มหาวิทยาลัยนอกระบบ
มหาวิทยาลัยนอกระบบ สนันสนุน หรือ คัดค้าน
( ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณ
คลิกที่นี่ )
เกษร สิทธิหนิ้ว : รายงาน
บุญกิจ สุทธิญาณานนท์ : ภาพ

    นับถอยหลังอีกเพียงสามปีเศษ ก็จะถึงวันที่รัฐบาลขีดเส้นตาย ให้มหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่ง ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองสู่การเป็น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า มหาวิทยาลัยนอกระบบ

     การปรับเปลี่ยนดังกล่าว หมายถึง การที่มหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่ง จะต้องเปลี่ยน ระบบการบริหาร และจัดการภายใน มหาวิทยาลัย จากเดิมที่เป็นไป ตามระเบียบราชการ ที่รัฐบังคับใช้กับทุกหน่วยราชการ ไปเป็นการบริหารจัดการตนเอง โดยอยู่ในการกำกับของรัฐ ซึ่งหมายถึงว่า มหาวิทยาลัยจะมีอิสระมากขึ้น ทั้งในด้านการบริหารบุคคล และเป็นอิสระจาก ระเบียบการเบิกจ่ายเงิน ในระบบราชการแบบเดิม ทั้งนี้มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง จะต้องร่าง พระราชบัญญัติ ของตนขึ้น เพื่อใช้ในการบริหาร และจัดการตนเอง ผ่านทางสภามหาวิทยาลัย โดยทบวงมหาวิทยาลัย จะมีหน้าที่เพียงกำกับดูแล เฉพาะในส่วนของนโยบาย และแผนงานหลัก และมีสำนักงาน ตรวจเงินแผ่นดิน เป็นผู้ตรวจสอบบัญชี งบประมาณเท่านั้น
    แม้จะไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทย เพราะมีการพูดถึงเรื่องนี้มากว่า ๓๐ ปีแล้ว แต่ดูเหมือนว่า กระแสความเปลี่ยนแปลง เพื่อเดินหน้า สู่การเป็นมหาวิทยาลัย ในกำกับของรัฐ ในช่วงเวลานี้ จะชัดเจนและ เป็นรูปธรรมมากที่สุด โดยมีข้อตกลง ระหว่างรัฐบาล กับธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank-ADB) เมื่อสองปีก่อน เป็นตัวผลักดัน
    ๒๗ มกราคม ๒๕๔๑ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบ เงื่อนไขการกู้เงิน จากธนาคารพัฒนาเอเชีย เงื่อนไขดังกล่าวกำหนดไว้ว่า มหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่ง ต้องเปลี่ยนสถานภาพ เป็นมหาวิทยาลัย ในกำกับของรัฐ ภายในปี ๒๕๔๕
    หลังจากร่างหลักการ เสนอแผน และขั้นตอนการดำเนินงานแล้ว ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ทบวงมหาวิทยาลัย ก็ได้รวบรวม แผนปฏิบัติการทั้งหมด เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี แผนปฏิบัติการดังกล่าว เป็นการกำหนดระยะเวลา ในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติ ของแต่ละมหาวิทยาลัย ให้แล้วเสร็จ เพื่อพร้อมที่จะออกนอกระบบ ภายในปี ๒๕๔๕
    คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ความอึมครึม ส่อเค้าขึ้น หลังจากปรากฏความขัดแย้ง เป็นสองขั้ว ในแวดวงชาวมหาวิทยาลัยเอง
    ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่า หากมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ จะทำให้การบริหารงานคล่องตัวและ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งไม่เพียง ทำให้มหาวิทยาลัย อยู่รอดเท่านั้น แต่จะนำไปสู่ความเป็นเลิศ ทางวิชาการมากกว่า ระบบเดิม
    ขณะที่อีกฝ่าย มองไปที่เสรีภาพทางวิชาการ และการดำรงไว้ ซึ่งปรัชญาของมหาวิทยาลัย ในการเป็นสถาบัน ที่มุ่งผลิตบัณฑิต ให้มีจิตสำนึกต่อสังคม เพื่อนำความรู้ ไปพัฒนาบ้านเมือง เป็นขุมปัญญาของสังคม ทั้งในการวิจัย และผลิตผลงานวิชาการ เพื่อสร้างสรรค์สังคมต่อไป ทั้งยังเชื่อว่า ความมีประสิทธิภาพ และความคล่องตัว ในการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัย เกิดขึ้นได้โดย ไม่จำเป็นต้องออกนอกระบบ หรืออาศัย หลักการตลาด หรือระบบการบริหารงาน แบบองค์กรธุรกิจ

    การปรับเปลี่ยน ให้มหาวิทยาลัยของรัฐ ออกนอกระบบ ในครั้งนี้มิใช่เพียง มหาวิทยาลัยเท่านั้น ที่ต้องคิด และตัดสินใจ หากแต่เป็นโจทย์ ที่สังคมต้องขบคิดร่วมกัน เพื่อสังคม และมหาวิทยาลัย จะยังคงเป็นสิ่งซึ่งตอบสนอง และรังสรรค์ประโยชน์ ซึ่งกันและกันตลอดไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
คลิกที่นี่


อ่านสนับสนุนต่อคลิกที่นี้รศ. ดร. ทศพร ศิริสัมพันธ์
อาจารย์คณะรัฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อ่านคัดค้านต่อคลิกที่นี้ดร. ใจ อึ๊งภากรณ์
อาจารย์คณะรัฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ส นั บ ส นุ น 1x1.gif (43 bytes) คั ด ค้ า น
  • มหาวิทยาลัยที่อยู่ในระบบราชการ มีระเบียบต่าง ๆ ที่ไม่สอดคล้อง กับการดำเนินงาน การออกนอกระบบ เป็นความพยายาม ที่จะกันระเบียบต่าง ๆ เหล่านี้ออกไป เพื่อสร้างระบบการบริหารที่ดีขึ้น
  • ทุกคนจะได้ประโยชน์ จากการออกนอกระบบ อาจารย์จะมีพันธะที่ต้องผลิตผลงาน ทางวิชาการออกมา นักศึกษา และสังคม ก็จะได้ประโยชน์จากผลงานนั้น
  • ที่บอกว่า เสรีภาพทางวิชาการ จะหายไปนั้นไม่จริง เพราะการทำวิจัย การทำงานวิชาการต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย ของอาจารย์แต่ละคน โดยไม่มีใครเข้าไปข้องเกี่ยว
  • ค่าหน่วยกิตที่แพงขึ้น จะยิ่งสร้างความเป็นธรรมในสังคม เพราะทุกวันนี้ นักศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ จ่ายค่าเล่าเรียน ถูกกว่าต้นทุนที่แท้จริง
  • ประเด็นหลัก ของการออกนอกระบบ คือ การนำระบบตลาด เข้าสู่ระบบมหาวิทยาลัย ต่อไปมหาวิทยาลัย จะใกล้ชิดกับธุรกิจ และกลไกการตลาดมากขึ้น คนที่เสียประโยชน์ คือคนส่วนใหญ่ของประเทศ ที่ไม่มีอำนาจเงิน
  • สาเหตุหลักที่เปลี่ยน เพราะต้องการลดภาระของรัฐบาล ในด้านงบประมาณ ไม่ใช่ปัญหาความคล่องตัว ความไม่คล่องตัว ในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย แก้ไขได้ โดยไม่ต้องออกนอกระบบ
  • จะส่งผลกระทบต่อเสรีภาพ ทางวิชาการอย่างแน่นอน เพราะอิทธิพลของอำนาจเงิน จะเข้ามาควบคุม
  • เมื่อค่าหน่วยกิต ค่าเล่าเรียนแพงขึ้น สิทธิและ โอกาสของประชาชน ที่จะเข้าศึกษา ในระดับมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะมีฐานะทางเศรษฐกิจเช่นไร ก็จะหมดไป
อ่านฝ่ายสนับสนุน คลิกที่นี่
click here
อ่านฝ่ายคัดค้าน คลิกที่นี่
click here
กลับไปหน้า สารบัญ

แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
.ต้องการ แสดงความคิดเห็นเพิ่ม คลิกที่นี่


แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น เ พิ่ ม เ ติ ม

ชื่อ-สกุล: *
E-Mail:
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม: *
*

 

พบเห็น ข้อความไม่เหมาะสม กรุณาช่วยกันแจ้ง ผู้ดูแลเว็ป (WebMaster) ขอบคุณครับ

เห็นว่าการที่มหาวิทยาลัยออกนอกระบบนั้นจะก่อให้เกิดปัญหาความไม่เท่าเียมกันในสังคมกล่าวง่ายๆว่าเมื่อมหาวิทยาลัยต้องพึ่งตัวเองนั้นเงินจะกลายมาเป็นสิ่งสำคัญมหาวิยาลัยก็คงจะปรับค่าหน่วยกิจและค่าธรรมเนียมเพิ่มเมื่อเทีบยกับปัจจุบันค่าใช้จ่ายคงสูงขึ้นมากซึ่งเป็นการปิดโอกาศกับกลุ่มคนที่มีรายได้ตำ่เพราะไม่มีเงินแล้วจะเรียนได้อย่างไรและเชื่อได้เลยว่าถึงมหาวิทยาลัยจะพึ่งตนเองได้แล้วการพัฒนาระบบการสอนและอุปกรณืที่จำเป็นคงไม่ได้รับการพัฒนาตามและการออกนอกระบบอาจเป็นการนำเอามหาวิทยาลัยไปสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างเต็มตัว แต่บุคคลากรนั้นส่วนใหญ่คงไม่มีความพร้อมในจุดนี้ซึ่งเป็นการเสี่ยงเกินไป และเชื่อได้ว่าเมื่อมหาวิทยาลัยออกนอกระบบและมีการขึ้นค่าเล่าเรียนแล้วการเอนทรานก็คงไร้ประโยชน์เมื่อการที่ต้องเรียนในสถาบันของรัฐมีค่าใช่้จ่ายพอกับการเรียนในสถาบันเอกชนหากเกิดการล่มสลายทางระบบการศึกษาใครจะรับผิดชอบหวังว่าคงจะไม่ผลักหนี้มาให้กับประชาชนเพิ่มขึ้นอีกนะท่านรัฐบาล
วรพจน์ หิรัญยวุฒิกุล <hatatakay@hotmail.com>
- Sunday, November 05, 2000 at 04:39:13 (EST)

ไม่เห็นด้วย เพราะเมื่อค่าเล่าเรียนแพงขึ้น จะทำให้คนจนขาดโอกาสเรียนในมหาวิทยาลัยและทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในสังคม
ณัฐ ศรสำราญ <n_sornsamran@hotmail.com>
- Thursday, November 02, 2000 at 23:40:13 (EST)

การออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยมีทั้งข้อดีและข้อเสีย หลายคนอาจมองว่าจะทำให้การบริหารงานคล่องตัวมากขึ้น อาจารย์สามารถพัฒนางานทางวิชาการจนสู่ความเป็นเลิศได้ในที่สุด แต่อย่าลืมว่าอาจารย์ทั้งหลายที่เข้ามาสู่ระบบของ มหาวิทยาลัยนอกระบบเหล่านั้น ล้วนแต่มาจากมหาวิทยาลัยของรัฐเดิมเป็นส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้นการจัดการทางด้านความคิด การบริหารงานทั้งหลาย ก็ยังคงยึดติดมาจากระบบเก่าๆ ทั้งนั้น ระบบเส้นสายยังมีให้เห็นได้อย่างชัดเจน เรื่องบางอย่างก็ไม่ได้เกิดความคล่องตัวอย่างที่คิด หรือหากจะมองไปทางด้านการเรียนการสอน มันไม่ใช่ 100 % ที่จะสามารถพัฒนาให้สู่ความเป็นเลิศได้ เพราะนักศึกษาส่วนใหญ่ก็เป็นลูกเกษตรกร พ่อค้า ข้าราชการ หรือประชาชนทั่วๆ ไป การหาค่าเล่าเรียนมาส่งลูกเรียนด้วยค่าหน่วยกิจที่สูง เป็นเรื่องที่หนักพอสมควร ตัวนักศึกษาเองก็ใช่ว่าจะสามารถเรียนไปได้ตลอดรอดฝั่ง มันเป็นเพียงกระบวนการทางความคิดของผู้ที่ต้องการนำเข้าสู่ระบบการตลาด การแข่งขันเหมือนการค้าที่มีกำไร ขาดทุนมากกว่า ผู้ที่ได้ประโยชน์อย่างสูงสุดคือผู้บริหาร หรือสายวิชาการ ที่ถูกจ้างมาด้วยอัตราเงินเดือนที่สูงลิบ แต่การปฏิบัติงานไม่ได้แตกต่างจากข้าราชการทั่วๆ ไป
จารุณี
- Friday, October 27, 2000 at 02:34:07 (EDT)

เมื่อถึงเวลานั้น คงจะมีการแบ่งขนชั้นกันมากขึ้น คนจนคงไม่มีโอกาสได้เรียนสูงถึงขั้นมหาวิทยาลัยอีกต่อไป
เด็กบ้านนอก
- Wednesday, October 18, 2000 at 02:15:07 (EDT)

ผมก็เป็นอาจารย์มหาลัยแค่ 4 ปีนี้เอง ผมเห็นว่า ออกนอกระบบก้อดูดี แต่เรายังไม่พร้อม ประเด็นนี้สำคัญที่สุด เราจะไปทำตัวเหมือนหญิงสาวที่รีบร้อนจะแต่งงานออกเรือนไปทำไม ขอเห็นพ้องกับอาจารย์ใจ
ว.แหวน <khunmin@usa.net>
- Monday, October 02, 2000 at 14:39:51 (EDT)

ดีอยู่ที่มหาลัยออกนอกระบบแต่มีข้อเสีย คือ ต้องคิดค่าหน่วยกิจแพง ทำให้บางคนไม่มีโอกาสที่จะเรียนต่อ
มณเฑียร <ิbow_a@lovemail.com>
- Friday, September 22, 2000 at 09:15:54 (EDT)

ขอคัดค้าน เพราะว่าถ้าเป็นมหาวิทยาลัยนอกระบบแล้ว ค่าใช้จ่ายในการที่ได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ก็จะแพงกว่าที่เป็น
Supannee Rungruang <supannee.rungruang.sr@bayer-ag.de>
- Friday, September 15, 2000 at 03:00:24 (EDT)

มีความเห็นว่าการศึกษาของประเทศไทยยังมีความไม่พร้อมในการเป็นมหาวิทยาลัยนอกระบบเพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการลดค่าใช้จ่ายของรัฐ ต่อไปคงมีเพียงวแต่คนที่มีเงินเท่านั้นที่สามารถเรียนในมหาวิทยาลัยได้ คนที่ไม่มีเงินก็ต้องเข้าไปสู่ตลาดแรงงานมากขึ้น เกิดปัญหาแรงงานด้อยคุณภาพ แรงงานล้นตลาด หรือคนที่อยากเรียนแต่ไม่มีเงินก็ต้องดิ้นรนหาหนทางเพื่อจะเรียน ไปกู้หนี้ยืมสิน ขายบ้าน ขายนา ขายที่ หรือแม้กระทั่งขายบริการ ปัญหาน่าจะตามมาหลายอย่าง คนที่จนอยู่แล้วก็ยังอยู่ในวัฏจักรของคงวามจนต่อไป เสมือนเป็นการปิดกั้นโอกาสเพื่อพัฒนาคุณภาพประชากรของไทย
คนด้อยโอกาสเนื่องจากรัฐ
- Thursday, September 14, 2000 at 03:42:32 (EDT)

This idea is great only if we can guarantee the fairness in the system. I think Thailand is not yet ready for it. There are too many people who give priority to their own interests.
V.Y. <arisay@hotmail.com>
- Monday, September 11, 2000 at 14:20:04 (EDT)

ผมขอเลือกฝ่ายคัดค้าน
ิทินกร พลูกลั่น <f_film@hotmail.com>
- Wednesday, September 06, 2000 at 02:25:07 (EDT)

การศึกษาไม่ควรถูกขีดขั้นด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ และสังคม การออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยน้ันพึ่งกระทำได้ แต่ไม่ใช่ทั้งหมดทุกแห่ง กล่าวคือต้องมีมหาวิทยาลัยของรัฐที่ให้โอกาสประชาชนจากทุกหมู่เหล่า ไม่ว่าจนหรือรวย ได้เล่าเรียนในมหาวิทยาลัย ภาษีประชาชนควรได้รับการสนองตอบคืนอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะด้านการศึกษาอันเป็นปัจจัยพิื้นฐานหลักในการพัฒนาประเทศ ผมมีคำถามอยากถามว่าอาจารย์ที่สนับสนุนการออกนอกระบบฯ ว่าหากท่านที่คิดว่าการออกนอกระบบฯดีอย่างที่ท่านสนับสนุน เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยส่วนรวมจริง ท่านยินดีที่จะรับเงินเดือนและสิทธิประโยชน์อย่างที่ท่านเป็นข้าราชการอยู่ปัจจุบัน และยังคงไว้ซึ่งการเสียสละทำงานเฉกเช่นข้าราชการ (โดยที่ไม่เป็นข้าราชการ) หลังจากสถาบันฯของท่านออกนอกระบบฯหรือไม่อย่างไร หากท่านคิดว่าทำงานมากก็ต้องได้ผลตอบแทนมาก ย่อมถูกต้องแล้วที่ท่านควรรับใช้ประเทศชาติในฐานะอื่นที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนมหาวิทยาลัย
สมหวัง ขันตยานุวงศ์ <khanta0114@yahoo.com>
- Saturday, August 26, 2000 at 04:05:29 (EDT)

ผมอยู่ฝ่ายค้าน และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะมีการเพิ่มค่าหน่วยกิจ เพราะจะทำให้ครอบครัวที่มีฐานะทางการเงินปานกลาง ประสบปัญหาในการส่งบุตรเข้าเรียน(ถ้าครอบครัวนั้นมีลูก 1 คนก็พอไหว แต่ถ้ามีลูกมากกว่า 1 แถมยังอายุไล่เลี่ยกันอีก แล้วเขาจะเอาเงินที่ไหนมาส่งบุตรเรียน )คนจนยิ่งแล้วใหญ่ โอกาสที่จะส่งบุตรเรียนไม่ต้องพูดถึงเลย จะให้พวกเขากู้เงิน เป็นหนี้เป็นสิน ส่งบุตรเรียนเหรอ แล้วเมื่อไหร่ คุณภาพชีวิตของเขาเหล่านั้นจะดีขึ้นหล่ะ ยิ่งค่าหน่วยกิจยิ่งถูกเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เด็กๆจะได้เรียนในระดับที่สูงขึ้น ถ้าจะให้ประเทศไทยสู้ประเทศอื่นได้ เด็กไทยควรจบอย่างน้อย ป.ตรี ยิ่งถ้ามี ดร. เยอะเท่าไหร่ก็ยิ่งดี รัฐบาลน่าจะเอาเงินมาลงทุนด้านการศึกษาให้มากกว่านี้มากๆด้วย ประเทศไทยจะได้ทำอะไรได้ด้วยตัวเองเสียที ตอนนี้ก็เห็นๆกันอยู่แล้วว่า ประเทศไทยได้แต่นำเข้าเทคโนโลยี ประดิษฐ์เองไม่เป็นสักอย่าง เพิ่มไปเถอะครับค่าลงทะเบียนหน่ะ ยิ่งเพิ่มเยอะเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีบัณฑิต น้อยลงเท่านั้นแหล่ะ ขอสนับสนุน ดร.ใจ อึ๊งภากรณ์ เต็มที่ครับ
ชูพงษ์ ภาคภูมิ <mydream88@hotmail.com>
- Sunday, August 20, 2000 at 06:24:21 (EDT)

เห็นด้วยนะ จะทำให้ระบบการศึกษาของประเทศพัฒนามากขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้ง 2 ระบบก็มีข้อดีและเสียเหมือนกัน แต่ผมคิดว่าเราอยู่ในระบบเก่ามานานมากแล้ว ไม่ลองที่จะหันมาลองระบบใหม่บ้างหรือเพราะตอนนี้ เราก้าวสู่โลก 2000 แล้ว มีการปฎิรูปกันไปหลายอย่างแล้ว และเราต้องตามเทคโนโลยีไห้ทัน "ไม่เริ่มวันนี้ ก็คงไม่รู้"
RiT
- Wednesday, August 09, 2000 at 03:12:58 (EDT)

ไม่เห็นด้วย,ไม่คัดค้านและก็ไม่ได้เป็นกลางนะค่ะ เพราะที่จริงทุกอย่างก็มีข้อดีขัอเสียอยู่ที่การนำไปใช้และการจัดการมากกว่า แต่ที่มีปัญหาอยู่ในสังคมไทยทุกวันนี้คือ เราไม่เข้าใจหรืออาจจะเข้าใจ แต่เอามาใช้แบบอิงประโยชน์ของคนคิดระบบมากกว่า ก็เลยมีปัญหา และเราก็ไม่ใจกว้างพอที่จะยอมรับว่าการศึกษาที่แท้จริงไม่ใช่การผูกขาดปริญญา และการให้ความสำคัญกับเกียรตินิยมมากเกินไปและอื่นๆ อีกมากมายนะค่ะ ตลอดจนเราเองก็ต้องมีความกล้าหาญทางจริยธรรม พอที่จะยอมรับความจริงในเรื่องที่เราไม่รู้ เราไม่แน่ใจเพราไม่ว่าจะเป็นศาสตราจารย์ ก็ไม่ใช่จะรู้ทุกเรื่อง และการสำนึกในประโยชน์ส่วนรวมในการพัฒนาความสามาถในการคิดวิเคราะห์, วิจัย และการสร้างคนของเราเอง ก็แทบไม่เกิด เพราะเรามีวัฒนธรรม ลูบหน้าปะจมูก ซึ่งการสร้างจริยธรรมทางวิชาการนี่ ควรจะเป็นข้อบังคับข้อแรกในสถาบันการศึกษาไทย แล้วก็มาดูที่เรื่องการบริหารจัดการ เพื่อประสิทธิภาพกันต่อไปซึ่งถ้าเป็นไปได้ใน 2 ประเด็นหลักนี้ จะนอกหรือในระบบ ก็ไม่เห็นจะน่าห่วง แต่การที่เอาแนวคิดแบบทุนนิยมมาตั้ง แล้วก็อ้างประสิทธิภาพ เพื่อการกระทำที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตน นั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าจะช่วยกันจับตาดูนะค่ะ ขอบคุณค่ะ
จงดี ทองคำ <lekjc@hotmail.com>
- Monday, July 31, 2000 at 22:59:54 (EDT)

กลัวมันไม่จริงนะซิ ที่ไหนได้ผู้บริหารดี ก็ดีไป ที่ไหนแย่ก็จะแย่ แบบพวกมากลากไป ทำนองนั้น
ฺBaBoo
- Friday, July 28, 2000 at 22:19:48 (EDT)

ถ้าเปลี่ยนไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยนอกระบบ ข้าพเจ้าคิดน่าว่าจะเป็นผลดี ประสิทธิภาพในการบริหารงานน่าจะเพิ่มมากขึ้น ทั้งในด้านวิชาการ นโยบายและบุคลากร ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบกันอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดประโยชน์อย่างมาก
ชัชวาลย์ จำนงค์จิตร <big_ooh@hotmail.com>
- Friday, July 21, 2000 at 01:34:47 (EDT)

ผมว่าเรายังขาดข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้นะ มันเป็นเรื่องดีที่จะออก ถ้าทำให้การบริหารงาน มีความคล่องตัวขึ้น แต่คำถามที่ตามมาก็คือ เงิน ที่จะเอามาจัดการตรงนี้เราจะเอามาจากไหน ไป บังคับจากนักศึกษาหรือ หรือรัฐยังคงต้องสนับสนุน ในบางส่วนอยู่ ที่ผมสงสัยอีกเรื่องก็คือ โรงพยาบาล ที่สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ เช่น ศิริราช รามาธิบดี จะขึ้นค่ารักษาพยาบาลหรือไม่ หลังจากที่มหาวิทยาลัย ออกนอกระบบไปแล้ว ถ้าจำเป็นต้องขึ้น แล้วผู้ที่มี รายได้น้อยที่ต้องพึ่งบริการของรัฐจะทำอย่างไรครับ
แน็ต <a_thipaksorn@hotmail.com>
- Monday, July 17, 2000 at 11:53:02 (EDT)

สนับสนุนครับ โดยการเรียนมหาวิทยาลัยนั้นให้เก็บค่าเล่าเรียนตามจริง แล้วมีทุนการศึกษาที่มากขึ้น สำหรับคนเก่งปานกลางถึงเก่งมาก ระบบทุนการศึกษาน่าจะนำมาซึ่งคนเรียนตรงสายมากขึ้น ส่วนการศึกษาเล่าเรียนฟรี น่าจะเป็นภาคบังคับ 12 ปีมากกว่า ซึ่งน่าจะตอบสนองคนส่วนใหญ่ของประเทศที่ชอบอ้างถึงได้มากกว่ามาก คนที่มีฐานะปานกลางถึงรวยแล้วเรียนไม่เก่ง ก็ควรจะเสียเงินเท่ากับต้นทุนจริง เพราะการที่เข้ามาเรียนแล้วใช้เงินภาษีตรงนี้แล้วจบไปทำงานเข้ากระเป๋าตัวเอง มันก็ไงอยู่
ป้าง
- Saturday, July 15, 2000 at 21:27:22 (EDT)

ผมทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยนอกระบบแห่งหนึ่งซึ่งเป็นต้นแบบของม.นอกระบบ ความคิดเห็นของผมก็คือ ข้อดี 1.ระบบการบริหารคล่องตัวมาก การเบิกจ่ายเงินงบประมาณเป็นไปค่อนข้างรวดเร็ว 2.การจัดการเรียนการสอนสามารถกำหนดได้เองโดยสภาของสถาบัน 3.สวัสดิการไม่เสียเปรียบราชการมากนัก 4.อัตราเงินค่าตอบแทน สามารถกำหนดได้เอง ข้อเสีย 1.การประเมิณผลการปฏิบัติงานของพนักงาน มักจะไม่เป็นธรรม ใช้อารมฌ์ของผู้ประเมิณเป็นหลัก 2.นักศึกษาค่อนข้างจะถูกปิดกั้นทางด้านความคิดและการแสดงออก 3.จากข้อ2.รวมทั้งพนักงานสายปฏิบัติการด้วย 4.หลักเกณฑ์การสรรหาผู้บริหารไม่โปร่งไส 5.งานประมูลรับเหมาต่างๆ ส่วนมากอยู่ในวงแคบๆไม่เปิดกว้าง
นายนำโชค จิตร์แจ้ง <namchock@ccs.sut.ac.th>
- Thursday, July 13, 2000 at 09:54:29 (EDT)

ระบบที่ต้องการให้สถาบันการศึกษาของรัฐเป็น เท่าที่ดูสถาบันการศึกษาเอกชนทำอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด ขอเพียงให้คนยากจน ได้มีโอกาสเรียนขั้นมหาวิทยาลัย ยิ่งค่าใช้จ่ายแพง โอกาสทางการศึกษาของคนยากจน ยิ่งน้อยลง หรือว่าเป็นก้าวแรก ประเทศไทยเตรียมตัวเปิดรับ โลกของการค้าเสรี การศึกษา เป็นสินค้าตัวหนึ่ง ที่สถาบันการศึกษาต่างชาติ อาจต้องการเข้ามาลงทุน ย้อนหลังไปหลายสิบปี คนยากจน ไม่มีสถานที่จะเรียน คนมีฐานะ ส่งลูกหลานเรียนที่พระนคร แต่ปัจจุบัน มีสถานที่เรียนมากมาย คนยากจนของประเทศนี้ กลับต้องขวนขวายหาเงิน เพื่อให้มีโอกาสได้เรียน ฉะนั้นเป็นห่วงว่า โอกาสเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ของคนที่กำลังทรัพย์ไม่พอ จะลดน้อยลง จุดหมายมิใช่อยู่ที่ ต้องการพัฒนาคนด้อยโอกาสของประเทศนี้หรือ สีสันของประเทศนี้ คือเกษตรกร กรรมกร และผู้มีรายได้น้อย
ชายชรา
- Thursday, June 15, 2000 at 09:38:47 (EDT)

ประเด็นที่นำเสนอมาก ในการออกนอกระบบคือ ความเป็นอิสระในการบริหารงาน เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ และคุณภาพการศึกษา ซึ่งขึ้นอยู่กับอาจารย์ นักวิชาการ และวิสัยทรรค์ของผู้บริหารการศึกษา สามารถเพิ่มได้ แม้อยู่ในระบบ แต่ประเด็นที่ดูจะละเลย คือ ค่าหน่วยกิต ค่าทำเนียบต่าง ๆ ที่นักศึกษาจะต้องรับภาระ นักศึกษาที่ เป็นชาวบ้านอยากจน คงจะมีโอกาสเรียนระดับอุดมศึกษาน้อยลง
ลั่นทม จอนจวบทรง <lanthom@hcu.ac.th>
- Thursday, June 15, 2000 at 05:44:37 (EDT)

มีความเห็นเป็นกลางตรับ เพิ่งคุยเรื่องนี้ที่กิจการนิสิต จุฬ่ฯ มีอาจารย์ถามความคิดเห็นผมว่า จุฬาฯควรออกหรือไม่ออก ผมตอบสรุปง่าย ๆ เลยครับ ออกในส่วนที่ทำรายได้เชิงพาณิชย์ แต่ส่วนวิชาการและคุณธรรมจริยธรรม อย่าออกเถิดครับ บริหารงานโดยประชาธิปไตย จัดส่วนงานทดลองออกก่อนซัก 1 - 2 หน่วยงาน เหมือนอย่างที่ รัชกาลที่ 6 ท่านทำดุสิตธานี แต่มีพวกใจร้อน 2475 รีบแย่งอำนาจมา ผลก็คือสภาพการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมในปัจจุบันนี่ไงครับ คำตอบของการรีบร้อนออกจากระบบ ใจเย็น ๆ กันครับ นึกถึงเยาวชนที่ด้อยโอกาสแต่ก็อย่าลืมการแข่งขันระหว่างประเทศในอนาคตด้วย
วรณัย พงศาชลากร <voranai_p@hotmail.com>
- Wednesday, June 14, 2000 at 09:47:59 (EDT)

อยากให้มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยนอกระบบให้มากกว่านี้เพือความเข้าใจที่ตรงกันค่ะ แล้วเราจึงจะทราบว่าควรจะคัดค้านหรือสนับสนุน
saaw <saawphil@hotmail.com>
- Wednesday, June 14, 2000 at 02:38:20 (EDT)

ถ้าออกนอกระบบราชการก็เห็นด้วยอยู่บ้าง แต่ต้องมีระบบการให้ทุนการศึกษาสำหรับ นักเรียนที่ยากจนหรือเรียนดีอย่างทั่วถึง คนมีฐานะดีก็ควรจ่ายค่าเล่าเรียนแพงขึ้น เพื่อเป็นความ เท่าเทียมกันทางสังคม ความมีอิสระในการบริหารและการส่งเสริมงานวิจัยอย่างจริงจัง ก็น่าจะเป็นผลดีต่อสังคม แต่ต้องไม่แสวงผลกำไรจนเกินควรในรูปแบบองค์กรธุรกิจ
ปรินันท์ วรรณสว่าง
- Monday, June 12, 2000 at 00:29:44 (EDT)

มหาวิทยาลัยไทย ใน หรือ นอกระบบก็ยังคงใช้เงินจากรัฐเช่นกัน และเป็นของรัฐเชินเดิม อยากให้การดำเนินกิจการมหาวิทยาลัย ก้าวหน้าอย่างไร ก็เขียนไปใน พรบ. ม. ไหนอยากใช้ระบบราชการแบบเดิม ก็เขียนแบบเดิม เป็นการเปิดโอกาสให้ปรับปรุงระบบงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยไทยให้ดีขึ้น เป็นองค์กรเพื่อมหาชนมากขึ้น
kunmee <kunmee@thai.com>
- Sunday, June 11, 2000 at 03:39:38 (EDT)

การที่จะออกนอกระบบนั้นไม่ได้หมายความว่าเราจะเก่งขึ้นแต่อาจจะทำให้เรามีความเห็นแก่ตัวมากขึ้นเพราะเราไม่ได้สอนให้นักศึกษามีคุณธรรมกันบ้างเลยเพราะนักศึกษาสมัยปัจจุบันช่างห่างไกลคุณธรรมกันมากเหลือเกิน
วิศณ์ ประสานพันธ์ <loveearth.netsaim.com>
- Saturday, June 10, 2000 at 05:00:10 (EDT)

การออกนอกระบบของมหาวิทยาละยนั้นก็เป็นเรื่องดี เพราะทำให้ระบบการทำงานของบุคลากรจะเป็นระบบและมีความคล่องตัวสูงแต่การออกนอกระบบจะดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการจัดระบบของมหาวิทยาลัยมากกว่า ทั้งในเรื่องอำนาจการตัดสินใจของผู้บริหารงาน การตรวจสอบการบริหารงานต้องมีการตรวจสอบทั้งบนมาล่าง และจากล่างขึ้นบนด้วย การมีส่วมร่วมในการตัดสินใจและการแก้ปัญหาภายในมหาวิทยาลัยของนักศึกษาควรมีมากขึ้นด้วยเช่นกัน
วิไล สืบเพ็ง <time162@hotmail.com>
- Saturday, June 10, 2000 at 02:21:51 (EDT)

ออกนอกระบบได้ แต่ไม่ใช่ตอนนี้
ณัฐพล
- Wednesday, June 07, 2000 at 04:46:51 (EDT)

ผมเป็นข้าราชการ ที่สอนในระดับ อุดมศึกษาคนหนึ่ง แต่ผมอยากจะขอพูดในฐานะของ นักเรียนคนหนึ่ง ที่มีความสามารถในการเรียน พอที่จะเรียนต่อใน สถาบันอุดมศึกษาได้ ผมไม่ค่อยแปลกใจมากนัก สำหรับคนส่วนใหญ่ ที่สนับสนุนให้ การศึกษาออกนอกระบบ จะเป็นคนมีฐานะค่อนข้างดี โดยไม่เคยที่จะ คำนึงถึง นักศึกษายากจน ที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ แม้กระทั่ง คนที่เรียกได้ว่า มีความสามารถทางวิชาการ ได้พูดว่า ค่าหน่วยกิตที่แพงขึ้น จะยิ่งสร้างความเป็นธรรม ในสังคม เพราะทุกวันนี้ นักศึกษา ในมหาวิทยาลัยของรัฐ จ่ายค่าเล่าเรียน ถูกกว่าต้นทุนที่แท้จริง ถ้าหากว่าท่านที่กล่าว ได้เคยเห็นนักศึกษา ในระดับอุดมศึกษา ต้องกินข้าวคลุกน้ำปลา นักศึกษาเพื่อนร่วมห้อง ต้องช่วยกันเลี้ยงอาหารกลางวัน คงไม่พูดเช่นนี้ บอกว่าเป็นธรรม การที่บุคคล มีปัญญาพอที่จะจ่ายให้กับ มหาวิยาลัยได้เท่านั้น จึงจะมีสิทธิในการเข้าเรียน ท่านผู้ทรงคุณวุฒิ เรียกสิ่งนั้นว่า ความเป็นธรรมหรือครับ ผมคิดว่า ท่านคงได้มีโอกาส เดินทางไปต่างประเทศ ขอยกตัวอย่าง มหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นมหาวิยาลัยที่ อยู่นอกระบบทั้งหมดในปัจจุบัน ท่านทราบหรือไม่ครับว่า คนภายในประเทศเขาเอง จ่ายค่าเล่าเรียนถูกมาก ปัจจุบันประมาณ 10,000 บาทไทยต่อปีเท่านั้น ที่สำคัญ เขามีกองทุนกู้ยืม เพื่อการศึกษา สำหรับทุกคน เน้นทุกคน... ผมทราบว่า การออกนอกระบบเป็นสิ่งที่ดี แต่ผมอยากจะ ฝากคำถามไว้ว่า ท่านคิดว่า ประเทศไทยของเราพร้อมแล้วหรือ????? เคยมีการวิจัยความพร้อม ของประเทศหรือไม่???? ท้ายสุดนี้ ขอให้ท่านผู้รับผิดชอบในส่วนนี้ ได้กรุณาพิจารณาถึง ผลได้ผลเสีย ที่จะเกิดขึ้น โดย...ใช้ประชาชนตาดำๆ ยากจน ไร้อำนาจวาสนา เป็นบรรทัดฐาน ด้วยเถิดครับ อย่านั่งเทียนอีกเลย ขอแสดงความนับถือ
ข้าราชการไทยที่พอมีวาสนา <thaiedu@hotmail.com>
- Sunday, June 04, 2000 at 20:07:49 (EDT)

ในฐานะคนทำกิจกรรม ผมมองเห็นว่า สภาพกิจกรรม โดยเฉพาะฝ่ายพัฒนาสังคม แรงจูงใจในการทำกิจกรรมดีๆ จะน้อยลง งบประมาณคงจะเข้มงวดขึ้นอีก ชมรมอาจโดนยุบ ตึกจุลฯ (ตึกกิจกรรม) อาจเปิดน้อยลง แล้วรูปแบบการซื้อใบปริญญา ซื้อเกรด คงเกิดขึ้นมากมายกว่าปัจจุบัน
อาธร นวทิพย์สกุล <arting304@hotmail.com>
- Sunday, June 04, 2000 at 02:01:24 (EDT)

จะทำให้หน่วยกิจแพงขึ้น
ธนารักษ์ ณ ราช <thinker_writer@yahoo.com>
- Wednesday, May 31, 2000 at 05:20:48 (EDT)

ผมเรียนอยู่ที่ มหาวิทยาลัยนอกระบบ แห่งแรกของไทย ซึ่งแสดงถึง ความแตกต่างจากในระบบมาก ไม่ว่าจะเป็น การดำเนินงาน การเรียนการสอน ทุกอย่าง คล่องตัวและรวดเร็ว และสามารถผลิตบัณทิต ที่มีความสามารถได้ มา 10 ปีแล้ว
kong <Tworakit@thaimail.com>
- Wednesday, May 31, 2000 at 03:15:43 (EDT)

การออกนอกระบบ ทำให้ข้าราชการลำบาก
วิษณุพร นีซัง
- Tuesday, May 16, 2000 at 06:33:36 (EDT)

ลูกหลานเรา จะได้มหาลัยที่บริหารงานแบบใหม่ แต่เป็นของเก่า ที่ราคาแพงกว่าเดิม ใครจะรับประกันได้บ้าง บางคณะ, บางสาขาวิชา ที่มีคนเรียนน้อย เช่น โบราณคดี, ปรัชญา, จิตวิทยา ฯ จะเป็นสาขาที่ยังเปิดสอนอยู่ โดยปกติ สาขาวิชาเหล่านี้ รัฐสนับสนุน ให้มีการเรียนการสอนอยู่ อนาคตจะเปิดสอนอยู่หรือเปล่า หรือจะเป็นเพียงวิชาเลือก ให้นักศึกษาเลือกเรียน หรืออย่างไร ค่าหน่วยกิจ จะเป็นอย่างไรบ้าง การสอบเข้าจะทำอย่างไร แค่เด็กอนุบาลหรือประถม เช่น สาธิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสคร์ ยังมีการโกงกัน ไม่ได้รับเด็กตามความสามารถ ระดับมหาลัย จะไม่มีการกระทำอย่างนั้นอีกเหรอ ใครจะรับรองได้ เด็กยากจนต่าง ๆ จะได้เข้าเรียน เหมือนสมัยนี้หรือเปล่า ช่องว่างระหว่าง คนรวยกับคนจน จะเพิ่มมากขึ้น ยังไงต้องทำประชาพิจารณ์ก่อน เหมือนกับโรงพยาบาลของรัฐ ที่ต้องให้อยู่ ภายใต้ การกำกับดูแลของรัฐ มีความพร้อมหรือเปล่า โรงพยาบาลเล็กๆ จะอยู่ได้หรือเปล่า ไม่เคยคิดเลย คิดแต่จะให้ออกนอนระบบ คนไทยได้ของเดิม ราคาแพงขึ้น
บุญเชิด ศรีวิชัย
- Tuesday, May 16, 2000 at 00:01:36 (EDT)

เห็นด้วย เพราะมองที่ การสอนของครูอาจารย์มากขึ้น เมื่อออกมาอยู่ในกำกับของรัฐ โดยอาจารย์ ต้องพยายาม สอนนักเรียนให้เต็มที่ เพื่อสร้างผลงาน และมหาวิทยาลัย จะได้จ้างเขาต่อไป จึงเป็นผลดีต่อ นิสิตนักศึกษา
ปทุมพร หงษ์จันดา <thum.p@chaiyomail.com>
- Friday, May 12, 2000 at 00:54:23 (EDT)

คัดค้านค่ะ เพราะต่อไป ลูกคนจน คงไม่มีสิทธิ์ เรียนมหาวิทยาลัย
ใหญ่
- Thursday, May 11, 2000 at 06:36:34 (EDT)

not agree
pter <pjookoo@hotmail.com>
- Tuesday, May 02, 2000 at 17:53:58 (EDT)

เห็นด้วยที่ว่า การออกนอกระบบ ทำให้การบริหารงาน คล่องตัวขึ้น แต่ในขณะนี้คิดว่ารัฐ ไม่มีทุนมากพอสำหรับ มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง ในส่วนตัว ก็ไม่มีความมั่นใจในเรื่อง ความมั่นคงในอาชีพ ขยัน เป็นคนดี มีความรู้ รู้แต่ตัวเรา เจ้านายมองไม่เห็น
พัชรี ทับทิมเทศ <liptt@mahidol.ac.th>
- Monday, May 01, 2000 at 08:13:46 (EDT)

ไม่เห็นด้วยจริงๆ ขอให้ทางรัฐบาล ไปแก้ปัญหาการทุจริต คอรัปชั่น ในระบบราชการ ออกมาตรการอะไรก็ได้ ที่จะมาควบคุมตรงนี้ แล้วค่อยคิดเรื่อง การนำการศึกษาออกนอกระบบ เพราะจะเป็นการ นำการศึกษาไปสู่ระบบธุรกิจ ยิ่งจะทำให้เกิดผลร้าย ต่อระบบการศึกษาไทย อย่างมากทีเดียว
mak
- Saturday, April 22, 2000 at 22:59:46 (EDT)

เห็นด้วย เราอยากเห็น การพัฒนาระบบมหาวิทยาลัยของไทย ก้าวสู่ระดับสากลมากกว่านี้ ทุกคน อยู่ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง ควรปรับตัว และทำจิตให้ว่าง เพื่อลด อคติ ลง และหันหน้ามาร่วมกันคิด พูด ทำ ให้เกิดประโยชน์ต่อชาติ มากกว่านี้ มีสติและใช้ปัญญาให้มากขึ้น ก็คงไม่มีอะไรเลวร้ายลงแน่นอน การเปลี่ยนแปลงยุคแรกแน่นอน ย่อมพบกระแสการต่อต้าน ความไม่ชัดเจน ความรู้สึกไม่มั่นคง ทำให้ ก็เกิดความสับสน ทุกคนคิดหรือไม่ ที่เหตุการณ์ยังยื้อกันอยู่เช่นนี้ ก็เพราะทุกคน ยังมีอัตตาอยู่ อยากให้ทุกท่านยึดแนวพระบรม ราโชวาท ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นสำคัญ เพื่อจะได้ปลดแอกตัวเองได้ง่ายขึ้น
A-1
- Tuesday, April 18, 2000 at 23:30:10 (EDT)

ทำให้ผู้ที่ด้อยโอกาส หาเช้ากินค่ำ มีโอกาสน้อย ที่จะศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ถ้าเปลี่ยนเป็นระบบใหม่ได้ ก็ควรให้โอกาสทางด้านการศึกษา แก่ทุกคน ให้เท่าเทียมกัน
ฉัตรชัย จันทร์แย้ม
- Saturday, April 15, 2000 at 05:13:18 (EDT)

I fully support the matter. It's a high time for our universities to move on to the new system. Chatchai PhD student, Imperial College University of London, UK
Chatchai Kunyawut <c.kunyawut@ic.ac.uk>
- Thursday, April 13, 2000 at 14:04:54 (EDT)

คัดค้านเนื่องจากว่า การออกนอกระบบ จะทำให้ มหาวิทยาลัย ไม่ต่างไปจากบริษัทเอกชน ที่ดำเนินธุรกิจ เพื่อมุ่งหวังผลกำไร ดังนั้น กิจกรรมการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย จึงมุ่งหวังตอบสนองเฉพาะ กลุ่มที่มีอำนาจซื้อเท่านั้น ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยของประเทศ ซึ่งได้กลุ่มลูกนายทุน คนมีเงิน ลูกของนักการเมืองทั้งหลาย และเมื่อคนกลุ่มนี้ ได้เข้าไปเล่าเรียน ในมหาวิทยาลัยแล้ว สำเร็จการศึกษาออกมา ก็จะต้องมุ่งทำธุรกรรมต่างๆ เป็นไปเพื่อ ตอบสนอง ผลประโยชน์แห่งชนชั้นของตนเอง เป็นสำคัญ ในขณะที่คนส่วนใหญ่ของประเทศ ที่ขาดกำลังซื้อ ด้อยโอกาสทางการศึกษา ไม่สามารถเข้าถึง บริการด้านการศึกษาที่ว่านี้ได้ ความด้อยโอกาสของพวกเขา จึงยังดำรงอยู่ตลอดไป และคนกลุ่มนี้ ก็จะยังคง ตกเป็นเบี้ยล่าง ของกลุ่มน้อยที่ว่าข้างตนต่อไป
กิตติ ไชยลาภ <CHAIYALAP@THAIMAILCOM>
- Thursday, April 13, 2000 at 04:28:05 (EDT)

ต่อไปคนจน คงต้องเรียนมหาวิทยาลัยเปิด หรือสถาบันราชภัฏเท่านั้น
คมสัน เตียะเพชร <tkeng@yahoo.com>
- Monday, April 10, 2000 at 09:44:31 (EDT)

คัดค้านครับ ระบบธุรกิจการเมือง สร้างนักการเมืองมากินชาติบ้านเมือง จนแทบไม่เหลืออยู่แล้ว ยังอยากให้มี ระบบธุรกิจการศึกษา อีกหรือครับ ?
ณัฐพล วงศาโรจน์ <nathapol@usa.net>
- Wednesday, April 05, 2000 at 23:07:08 (EDT)

คัดค้านในวิธีการ แต่สนับสนุนด้านแนวคิด
การนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบแล้ว จะมีอะไรดีขึ้นบ้าง นึกหรือว่า จะทำให้บุคลากร ของมหาวิทยาลัย ขยันขึ้น การออกนอกระบบแล้ว มั่นใจหรือว่า จะทำให้อาจารย์ ของมหาวิทยาลัย มีสติปัญญาสูงขึ้น กว่าการอยู่ในระบบ ถ้าสติปัญญาสูงขึ้นแล้ว จะมีเวลามาให้ความสนใจต่อ ปัญหาของชนบทหรือเปล่าน่ะ เพราะต้องเร่งทำงาน เอาใจผู้บริหารของมหาวิทยาลัยมากขึ้น ณ วันนี้ ก็พบว่า มีบุคคลากรของมหาวิทยาลัย จำนวนหลายคน ได้ไปสมัครงาน หรือว่าสอบเข้ารับราชการ ในสังกัดหน่วยงานอื่น ซึ่งถ้าถึงเวลาที่ มหาวิทยาลัยออกนอกระบบแล้ว เชื่อว่า ปัญหาสมองไหล ก็คงจะมีมากขึ้นตามมา ซึ่งปัจจุบันนี้ มหาวิทยาลัยหลายๆๆ แห่ง ก็แทบจะเรียกได้ว่า จะไร้ปัญญา ที่จะแก้ไขปัญหาสังคมได้แล้ว ต่อไปถ้าออกนอกระบบแล้ว มหาวิทยาลัย ก็คงจะกลายเป็น แหล่งปลอดปัญญา อีกสถาบันหนึ่งของเมืองไทย น่าเศร้าใจนักน่ะครับ

นายภานุวัฒน์ ชัยลังกา <panuwat_ch@hotmail.com>
- Monday, April 03, 2000 at 01:35:50 (EDT)

เป็นสิ่งที่ดีครับ ถ้าเป็นความต้องการของ ชาวมหาวิทยาลัยเองโดยตรง
กานท์ <karl@asiafind.com>
- Wednesday, March 29, 2000 at 23:04:06 (EST)

เห็นด้วยค่ะ เพราะคนที่สามารถ สอบเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่ ฐานะทางบ้านดี เพราะมีเวลาอ่านหนังสือมาก แต่กลับมาใช้ภาษี ของประชาชนทั่วประเทศ ที่ส่วนใหญ่ฐานะยากจน พอจบออกมา บางคนก็ไม่ทำงานรับใช้ประเทศชาติ ไปทำอะไร ที่ไร้สาระ ส่วนกรณีเด็กที่ยากจน แต่เรียนดี ควรมีระเบียบที่ช่วยเหลือทางการเงิน
ศินีนาถ
- Friday, March 24, 2000 at 03:37:40 (EST)

จาการฟังเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่านายอภิสิทธิ์ ซึ่งนายอภิสิทธิ์นั้น เป็นบุตรของคนมีเงิน และสามารถส่งเสียให้เรียนได้ ถึงเมืองนอก นั้น จะเห็นได้ว่า นายอภิสิทธิ์ ยังไม่ได้เข้าถึงสังคมไทยเท่าที่ควร และเป็นบุคคลที่ไม่ยอมรับว่า ประเทศไทย ยังมีคนจนมากกว่าคนรวยอยู่มาก เพราะฉะนั้นนายอภิสิทธิ์ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลในเรื่องนี้ ควรทำความเข้าใจเสียใหม่ เพราะการออกนอกระบบมหาวิทยาลัยนั้น จะทำให้คนไทย ซึ่งส่วนใหญ่อยากจนนั้น จะไม่ได้เรียน เพราะค่าเล่าเรียนต้องแพงขึ้น แล้วต้องมีคนแย้งขึ้นว่า ทำไมคนจน จะไม่ได้เรียน เมื่อมหาวิทยาลัย ต้องหาทุนให้คนจน ถามว่า ทั่วถึงหรือ และคนจนที่ต้องกู้ ก็ต้องมีการค้ำประกัน ถามว่า แล้วใครล่ะ จะเป็นผู้คำ้ประกัน ให้รัฐมนตรีค้ำประกันให้ได้ 1000 คนดีไหม แล้วอีกอย่างที่อยากให้คิดดูที่ว่า ทางวิชาการของมหาวิทยาลัย จะเป็นเลิศ แล้วไอ้ที่เด็กไทย ที่ได้เหรียญทองโอลิมปิก ทางการศึกษาที่ออกข่าว ไม่รู้ว่า เป็นเด็กต่างชาติหรืออย่างไร แล้วก็ที่บอกว่า ไปกู้เงินแบงค์ แล้วทำข้อตกลงนั้น ท่านเคยคิดหรือไม่ว่า ผู้ควบคุม เป็นเป็นชนชาติฝรั่งหรือเปล่า เพราะจากที่ดูข่าวต่างๆ ปัจจุบันเดี๋ยวนี้ คนทางแถบเอเชีย มีความสามารถที่คิดค้นเรื่องต่างๆ ได้ดีมากด้วย ทำให้ฝรั่ง ต้องจำกัด สิทธิ์ทางการศึกษาของชาติเอเชีย เพื่อให้คนแถบนี้ เป็นคนโง่ จะได้ไม่มีข้อโต้แย้งกับฝรั่ง เมื่อฝรั่งพูดอะไร คนเอเชียซึ่งกำลังต้องโง่นั้น จะได้ทำตามที่ฝรั่งคิด แล้วผลเป็นไง ก็ทำให้ เราก็โง่เหมือนผู้ที่จบเมืองนอก แล้วยังโง่อยู่อีกไงเล่า
นายรัก มหาวิทยาลัย <ดูทีวี@thai2k.com>
- Wednesday, March 22, 2000 at 02:14:07 (EST)

มหาวิทยาลัยในระบบ ค่าเล่าเรียนก็แพงอยู่แล้ว (สำหรับคนจน ๆ ) ไม่อยากจะนึกถึง ออกมานอกระบบเลย
Tiranut <stiranut@hotmail.com>
- Tuesday, March 21, 2000 at 06:24:11 (EST)

คัดค้านเพราะเป็นการ ตัดสิทธิ์ทางการศึกษา ของผู้ที่ยากจน
นางสาวนันทวรรณ สอนดี
- Wednesday, March 08, 2000 at 03:37:52 (EST)

ขอแสดงความคิดเห็น ในฐานะที่เป็น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มากที่สุดคนหนึ่ง ในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ขอมองในสองมุมมองดังนี้คือ
ในแง่ของ การบริหารจัดการแล้ว เห็นด้วยในเรื่องที่ว่า จะทำให้การทำงานในระบบ มีปรสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทุกวันนี้ อาจารย์ที่มีประสิทธิภาพ และทุ่มเทในการทำงาน มีมากพอควร แต่การตอบแทน ค่อนข้างไม่สมเหตุสมผล.. ในส่วนของ อาจารย์ที่อาศัยระบบราชการ และตำแหน่งทางวิชาการหากิน ก็จะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน หากมหาวิทยาลัย ออกนอกระบบ ซึ่งดูโดยหลักการแล้ว ขอสนับสนุนในส่วนนี้ ในส่วนของตัวเองแล้ว พร้อมที่จะเข้าสู่ระบบใหม่ เพราะเห็นว่า ยุติธรรมกว่ากับคนทำงาน... แต่มีข้อคลางแคลงสงสัยกับ ระบบพรรคพวกของ ผู้บริหารระดับสูง ระบบโกงกิน และการคอรัปชั่น สิ่งเหล่านี้ มีการควบคุมอย่างไร... บอกตรงๆ ไม่ไว้ใจ.. นอกจากนี้ ยังเป็นห่วงอย่างยิ่งในเรื่องของ โอกาสทางการศึกษา อย่างที่หลายๆ คนเป็นห่วง รัฐจะจัดการกับตรงนี้อย่างไร ต่อไปนี้ลูกตาสี ตาสา ยายมี ยายมา คงไม่มีโอกาสได้เข้ามาเสนอหน้าอยู่ใน มหาวิทยาลัยของรัฐละมัง หากรัฐมีคำตอบเรื่องเหล่านี้ได้ ก็ขอให้การออกนอกระบบ เป็นการเริ่มต้น สำหรับสิ่งใหม่ๆ ของสังคมไทย... แต่ลึกๆ แล้ว ยังหวั่นๆ

รังสิมา นิชรานนท์ <nrangsima@hotmail.com>
- Friday, March 03, 2000 at 08:49:45 (EST)

คัดค้านค่ะ เห็นด้วยกับความคิดของหลายๆ คน เหมือนกัน ที่มีทั้งเห็นด้วย กับไม่เห็นด้วย ในมุมมองของแต่ละคนก็ อาจจะแตกต่างกันไป ในความคิดของดิฉันแล้ว คิดว่า เด็กรุ่นหลัง จะไม่มีการแข่งขัน เพราะถ้าเปลี่ยนระบบแล้ว ค่าเล่าเรียนคงจะแพงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นของรัฐ หรือของเอกชน การสอบเข้า ก็ไม่มีความหมาย เพราะค่าเล่าเรียนพอๆ กัน แล้วเราจะรู้ถึง ความสามารถ และระดับความคิด ไอคิวของเด็ก ได้อย่างไร ในเมื่อที่ไหนก็เข้าได้
จิรา
- Friday, March 03, 2000 at 01:58:35 (EST)

คัดค้านและ ไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งค่ะ เพราะจะทำให้ค่าเล่าเรียนแพงขึ้น ทำให้คนจนไม่มีโอกาสได้เรียนและ เมื่อออกนอกระบบไปแล้วไม่มีอะไรรับประกันได้ว่า จะได้รับผลดีขึ้น เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นต่าง ๆ มันอยู่ที่บุคคลผู้บริหารจัดการ ไม่ใช่อยู่ที่ระบบ
darat
- Friday, March 03, 2000 at 01:36:05 (EST)

ควรมีการชี้แจงให้ชัดเจนว่า การออกนอกระบบ มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร ต้องการให้มหาวิทยาลัย สามารถบริหารงานตัวเอง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำงานได้รวดเร็ว ไม่มีกฏระเบียบมากมาย แต่ไม่ใช้ ็เต็มไปด้วยขั้นตอนต่างๆ ผลประโยชน์ การโกงกิน หรือว่าต้องการให้ออกไปหาเลี้ยงตัวเอง เหมือนมหาวิทยาลัยเอกชน คนจำนวนมากคัดค้าน เพราะมีการให้ข่าวว่าจะต้องเก็บค่าเล่าเรียนแพงขึ้น แต่ไม่เคยคิดบ้างว่า การมีการบริหารที่ดีจะทำให้ การเรียน การสอนมีประสิทธิภาพ ไม่สอนไปวันๆ สอนเป็นนกแก้วนกขุนทอง ทำงานสอนเป็นงานอดิเรก งานนอกเป็นงานประจำ เจ้าหน้าที่ขายของ MLM หรือ ประกันชีวิต มาทำงาน 10 โมงเช้า 11 โมงกินข้าว บ่าย 2 โมง เข้างาน 3 โมงเย็นต้องไปรับลูก จะทำอะไรต้องเขียนล่วงหน้าเป็นปี แก้ไขไม่ได้ ขออนุมัติเป็นเดือน การส่งเอกสารระหว่างหน่วยงานใช้เวลาเป็นอาทิตย์หรือ เดือน เอกสารบางอย่างส่งถึงผู้รับหลังกำหนด ท่านลองฝันดูว่า ถ้าออกนอกระบบแล้วแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ประเทศชาติจะดีขึ้นขนาดไหน ลูกหลานท่านจะมีความรู้มากขึ้น ไม่ถูกอาจารย์ปิดปากด้วยการให้เกรดดีๆ เพื่อไม่ให้พูดว่าอาจารย์ไม่สอนหนังสือ คิดว่าทุกคนคงต้องการสิ่งเหล่านี้ แต่ถ้าออกนอกระบบเพื่อให้มหาวิทยาลัยหาเงินเลี้ยงตัวเอง เราคนไทยคงได้แค่เพียง คุณภาพเท่าเดิม เพิ่มเติมค่าใช้จ่าย ไม่ว่าค่าเล่าเรียนของนักศึกษา หรือค่าใช้จ่ายของประเทศชาติ
CC
- Thursday, March 02, 2000 at 01:16:11 (EST)

ก็ขอออกความคิดเห็น ของนักศึกษาคนหนึ่ง ที่เรียนในมหาวิทยาลัยที่ กำลังเตรียมตัวในการ ออกนอกระบบนะครับ มีเรื่องอยากบอกคือว่า ผมได้อ่านในใบประกาศเรื่อง ค่าลงทะเบียนเรียน ของนักศึกษารหัส 43.... ซึ่งก็รุ่นปีนี้นี่เองครับ ค่าเล่าเรียนเพิ่มขึ้นมาก จนผมคิดว่า ถ้าเป็นผม ผมคงไม่เรียนแล้วล่ะครับ เพราะว่าผมคิดว่า ราคาขนาดนั้น ลูกชาวบ้าน หรือว่าชาวนา คงจะหาเงินมากขนาดนั้นไม่ได้หรอกครับ เรื่องนี้ผมเคยเอาเข้าไปคุยกันในกลุ่มเพื่อน ๆ ซึ่ง เกือบ 100% ไม่เห็นด้วยครับ เพราะว่า เห็นว่าเมื่อมหาวิทยาลัยออกนอกระบบแล้วนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างเกือบจะเป็นเงินตราหมดเลยครับ แล้วพ่อแม่ของทุกคน ก็ไม่ใช่ว่าจะรวยล้นฟ้าใช่ไหมครับ บางครอบครัวอย่างผมเนี่ย พ่อแม่ต้องเป็นหนี้เป็นสินส่งผมเรียน บางครั้งผมยังเคยคิดเลยครับว่า ถ้าผมออกได้ ผมจะออกไปทำงานดีกว่าที่จะมาเรียน ลำบากพ่อแม่เปล่า ๆ ขอบคุณครับ
ศิลา <dear2522@kittymail.com>
- Tuesday, February 29, 2000 at 15:40:03 (EST)

ดิฉันจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งถือว่าเป็น มหาวิทยาลัยเปิด ที่ดีที่สุดในประเทศไทย ให้อิสระในการเรียนการศึกษา สำหรับคนที่ไม่มีโอกาสได้ศึกษาในมหาวิทยาลัยปิด ดังนั้น การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่คิดว่า ดีสำหรับคนที่ไม่มีโอกาสเข้าไปศึกษาในระบบของ มหาวิทยาลัยปิด
sumalee denduong <sumalee@value.co.th>
- Monday, February 28, 2000 at 20:35:48 (EST)

จะทำให้ค่าใช้จ่ายของนักศึกษา ที่จะเข้าเรียน แพงมากขึ้น ทำให้มีผู้ที่มีสิทธิเข้าเรียน จะต้องมีทุนทรัพย์มากพอสมควร การเปิดกว้างทางการศึกษา จะน้อยลง น่าจะแก้ไขที่ วิธีการบริหารงานของมหาวิทยาลัยมากกว่า
นายนฤป แจ่มศรีใส <ืnarub_c@hotmail.com>
- Monday, February 28, 2000 at 06:40:55 (EST)

เนื่องจากการออกนอกระบบทำให้ สถาบันการศึกษา ต้องเพิ่มค่าต่างๆ จิปาถะ ผลเดือดร้อนจะตกที่ นักศึกษา หรืออีกนัยหนึ่ง เมื่อค่าใช้จ่ายในการเล่าเรียนก็จะแพงมากขึ้น แล้วลูกคนจนตาดำๆ ที่ไหนจะมีปัญญาเรียน ผู้ใหญ่ทำเป็นพูดดี จะให้โอกาสการศึกษาที่เท่าเทียมกันทุกคน แต่ผมว่า ทำอย่างนี้ ลูกคนจน ไม่มีทางได้เเรียนมหาวิทยาลัยหรอก คงต้องทนเป็นชาวนา ตามบรรพบุรุษมากกว่าละมั้ง คนรวยมีเงินเรียน ก็เรียนกันเข้าไป จบมาก็ใช้ปัญญาที่เฉียบเหลม โกงกินตามบรรพบุรุษเช่นกัน ถ้าจะให้เกิดความเท่าเทียมกัน รัฐบาลควรทำอย่างไรก็ได้ ให้ค่าใช้จ่ายในการศึกษาระดับที่สูงๆ อยู่ในอัตราที่ คนจน และคนรวย สามารถเรียนได้เท่าๆ กัน การพยายามผลักดัน ให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ โดยเอาเหตุผลว่า รัฐไม่สามารถดูแลไดต่อไปอีก, หรือต่างชาติ (ที่เจริญแล้ว) เค้าก็ออกนอกระบบกันทั้งนั้น ไม่ใช่เหตุผลที่ดี เพราะที่ว่ารัฐ ไม่มีปัญญาอุ้มนั้น ถามจริงๆ ทีสถาบันการเงินเอกชน ของบรรดานักธุรกิจทั้งหลาย ที่กู้เงินมาจากต่างชาติ แล้วไม่มีปัญญาใช้หนี้ รัฐบาลยังอุ้มแล้วอุ้มอีก จนชาติจะวอดวายยังไม่สำนึกอีก แล้วก็ที่ว่า จะเอาอย่างต่างชาติที่เค้าเจริญแล้วนั้น ก็ให้รัฐบาลช่วยคิดทีว่า ต่างชาติที่เค้าเจริญแล้ว รายได้ต่อหัวของประชากรเค้าเท่าไหร่ ของไทยเราเท่าไหร่ ถ้าหากรัฐบาลมีปัญญา ทำให้ประเทศชาติไทยของเรา ร่ำรวย (หรือไม่ก็หยุดโกงกินซะบ้าง ) รายได้ต่อหัวของคนไทยซัก....ล้าน/ปี หรือ คนไทยทุกคน ไม่ว่าลูกใคร ก็มีปัญญาจ่ายค่าเล่าเรียนที่แพงได้ทุกคน โดยไม่มีปัญหา รัฐบาลจึงสมควรที่จะมาคิด เรื่องออกนอกระบบ ของมหาวิทยาลัย ท่าจะดีกว่าคิดตอนนี้ หรือคิดตามแฟชั่น ....
ลูกชาวนา
- Sunday, February 27, 2000 at 00:53:41 (EST)

ผมว่าเมืองไทยยังไม่พร้อมเท่าใดนักสำหรับเรื่องนี้ จริงอยู่การที่ออกนอกระบบ จะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ผมคิดว่า ทางด้านพื้นฐานของการศึกษาไทย ยังไม่พร้อมนะ เราอาจจะรู้ว่า การที่จะออกนอกระบบนั้น ที่แน่ก็คือ ความเป็นอิสระในตัวองค์กร แต่ถ้าผู้บริหารในบ้านเรา ยังไม่หยุดที่จะเห็นประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวมแล้ว อะไรๆ มันก็จะเจริญได้ยากมาก ค่าเรียนที่แพงขึ้น ยอมรับครับว่า คนที่จะมีปัญญาจ่ายนั้น มันก็มี แล้วผมก็คิดว่า คนที่ต้องการจะออกนั้น ท่านเหล่านั้น ก็มีความสามารถพอที่จะจ่ายได้ แต่ลูกหลานเราอีกตั้งเท่าไหร่ครับ ที่จะหมดโอกาสตรงนี้ ถึงแม้ว่าเราจะมีเงินกองทุนก็ตาม เราก็ยังมิได้ประชาสัมพันธ์กับกลุ่มที่ต้องการนัก อีกทั้งความสามารถที่จะบริหารเงินตรงนั้นก็ต่ำมาก เสียดายโอกาสของประชาชนอีกมากมาย ที่จะหมดโอกาสเรียนไป ต่อไปมหาวิทยาลัยปิดชื่อดังต่างๆ ก็คงจะมีแต่ลูกคุณท่านคุณนายที่มีเงิน แล้วก็มิได้พยายามที่จะ เอาความรู้ที่ออกมา ไปช่วยสังคมสักเท่าใด หรืออีกฝ่ายจะมองว่า ไหนๆ ก็ออกมาทำงานเพื่อตัวเองแล้ว ก็เลยให้ออกเงินเองเลย.. คิดสั้นครับ แล้วอีกอย่าง ผมก็มองว่า มาตราฐานการศึกษาไทย ยังต่ำมากครับ ถ้าทุกสถาบัน ยังไม่สามารถที่จะพัฒนาให้เท่าเทียมกันได้ ก็คงจะยากที่จะออกนอกระบบได้ครับ
ธีระ วัฑฒนะพงศ์ <lekf801s@yahoo.com>
- Saturday, February 26, 2000 at 13:07:29 (EST)

ไม่เห็นด้วย
อรรถวิท กปิลกาญจน์ <m_auttawit@yahoo.com>
- Saturday, February 26, 2000 at 02:18:56 (EST)

i want everyone have the rights to study equally.even if they r poor.
juliet
- Friday, February 25, 2000 at 10:37:53 (EST)

เห็นด้วยอย่างมาก เพราะจะทำให้อาจารย์ในมหาวิทยาลัย มีความตื่นตัวในการทำวิจัย เพื่อเป็นผลงานทางวิชาการ เพราะในปัจจุบัน อาจารย์บางท่าน อยู่ไปวันๆ เท่านั้น และก็ได้ 1 ขั้นทุกปี จึงมีความไม่เป็นธรรมกับ อาจารย์ที่ทำวิจัย ซึ่งเป็นหน้าที่รอง ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงเห็นด้วย ที่มหาวิทยาลัยควรออกนอกระบบได้แล้ว สมชัย
สมชัย ลาภอนันต์นพคุณ <chai40200@hotmail.com>
- Friday, February 25, 2000 at 03:20:59 (EST)

สภาพเศรษฐกิจของประชาชนไทยส่วนใหญ่ ยังไม่พร้อม ประชาชนในประเทศส่วนใหญ่ ยังมีค่าครองชีพต่ำ ในขณะที่ รัฐกำลังสนับสนุนให้ประชาชนในประเทศ มีการศึกษาสูงขึ้น แต่กลับดำเนินการ ให้มหาวิทยาลัยรัฐออกนอกระบบ เป็นแนวทางที่ ขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง ระบบการสอบเอ็นฯ ถูกยกเลิกก็นับว่าดี แต่คิดว่า เป็นการปิดกั้นทางการศึกษามากขึ้นกว่าเป็นการเปิดโอกาศ เพราะปัจจัยด้านการเงิน เป็นปัจจัยสำคัญ ที่กำหนดว่า คนจะได้เรียนหรือไม่ รองจากความสามารถของแต่ละบุคคล หรือ บางครั้งเป็นปัจจัยหลักด้วยซ้ำ หากมหาวิทยาลัยออกนอกระบบแล้ว คิดว่าอัตราคนศึกษาต่อในประเทศไทย คงลดลงแน่นอน ในอนาคตเหมือนกับว่า ใครมีเงินก็ได้เรียน คิดว่าทุกคนคง เคยเห็นสภาพชีวิตในชนบทมาบ้าง คนเหล่านั้น แม้แต่มหาลัยรัฐบาล บางครั้งสอบเข้าได้ ก็ไม่สามารถไปเรียนได้ ด้วยขาดแคลนคุณทรพย์
Autchima Akasil <gracier@hotmail.com>
- Thursday, February 24, 2000 at 03:47:11 (EST)

เห็นด้วยกับการออกนอกระบบ จะได้ช่วย ลดภาระรัฐบาล เพราะว่า มหาวิทยาลัยต้องมา บริหารงานเอง ทุกวันก็บริหารงานเอง อยู่แล้ว แม้ค่าหน่วยกิตจะแพงขึ้น ก็ไม่เป็นไร ในเมื่อแต่ละมหาวิทยาลัย แข่งขันกัน ทุกวันก็แข่งขัน แต่รัฐฯ น่าจะคงไว้ หรือช่วยเหลือในมหาวิทยาลัย ที่มีราคาระดับชาวบ้าน เช่นมี ม.ราม หรือ มสธ แต่ควรเปิดกว้าง รับนักศึกษาทุกระดับ เรียนแบบตลาดวิชาหรือเสรี เช่นว่า สามารถจบ วิชาเอกได้ มากกว่า 1 วิชาเอก คุณอาจจะเรียน รัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ และนิเทศศาสตร์ ควบคู่กันไปได้ หรือเรียนรัฐศาสตร์กับคอมพิวเตอร์ จบมาแล้วจะได้มีความรู้หลากหลาย แต่ตอนนี้คงมี มหาวิทยาลัยกำลังคิดหรือมีนะครับท่าน อีกอย่างการจำกัดคนเรียนเหมือนที่คิด ไม่รู้จะจำกัดทำไม ทุกวันนี้ มหาวิทยาลัยก็ใช้เงินมาก แต่บริการคนได้น้อย มหาวิทยาลัยแต่คนกลุ่มหนึ่ง ส่วนน้อยของประเทศ แต่คนไทย ทุกคนฝากความหวังไว้ว่าจะนำพาประเทศเจริญรุ่งเรือง เฉกเช่น ประเทศอื่น คิดอะไรใหม่ไม่มีหรือไม่ได้ เพราะว่าจะถูกจำกัดอะไรมากมาย อีกอย่างคนก็ไม่คิด ทำนองที่ว่า คนทำงานมักจะถูกด่า สรุปแล้ว ออกไปเลย ไม่ต้องรอ ปี 45 หรอก ทุกวันนี้ รัฐบาล จะตายแล้ว
คนภูเวียง จบราม
- Wednesday, February 23, 2000 at 23:03:06 (EST)

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ เพราะว่าคนจะได้ขยันทำงานกันมากขึ้น ปัญหาเช้าชามเย็นชามจะได้หมดไป
เปรมศรี สาระทัศนานันท์ <premsri.s@chaiyo.com>
- Wednesday, February 23, 2000 at 06:52:13 (EST)

สนับสนุน เพราะ มหาวิทยาลัยในระบบในปัจจุบัน มีการแก่งแย่งกัน ชนิดที่เรียกว่า ไม่ใครก็ใครต้องตายกันไปข้าง จะว่าแพงก็ไม่เชิง เพราะคุณเสียงเงินที่จะเรียนใน ม.ปลาย แล้วยังต้องขนขวายหาเงินเรียนพิเศษ เพื่อที่จะได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐ อะไรเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า คุณจะประสพความสำเร็จในชีวิต คุณต้องขวนขวายหาทางออกแบบที่คิดไม่ถึง ไม่ว่าคุณจะเรียนในระบบก็ตาม บางคนมีเงินค่าหน่วยกิจก็สบายไป บางคนไม่มีก็ต้องหาทุน ก็กรณีเดียวกัน การเรียนนอกระบบ คุณก็สามารถทำตามนั้นได้เช่นกัน อะไรเป็นเครื่องยืนยันว่า คุณจบ มสธ ไม่สามารถเป็นใหญ่เป็นโตได้ ทำไมต้องยึดติดสถาบัน ถ้าคุณมีปัญญาเรียน คุณก็คงมีปัญญาหาเงินเรียนเองได้เช่นกัน แล้วทำไมถึงจะมีการศีกษานอนระบบไม่ได้ ไม่ต้องเอาภาษีของประชาชน มาถลุงให้กับปัญญาชนที่ไม่มีความคิด อย่างนักศึกษาที่ฆ่าตัวตาย เพราะผิดหวังในรัก นักศีกษาแพทย์ ที่เป็นฆาตกรเพราะอารมร์ชั่ววูบ ประชาชนเสียภาษีให้คนเหล่านี้ทำไม เอาไปทำอย่างอี่นมิมีประโยชน์มากกว่าหรือ สนับสนุนเต็มที่เลย
ตุ่ม
- Tuesday, February 22, 2000 at 08:31:20 (EST)

ไม่เห็นด้วยเพราะออกนอกระบบแล้วไม่ได้ประกันว่าอะไรจะดีชึ้นกว่าเก่า คนรวยเท่านั้นที่จะเรียนได้ คนจนก็ไปเรียนรามฯ มสธ. แล้วมหา'ลัยทั้งหลายสร้างจากเงินใคร เงินของประชาชน ชาวไร่ชาวนาใช่ไหม ออกแล้วลูกคนเหล่านี้จะได้มีโอกาสหรือเปล่า ที่บอกว่ามีทุนแล้วทุนที่จริงตกอยู่ที่ใคร เขาเอาอะไรเป็นเครื่องวัดการให้ทุน เกรดส่วนหนึ่ง คนที่เรียนเกรดได้ดีส่วนใหญ่ลูกคนมีเงิน เพราะมีเวลาเรียนอย่างเดียว ไม่ต้องทำอย่างอื่น ความจริงผมเห็นด้วยที่จะให้ออกนอกระบบ แต่ต้องให้สังคม ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ กำกับมหาวิทยาลัยด้วย ไม่ใช่มหาวิทยาลัยทำตัวแปลกแยกจากสังคมเหมือนขณะนี้ ลองดูสิ มหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ ทั้งหลายคนภายนอกสามารถใช้ห้องสมุดเขาได้หรือไม่ มหาวิทยาลัยภูธรก็เริ่มเป็นแล้วเช่น มอ.ปัตตานีที่ผมเคยอยู่นั้นแหละ แล้วอย่างนี้ถ้าออกไปจะเอาอะไรเป็นประกันได้ว่า จะไม่เอาเปรียบสังคมต่อไปอีก มีอีกมากอึดอัดใจ ขอแค่นี้ก่อน ฝากถึงนายกชวน คนใต้บ้านผม รมต.ทบวง และอธิการบดีทุกมหาวิทยาลัย
โชติ ถาวร <chot_11@yahoo.com>
- Sunday, February 20, 2000 at 03:40:50 (EST)

ไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ เนื่องจะทำให้ต้นทุนในหารจัดการศึกษาสูง
สุริยันต์ ทองน่วม <์Neng@eudoramail.com>
- Saturday, February 19, 2000 at 22:57:09 (EST)

I support the idea but not the whole. I have a negative impression for government U. I don't think any unit will improve its performance unless we put some pressure on them. In addition, I don't see that graduaters are returning any thing to people who pay tax to subsidize them. (Let's try this...let's have an agreement that students in government U have to work in country side to develop those communities for at least 2 yrs to repay those tax...What do you think the poll result will be?) However, I remembered when I first hear this term I said, "Only famous U should go out." I don't believe those big name Us spending their budget from government money more than that they're earning for themselves. Air condition, latest projectors, in every lecture room. Why those small Us never have that? Government then should save that money and offerring more Us for people. I also think that certain faculties such as social welfare, etc should continue to be subsidized. Government should try compete w/ those famous Us for good sake to Thailand. Sawadee Krab.
banman <suntana@cs.ucf.edu>
- Saturday, February 19, 2000 at 20:54:25 (EST)

คัดค้าน ประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม ถ้าออกนอกระบบแล้วก็จะทำ ให้ผู้ที่ยากจนแต่ต้องการที่จะศึกษาต่อนั้น ต้องใช้จ่ายมาก ถึงแม้ทางรัฐบาล จะบอกคำหวานว่า ยังมีเงินกู้ยืมให้ ลองคิดดูสิ ออกนอกระบบค่าหน่วยกิตก็ ต้องแพงเพิ่มด้วย ทำให้ต้องยืมเพิ่ม เป็นหนี้รัฐเพิ่ม ทำให้ต้องรับภาระหนัก จาก Web นี้ถึงจะทำสถิติแล้ว ตามที่ดูคนเห็นด้วย มีมากกว่า ผมตอบได้เลย ว่า เป็นสถิติที่ต้องพิจารณา เพราะมันอาจไม่ใช่ความจริง ที่เห็นด้วยกับการออก นอกระบบนั้น ผู้ที่เห็นด้วย ก็ผู้ที่มีฐานะดี มีอินเทอร์เน็ตเล่น ในความเป็นจริงแล้ว คล้ายกับปรบมือข้างเดียว เพราะคนอื่นที่เขาไม่มีอินเทอร์เน็ตเล่น เป็นคนส่วนใหญ่ แถมยังไม่มีความสามารถพอที่จะ ต้องมาเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยว กับการติดต่อสื่อสารนี้ ตัวเองยังหาเช้ากินค่ำ แทบจะเอาตัวไม่รอด ที่พูดมาก็เพราะว่า ถ้ามหาวิทยาลัยออกนอกระบบแล้ว ผู้ที่เรียนส่วนมาก จะเป็นลูกคนรวย และมีอำนาจ คนจนอย่าหวังเลย แค่ค่าเทอม 7-8 พันยังต้องกู้ยืมเขาเลย ***** หรือเมื่อออกนอกระบบแล้ว รัฐบาลรับประกันได้ว่า ผู้ที่จบแล้วนั้นไม่ตกงาน 100 เปอร์เซนต์ ถ้าเป็นได้อย่างนั้น ผมว่าดี เพราะจะได้ใช้หนี้ของรัฐได้ แต่ผมคิด ว่า ไม่เป็นอย่างนั้นหรอก เพราะรัฐต้องการที่จะให้ประชาชน มีความรู้น้อยเข้าไว้ จะได้พูดง่าย โกงง่ายดี เพราะประชาชนขาดความรู้
ชัยธวัช <tawat_06@hotmail.com>
- Saturday, February 19, 2000 at 16:10:05 (EST)

คัดค้าน น่าจะลองเปรียบเทียบระหว่าง ม.รัฐ กับม.เอกชนดู จะเห็นว่า ม.เอกชนมีค่าหน่วยกิจ ค่าหอพักและค่าบำรุงแพงกว่า ม.รัฐ มาก เมื่อ ม.รัฐ ออกนอกระบบไป ค่าใช้จ่ายในการเรียน ก็คงพอๆ กับเอกชน แล้วอยางนี้ คนส่วนใหญ่ของประเทศที่ฐานะไม่ค่อยดีจะส่งลูกหลานไปเรียนที่ไหน แล้วคณะที่มีค่าใช้จ่ายสูงเช่นคณะแพทย์ต่างๆต่อไปคงมีแต่ลูกคนรวยเรียน แล้วก็คงเกิดปัญหาขาดแคลนแพทย์ในชนบทตามมา ลูกคนจนที่มีความสามารถ ก็คงไม่มีปัญญาสู่ค่าเรียนได้ ผมว่าการออกนอกระบบน่าจะมีผลเสียมากกว่าผลดี ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งข้าราชการและนักการเมืองน่าจะคิดให้ดีกว่านี้คิดถึงผลประโยชน์ ที่ชาติบ้านเมืองและคนไทยส่วนใหญ่จะได้รับไม่ใช่คิดแต่จะผลักภาระมาให้ ประชาชน พวกท่านเองก็คงไม่ได้รับผลกระทบอะไรเพราะโกงชาติจนรวยแล้ว จะส่งลูกไปเรียนไหนก็ได้แพงเท่าไหนก็ได้จบมาก็มาสืบทอดต่อจากท่าน ผมว่าการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เจริญไม่จำเป็นต้องออกนอกระบบหรอก มีวิธีที่ดีกว่าแต่พวกท่านไม่ทำกันเองเช่นเลิกโกงกินชาติจะได้มีงบประมาณ เหลือมาให้มหาวิทยาลัยมากกว่าทุกวันนี้และยังไปพัฒนาชาติให้เจริญได้อีก
นักศึกษา
- Wednesday, February 16, 2000 at 02:58:23 (EST)

คัดค้าน แล้วไม่เข้าใจด้วยว่า ทำไมต้องออกนอกระบบ ไม่มีนิสิตหรือนักศึกษาคนใดหรอกนะ ที่จะเห็นด้วย ทำไมไม่ยอมถามความเห็นของนักศึกษา หรือนิสิตบ้างล่ะ ทำไมพวกผู้ใหญ่ ต้องเอาสิทธิ์ที่ตัวเองมีอำนาจมาเอาแต่ใจตัวเองด้วย ปากก็บอกว่า ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตย แล้วทำไมถึงไม่ฟังเสียงของเด็กบ้างล่ะ ลองคิดดูบ้างหรือป่าวว่า ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีคนจนเ ยอะกว่าคนรวย คนจนไม่มีเงินเรียนเยอะแยะ เพราะว่าค่าเล่าเรียนตอนนี้ก็แพงมากอยู่แล้ว ถ้าออกนอกระบบ คงจะมีคนที่ไปพัฒนาประเทศได้ หรือว่าประเทศไทยจะพัฒนาประเทศด้วยเงิน ไม่พัฒนาด้วยสมองหรือไง ประเทศที่พัฒนาแล้ว เขายังมีมหาลัยรัฐบาลเลย แล้วทำไมประเทศไทยต้องไม่มีด้วย ไม่เข้าใจมาก หรือว่าพวกผู้ใหญ่ อยากให้เด็กไม่มีที่เรียนงั้นสิ อย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั่น เป็นมหาลัยที่ ร.5 เปิด ท่านทรงต้องการให้ทุกคนในประเทศไทย มีที่เรียน มีความรู้ แต่ถ้าเปิดเป็นนอกระบบ คนต่างจังหวัด จะสามารถเข้ามาเรียนได้เหรอ เขาจะมีตังค์เข้ามาเรียนไม๊ ทำไมพวกผู้ใหญ่ถึงไม่คิดกันบ้าง ไหนบอกว่า เกียรติภูมิของจุฬาฯ คือการรับใช้ประชาชน แล้วถ้าออกนอกระบบ คือการรับใช้คนที่มีเงินเท่านั้นใช่มั๊ย จุฬาฯ น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีไม่ใช่เหรอ ที่จะมอบโอกาสให้เด็กทุกคน ไม่ว่าจะมีเงินมาก หรือเงินน้อย ได้เข้ามาเรียน แต่ถ้าออกนอกระบบ เด็กที่ไม่มีตังค์ถึงเรียนเก่งอย่างไร ก้อคงไม่กล้าเข้ามาเรียน พวกผู้ใหญ่ได้เอาเกียรติของจุฬาฯ ไปไว้ที่ไหน ช่วยเอากลับคืนมาเถอะ ได้โปรด อย่าทำลายเกียรติของจุฬาฯ แบบนี้เลย อย่ามัวแต่เห็นแก่เงิน เห็นแก่ตัว โปรดเห็นแก่ส่วนรวมบ้างเหอะ ความจริงตัวข้าพเจ้าก้อไม่เดือนร้อนหรอกนะ แต่ข้าพเจ้าเห็นแก่ส่วนรวม เห็นแก่น้องๆ ในอนาคตที่อยากจะเข้ามาเรียนโรงเรียนที่เปิดโอกาสให้คนจนได้เรียนหนังสือ ไม่ใช่แค่คนรวยเท่านั้น โปรดรู้จักพอกันซะมั๊ง รวยแล้วตายไป ก็เอาเงินไปไม่ได้หรอกนะ สิ่งที่สำคัญ ต้องคิดถึงคนประเทศที่จน ไม่ใช่คิดถึงแต่คนรวยนะ ซึ่งก็ได้บอกไปแล้วว่า ประเทศไทย คนจนมากกว่าคนรวย คิดอะไรก็ให้มีเหตุผลหน่อยนะ อย่าใช้ความคิดของตัวเป็นใหญ่ ฟังความคิดเห็นของคนอื่น เป็นประชาธิปไตยกันหน่อยนะ ขอบคุณที่รับฟัง และหวังว่าคงจะทำตามด้วย โดยให้มีการเลือกตั้งเลยก็ได้ว่าใครจะเห็นด้วยหรือไม่ ขอให้ท่านทั้งหลายได้ให้ความเป็นธรรมด้วย ไม่อย่างนั้นประเทสจะไม่สามารถพัฒนาได้หรอกนะ ขอบคุณ
สมหญิง พัฒนาชาติ <arijang@pokemonpost.com>
- Tuesday, February 15, 2000 at 03:27:09 (EST)

คัดค้านแน่แน่ครับ มหาวิทยาลัยเป็นสถานที่ที่ ให้การศึกษา แก่ผู้คนทุกคน โดยไม่ควรเลือกที่รักมักที่ชัง มหาวิทยาลัยแห่งแรกของเรา มีองค์พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นผู้สถาปนาขึ้นมา เพื่อให้ผู้คน ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนโดยทั่วกัน ดังนั้นเหตุผลที่ทางฝ่ายสนับสนุนบอกว่า การออกนอกระบบ ของมหาวิทยาลัย ที่จะทำให้ค่าหน่วยกิตแพงขึ้น เป็นการสร้างความยุติธรรมให้เกิดมีมากขึ้นนั้น จึงฟังไม่ขึ้นแม้แต่น้อย การหาความใด ๆ ก็ตาม มาสนับสนุน การนำมหาวิยาลัยออกนอกระบบ อาจเป็นเรื่องไม่ยากเย็นนัก แต่ถ้าลองเทียบ ผลได้ผลเสียกันในระยะยาวแล้ว แค่เฉพาะเรื่องที่ค่าหน่วยกิตแพงขึ้นนั้น ก็ก่อให้เกิดผลเสียหายมากมหาศาลแล้ว แค่เมื่อตอนเศรษฐกิจดีดี มีคนจนมากเท่าไร ที่มีปัญญา แต่ด้อยโอกาสทางการศึกษา แล้วทำแบบนี้ ยิ่งไม่เป็นการ รัดสมอง อนาคตของชาติมากไปหน่อยหรือ หากประเทศของเรา มีแต่การกระทำที่ ปิดกั้นทางการศึกษากันแบบนี้ อีกหน่อย เมื่อคนรุ่นนี้ล้มหายตายจากไปหมด เราคงไม่มีอาวุธทางปัญญา ที่จะไปสู้กับ ฝรั่งตาน้ำข้าวที่ไหนได้อีกแล้ว คงก้มหัวให้เขาต่อไปอีกนานแสนนาน
วุฒิกฤษ จิรภัทรสุนทร <pond_j@hotmail.com>
- Tuesday, February 15, 2000 at 03:11:48 (EST)

ปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการศึกษาในสถาบันของรัฐต่างๆ เริ่มปรับราคาสูงขึ้น เช่นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย ทั้งที่มหาวิทยาลัยต่างๆยังไม่ออกนอกระบบ ดังนั้น ถ้าออกนอกระบบเมื่อไร รัฐควรควบคุมในเรื่องราคาค่าใช้จ่ายในการศึกษา เพื่อให้ประชาชนทุกระดับสามารถที่จะศึกษาหาความรู้ได้ ไม่เช่นนั้นจะเป็นการปิดกั้นโอกาสทางการศึกษา มหาวิทยาลัยที่จะออกนอกระบบ ควรมีการหารายได้จากการทำงานในด้านอื่นๆ เช่น รับจ้างทำวิจัย หรือจัดอบรมสำหรับบุคคลภายนอก ฯลฯ ที่ไม่ใช่จะมาขูดรีดกับนักศึกษา
ภาสกร <phasakorn@yahoo.com>
- Monday, February 14, 2000 at 23:39:25 (EST)

มหาวิทยาลัยนอกระบบ จะทำให้ผู้ที่มีทุนทรัพย์น้อยหมดโอกาศที่จะเข้าเรียนได้ อย่างนี้เขาเรียกว่า เรามันจนเราก็จนต่อไปใครจะรวยเท่าไรก็ปล่อยให้รวยเสียให้เข็ด
อิทธิ นิลดำ
- Sunday, February 13, 2000 at 11:48:04 (EST)

สนับสนุน เพระจะทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในเรื่องการหาวิชาความรู้ อาจจะทำให้การแบ่งสีหมดไปในอนาคต ตัวมหาวิทยาลัยเองก็จะต้องแข่งขันด้านวิชาการกันมากขึ้น ผลประโยชน์จะตกแก่นักศึกษาผู้เป็นอนาคตของชาติ
SMART BRAIN
- Sunday, February 13, 2000 at 10:08:26 (EST)

หน่วยกิจแพงมากทำให้เพิ่มภาระแก่ครอบครัวทำให้ลดโอกาศทางการศึกษาของคนที่มีฐานะทางบ้านยากจน
ไม่ออกนาม <ccs@sut.ac.th>
- Thursday, February 10, 2000 at 07:40:52 (EST)

สนับสนุน..ค่ะ แต่คิดว่า ควรจะจััดระบบระเบียบ ให้รอบคอบกว่านี้ อย่ารีบร้อน คำนึงถึง ผลกระทบ ต่อคนส่วนมาก ที่จะเรียนมหาวิทยาลัย ในระยะยาว เพราะรายได้ที่เกิดขึ้น มาจาก นศ.ล้วนๆ... ฉะนั้น ให้ผู้จัดการ เกี่ยวกับเรื่องนี้ คิดทบทวนให้ดีก่อนนะค่ะ อย่าลืมว่า เมืองไทย เป็นประเทศกสิกรรม นะเจ้า!!!!... ระวัง... ทุนนิยม จะครอบงำจิตใจผู้คน.. น่าเป็นห่วง ฝากไว้ด้วย... ขอบคุณเจ้า
อ.จารี สุขบุญสังข์ <charee_s@hotmail.com>
- Thursday, February 10, 2000 at 00:45:04 (EST)

คัดค้าน รัฐบาลกำลัง ผลักภาระมาให้ประชาชน และนำระบบ ธุรกิจ เข้ามาครอบงำ สถาบันการศึกษา
ประชาชน
- Wednesday, February 09, 2000 at 03:26:31 (EST)

สนับสนุน หรือ คัดค้าน มหาวิทยาลัยนอกระบบ
นกปรอดหัวโขน   เสียงขับขาน จากกรงเลี้ยง

เมื่อวิทยานิพนธ์ ถูกบังคับ ให้เขียน เป็นภาษาอังกฤษ

สารบัญ | จากบรรณาธิการ | ห้องสมุดโพล | ความฝันปี 2000
เชิญดอกไม้ "ทองอุไร" | ซองคำถาม | เฮโลสาระพา
The Return of the "Pedal Machine"
Studying Woodpecker Nest Holes


สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) email