สารคดี ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๑๙๗ เดือน กรกฎาคม ๒๕๔๔ "หุ่นจีนไหหลำในเมืองไทย"

ยกเลิกพระราชบัญญัติสุรา ๒๔๙๓
ทางออกของปัญหา "เหล้าพื้นบ้าน" ?

ยกเลิกพระราชบัญญัติสุรา ๒๔๙๓ ทางออกของปัญหา "เหล้าพื้นบ้าน" ?
(ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณ คลิกที่นี่)
เกษร สิทธิหนิ้ว : รายงาน / บุญกิจ สุทธิญาณานนท์ : ภาพ
    นับจาก ๖ ตุลาคม ๒๕๔๓ ที่กระทรวงการคลังออกประกาศว่าด้วย "วิธีการบริหารงานสุรา พ.ศ. ๒๕๔๓" ตามมติคณะรัฐมนตรีที่มีนโยบายเห็นชอบ ให้เปิดเสรีการผลิตและจำหน่ายสุรา ผ่านมาจนวันนี้ ความขัดแย้งในเรื่องการผลิตและจำหน่ายสุรา อันเกิดจากการผูกขาดการผลิตและจำหน่ายสุรา ในกลุ่มธุรกิจบางกลุ่ม ซึ่งเป็นกรณียืดเยื้อในสังคมไทยมาเนิ่นนาน ก็ยังคงดำรงอยู่ เช่นเดียวกับคำถามที่ว่า เสรีในการผลิตและจำหน่ายสุรานั้นมีอยู่จริงหรือไม่ ? 
    ย้อนกลับไปดู "วิธีการบริหารงานสุรา" ของกระทรวงการคลัง ในพระราชบัญญัติสุรา ๒๔๙๓ ที่อาจนับเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งในเรื่องการผลิตสุรา พบว่ากฎหมายห้ามมิให้ผู้ใดทำสุรา หรือมีภาชนะเครื่องกลั่นสุราไว้ในครอบครอง ในยุคนั้นโรงงานสุราในประเทศไทย จึงเป็นของรัฐบาลทั้งหมด มาจนถึงปี ๒๕๐๓ กระทรวงการคลังเห็นว่าโรงสุราที่มีอยู่นั้น เก่าแก่ทรุดโทรมมาก และรัฐเองก็มีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณ ไม่สามารถดูแลปรับปรุงเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตได้ จึงได้เปิดให้มีการประมูลโรงงาน เพื่อนำไปปรับปรุง รวมทั้งให้เอกชนที่สนใจยื่นขออนุญาตตั้งโรงงานสุราได้  โดยรัฐตั้งเกณฑ์ในการผลิตและจำหน่ายไว้ ส่งผลให้ในช่วงเวลานั้น มีโรงงานสุราขนาดเล็กเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก
    ต่อมารัฐบาลเห็นว่าโรงงานสุราที่มีอยู่นั้นล้าสมัย จึงดำริให้ยกเลิกโรงงานทั้งหมด และปรับเปลี่ยนนโยบาย โดยอนุญาตให้ตั้งโรงงานสุราขนาดใหญ่ ได้เพียง ๑๒ โรงทั่วประเทศ และได้เปิดประมูลแก่เอกชน ที่สนใจจัดสร้างโรงงานผลิตสุราในปี ๒๕๒๖ (ก่อนทำการยกเลิกโรงงานสุราเก่าทั้งหมดในปี ๒๕๒๗) ในการประมูลครั้งนั้น กลุ่มสุราทิพย์ของนายเจริญ สิริวัฒนภัคดีได้รับสัมปทานไปทั้ง ๑๒ โรง ดำเนินการผลิตและจำหน่ายตั้งแต่ปี ๒๕๒๘ จนกระทั่งสิ้นอายุสัญญาในปี ๒๕๔๒ 
    หลังจากสิ้นอายุสัญญา รัฐบาลได้มีมติเห็นชอบให้เปิดเสรีการผลิตและจำหน่ายสุรา โดยกระทรวงการคลัง กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิขอรับใบอนุญาตทำ และขายส่งสุรา รวมทั้งมาตรฐานโรงงานสุรา ไว้ในประกาศวิธีการบริหารงานสุรา พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยระบุว่า 
    การทำและขายส่งสุรากลั่น (เหล้าขาว วิสกี้ บรั่นดี และยิน) ผู้ขออนุญาตทำและขาย ต้องเป็นบริษัทจำกัด ซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายไทย (ทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท), โรงงานต้องมีกำลังการผลิตขั้นต่ำวันละ ๓ หมื่นลิตร มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ไร่ และตั้งอยู่ห่างจากแม่น้ำลำคลองอย่างน้อย ๒ กิโลเมตร (กรณีทำสุรากลั่นชนิดอื่นร่วมด้วย ต้องเพิ่มกำลังการผลิตขั้นต่ำวันละ ๙ หมื่นลิตร และมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๓๕๐ ไร่), ต้องส่งตัวอย่างสุราให้กรมสรรพสามิตตรวจสอบคุณภาพ และชำระเงินภาษี หรือเงินอื่นใดต่อกรมสรรพสามิต หรือเจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิต ตามอัตราที่กำหนดไว้ 
    การทำและขายส่งสุราแช่ (เบียร์และไวน์ต่าง ๆ) กรณีสุราแช่ชนิดเบียร์ ผู้ขออนุญาตต้องเป็นบริษัทจำกัด มีทุนจดทะเบียนหรือมีเงินค่าหุ้นไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท โรงเบียร์ขนาดใหญ่ต้องมีกำลังการผลิตไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านลิตรต่อปี ขนาดเล็ก ๑ แสนลิตรต่อปี, ถ้าเป็นสุราแช่ชนิดสุราผลไม้ (ไวน์) ต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือเป็นสหกรณ์ ที่เสนอโครงการลงทุนก่อสร้างโรงงานสุรา ส่วนการควบคุมคุณภาพ และการชำระภาษี ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการทำและขาย เช่นเดียวกับสุรากลั่นทุกประการ 
    อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงแก้ไขระเบียบวิธีการบริหารงานสุรา ของกระทรวงการคลัง ที่เปิดเสรีการผลิตบนเงื่อนไขต่าง ๆ ดังกล่าว ก็ดูจะยังไม่สามารถตอบคำถามว่าด้วย "เสรีในการผลิตเหล้า" ที่แท้จริง ทั้งยังไม่อาจลดความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านและรัฐ รวมถึงกลุ่มผูกขาดเดิม ที่ดำรงอยู่มาเป็นเวลานานได้ เนื่องจากมีหลายฝ่ายเห็นว่า เงื่อนไขในการขออนุญาตผลิตและจำหน่าย ที่ระบุไว้ในประกาศนั้น เป็นเสมือนการกีดกั้น ไม่ให้การผลิตสุราเป็นไปได้โดยเสรีไม่ต่างไปจากเดิม 
    ด้วยเหตุนี้ การเคลื่อนไหวของกลุ่มเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน และเขตภาคอีสาน รวมทั้งนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง เพื่อกดดันให้ยกเลิกพระราชบัญญัติสุรา ๒๔๙๓ จึงเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อปลายปี ๒๕๔๓ โดยได้ผลักดันให้มีการร่างพระราชบัญญัติเหล้าชุมชน (หรือเหล้าพื้นบ้าน) ขึ้นใช้แทนพระราชบัญญัติสุรา ๒๔๙๓ ซึ่งใช้มาตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบัน เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรหรือคนทั่วไป สามารถผลิตเหล้าพื้นบ้าน เพื่อบริโภคและจำหน่ายได้โดยเสรี
    ในเวลาเดียวกันก็ได้มีการคัดค้าน จากกระทรวงการคลังและกรมสรรพสามิต ซึ่งไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องดังกล่าว โดยพยายามชี้ให้เห็นว่าการเปิดเสรีในการผลิตและจำหน่ายสุรานั้น ไม่ได้หมายความว่าใครจะทำก็ได้ แต่ต้องตั้งอยู่บนเงื่อนไขข้อบังคับที่กระทรวงการคลังเห็นว่า เอื้อประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม 
    อาจเป็นเรื่องยากที่จะหาคำตอบบนความขัดแย้ง และข้อเรียกร้องของคนสองฝ่ายที่เห็นต่างกัน แต่หากสามารถนำผลประโยชน์ของส่วนรวมมาเป็นที่ตั้ง คำตอบที่ได้อาจช่วยยุติปัญหาเรื้อรังอันเนื่องมาจากสุรา ที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยมานานกว่าครึ่งศตวรรษได้

ร่วมแสดงความคิดเห็น สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
คลิกที่นี่


อ่านสนับสนุนต่อ คลิกที่นี่กมล กมลตระกูล 
ผู้อำนวยการโครงการขององค์กร Forum-Asia
อ่านคัดค้านต่อ คลิกที่นี่คม ขาวสะอาด
นักวิชาการภาษี ๙ กรมสรรพสามิต

ส นั บ ส นุ น

  คั ด ค้ า น  

  • พ.ร.บ. สุรา ๒๔๙๓ ขัดต่อหลักนิติกรรมสากล กติการะหว่างประเทศ และขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา ๕๐ ว่าด้วยเสรีภาพในการประกอบกิจการ หรืออาชีพ
  • พ.ร.บ. สุรา ๒๔๙๓ เขียนขึ้นเพื่อรับใช้กลุ่มธุรกิจ ที่ผูกขาดการสัมปทาน เป็นการกีดกันไม่ให้ชาวบ้านผลิตสุรา ตามภูมิปัญญาพื้นบ้าน เพื่อบริโภคและจำหน่าย
  • ต้องออก พ.ร.บ. สุราฉบับใหม่ เพื่อคืนสิทธิการประกอบอาชีพ ให้แก่ชาวบ้าน และรักษาภูมิปัญญาดั้งเดิม
  • หากเปิดโอกาสให้ชาวบ้านผลิตเหล้าได้ ชาวบ้านจะมีอาชีพ รัฐจะมีรายได้ เป็นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ
  • ไม่เชื่อว่าการทำสุรา เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้าน และไม่คิดว่า เป็นทางออกของเกษตรกร
  • ถ้าปล่อยให้มีการผลิต และจำหน่ายเหล้าโดยเสรี คนจะดื่มเหล้ามากขึ้น เป็นต้นเหตุของอาชญากรรม
  • รัฐไม่สามารถควบคุมคุณภาพเหล้า ของผู้ผลิตรายย่อยได้ ซึ่งจะยิ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
  • รัฐจะสูญเสียรายได้ จากการเก็บภาษี 
อ่านฝ่ายสนับสนุน คลิกที่นี่
click here
อ่านฝ่ายคัดค้าน คลิกที่นี่
click here
กลับไปหน้า สารบัญ

แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
ต้องการ แสดงความคิดเห็นเพิ่ม คลิกที่นี่


แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น เ พิ่ ม เ ติ ม

ชื่อ-สกุล: *
E-Mail:
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม: *
*

 

พบเห็น ข้อความไม่เหมาะสม กรุณาช่วยกันแจ้ง ผู้ดูแลเว็ป (WebMaster) ขอบคุณครับ

ผมเหนด้วยกับความคิดนี้เป็นอย่างมาก เพราะเหล้าเถื่อนมันคือภูมิปัญญาที่เป็นของชาวบ้านที่มีมาช้านานแล้ว ฉะไหนเลยเราจะทิ้งภูมิปัญญานี้ ถ้ารัฐบาลยังไม่ให้การสนับสนุนละก็ เชื่อเถอะคับว่าภูมิปัญญาไทยอันนี้อะ จะถูกลบเลือนจางหายไป แล้วอีกอย่างละก็ถ้ามันตกไปอยู่กะต่างชาติมะไหร่ละก็ คนไทยหรือรัฐบาย รวมไปถึงนักวิชาเกินทั้งหลาย ไอพวกนี้อะ มันจะมาให้ความสนใจก็ตอนนี้แหละคาบ ดังนั้นผมเหนด้วยเปนอย่างมาก ปล. ผมเป็นนักศึกษา ผมมีความคิดที่แปลกใหม่ว่าเราควรมาให้ความสนใจกับภูมิปัญญาชาวบ้านได้แล้ว เพราะนี่คือวิถีชีวิตของคนไทยที่แท้จิง เราควรรับวัฒนธรรมตะวันตกในส่วนที่ดีมาก็พอ แต่ก็ไม่ควรทิ้งรากเง่าที่แท้จิงของตัวเอง กรุณาอย่าเสแซ่งหรือแสดงเลย ความจิงก็คือความจิง "อยากจะถามพวกนักวิชาเกินทั้งหลายว่าจะไปดมตด เดินตามตูดฝรั่งทำไม ในเมื่อมันยังมาเที่ยวในชนบนมากมาย เอาเมียเป็นชาวบ้านก็มี ฝรั่งยังให้ความสนใจกะชาวบ้านเลย "ฝากนักวิชาการนะว่าไปถามฝรั่งสิ ว่ามันทำเหล้าเถื่อนที่ทำจากสมุนไพร่เป็นป่าว รวมถึงตัวนักวิชาเกินด้วย
ไม่ออกนาม <...>
- Monday, March 21, 2005 at 22:35:23 (EST)

น่าจะเปลี่ยนชื่อเป็น นายทื่อ สกปรกโสมม
คนไท <konthai@hotmail.com>
- Wednesday, October 29, 2003 at 08:45:45 (EST)

ไม่ได้เรื่อง
a <...>
- Friday, July 18, 2003 at 11:55:47 (EDT)

ถ้าหากมีทางออกที่จะควบคุมความวุ่นวายของการผลิตเหล้ากันอย่างเสรีขึ้นมา ไม่ว่าอย่างไรก็เป็นผลดี ชาวบ้านมีรายได้ เงินหมุนเวียน ถ้าเงินหมุนเวียนอยู่ในประเทศไม่ว่ารัฐจะได้หรือไม่ได้ภาษีก็ดีทั้งนั้นแหละ อีกอย่างจะได้มีเหล้าไทยไว้ให้คอสุราเลือกกินกันมากขึ้น ช่วงนี้ต้องอุดหนุนของไทยกันแล้ว เดี๋ยวนี้อะไรๆก็ของนอกหมด ระวังประเทศจะล้มละลายอย่างที่อื่น ดูอย่างโลตัสสิขึ้นเอาขึ้นเอา คนก็ไม่เข้าตลาดกันแล้ว
วุดวุด
- Monday, April 14, 2003 at 00:01:07 (EDT)

ถ้าทำโดยมีการควบมาตราฐานด้านคุณคุณภาพ,ราคา และผลประโยชน์ของประเทศผมก็เห็นด้วยเต็มที่ แต่ถ้าปล่อยแบบใครใคร่ทำ ทำ ใครใคร่ขาย ขาย ผมว่าปัญหาตามมาแน่ๆ อีกอย่างถ้าน้ำเมาเป็นทางเจริญของบ้านเมืองแล้วละก็ ในศีลข้อที่ ๕ คงไม่ห้าไว้หรอกครับ เอาเป็นว่า ความเห็นผมก็คือ เห็นด้วยถ้ามีการควบคุมให้ได้มาตรฐานและประเทศชาติหรือท้องถินนั้นๆ ได้ผลประโยชน์ และไม่เห็นด้วยและจะสาปแช่งเอาด้วย ถ้าปล่อยแล้ว ประชาชนติดน้ำเมาและทำให้ประเทศชาติเจริญแบบคนเมา...
เซน ธีรพงศ์
- Tuesday, April 01, 2003 at 05:42:06 (EST)

คนที่คัดค้านคิดแบบควาย ๆ ไอ้พวกข้าราชการเก่า น่าจะออกมาเลี้ยงหลานได้แล้ว ตั้งซี 8-9 แต่คิดอยู่ในกะลา ประเทศชาติไม่เจริญก็เพราะไอ้พวกนี้
อำมฤต <amarit_s@yahoo.com>
- Monday, January 20, 2003 at 12:22:47 (EST)

ควรให้การสนับสนุน แต่จะต้องควบคุมคุณภาพให้ดี และออกข้อกำหนดมาตรฐานสุราพื้นบ้านให้เหมาะสม และสามารถปฏิบัติได้จริงในเชิงพาณิชย์
วิศรุต <ed_witsarut@hotmail.com>
- Tuesday, October 15, 2002 at 22:08:27 (EDT)

พูดเหมือนดูถูกภูมิปัญญาชาวบ้านมากนะครับคุณ คม ขาวสะอาด คุณน่าจะหาเหตุผลเรื่องภูมิปัญญาชาวบ้านให้มากกว่านี้อย่าแค่ใช้คำว่า ผมเชื่อว่า ผมฟังดูแล้วดูจะขาดหลักการและเหตุผลโดยสิ้นเชิงนะครับ ควรจะหาหลักการหรืออะไรมาอ้างอิงบ้างนะครับคุณสรุปไม่มีนำหนักเลยนะครับ โปรดตอบแบบนักวิชาการด้วยนะครับ ในส่วนเรื่องการ ผลิต การดื่ม การจัดเก็บรายได้ก็เช่นเดียวกัน ไม่มีอะไรมาอ้างอิงคำพูดเลยนะ อย่างนี้คนอื่นใครเขาจะเชื่อคุณ หากเป็นนักวิชาการโปรดหาข้อมูลเหตุผลสนับสนุนมากกว่านี้นะครับ ผมสรุปความได้ว่าคุณขาดเหตุผลรองรับโดยสิ้นเชิง หรือว่าคุณจะเป็นอย่างเหตุผลฝ่ายสนับสนุนที่เขาพาดพิงเรื่องผลประโยชน์หรือไม่ครับ
สุรชัย <sura2516@yahoo.com>
- Monday, August 26, 2002 at 15:06:11 (EDT)

ผมขอสนับสนุนให้มีการยกเลิกพรบ.สุรา เพราะชาวบ้านจะได้มีอาชีพมีรายได้เพิ่มขึ้น ผมคิดว่าถ้าเหตุผลที่ว่าชาวบ้านจะหหันมากินสุรามากขึ้นและจะเป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรมผมว่าไม่จริงหรอกครับเพราะถึงแม้ปัจจุบันไม่อนุญาติให้ชาวบ้านผลิตสุราแต่ก็ยังมีบางคนที่แอบทำเวลาที่มีงานเช่นลงแขกเกี่ยวข้าวหรืองานปีใหม่ (ทำไว้กินกันเองครับไม่ได้ขาย) ผมก็ยังไม่เห็นจะมีอาชญากรรมเกิดขึ้นเลย ผมคิดว่ามันขึ้นอยู่ที่จิตสำนึกของแต่ละคนนะครับที่จะเป็นอาชญากร ซึ่งโดยนิสัยทั่วไปแล้วคนต่างจังหวัด หรือชาวบ้านก็จะมีจิตใจที่โอบอ้อมอารีย์เป็นทุนเดิมอยู่แล้วเพราะพวกเรามีพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ และสิ่งที่สำคัญคือศาสนาพวกเรามีวัดที่จะต้องไปทำบุญอยู่ทุก ๆ วัน เพราะฉะนั้นถ้ามันเป็นวิธีที่จะทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มมากขึ้นก็สมควรแล้วหล่ะครับที่จะต้องยกเลิกพรบ.สุรา
อั๋น (ชาวบ้าน) <prasitchai23@hotmail.com>
- Saturday, August 24, 2002 at 06:58:31 (EDT)

ผมนับถือในภูมิปัญญาชาวบ้าน มันละเอียดอ่อนและลึกซึ้งนะครับ ดีกว่าเรียนในโรงเรียนแล้วก็ในมหาวิทยาลัยเสียอีก ปริญญาไม่อาจเทียบคุณค่าได้เลยจริงๆ
เอกชัย พันธ์อารีวัฒนา <pophotharam@yahoo.com>
- Tuesday, August 20, 2002 at 04:08:41 (EDT)

.........ฝ่ายคัดค้านน่าจะมีผลประโยชน์กับการคัดค้านดังกล่าวข้าพเจ้าเห็นด้วยกับคุณกมล...........เหตุผลเพื่อคนจนจริงๆ......ไม่ใช่จะเปิดโอกาสให้เฉพาะนายทุนกอบโกยฝากบอกให้คุณคม.....คิดถึงประโยชน์ของคนด้อยโอกาสบ้าง.................อย่าลืมว่าประเทศไทยไม่ใช่ของคุณคม.......คนเดียวนะจะบอกให้............อย่ากอบโกยให้มากนัก................ ผู้หวังดี......
นายอาร์ท <cowboy2002@lemononline.com>
- Saturday, July 20, 2002 at 04:13:53 (EDT)

หากรัฐมีความจริงใจต่อชาวบ้านจริงแล้วการเปิดโอกาศให้ชาวบ้านสามารถใช้ภูมิปัญญาในการผลิตสาโทหรือเหล้ากลั่นได้อย่างเสรีแล้ว จะเป็นการเปิดโอกาศให้กับประชาชนในชนบทและในการจัดเก็บภาษีแล้วคิดว่าได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากกว่านายทุนแน่นอน ผมแน่ใจว่านายทุนทุกคนไม่มีความโปร่งใสในการเสียภาษีแน่นอน
เทวินทร์ แต่บรรพกุล <kewin@thaimail.com>
- Friday, July 19, 2002 at 23:05:16 (EDT)

ผมในฐานะลูกอีสานคนหนึ่ง ผมคิดว่าการเปิดเสรีทางการผลิตสุราในชนบทนั้นเป็นเรื่องที่สมควรอย่างยิ่ง เพราะว่าเป็นการสนับสนุนภูมิปัญญาชาวบ้านและยังมีส่วนช่วยเป็ยการหารายได้ให้กับเกษตรกรในเขตชนบทอีกด้วย
นายศิริ เรืองจรัส <mr.siri@chaiyo.com>
- Wednesday, July 17, 2002 at 08:18:48 (EDT)

คนที่ว่าเหล้าไม่ใช่ภูมิปัญญาอ่านหน่อยครับ!......................................... ถึงแม้ว่าในธรรมชาติเมื่อผลไม้ถูกหมัก ก็จะกลายเป็นเหล้าเองก็ตาม แต่คนแต่ละชาติก็มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะในเรื่องรสชาติอาหาร การใช้ผลไม้ที่แตกต่าง กรรมวิธีที่แตกต่าง ก็ถือว่าเป็นลักษณะเฉพาะของคนในแต่ละพื้นที่ ผมจะลองเปรียบเทียบกับของอย่างอื่นให้เห็น และเข้าใจง่ายขึ้น ทางภาคอีสานเขาเอาปลาหมักใส่ไว้ในไห แล้วนำไปทำวิธีการอย่างหนึ่งเขาเรียกว่า ปลาล้า ทางภาคใต้ เขาเอาปลาหมักในไหเหมือนกัน แต่กรรมวิธีแตกต่างกัน ก็จะกลายเป็นน้ำวูดู ดังนั้นการที่เรานำผลไม้แต่ละชนิดนำมาทำด้วยวิธีการเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น ก็จะได้เครื่องดื่มที่มีรสชาดที่แตกต่างกัน นั้นถือว่าเป็นการใช้ภูมิปัญญาของท้องถิ่น ซึ่งผมเชื่อว่าในเรื่องของเหล้าแล้ว ในอดีตในแต่ละท้องถิ่นก็คงมีวิธีการผลิต และรสชาดที่แตกต่างกันออกไปเหมือนกัน แต่ด้วยการที่ถูกห้าม ไม่ให้ผลิต จึงทำให้ความรู้เรื่องเครื่องดื่มหลายอย่างไม่ถูกพัฒนา หรือบางอย่างก็สูญหายไป เมื่อไม่นานมานี้ได้ยินข่าวว่า ชาวบ้านอำเถอหนึ่ง ได้ทำไวน์จากผลไม้พื้นเมือง เช่น เสาวรส สัปรส ฯลฯ ได้ นี้แสดงให้เห็นว่า ชาวบ้านเขาก็สามารถคิดพัฒนาได้เอง ถ้าได้รับการสนับสนุนที่ดี
pp
- Friday, July 12, 2002 at 00:19:09 (EDT)

เหล้าพื้นบ้าน เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่แท้จริง เพื่อ่นำผลผลิตไปแปรรูป สร้างรายได้ให้กับชุมชน นำความเข้มแข็งมาสู่ชุมชนต่อไป . ต่างประเทศที่เจริญแล้ว ไม่เห็นเขาจะมีการกีดกันการผลิตสุราพิ้นบ้านด้วย แถมยังมีการส่งเสริมให้ผลิตออกจำหน่วยไปต่างประเทศชะด้วยชิ .
นายเอ
- Friday, July 05, 2002 at 02:18:24 (EDT)

ถ้าหากมีการออก พ.ร.บ.พื้นบ้าน จะทำให้ หน่วยงานราชการอย่างกรมสรรสามิต ต้องได้รับความเสียหายดังนี้ 1. ข้าราชการสูญเสียรายได้จากค่ารางวัลนำจับผู้ผลิตสุราพื้นบ้านหรือผู้ที่ต้มเหล้าเถื่อน 2. ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกรมสรรพสามิตต้องสูญเสียรายได้ค่าตอบแทน หรือที่เรียกว่าเงินใต้โต๊ะก็ได้ เพื่อค้ำประกันความมั่นคงของบริษัทผู้ผลิตสุรา 3. นักการเมืองต้องสูญเสียรายได้จากค่าเงินแบ่งปันผลกำไรจากบริษัทผู้ผลิตสุรา ที่จ่ายเงินให้นักการเมืองในแต่ละปีอย่างมหาศาล จนทำให้ไม่มีนักการเมืองแม้แต่รายเดียวที่จะกล้าพูดถึงเรื่องการเปิดเสรีสุราพื้นบ้าน . ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนค่าครองชีพของบรรดานักการเมืองและข้าราชการขายชาติ เหล่านี้ ก็ควรจะไม่เปิดให้มีการเปิดเสรีสุราพิ้นบ้าน
นายเอ
- Friday, July 05, 2002 at 02:14:49 (EDT)

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งที่จะยกเลิก พรบ. สุรา 2493 เพราะ ผลประโยชน์ส่วนใหญ่จะตกอยู่กับนายทุนแต่เพียงกลุ่มเดียว.....แล้วประชาชนผู้ยากไร้จะไม่มีสิทธิ์ลืมตาอ้าปากด้วยภูมิปัญญาของตัวเองบ้างเลยหรือท่าน...คม ขาวสะอาด
พีรดา อินปัน
- Monday, July 01, 2002 at 23:09:54 (EDT)

การที่บุคคลไดไม่ใช้ชาวบ้าน ผลิตสุราพื้นบ้านได้เท่ากับว่าคนนั้นได้ทำลายภูมิปัญญาของไทยเรา เนื่องจากสูตรการทำสุรานั้น เป็นสมบัติที่ตกทอดเป็นมรดก ทางองค์ความรู้ คือชีวิต ของชาวบาไทย ถ้าศึกษาให้ดีจะเห็นว่าชีวิต และวัฒนธรรมของชาวนามีชีวิตผูกพันธ์กับสุราพื้นบ้าน เห็นได้จากการทำพิธีกรรมต่าง ๆ ทั้งเรื่องแตงงาน (ชีวิต ) เรื่องการประกอบอาชีพ การเลี้ยงผีฝาย ผีนา และอื่น ๆ อีกมากมาย ภูมิปัญญาการทำเหล้าพื้นบ้าน ถือได้ว่าเป็นสมบัติทางภูมิปัญญาของชาติอย่างแท้จริง สำหรับผู้ที่ยังใช้อำนาจที่ประชาชนฝากไว้ไปรับใช้นายทุนใหญ่ ในการออกกฏหมายเพื่อคนไม่กี่คน ใช้อำนาจรับใช้นายทุนก็ไม่ต่างอะไรกับคนขายชาติ ถ้ามองถึงผลประโยชน์ ปัจจุบันมีกี่คนที่เป็นเจ้าของโรงเหล้าขนาดใหญ่ คุณภาพมีการตรวจสอบจริงหรือไม่ก็ไม่รู้ (ประวัติศาสตร์การเอาพักพวก การกินสินบน มันฟ้อง ) ถ้าเห็นว่าเหล่าไม่ดีก็สั่งยกเลิกการนำเข้าจากต่างประเทศ หรือยกเลิกเหล้าที่ทำจากกากนำตาล เพราะไม่มีปรพโยชน์ต่อร้างการ สำหรับเหล้าของชาวบ้านที่เป็นเหล้าพื้นบ้านนั้น กว่าจะได้มาต้องคัดเลือกข้าวที่ดีที่สุดที่มีอยู่ วิธีการต้องสอาด มีองค์ความรู้กำกับ ถึงจะได้เหล้าที่ดี สรุปแล้วเหล้าพื้นบ้านชาวนาดีกว่า เพราะสอาด ทำจากข้าวที่ดีที่สุด ผลประโยชน์ตกที่ชาวบ้านมีการตรวจสอบโดยชาวบ้าน รักษามรดกของชาติไว้ได้โดยชาวบ้าน ที่สำคัญต้องยกเลิกกฏหมายเหล้าอันเก่า แล้วให้ประชาชนที่เป็นเจ้าของประเทศเป็นผุ้เขียนกฏหมายขึ้นเอง (กฏหมายที่ส่งเสริมการใช้สิทธิในการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่ใช่กฏหมายที่มาบังคับคนไทยด้วยกัน
ชาวนา
- Wednesday, June 26, 2002 at 04:13:53 (EDT)

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งเพื่อรักษาภูมิปัญญาชาวบ้านไม่ให้สูญหาย
ภิมุข สมานรักษ์ <mook_2002@banriecoffee.com>
- Monday, June 17, 2002 at 22:00:22 (EDT)

เห็นด้วยกับการเปิดเสรีครับ ผู้บริโภคไม่ได้โง่นะครับ ถึงจะต้องทนกินเหล้าที่ผูกขาดกันมานาน คิดว่าสรรพสามิต เลิกเห็นแก่เงินได้แล้วนะครับ
ประยุทธ์ ถนอมบุญ <denjit@hotmail.com>
- Wednesday, May 22, 2002 at 05:31:43 (EDT)

บทความพิเศษ) ทางออกเหล้าชุมชน กระจอกชัย แม้ในขณะนี้ยังไม่มีข้อยุติเกี่ยวกับเงื่อนไขการผลิตเหล้าขาวเสรีจะด้วยช้างหญ้าช้าง หรือขี้ช้าง ซึ่งดูเหมือนรูปการณ์ทั้งหลายคงดำเนินไปอย่างล่าช้าแน่นอน เรื่องทำนองนี้ก็เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า ถ้าคิดจะเล่นชักคะเย่อกับช้าง อย่างไร…ก็ต้องออกแรงกันมากหน่อย ภาษิต…อ้อยเข้าปากช้าง คงใช้ได้ดีอยู่ทุกยุคสมัย ทว่า,สังคมควรมีทางออกให้กับชุมชน โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการผลิตเหล้าขาวเสรี เพราะถ้าไม่เช่นนั้นปัญหาจะเกิดขึ้นตามมาซ้ำ ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งผมก็ไม่มั่นใจว่า…จริง ๆ เจ้าหน้าที่รัฐที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรงต้องการจะให้เป็นเช่นนี้ ด้วยเพราะต้องการงบประมาณในการปราบปราม ต้องการหากินบนช่องว่างใช้เครื่องแบบและเครื่องมือ ทางกฏหมายเก็บเบี้ยบ้ายรายทาง รวมไปถึงผลประโยชน์ที่ได้รับการสนับสนุนจากพญาช้างสารด้วย ฯลฯ ประการแรกรัฐต้องยอมรับในหลักการเรื่องเหล้าว่า เหล้า(สุรา)เป็นสิ่งเสพติด หากรัฐไม่ต้องการให้ประชาชนเสพมึนเมา ควรประกาศห้ามผลิตอย่างเด็ดขาด ตราโทษเทียบเท่ากับสิ่งเสพติดอื่นๆ เพราะเหล้าเป็นสิ่งชั่วร้าย ทำลายสุขภาพประชาชน เช่นเดียวกับบุหรี่ และหวยล๊อตเตอรี่ รัฐควรหยุดดำเนินกิจการ/กิจกรรมดังกล่าวทั้งหมด ประการที่สอง หากรัฐไม่สามารถควบคุมประชาชนได้ ก็ควรเปิดโอกาสให้มีการผลิตเหล้าอย่างเสรี ไม่ผูกขาดโดยรัฐหรือกลุ่มทุนบางกลุ่มเท่านั้น เพื่อให้มีทางเลือกอื่น ๆ แก่ผู้บริโภคและพัฒนาองค์ความรู้ในการผลิตต่อไป ประการที่สาม ที่ผ่านมารัฐสูญเสียรายได้จากการเก็บภาษีเหล้านอกระบบ(เหล้าเถื่อน)จำนวนมหาศาล(มากกว่าตลาดเหล้าขาวในปัจจุบัน คือ 40,000 ล้านบาทด้วยซ้ำ) ดังนั้นควรจะนำเหล้าดังกล่าวเข้าสู่ระบบอย่างถูกต้องโดยมีกฎเกณฑ์อย่างเหมาะสม เมื่อรัฐรับหลักการทั้งสามประการข้างต้นแล้ว เราควรจะมาคิดถึงรูปแบบหรือลักษณะที่พึงประสงค์ หรือที่เราปรารถนาร่วมกันอันอยู่บนพื้นฐานของความจริง ความจริง คือ ไม่ว่าคนจนหรือคนรวย มีอารมณ์ที่จะดื่มเหล้าเหมือน ๆ กัน แต่ราคาของชีวิต(เงินในกระเป๋า)มันมีไม่เท่ากัน แต่กระนั้นนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัยก็ย้ำมาโดยตลอดว่า แม้ไม่สามารถทำให้คนจนมีเงินมากเท่ากับคนรวยได้ แต่สามารถให้มีความชอบธรรมและอยู่ภายใต้กฏหมายเท่าเทียมกัน หลักการนี้น่าจะใช้ได้กับผู้บริโภคเหล้าและผู้ผลิตเหล้าไม่ว่าจะอยู่ตามกระต๊อบป่าเขา หรือโรงงานขนาดใหญ่ รูปแบบที่น่าจะเป็นไปได้ในการผลิตเหล้า คือ การแบ่งประเภทหรือลักษณะการผลิตตามขนาดหรือตามเจตนาของผู้ผลิต ทั้งนี้ยืนอยู่บนหลักความจริงแห่งสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน และสิทธิทางการค้าทั่วไป ได้ 3 ประเภท คือ 1. เหล้าครัวเรือน หมายถึง เหล้าที่ชาวบ้านผลิตเพื่อดื่มเองภายในบ้านของตนเอง เรียกตามภาษาขี้เมาก็คือ เป็นเหล้าเลี้ยงชีพ (ปลอดภาษี ผลิตได้ไม่เกิน 10 ขวด/เดือนและห้ามจำหน่ายจ่ายแจก) หากมีงานจัดเลี้ยงใหญ่ควรขออนุญาตผลิตเป็นครั้งคราวและให้มีการเสียภาษีด้วย 2. เหล้าชุมชน หมายถึง เหล้าที่มีการผลิตเพื่อจำหน่ายในเขตชุมชนนั้นๆ (อบต./เทศบาล)โดยให้องค์กรท้องถิ่นเป็นผู้จัดเก็บรายได้ (อาจจะให้เสียเหมือนเขียงหมูหรือภาษีร้านค้า ร้านอาหาร) แต่ห้ามนำไปจำหน่ายนอกเขต มีการควบคุมคุณภาพ หรือจะต้องมีใบอนุญาตจากคณะกรรมการเหล้าชุมชน 3. เหล้าเสรี หมายถึง เหล้าที่มีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ(ระดับจังหวัดขึ้นไป)หรือส่งออกต่างประเทศ รัฐจัดเก็บระบบภาษีเช่นปัจจุบัน แต่ควรเปิดให้ทุกกลุ่มบริษัทผลิตเหล้าได้ตามมาตรฐานที่รัฐกำหนด ไม่ผูกขาดกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง(ขนาดโรงงาน /พื้นที่ / ระบบการผลิต /การดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม) การแบ่งการผลิตเช่นนี้น่าจะสอดคล้องกับโลกมนุษย์สมัยใหม่ และรัฐเองก็ง่ายต่อการควบคุมเช่นกัน ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้มากกว่าปัจจุบันนี้ด้วย คือ 1. เหล้านอกระบบ(เหล้าเถื่อน)เข้าสู่ระบบภาษีรัฐ 2. ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตการเกษตร (ข้าว/ข้าวโพด) 3. รักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการผลิตพืชสมุนไพร 4. สนับสนุนธุรกิจชุมชน สร้างรายได้ท้องถิ่นและการส่งออกในอนาคต 5. ลดความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน 6. เป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภค ทั้งนี้คุณภาพของเหล้าชุมชนน่าจะเป็นผลดีต่อสุขภาพประชาชน(เป็นเหล้ากลั่น,ไม่มีอาการแฮงค์) อย่างไรก็ตามหลายคนอาจจะมีคำถามคลางแคลงใจต่อเหล้าชุมชน อาทิ มาตราฐานการผลิต ขนาดการผลิต ภาษีรายได้ที่เก็บเข้ารัฐ ฯลฯ คำถาม : เหล้าชุมชน ควรมีมาตราฐานอย่างไร เรื่องนี้อธิบายได้ว่า มาตราฐานหรือรสชาติ นั้นควรขึ้นอยู่กับผู้ผลิต ฝีมือดีพิถีพิถันก็จะเป็นที่ต้องการ(ขายได้) แต่ต้องมีกฏเหล็กคือ ต้องปราศจากสารพิษอันตรายใดๆ หากตรวจสอบพบคณะกรรมการเหล้าชุมชนมีคำสั่งงดผลิตเด็ดขาด คำถาม : เหล้าชุมชนควรมีขนาดของการผลิตเท่าไหร่ เรื่องนี้อธิบายได้ว่า เหล้าชุมชน ไม่ควรให้มีการผลิตจำนวนมาก รายหนึ่งน่าจะไม่เกิน 2 หม้อ (หรือ 100 ขวด / วัน) เพื่อกระจายรายได้แก่ชุมชน หลักการสำคัญ คือ ภายในชุมชนหนึ่งไม่ควรให้มีการผูกขาดเพียงเจ้าเดียว และไม่อนุญาตให้มีโรงงาน หากผู้ใดต้องการทำธุรกิจขนาดใหญ่ให้ไปเข้าหลักเกณฑ์เหล้าเสรี/เหล้าบริษัทหรือกลุ่มสหกรณ์  คำถาม : เหล้าชุมชน ควรเสียภาษีแก่รัฐอย่างไรจึงจะเหมาะสม เรื่องนี้อธิบายได้ว่า ผู้ผลิตจะต้องเสียภาษีให้กับเทศบาลหรือ อบต.โดยตรง ลักษณะอาจจะเหมือนเขียงหมู (เหมาจ่ายเป็นรายเดือน) หรืออาจจะใช้แสตมป์แล้วแต่ผลิตจำหน่ายมากน้อย  คำถาม : เหล้าชุมชน ควรมีเขตพื้นที่จำหน่ายแค่ไหน? เรื่องนี้อธิบายได้ว่า ไม่ควรให้มีการข้ามเขตจังหวัด เพราะจะทำให้ท้องถิ่นเสียรายได้และทำให้ไม่มีการพัฒนาองค์ความรู้เหล้าท้องถิ่นซึ่งจะมีลักษณะแต่งต่างกัน แต่หากต้องการจำหน่ายข้ามจังหวัด หรือส่งออกนอกประเทศ ก็ควรเข้าสู่หลักเกณฑ์เหล้าเสรี(ตั้งเป็นบริษัท,ตั้งโรงงานหรือกลุ่มสหกรณ์) คำถาม : ใครจะเป็นผู้ดูแล ควบคุมการผลิตเหล้าชุมชน เรื่องนี้อธิบายได้ว่า ต้องมีการแต่งตั้งหรือเลือกตั้ง คณะกรรมการเหล้าชุมชน อาจจะประกอบด้วยตัวแทนชุมชน ตัวแทนองค์กรท้องถิ่น ตัวแทนกรมสรรพสามิต ฯลฯ เป็นผู้มีอำนาจในการให้ใบอนุญาต ตลอดจนใบเหลืองใบแดง คำถาม : เหล้าเถื่อนจะหมดไปจริงหรือ? เรื่องนี้อธิบายได้ว่า คณะกรรมการเหล้าชุมชน ผู้ผลิตเหล้าชุมชน(ที่เสียภาษี) ผู้บริโภคจะเป็นผู้สอดส่องดูแลเรื่องนี้ และคาดว่าจะดูแลอย่างทั่วถึงเพราะเป็นพื้นที่ขนาดเล็ก (ทั่วไปจะรู้จักกันอยู่แล้ว) โดยเฉพาะผู้ผลิตที่เสียภาษีแล้ว ย่อมไม่ปล่อยให้ตนเองสูญเสียผลประโยชน์นี้ไปอย่างแน่นอน (เหมือนกรณีเขียงหมู) ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมาอาจจะต้องใช้เวลาพอสมควรที่จะระดมวามคิดเห็นเพิ่มเติม และหาข้อยุติที่เหมาะสมเพื่อสร้างสรรค์สังคมให้น่าอยู่น่ารื่นรมณ์ร่วมกัน แต่อย่างไรก็ตามเรื่องเหล้าขาวเสรี อย่างไรในขณะนี้หรือเบื้องต้นนี้รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรประกาศออกมาให้ชัดเจนแก่ชาวบ้านหรือชุมชน ดังนี้ 1. รัฐควรเร่งออกกฎหมายเหล้าครัวเรือน,เหล้าชุมชน,เหล้าเสรี อย่างรีบด่วน เพื่อนำมาใช้ควบคุมการผลิตและจำหน่ายเหล้าอย่างชอบธรรม 2. หากยังไม่สามารถเร่งดำเนินการด้านกฎหมายในระหว่างนี้ รัฐควรเปิดโอกาสหรือผ่อนผันให้กลุ่มชาวบ้าน ชุมชน หรือกลุ่มสหกรณ์ สามารถผลิตเพื่อดื่มและจำหน่ายได้ภายในพื้นที่ของตนเอง โดยให้มีการตรวจสอบคุณภาพและยื่นเสียภาษีเป็นรายเดือนชั่วคราวกับหน่วยงานกรมสรรพสามิตหรือองค์กรท้องถิ่นของตนเองในอัตราที่เหมาะสม 3. รัฐควรสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนาเหล้าซึ่งผลิตหรือแปรรูปจากผลผลิตการเกษตร เช่น ข้าว ข้าวโพด ลำไย ฯลฯ และเหล้าที่ผลิตโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น อันจะนำไปสู่การยกระดับราคาพืชผลทางการเกษตรและการส่งออกเหล้าท้องถิ่นในประเทศไทยไปยังต่างประเทศในอนาคต ชาวบ้านหลายคนต้มเหล้ามากว่าสิบปีส่งเสียลูกเรียนหนังสือจบปริญญาตรีปริญญาปริญญาโทปริญญาเอก…ชุมชนแต่ละแห่งมีคนที่ฉลาดและเขาพร้อมที่จะเป็นควานช้าง มากกว่าจะเป็นช้างเท้าหลังดมขี้ช้างไปชั่วชีวิต
คำรณ <comrone@mweb.co.th>
- Friday, March 29, 2002 at 20:24:08 (EST)

It is good news, for the first that people can carry on their own recipes of different drink and be able to make, drink,and improve for the best or other. In Europe there are many drink recipes and pass on from generation to generation. The grovernment had grained the welth and power from been the only one to give licence and decide who can make all kinde of drink. The only few companies benefited from that licence were enjoyed for a long time and it time that every one who interest in making alcoholic drink should be able to do so.
ard <green27@aol.com>
- Thursday, March 28, 2002 at 05:46:00 (EST)

เห็นด้วยอย่างยิ่ง คนคัดค้านคือคนไม่ใช้สมองคิด เห็นแก่ตัวกลัวประเทศไทยจะเจริญ มั๊ง
คำรณ <comrone@mweb.co.th>
- Monday, March 25, 2002 at 01:37:17 (EST)

เห็นด้วยทุกข้อที่กล่าวมา
เรืองเดช <lampannoi@yahoo.com>
- Wednesday, March 13, 2002 at 11:43:18 (EST)

ควรยกเลิกระบบการผูกขาดธุรกิจชาติหน้าได้แล้ว ชาวบ้านเองไม่ควรถูกปิดกั้นสิทธิเสรีภาพ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ภูมิปัญญา ประเพณีวัฒนธรรม จากการพัฒนาน้ำภูมิปัญญา ที่มีมาแต่เก่าก่อน เราอย่าลืมว่าระบบการพึ่งพาตนเองเป็นสิ่งที่ควรสนับสนุนและส่งเสริมไม่ใช่คำกล่าวอ้างเล่นลิ้นเพื่อปกป้องผลประโยชน์สิทธิของนายทุน เพื่อขอเศษเงินจากเขา ผมเองไม่เห็นว่าที่ผ่านมาในอดีตที่เราก็มีระบบภูมิปัญญาดังกล่าวเราต้องเคยเสียเอกราชให้ใคร แต่เมื่อเรามีระบบผูกขาด เราก็ต้องเสียเอกราชให้ทุนข้ามชาติเสียแล้ว แถมมิหนำซ้ำรสชาติก็แสนจะห่วย ไม่แน่ว่าถ้าส่งเสริมภูมิปัญญา เราอาจได้ชิมของทีเด็ดกว่านี้อีก ไม่ต้องกลัวสุราสัญดานนอกขายไม่ออกหรอก และที่ผ่ามาบรรพบุรุษเรามีการรักษาร่างกายผ่านแอลกอฮอล์มาแล้วไม่เห็นเอาของนอกมาดองยาเลย ขอบคุณ
บริพัตร สุนทร <boripat_p@yahoo.com>
- Monday, March 04, 2002 at 06:11:50 (EST)

เห็นด้วยครับ คนในรัฐบ้างคนรับเงินใต้โต๊ะเพื่อไม่ให้ เปิดเสรี เพราะจะทำให้ผู้ผลิตเสียผลประโยชน์เป็นเงินจำนวนมาก ....เพราะมีคนอย่างนี้ในประเทศไทยทำให้ประเทศชาติไม่เจริญสักที.......
"GUS" <gussu@yahoo.com>
- Friday, February 15, 2002 at 23:21:49 (EST)

การที่ท้องถิ่นทำเหล้าออกมาอาจมีรสที่แตกต่างกัน มันก็เป็นจุดขายและจุดเด่นของแต่ละท้องถิ่น
Rungjaran Jarusan <Jarusan01@hotmail.com>
- Sunday, January 13, 2002 at 23:26:19 (EST)

คนไทยผลิตเหล้าเก่ง ไม่คิดบ้างหรือว่าต่อไปเหล้าไทยอาจเป็นสินค้าส่งออกอันดับต้นๆก็ได้
แก้ว
- Thursday, January 10, 2002 at 21:48:48 (EST)

ทำให้มีขอบเขต หรือมีการสำรวจ และก็จำกัดดีกรี ก็ให้ชาวบ้านมีการจำหน่าย เพิ่มรายได้ครัวเรือน
นาย เอิกเกริก พันธุ์พิพัฒน์ <erk@rtaf.mi.th>
- Wednesday, January 02, 2002 at 01:01:30 (EST)

ผมเคยอ่าน สิงห์สาโท ที่เป็นหนังสือเข้ารอบรางวัลซีไรต์ แล้วรู้สึกว่าเข้าใจมุมมองของชาวบ้านในการต้มเหล้าหรือผลิตสุราออกมามากขึ้น จึงเห็นด้วยกับการแก้ไขกม. เพราะน่าจะทำให้ชาวบ้านได้มีรายได้มากขึ้นในสภาพเศษฐกิจอย่างนี้ และผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น
จักรพันธ์ นาน่วม <netaru_k@yahoo.com>
- Saturday, December 15, 2001 at 23:06:13 (EST)

เห็นด้วยนะแต่ควรมีการควบคุมที่ดี แล้วขอถามหน่อว่ามีใครพอจะรู้ชื่อหนังสือ,web,ข้อมูลเกี่ยวกับสาโท,สาเกไหมช่วยบอกทีกำลังทำรายงานเรื่องนี้อยู่
นัทมน <nongappple@lemononline.com>
- Saturday, December 08, 2001 at 08:30:43 (EST)

อยากบอกให้รัฐบาลและข้าราชการในกรมสรรพสามิต ได้รู้ว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นมีค่ามาก สมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะส่งเสริม มิใช่กีดกัน เพราะเห็นแก่เงินที่ได้รับจากบริษัทผลิตเหล้า การที่ชาวบ้านผลิตเหล้ากินเอง ล้วนแต่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวเกษตรกร ลงแขก ,ดำนา ,เกี่ยวข้าว,ปลูกถั่ว ชาวบ้านต้มเหล้าแจกจ่ายกินกัน เป็นภาพของคนจน ทีทำมาหากินตามวิถีชีวิต แต่เจ้าหน้าที่สรรพสามิต วันๆ ไม่มีอะไรทำ กลับไปไล่จับชาวบ้านที่ผลิตเหล้า มันสมควรแล้วหรือถึงเวลาแล้วที่เรา ควรจะส่งเสริมภูมปัญญาของไทย มิใช่เหยียบย่ำ แต่หันไปส่งเสริมการนำเข้าเหล้านอก มีชาวบ้านหลายคนสงสัยกันว่า เพียงเพราะเราไม่ได้เสียภาษี เหล้าของชาวบ้านจึงถูกเรียกว่า เหล้าเถื่อน อย่างนี้อีกหน่อย หาก น้ำปู ,น้ำบูดู ,หรือปลาร้า ต่างชาติผลิตได้ หรือมีการผูกขาดโดยเอกชน ขึ้นมา ชาวบ้านไม่ถูกจับ หาว่า ผลิต น้ำปู ,น้ำบูดู หรือปลาร้าเถื่อนหรอกหรือขอวอนเถอะ อย่าได้เหยียบย่ำภูมิปัญญาของชาวบ้านอีกเลย
ศิรินันท์ <sirinun.san@chaiyo.com>
- Saturday, December 08, 2001 at 08:09:07 (EST)

ผมอยากหมักสาโทกินเองแต่ก็กลัวผิดกฏหมาย...แย่จัง
วีระ <weera_s@hotmail.com>
- Tuesday, November 13, 2001 at 21:22:35 (EST)

1. เหล้าพื้นบ้านทำได้จากวัตถุดิบที่มีอยู่อย่างหลากหลายในท้องถิ่น ทั้งข้าว และัะผลไม้ต่างๆ เช่น กล้วย มะเม่า สัปปะรด สูตรลูกแป้งที่ใช้หมักก็เกิดจากสมุนไพร ซึ่งก็มีหลายสูตร ชาติอื่นเขาจะรู้จัก เข้าถึงและใช้ประโยชน์เทียบเท่าชาวบ้านท้องถิ่นไหม? คนที่เขาทำเขารู้ว่าพันธ์ุข้าวไหนหมักเหล้าอร่ิร่อย ใส่สมุนไพรในลูกแป้งตัวไหนแล้วมีรสชาติหวาน ขม เขาจัดการแต่งรสชาตืิได้ด้วยความชำนาญ ส่วนคำว่าภูมิปัญญา ก็ไม่ใช่ลักษณะัของการจดจำเทคโนโลีเอามาใช้ ต่อๆ กันไปอย่างไม่มีพัฒนาการ หากแต่เกิดประสบการณ์จากการใช้และมีการปรับปรุงให้เข้ากับสมัยปัจจุบัน ดูแค่วิวัฒนาการการโลว์เทคแบบชาวบ้านในการสร้างหม้อต้มกลั่นจากอดีตถึงปัจจุบันนั่นก็ได้2.ปริมาณการดื่มสูงสุดของคนๆ หนึ่งก็เท่ากับที่ดื่มเหล้าที่ซื้อจากโรงงาน จะต่างตรงที่ราคาที่ซื้อต่อหน่วยที่แตกต่างกัน3.การควบคุมคุณภาพของเหล้า เนื่องจากเป็นรายย่อยหลายๆ รายทำแข่งขันกัน ให้ผู้บริโภคเขาเป็นคนเลือกตามรสนิยมดีไหม ส่วนคุณภาพเรื่องความสะอาดนั้นไม่ต้องห่วง การทำเหล้าเป็นกรรมวิธีที่ต้องอาศัยความสะอาดมาก มิฉะนั้นแล้วจะมีผลต่อการหมักและคุณภาพผลผลิตที่ได้กิจการรายย่อยยังนำ by produce ไปแปรรูปใช้ประัโยชน์ในระบบเกษตรกรรมท้องถิ่นได้อีกมากทั้งในรูปอาหารสัตว์ ฯลฯ 4.จะสูญเสียรายได้ก็จากการวิ่งไลจับปรับและส่วยโรงงาน ถ้าจะสนับสนุนการกระจายรายได้สู่ประชาชนจริง สรรพากรมีความสามารถในการจัดเก็บรายได้จากผู้ผลิตรายย่อยแน่นอน5.ผลผลิตจากการทำเหล้าเสรี อาจไม่ใช่แค่เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ แต่อาจหมายรวมไปถึงการพัฒนาสารสกัดสมุนไพรเพื่อการเกษตรและยาสมุนไพร
นก อยู่วนา <ynuniba@hotmail.com>
- Monday, November 12, 2001 at 07:31:43 (EST)

1 เป็นการส่งเสริมภูมิปัญยาคนไทย2 รัฐ มีหน้าที่ควบคุมดูแลคุณภาพของสินค้าทุกอย่างอยู่แล้ว3 รัฐได้ภาษีเถิ่มขึ้น ถ้ามวิธีการจัดเก็บภาษีที่ดี4 ลดการนำเข้าสุราต่างประเทศ
อากร ภัทรธรรมกุล <argornp@thaimail.com>
- Friday, October 26, 2001 at 02:59:57 (EDT)

เห็นด้วย..แต่ควรมีการควบคุมดูแลให้เป็นระบบตั้งแต่วัดถุดิบ ขบวนการผลิต และช่วยดูแลการตลาด(ทั้งปริมาณและแห่งจำหน่าย) ให้โอกาสชาวบ้านบางเถอะครับ แล้วอาจจะมีสินค้าดีๆ ส่งออกเพิ่มขึ้นก็ได้..
เริงวุฒิ สระบุรี <roengwut.w@chaiyo.com>
- Monday, October 22, 2001 at 05:49:17 (EDT)

มันก็ต้องลองกันละ ในเมื่อห้ามมาร้อยปี ไม่มีอะไรจะเสียแล้ว ลองมันเสรีสักร้อยปี จะมีอะไรเสียหายอีกละในเมื่อคนกิน ก็ต้องกิน คนไม่กิน ก็ไม่กินแล้วจะคัดค้าน หรือสนับสนุน ไปทำห...อะไรเข้าใจภาษาไทยหรือไม่ ที่ว่า ให้ลองดู....แล้ววิจัยผล ไม่ต้องมาคิดว่า..... อย่างนั้น อย่างนี้ นั่นให้หมอดูเขาทำ ไม่มีหน้าที่ตัดสินทดลอง.... นี่คือคำตอบ
คีดล <turun@mail.com>
- Thursday, October 04, 2001 at 22:34:20 (EDT)

เห็นด้วยกับการยกเลิกพรบ.สุรา ยกเลิกการผูกขาดทางการค้า ถ้าเปิดโอกาสให้ชาวบ้านต้มเหล้าได้เองอย่างถูกกฏหมาย อนาคตอาจจะมีสาโทส่งออกเพื่อให้กินกับผัดไท เหมือนกับที่ขณะนี้เรานำเข้าสาเกเพื่อจะกินกับอาหารญี่ปุ่น หรือกินไวน์กับอาหารฝรั่ง แต่ในความเห็นส่วนตัวแล้วไม่ควรกินอะไรที่ทำลายสุขภาพ ในเหล้ามี Ethyl alcohol ซึ่งเป็นพิษ รู้ทั้งรู้ก็ยังมีคนกินกันอยู่ขายกันได้ ดังนั้นควรยกเลิกพรบ.ผูกขาดขายเหล้าโดยด่วนเพื่อสนองความต้องการของคนกินเหล้า เพราะอย่างไรก็ห้ามคนกลุ่มนี้ไม่ให้กินเหล้าไม่ได้ก็ควรให้ทางเลือกในการกินเหล้าไทยให้มากขึ้น
Sirikul
- Wednesday, October 03, 2001 at 02:55:19 (EDT)

อยากถามคุณ คม ขาวสะอาดว่าเหล้าท้องถิ่นนี่ ถ้าไม่ใช่ ภูมิปัญญาชาวบ้านแล้วเป็นอะไร ผมอยากให้คุณตอบคำถามนี้จริงๆ กลัวจะอดฮั้วหรือเปล่าครับ มีข้าราชการอย่างคุณเยอะๆ ผมว่าประเทศเราเจริญบรรลัยแน่ๆ
Michael
- Wednesday, September 05, 2001 at 10:03:54 (EDT)

ขอย้ำบางตอนของท่านเผื่อว่าใครอ่านข้ามไป นอกจากจะได้รับสินบน จากการตามจับชาวบ้านแล้ว ยังได้รับเงินสินบนจากโรงงานเป็นประจำด้วย นี่เป็นเหตุผลข้อหนึ่งว่า ทำไมเจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิต จึงขัดขวางการเปิดให้ผลิตสุราอย่างเสรี ชัดไหมครับคุณคม ขาวสะอาด
ข้าราชการ
- Sunday, August 26, 2001 at 00:50:31 (EDT)

เห็นด้วยที่จะเปิดให้มีการต้มกลั่นเหล้าอย่างเสรี คนต้มไม่ได้ดื่มมากมายเหมือนที่ท่านคิด การผูกขาดเหล้าเป็นการผูกขาดรายได้ให้แก่บริษัทใหญ่เท่านั้น และผูกขาดรายได้ให้แก่เจ้าหน้าที่สรรพสามิต ที่คอยจับเหล้าเถื่อนให้แก่พ่อค้านายทุน ศักดิ์ศรีข้าราชการไทยต้องมีมากกว่านี้
ธนพน โพธิ์ชาธาร <TnPn@chaiyo.com>
- Sunday, August 26, 2001 at 00:37:55 (EDT)

สนับสนุนให้ชาวบ้านได้มีโอกาสทำเหล้าขายค่ะ เพราะเคยดื่มกระแช่ ขอบอกว่าอร่อยมาก อร่อยกว่าเหล้ายี่ห้อดังๆจากนอกเยอะเลย (ไม่ได้เป็นคนชอบดื่มเหล้านะคะ แต่ก็ชอบพิสูจน์ถ้ามีโอกาส...ลองนี้ดเดียวเอง) รู้สึกเสียดายมากว่าทำไมของอร่อยๆ อย่างนี้ ที่เป็นฝีมือของคนไทย เขาห้ามขาย!!! ต้องแอบทำแอบดื่มกัน หันมาพัฒนาให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ กระฉ่อนไปทั่วโลก จะได้แบ่งกันรวยบ้าง ท่าจะดีนะคะ ผิดศีลข้อห้า เป็นประเด็นที่น่าสนใจดีค่ะ พวกเราคงจะลืมกันไปเลย ต้องขอบคุณคุณชายคนหนึ่งที่เตือนสติค่ะ แฮะ แฮะ .....แต่ก็ยังสนับสนุนอยู่ดี
ศุภิกา
- Friday, August 24, 2001 at 11:24:43 (EDT)

เห็นด้วยที่จะช่วยยกระดับภูมิปัญญาชาวบ้านให้ก้าวหน้า ทั้งยังขจัดระบบนายทุนที่ผูกขาดสินค้าน้ำเมา ทว่าน้ำเมาที่ชาวบ้านทำก็ต้องมีการควบคุม ทั้งเรื่องคุณภาพ ความสะอาดและความเป็นมาตรฐานตามกติกาสังคมที่กำหนดไว้ด้วย
โสรัตน์ <Joe_Living@hotmail.com>
- Thursday, August 23, 2001 at 05:41:59 (EDT)

สนับสนุนครับ เพราะว่าการทำสุราเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านซึ่งมีมานานแล้ว เป็นการสร้างงานแก่ชุมชนและรายได้แก่ชุมชนด้วย ทั้งย้งเป็นการแก้ปัญหาการตกเขียวด้วย แต่การจะเปิดการค้าสุราเสรี ก็ต้องมีการควบคุมการผลิตให้ได้คุณภาพด้วยครับ
นายปิยะพันธุ์ จันจัด <zi_1980@hotmail.com>
- Wednesday, August 22, 2001 at 23:01:42 (EDT)

หากมีการเปิดโรงเหล้าเสรี ชาวบ้านสามารถผลิตจำหน่ายได้ ในกรณีสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านแล้ว ดิฉันเห็นด้วยอย่างยิ่ง หากย้อนกลับไปมองอีกด้านแล้ว เมื่อชาวบ้านมีเสรีในการผลิต นั่นก็หมายความว่าจะผลิตออกมาเท่าใดก็ได้ ละก็อะไรจะเกิดขึ้น หากชาวบ้านดื่มเหล้าจนไม่มีขีดจำกัด
วิระวัญ อินทริง <ningbaby@chaiyo.com>
- Tuesday, August 21, 2001 at 01:47:02 (EDT)

การทำเหล้าเสรีก็ควรเสรีจริงๆ ชาวบ้านควรได้ผลิตกันอย่างเสรี มิควรอ้างกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ที่ออกโดยรัฐบาลที่เป็นผู้ได้ประโยชน์ ภูมิปัญญาชาวบ้าน มิควรตกอยู่ในมือนายทุน
ฌาณรวิน หลวงธรรมเม <kaohom.c@chiayo.com>
- Sunday, August 19, 2001 at 12:51:07 (EDT)

แล้วแน่ใจได้ยังไงว่าเหล้าตัวกลางที่ให้กรมสรรพสามิตตรวจกับเหล้าที่ขายให้กับประชาชนคุณภาพเท่ากัน อาจจะเอาเหล้าที่ให้ทางกรมฯ ตรวจดีกว่าของขายให้ประชาชนก็ได้
ไม่ขอเอ่ยนาม <>
- Saturday, August 18, 2001 at 01:13:40 (EDT)

มีความคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดถ้าหากจะให้มีการผลิตเหล่าพื้นบ้านได้อย่างอิสระ เพราะถ้ามนอนาคตเราต้องรอซื้อสิ่งที่เป็นลิขสิทธิ์ของคนอื่นเรื่อยไปเราคงจะเพิ่งตัวเองไม่ได้แน่นอน
seep <seep@mtv.com>
- Tuesday, August 14, 2001 at 02:17:35 (EDT)

น่าสนับสนุนนะครับ การทำผิดอย่างไร้เดียงสา เป็นเรื่องที่ยอมรับได้อยู่แล้ว ทั่นนายกก้อทำครับ แค่ชาวบ้านต้มเหล้าขาย ไม่เห็นเป็นไร ยังไงก้อไม่ได้กินด้วยอยู่แล้วครับผม
loptar <don't show>
- Saturday, August 11, 2001 at 00:20:26 (EDT)

การมีโรงเหล้าเสรีเป็นการเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้ทำในสิ่งที่บรรพบุรุษมอบสูตรการหมักสุราที่มีเคล็ดลับที่เจาะจง และมีสูตรเฉพาะท้องถิ่นผลิตสุราที่มีรสชาดดีๆมาแข่งขันกัน แต่ต้องรักษาระดับมาตราให้เป็นที่ยอมรับ เหมือนการทำเบียร์ในเยอรมัน
คมสัน หน่อคำ
- Monday, August 06, 2001 at 10:47:44 (EDT)

เหล้าไม่ใช่ภูมิปัญญาของไทย เป็นที่ส่วนไหนของโลกก็ทำได้ถ้ามีธัญญพืช เป็นเครื่องดื่มพื้นฐาน เป็นยา(ถ้าปริมาณเหมาะสม) เป็นโลหิตพระเยซู(ไวน์แดง) แต่ทำไมเราไม่เคยพัฒนาเรื่องรสชาด เพราะโดนผูกขาด จนไร้ความคิดสร้างสรรเรื่องรสชาดมานาน ฝรั่งเศสมีไวน์หมื่นยี่ห้อ เยอรมันมีโรงเบียรนับพัน ญี่ปุ่นทุกหมู่บ้านทำสาเก ทุกยี่ห้อ พัฒนาส่าและรสชาด แข่งขันกันจนเป็นที่ยอมรับ คนทำก็ระดับชาวบ้าน ทำไมเราไม่ปล่อยให้ชาวบ้านทำกันดู แล้วสรรพสามิตก็วิ่งไล่ขายแสต็มแปะขวด แทนที่จะวิ่งไล่จับคนต้มอย่างทุกวัน เงินก็ได้ ชาวบ้านก็ได้มีเวลาพัฒนารสชาด ไม่ต้องวิ่งหนีอย่างทุกวันนี้
krid_o@hotmail.com <krid_o@hotmail.com>
- Sunday, August 05, 2001 at 07:47:13 (EDT)

ชาวพื้นเมืองมีความรู้เรื่องการทำเหล้า และสาโทมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล และทำกันมาโดยตลอด ในช่วงเทศกาล หรือประเพณีต่าง ๆ ชาวบ้านจะหมักเหล้าไว้กินเอง รวมถึงกรรมวิธีในการกลั่น เขารู้ว่าเมื่อไอน้ำกระทบกับความเย็นก็จะเกิดหยดน้ำ การต้มเหล้า (กลั่น) จึงไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่มีหม้อต้ม กะทะใส่น้ำเย็น และที่รองน้ำกลั่น (เหล้า) เท่านั้นเอง ตลอดปีการหมักและกลั่นจะดำเนินไปตามงานเทศกาลประเพณีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานแต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ งานบวช งานบุญบั้งไฟ ปีใหม่เมือง(สงกรานต์) งานทานสลากภัตร งานลงแขก เพราะมีวัตถุดิดิบและเป็นภูมิปัญญาที่เป็นมรดกสืบทอดกันมา การที่รัฐห้ามหรือพยายามกีดกันไม่ให้พวกเขาผลิตเหล้า แต่ให้ซื้อจากรัฐหรือจากแหล่งที่รัฐอนุญาตให้ผลิต ก็เหมือนกับว่า เป็นการรีดไถกันทางอ้อม และเอื้อประโยชน์ให้กับนักธุรกิจ คิดกันง่าย ๆ ก็คล้ายกับว่า ผักตำลึงที่ขึ้นตามรั้วบ้านของตัวเอง แต่ไม่สามารถเก็บกินได้ แต่ต้องไปซื้อคนอื่นเขากิน เป็นสิ่งที่สมควรแล้วหรือ
นายวีระพงศ์ ยะคำ <weerapong@ml.th.com>
- Wednesday, August 01, 2001 at 20:59:31 (EDT)

ควรให้ชาวบ้านมีสิทธิผลิตเหล้าจำหน่ายอย่างเสรีได้ ตามภูมิปัญญาของเขา เพื่อไม่ให้เกิดการผูกขาดทางการค้าของพวกนายทุน
วทัญญู สังข์อ่อน <watanyou@Thaimail.com>
- Wednesday, August 01, 2001 at 05:14:55 (EDT)

สนับสนุน
Lawis Samarnk. <apichaya@ksc.th.com>
- Wednesday, August 01, 2001 at 04:07:55 (EDT)

ในขณะที่แสดงความคิดเห็นนี้ยังมิได้อ่านเนื้อหาข้อเรื่องนี้ แต่รู้มานานแล้วว่าประเด็นปัญหานี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก คือ จะให้เปิดการผลิตสุราอย่างเสรีหรือไม่ ผมคิดว่าตรงนี้ไม่สำคัญ แต่สำคัญอยู่ตรงที่ "ไทย" ผู้รับชื่อว่าเป็น "พหุนิยม" เหตุใดจึงมาทำการเถียงกันในเรื่องที่เป็นพื้นฐานของคำว่า "พหุนิยม" นี้เสีย กลับไม่ยอมรับถึงความหลากหลายของมัน พาลแต่จะโทษมันว่าผิดศีลธรรม แน่นอนมันอาจจะเป็นเช่นนั้น แต่หากเราใช้มันอย่างถูกวิธีมันก็เป็นเครื่องมือที่ดีได้เช่นกัน ในความคิดของผมคนในต่างจังหวัดนั้นดื่มเหล้าเพื่อการปะทะสังสรรค์กัน หลังจากภาวะอาการเหนื่อยจากการทำงาน เพราะภายใต้บริบทของเศรษฐกิจแบบทุนนิยมได้ทำลายกำแพงที่พวกเขาเคยมี เช่นการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ผมพบปัญหาในชนบทมากมายที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านเนื่องจากระบบที่เปลี่ยนไป เช่น เพื่อนบ้านที่เคยสนิทกัน แต่ปัจจุบันมีปัญหากันในเรื่องราคาปุ๋ย หรือค่าจ้างแรงงาน ดังนั้นการตั้งวงกินเหล้าจึงมีประโยชน์ในการทำให้เกิดพื้นที่ใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อลดการปะทะกันในระบบของสังคม คือ ถึงแม้ว่าเราจะขัดแย้งกันในระบบทุนนิยม เราก็ยังมีพื้นที่ที่จะให้เราได้ปรับความสมดุลกันได้ ผมจึงคิดว่ามันไม่ได้ก่อให้เกิดเรื่องเสียแต่ประการใด ส่วนในเรื่องที่มีผู้ดื่มเหล้าแล้วเมานั้น ผมเห็นว่าเราไม่ควรจะไปโทษมันเพียงอย่างเดียว แต่สิ่งนี้มันได้สะท้อนว่าระบบการพัฒนาประเทศของเรายังคงล้าหลัง และการกระจายความสุขของประชาชนไม่สมดุล กลับไปสู่ตอนต้นเมื่อครู่ที่ว่าวงเหล้าสามารถสร้างให้ระบบสมดุลได้ แต่เมื่อใดก็ตามระบบไม่สามารถรักษาสมดุลของมันได้ เมื่อนั้นมันจะแสดงออกมาทางหน่วยย่อยหน่วยหนึ่งของมัน ในประเด็นต่อมาเรื่องความหลากหลายผมมีความเห็นว่าขณะที่เราใช้ระบบการปกครองในระบบประชาธิปไตยนั้น ข้อเสียของมันคือระบบนี้เป็นระบบที่ค่อนข้างรวมศูนย์ เช่น ในการเปลี่ยนแปลงในครั้งรัชกาลที่ 5 ที่พระองค์ทรงจัดการระบบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ จากระบบที่คล้าย feudal ในยุโรปมามีลักษณะรวมศูนย์อำนาจ ก็มีลักษณะคล้ายประชาธิปไตยเช่นกัน การผลิตเหล้าเป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญในประเด็นนี้ คนเมืองคงไม่รู้ว่าชาวบ้านเขาลำบากใจเพียงใดเมื่อวัฒนธรรมท้องถิ่นต้องสูญเสียไป จะรู้ตัวก็เมื่อ มีคนออกกฎหมายมาให้คนเมืองเลิกใช้รถ แล้วหันไปให้เกวียนแทน ดังนั้นในที่นี้ผมจึงสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยไม่ใช่สนับสนุนแบบนโยบายตำบลละ 1 ผลิตภัณฑ์ เพราะตรงนั้นมันจะก่อให้เกิดระบบตลาดขึ้น และจะมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่การชูเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นถือเป็นเรื่องที่เป็นจุดรวมศูนย์ของท้องถิ่น หรือเป็นเพียงจุดหนึ่งที่เขายังคงเหลืออยู่จากการที่ส่วนกลางได้เข้าไปแทรกแซงเขาจนหมด หรือนำส่วนที่เป็นประโยชน์มาใช้ในธุรกิจท่องเที่ยวเสียหมดสิ้น ดังนั้นเราควรจะเปิดโอกาสให้เขาได้จัดการอะไรที่เป็นของๆ เขาเองบ้าง ขอบคุณครับ
ส.ชาคริต <chakritsang@hotmail.com>
- Wednesday, August 01, 2001 at 02:50:54 (EDT)

การผลิตเหล้าอาจไม่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านแต่มันก็มีหลายอย่างนะ เช่น อุ ไวน์ผลไม้ ถ้าจะเปิดเสรีเลยก็เกินไปอาจนำไปเข้ากับโครงการ 1 ผลิตภันธ์/1ตำบลก็ได้ มันก็แทบไม่มีอะไรเลวร้ายขึ้นหรอก เพราะคนไม่กินเขาก็ไม่กินอยู่ดี จะมีที่เสียประโยชน์ก็คือพวกได้สัมประทานนั่นเอง
ประมุข <cherrytu55@hotmail>
- Tuesday, July 31, 2001 at 04:54:23 (EDT)

สนับสนนุน
สืบวัฒน์ <superdog@thaimail.com>
- Monday, July 30, 2001 at 07:42:40 (EDT)

ถ้าการผลิตเหล้าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน - การฆ่าสัตว์ -การลักขโมย -การเป็นชู้ -การโกหก ก็เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านเหมือนกัน เจริญพร
อาตมา
- Friday, July 27, 2001 at 23:39:03 (EDT)

ผมเห็นด้วย เพราะจะทำให้ไม่เป็นการผูกขาด และยังเป็นการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น และไม่ใช่ว่าต้องเป็น ประเภทที่ดื่มแล้วเมาอย่างเดียวซะที่ไหนกันเล่า ยังมีอีกหลายอย่างอาจจะคล้ายๆกับไวทน์ก็ได้
ake sumonrattanakun <next67@hotmail>
- Thursday, July 26, 2001 at 09:34:49 (EDT)

น่าจะเปิดให้มีการแข่งเสรีได้แล้ว เพราะทุกวันนี้เหล้านอก ถูกกว่าเหล้าไทยอีก เพราะระบบผูกขาดชัดๆ รัฐไม่ต้องห่วงเงินที่เค้าจะให้ตอนประมูลหรอก เพราะเก็บภาษีได้มากกว่านั้นเยอะ
- <->
- Wednesday, July 25, 2001 at 18:31:58 (EDT)

นโยบายของรัฐฯ ให้มีการค้าเสรี ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการค้าใดๆ ก็ตามที่รัฐ ประกอบการได้ หรือ มีการเปิดประมูลให้เอกชนที่กิจการได้ ก็ไม่ควรมีการปิดกั้น ซึ่งในกรณีของเหล้านี้ รัฐก็ออกกฎมาเหมือนกับเป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายย่อยอยู่แล้ว เช่น การให้ผู้ประกอบการต้องผลิตสุราไม่น้อยกว่า จำนวนที่กำหนด ซึ่งถ้าดูจำนวนที่กำหนดแล้ว คิดว่าผู้ประกอบการรายย่อย หรือผู้ที่จะผลิตเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนทำไม่ได้แน่นอน จากกฎหลายข้อที่รัฐวางไว้ก็เป็นการปิดกั้นไม่ให้ผู้ประกอบการรายย่อย ไม่สามารถทำได้อยู่แล้ว กับอีกกรณีหนึ่งที่ผู้คัดค้านบอกว่า การทำสุราไม่ได้เป็นภูมิปัญญา ผมคิดว่าความคิดนี้ไม่ควรออกมาจากคนระดับผู้บริหาร เป็นความคิดที่รับไม่ได้จริงๆ เพราะการพูดเช่นนั้นหมายความว่า คนที่ดื่มสุรา ขอให้เป็นสุราก็กินๆเข้า เมาก็ใช้ได้ ไม่ได้สนใจในเรื่องรสชาติ ไม่สนใจในเรื่องศิลปะการกินอาหาร เป็นความคิดที่ไม่มีวิศัยทัศน์ เอาเสียเลย ดูตัวอย่างเช่น ประเทศฝรั่งเศษที่มีการทำไวน์ส่งออก ซึ่งเป็นรายได้ของประเทศ และส่งขายทั้วโลก และทั้วโลกก็ย่อมรับว่าการทำไวน์ของฝรั่งเศษเป็นศิลปะแขนงหนึ่งเลยที่เดียว ถ้ากล่าวว่าเอาน้ำตาลมาตั้งแล้วก็เป็นเหล้าได้ ฝรั่งเศษก็คงกรณีเดียวกัน คือเอาองุ่นมาตั้งแล้วเดี่ยวก็เป็นไวน์เอง แล้วทำไมจึงมีไวน์ที่อร่อย กับไม่อร่อยด้วยละ เหล้าไทยก็เช่นกัน คนไทยมีประวัติศาสตร์การทำเหล้าหลายอย่าง เช่น อุ กระแช่ ฯลฯ ซึ่งทั้งหลายนี้เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน รสชาติของเหล้าแต่ละประเภทก็แตกต่างกัน และโรงสุราที่รัฐควบคุมอยู่ก็ไม่ได้ผลิตสุราชนิดนี้ออกมา ในเมื่อเรามีสุราท้องถิ่นซึ่งใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น ทำไมรัฐจึงไม่สนับสนุนให้เป็นสินค้าประจำท้องถิ่น หรือรัฐ (คนของรัฐ) จะห่วงเงินที่จะเข้ากระเป๋าตัวเอง มากกว่าชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ?
ประชาชน จนจน
- Monday, July 23, 2001 at 07:21:45 (EDT)

เห็นด้วย
สำเนียง
- Monday, July 23, 2001 at 01:30:41 (EDT)

น่าจะเป็นการดีถ้าหากว่าชาวบ้านได้มีเสรีในการผลิตเหล้าที่ถูกตราหน้าว่าเป็นเหล้าเถื่อน โดยจะเป็นการแสดงออกซึ่งภูมิปัญญาของชาวบ้านเอง แน่นอนว่าระบบสัมปทานของรัฐที่ให้แก่เอกชนย่อมมีผลเสียในเรื่องของคุณภาพของสินค้าที่ประชาชนจะได้รับเนื่องจากว่าการแข่งขันในเรื่องของคุณภาพของสินค้าไม่มี เมื่อไม่มีการแข่งขัน คุณภาพที่เราจะได้รับย่อมหมดไป แต่ถ้ามีการเปิดเสรีแน่นอนว่าชาวบ้านต้องมีการปรับปรุงเรื่องคุณภาพของสุราที่เขาผลิดได้ และจะมีหลายหลายรสชาติของสุราทั้งนี้เพราะว่าแป้งหรือ หัวเชื้อที่เขาใช้ในการหมักย่อมมีหลายสูตรกันไป ในหมู่บ้านของผมเองก็มีหลายคนที่ทำการผลิตสุรา ในหมู่บ้าน และมีร้านขายสุราของสรรพสามิต 1 ร้าน แต่จากความนิยมของชาวบ้านแล้วเขาชอบเหล้าที่เรียกว่าเหล้าเถื่อนมากกว่าเพราะรสชาติและราคาเป็นที่พึงพอใจผมเองก็ยอมรับในเรื่องดังกล่าวข้างตน ดังนั้นจึงเห็นด้วยกับการให้มีการเปิดเสรีในการผลิตสุราของชาวบ้าน เพราะชาวบ้านได้รับประโยชน์ และตอนนี้ชาวบ้านพร้อมแล้วในทุก ๆเรื่อง ในการผลิต
นายดอน ขยันดี <Sailomjoy@chaiyo.com>
- Sunday, July 22, 2001 at 21:52:11 (EDT)

สงสัยพวกเราคงจะหลงลืมกันไป เพราะร่ำเรียนมานานหลายปีผ่านไปแล้ว ว่าสุราเมรัย น่ะมันเป็นสิ่งที่ผิดศีล5 พุทธศาสนิกชนพึงหลีกเลี่ยงในวิถีชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ยากอะไร หากจะถือมาปฏิบัติ
ฉะนั้น ก่อนจะโหวตอะไร อ่านทบทวนกันให้รอบคอบหน่อยนะครับ.. แค่คิด..มันก็ผิดแล้วววว ขอบคุณเธอ (สารคดี) นะ (ที่มีเรื่องผิดศีลธรรมมาให้โหวต.. คิดออกมาได้ไงเนี่ย...) ชักจะวิปริตไปกันใหญ่ ไม่ว่าจะโหวตเข้าข้างฝ่ายไหน ก็กลายเป็นว่า เหล้าเป็นเรื่องธรรมดา มนุษย์พึงดื่ม เล่นเอาหลงลืมประเด็นหลัก ที่ควรปฏิบัติในชีวิตประจำวันกันไปเลย... "ผลประโยชน์ของส่วนรวมมาเป็นที่ตั้ง"น่ะหรือครับ (หึๆๆ ) น่าจะเป็น ปุถุชนคนทั่วไป ที่ต้องเอาชีวิตไปสังเวยพวกเมาแล้วขับ เมาแล้วกระทำชำเรา หรือเมาแล้วเลวต่างๆ นานา ไม่ว่าจะสุราจาก พ.ร.บ.ไหนๆ ก็วิบัติพอกัน... แทนที่จะหาทางทำให้คนไทยลดการดื่มสุราต่อวัน (ซึ่งสูงมากกกกก) น่าจะดีกว่ากระมังครับ... เอ๊ะ หรือผมเองที่วิปริต

ชายคนหนึ่ง
- Sunday, July 22, 2001 at 15:05:44 (EDT)

lสนับสนุนค่ะ เพราะเป็นภูมิปัญญาของคนพื้นบ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ซึ่งเค้าเหล่านั้นจะนำเอาผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูป ถ้ารัฐให้บุคคลากรที่มีความรู้ มาช่วยแนะนำและดูแล ซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์มีมาตรฐานขึ้น ซึ่งจะนำมาเป็นรายได้ของกลุ่มเกษตรกร ทั้งยังเป็นการกระจายรายได้ให้กับหมู่บ้านด้วย
วาเนสซา พลอำมาตย์ <vanessamodel@hotmail.com>
- Sunday, July 22, 2001 at 12:35:14 (EDT)