจารณ์กันมาก
โดยเฉพาะเนื้อหาหลัก คือ
เรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์
และประวัติศาสตร์ของชาติ
ก็คงจะเกิดความเสียหายไปหมด
แม้บางคนจะบอกว่า
การปล่อยให้เด็กไทย
ดูหนังเรื่องนี้ จะช่วยกระตุ้น
การเรียนรู้ประวัติศาสตร์
แต่เรากลับคิดว่า เป็นเรื่องยาก
ที่จะควบคุมผลที่เกิดขึ้นตามมา
และน่าจะเกิดผลเสีย มากกว่าผลดี
ดังนั้นเราจึงไม่อนุญาต
ให้ฉายหนังเรื่องนี้ในเมืองไทย"
|