สารคดี ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๐๓ เดือน มกราคม ๒๕๔๕ "Alien Species การรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น"

จัดระเบียบสังคม : ยอมหักไม่ยอมงอ
ทางออกปัญหาเยาวชนและคนกลางคืน

จัดระเบียบสังคม : ยอมหักไม่ยอมงอ ทางออกปัญหาเยาวชน และคนกลางคืน
(ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณ คลิกที่นี่)
เกษร สิทธิหนิ้ว : รายงาน / ชัยชนะ จารุวรรณากร : ถ่ายภาพ
      "สั่งเด้ง ผกก. สน. บางกอกใหญ่"--กรุงเทพฯ
      "ตร. ตรวจเข้มผับเชียงใหม่"--เหนือ
      "ผู้ว่าฯ สตูลสั่งปิดผับแอบเปิด"--ใต้
      "ย้ายด่วนยก สน. หลังปุนำทีมโผล่กลางดึก"--อีสาน
      "แจ้งข้อหาพัทยาปล่อยเด็ก ๑๘ เที่ยวผับ"--ตะวันออก
      นโยบายจัดระเบียบสังคมของ ร.ต.อ. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อาจเป็นแค่ข่าวเล็ก ๆ หากนโยบายนี้หยุดอยู่แค่การโซนนิ่งสถานบันเทิงเหมือนอย่างที่เริ่มในตอนต้น
      แต่...นับจากวันนั้น "ปฏิบัติการ" เพื่อจัดระเบียบสังคมตามแนวทางของมหาดไทย ก็ค่อย ๆ ทยอยออกมา กระแสที่คิดว่าเป็นเรื่องเล็ก กลับกลายเป็นเรื่องใหญ่ และมีทีท่าว่าขึงขังเอาจริงเอาจังกับทุกท้องที่
      พร้อม ๆ กันนี้สื่อมวลชนทุกแขนงก็รายงานความเคลื่อนไหวของปฏิบัติการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่การโซนนิ่งสถานบันเทิง, กำหนดให้สถานบริการปิดตีสอง, ตรวจบัตร-ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า ๒๐ เข้าสถานบริการ, ห้ามขายแอลกอฮอล์หลัง ๒๔.๐๐ น. และห้ามขายให้เด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี, ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปีออกจากบ้านหลัง ๒๒.๐๐ น. ฯลฯ
      ..........................
      หลังจากหย่อนยานมากว่า ๓๕ ปี พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ ก็ถูกหยิบยกมาใช้อย่างจริงจังที่สุด นับแต่ประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้มา
      จากฐานความคิดที่ว่า ยาเสพย์ติดและการมั่วสุมทางเพศเป็นตัวบ่อนทำลายเยาวชน ดังนั้นหนทางจัดการกับปัญหาก็คือควบคุมสถานบันเทิง ซึ่งเป็นสถานที่ล่อแหลมต่อการประพฤติตนออกนอกลู่นอกทาง
      พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ มาตรา ๓ ให้นิยาม "สถานบริการ" ว่า คือสถานที่ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการ โดยหวังในการค้า แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ สถานเต้นรำ รำวงประเภทที่มีและไม่มีหญิงพาร์ตเนอร์บริการ, สถานที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยมีหญิงบำเรอหรือมีที่พักผ่อนนอนหลับ หรือนวดให้ลูกค้า, สถานอาบน้ำ นวด หรืออบตัว ซึ่งมีผู้บริการให้แก่ลูกค้า และประเภทสุดท้ายคือสถานที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยมีดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง ประเภทหลังสุดนี้ไม่ต้องขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ 
      ในมาตรา ๗ ห้ามมิให้สถานบริการที่ขออนุญาต ตั้งอยู่ใกล้วัด สถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมตามศาสนา สถาบันการศึกษา สถานพยาบาล สโมสรเยาวชน หอพัก และไม่อยู่ในย่านที่อยู่อาศัย ซึ่งจะก่อความเดือดร้อนรำคาญให้แก่ประชาชนผู้อยู่อาศัย แต่เนื่องจากห้าปีที่ผ่านมา มีสถานบันเทิงที่ไม่จัดอยู่ในประเภทใดประเภทหนึ่ง ใน ๔ ประเภทนี้เกิดขึ้นจำนวนมาก เช่น ร้านคาราโอเกะ ผับขนาดเล็กที่เริ่มจากเป็นร้านอาหาร แล้วขยายกิจการในภายหลัง แต่มาตรการนี้ไม่สามารถใช้ควบคุมได้ แนวคิดเรื่องการโซนนิ่งจึงเกิดขึ้น
      มาตรา ๑๖ มีข้อกำหนดประการหลักว่า ห้ามผู้ที่อายุต่ำกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์ ซึ่งมิได้ทำงานในสถานบริการเข้าไปในสถานบริการ ระหว่างเวลาทำการ ห้ามมิให้รับผู้ที่อายุต่ำกว่า ๑๘ ปีบริบูรณ์เข้าทำงานในสถานบริการ ห้ามหญิงที่ไม่ได้ทำงานในนั้น เข้าไปในสถานบริการโดยไม่มีชายเข้ามาด้วย และผู้ที่เมาสุราก็ไม่อนุญาตให้เข้าไประหว่างเวลาทำการ 
      กฎหมายอีกสองฉบับที่ถูกนำมาใช้ และก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก คือ ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๑๒๓ (ปว. ๑๒๓) และประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๙๔ (ปว. ๒๙๔) ทั้งสองฉบับนี้ประกาศใช้ในปี ๒๕๑๕ เป็นช่วงก่อนเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ 
      ปว. ๑๒๓ มีขึ้นเพื่อป้องกันการชุมนุมประท้วงของนักเรียนนักศึกษา ด้วยการสกัดกั้นไม่ให้นักเรียนนักศึกษาออกไปมั่วสุมพูดคุยทางการเมืองกัน โดยให้สารวัตรนักเรียน ครู อาจารย์ มีอำนาจตรวจตราไม่ให้มีการชุมนุม 
      ส่วน ปว. ๒๙๔ เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อดูแลเด็กสองกลุ่ม คือ เด็กด้อยโอกาส เช่น เด็กกำพร้า เด็กเร่ร่อน อนาถา ไร้ที่พึ่งพิง โดยกรมประชาสงเคราะห์มีอำนาจจับกุมและนำมาอยู่ในความดูแลของกรมประชาสงเคราะห์ และใช้กับเด็กที่ประพฤติตนไม่สมกับวัย ก่อความไม่สงบเรียบร้อย ในกฎระเบียบของ ปว. ๒๙๔ มีข้อกำหนดหนึ่งว่าห้ามเด็กออกจากบ้านหลัง ๒๒.๐๐ น. ใช้บังคับกับเด็กเฉพาะกรณีที่มีความประพฤติไม่เหมาะสมกับวัย แต่ก่อนที่จะห้ามเด็กคนหนึ่งออกจากบ้านนั้น ต้องผ่านขั้นตอนการตักเตือน ทำทัณฑ์บน หากเด็กยังคงประพฤติตัวไม่เหมาะสม มาตรการเด็ดขาดที่ใช้คือห้ามเด็กคนนั้นออกจากบ้านหลัง ๒๒.๐๐ น.
      เมื่อนโยบายจัดระเบียบสังคมจะนำกฎหมายที่ออกมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๙ และ พ.ศ. ๒๕๑๕ มาใช้ใน พ.ศ. ๒๕๔๔ คำถามที่ตามมาจึงมีว่า กฎหมายดังกล่าวเหมาะสมเพียงใดกับสภาพสังคมปัจจุบันที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับเมื่อ ๓๐ กว่าปีก่อน 
      แม้เงื่อนไขบางประการจะผ่อนปรนยืดหยุ่นแล้ว และโดยหลักการจะมีเสียงสะท้อนในเชิงสนับสนุนมาก แต่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยก็ตั้งคำถามกับวิธีการที่นำมาใช้ว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกทางหรือไม่ ขอบเขตการใช้อำนาจหน้าที่เป็นอย่างไร และมองไปถึงผลกระทบที่ขยายวงกว้างไปยังส่วนอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วย
      ในขณะที่อีกฝ่ายก็เชื่อว่า มาตรการเด็ดขาดจะสามารถทำให้สังคมดีขึ้นกว่าที่เป็น เพราะ "สังคม" มีองค์ประกอบที่หลากหลาย ดังนั้นการจัดระเบียบจึงต้องเกี่ยวข้อง และจัดการกับหลายสิ่งหลายอย่างไปพร้อมกัน แม้ว่าจะมีผลกระทบที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น 
      ถ้าคุณเป็น เคยเป็น หรือกำลังจะเป็นบุคคลต่อไปนี้ 
      ผู้ปกครอง เด็กและเยาวชน
      การจัดระเบียบสังคมและปัญหาเด็ก-เยาวชนและคนกลางคืน" ก็เป็นเรื่องที่คุณไม่อาจเพิกเฉยได้

ร่วมแสดงความคิดเห็น สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
คลิกที่นี่


อ่านสนับสนุนต่อ คลิกที่นี่วัลลภ ตังคณานุรักษ์
สมาชิกวุฒิสภา
อ่านคัดค้านต่อ คลิกที่นี่สุรัตน์ โหราชัยกุล
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ส นั บ ส นุ น

  คั ด ค้ า น  

  • การนำนโยบายการจัดระเบียบสังคม มาแก้ปัญหายาเสพย์ติด และการมั่วสุมทางเพศ เป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดแล้ว
  • ไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน 
  • สิ่งที่ต้องทำคือ จัดการสิ่งที่เลว และสร้างสิ่งที่ดี ให้แก่เด็กและเยาวชน
  • กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้ คือกลุ่มที่เสียผลประโยชน์ จึงไม่ควรไปสนใจ
  • การจัดระเบียบสังคม มีจุดมุ่งหมายอย่างไรกันแน่ และจะกระทบต่อเสรีภาพ ของประชาชนมากน้อยแค่ไหน 
  • คนหลายอาชีพได้รับความเดือดร้อน
  • มาตรการจัดระเบียบสังคม ถือเป็นการบั่นทอนวัฒนธรรม ทางความคิดของเยาวชน
  • การแก้ปัญหาต้องคิดถึงสภาพความเป็นจริง มีทางออกให้แก่คนที่ได้รับผลกระทบ เจาะจงกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน พิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ
อ่านฝ่ายสนับสนุน คลิกที่นี่
click here
อ่านฝ่ายคัดค้าน คลิกที่นี่
click here
กลับไปหน้า สารบัญ

แสดงความคิดที่ สารคดีกระดานข่าว (Sarakadee Board)

แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
ต้องการ แสดงความคิดเห็นเพิ่ม คลิกที่นี่


แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น เ พิ่ ม เ ติ ม

ชื่อ-สกุล: *
E-Mail:
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม: *
*

 

พบเห็น ข้อความไม่เหมาะสม กรุณาช่วยกันแจ้ง ผู้ดูแลเว็ป (WebMaster) ขอบคุณครับ

แลŒวเรื่องการโฆษณา บุหรี่และ สุราล‹ะ
ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม
- Tuesday, December 28, 2004 at 04:48:39 (EST)

ผมเห็นด้วยกับการจัดระเบียบสังคม เพราะทุกส่ิงทุกอย่างหากเข้ารูปเข้ารอยแล้วดูเป็นระเบียบเรียบร้อยดูก็งามตา ประเทศชาติก็จะเจริยเติบโตได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย อีกอย่างหน่ึงก็ให้เยาวชนของชาติเจริยเติบโตข้ึนมาอย่างมีประสิทธิ์ภาพ
ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม
- Thursday, July 10, 2003 at 03:50:14 (EDT)

ผมเห็นด้วยกับการจัดระเบียบสังคม เพราะทุกส่ิงทุกอย่างหากเข้ารูปเข้ารอยแล้วดูเป็นระเบียบเรียบร้อยดูก็งามตา ประเทศชาติก็จะเจริยเติบโตได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย อีกอย่างหน่ึงก็เป็นการป้องกันเยาวชนของชาติเจริยเติบโตข้ึนมาอย่างมีประสิทธิ์ภาพ
ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม
- Thursday, July 10, 2003 at 03:49:00 (EDT)

ผมเห็นด้วยต่อการจัดระเบียบสังคมของรัฐบาลชุดนี้เป็นอย่างยิ่ง ผมว่านะครับน่าจะทำมาตั้งนาน แล้วแต่เพราะเมื่อก่อนมีเรื่องส่วยเรื่องผลประโยชน์มาเป็นส่วนใหญ่ หวังรัฐบาลชุดนี้จะทำให้สังคมของไทยแผ่นดินของไทยสูงขึ้นกว่าเดิมนะครับ
ภูมิ สุพรรณ์ <poom008@hotmail.com>
- Saturday, June 28, 2003 at 07:12:37 (EDT)

สนับสนุน เพราะว่าเป็นเรื่องดีมาก
ที่เยาวชนจะต้องทำตัวเป็นเยาวชน
ที่่ดีในอนาคต

วิทยา ใจวังเย็น
- Wednesday, June 25, 2003 at 10:11:55 (EDT)

สนับสนุน เพราะว่าเป็นเรื่องดีมาก
ที่เยาวชนจะต้องทำตัวเป็นเยาวชน
ที่่ดีในอนาคต

วิทยา ใจวังเย็น
- Wednesday, June 25, 2003 at 10:11:53 (EDT)

ผมว่านะเป็นสิ่งดีและเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งช่วยทำให้แผ่นดินไทยได้สูงขึ้น
วิทยา ใจวังเย็น
- Sunday, June 22, 2003 at 02:19:53 (EDT)

เห็นด้วยกับการจัดระเบียบสังคมอย่างยิ่งค่ะ ทุกวันนี้วัยรุ่นไทยเรียกว่า ขาดการควบคุมตัวเอง รับผิดชอบไม่เป็น พอเกิดปัญหาขึ้นมาก็โวยวายว่า เป็นเพราะพ่อแม่ไม่ดี ขอให้นโยบายนี้ดำเนินต่อไปน่ะค่ะ เพื่อสิ่งที่ดีที่จะเกิดขึ้นต่อบ้านเมือง อเมริกาเค้าประเทศใหญ่กว่าเราตั้งหลายเท่าเค้ายังออกกฎหมายเหล่านี้มาใช้กับคนของเค้าได้ และคนของเค้าก็มีความรับผิดชอบดีด้วย ที่จะไม่ขายเหล้าบุหรี่ให้กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 และเด็กเค้าก็จะรับผิดชอบตัวเองด้วยที่จะไม่สูบบุหรี่หรือดื่มเหล้า
ก็ขอให้ผู้ที่คัดค้าน มองดูบ้านเมืองหน่อยน่ะค่ะ อย่ามองดูแต่ว่ากระเป๋าตังตัวเองแฟบไปเพราะวัยรุ่นไม่เข้าไปใช้บริการ

สนับสนุน
- Wednesday, July 31, 2002 at 21:04:52 (EDT)

อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับ 6 เขต โซนนิ่งสถานบริการ เพื่อนำไปทำรายงาน
รัชนี <tqm@bumrungrad.com>
- Monday, July 22, 2002 at 04:58:18 (EDT)

ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ เพราะผมเจอมาด้วยตนเอง คือ มีการเปิดร้านคาราโอเกะแบบเปิดที่ละแวกบ้านผม (บ้านเลขที่ 382 อยู่ด้านหลังโลตัสพระราม 4) ซึ่งส่งเสียงรบกวนอย่างมาก โดยเฉพาะช่วงกลางคืน ทางร้านจะเปิดถึงตี 1 เป็นประจำ ผมได้สังเกตว่ามีร้านลักษณะดังกล่าวเปิดอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะที่เป็นห้องแถว ไม่รู้ว่าท่านอื่นที่อยู่ใกล้กับร้านได้รับความเดือดร้อนเหมือนผมหรือไม่ ....ถ้ากฎหมายสามารถระบุได้ชัดเจนว่า ร้านคาราโอเกะดังกล่าว จะเปิดทั่วไปไม่ได้ จะเป็นสิ่งที่ดีมากครับ (ตอนนี้ถ้าแจ้งตำรวจ แล้วก็แค่สามารถลดเสียงลงมาได้ แต่พอตำรวจกลับไปก็เสียงดังเหมือนเดิม)
anupong teerasin <jongjia@hotmail.com>
- Tuesday, July 02, 2002 at 02:53:20 (EDT)

เห็นด้วยกับการกำหนด zoning และกำหนดอายุค่ะ
และขอให้เคร่งครัดต่อมาตรการ ที่ออกมาอย่างสม่ำเสมอไม่ใช่ ขึ้นกับผู้นำนโยบายเอาจริงก็ทำ พอหมดกระแสก็เลิก

juntra t <juntra@mbox.roynet.co.th>
- Monday, June 24, 2002 at 23:51:20 (EDT)

ความเจริญสับสนที่มาพร้อมกับความถดถอยของสังคม ในเรื่องนี้ใครเห็นบ้างว่าขนาดของครอบครัวเปลี่ยนไป แล้วมีใครเห็นใจหัวอกพ่อแม่บ้าง สมาชิกในครอบครัวเป็นความหวัง แต่ก็กลัวกับการเผชิญสังคมภายนอก ที่สมาชิกอาจอ่อนแอกว่า
Thitarree Jirakulsomchok <firstaun@hotmail.com>
- Friday, June 21, 2002 at 00:18:46 (EDT)

ผมเห็นด้วยอย่างไม่ต้องคิด ควรส่งเสริมให้เยาวชนเอาเวลาไปสร้างสรรค์ในสิ่งที่เกิดประโยชน์จะดีกว่า ควรจะตัดไฟแต่ต้นลม เพราะไม่ใช่เจ้าพวกนี้เองหรือที่มีส่วนทำให้สังคมฟอนเฟะน่ะ ปิดไปเลยได้เลยยิ่งดี ไปดูงิ้วดูลิเกยังดีกว่าอีก
รักเมืองไทย <กฤษณา>
- Friday, June 14, 2002 at 07:02:25 (EDT)

ปลายเหตุครับ เรื่องเด็กเที่ยวหนะ
เด็กไม่มีที่แสดงออกต่างๆ ไม่มีกิจกรรมต่างๆให้เลย ชีวิตประจำวันมีแต่ความกดดัน ไม่รู้จะระบายออกทางไหน หาทางออกให้พวกเขาด้วยเถอะ
ผมเคยเป็นเด็กเคยเที่ยว แต่ว่าผมก็เลิกแล้วเที่ยวแล้วก็เบื่อหมดวัยก็เลิกเอง สอนให้เด็กใช้ความยับยั้งชั่งใจบ้างเถอะคุณๆ

ทศพร
- Saturday, April 20, 2002 at 02:16:47 (EDT)

เห็นด้วยอย่างมาก เพราะสังคมกำลังจะแย่ลงไปทุกที ผู้ที่เสียผลประโยชน์ควรมีสำนึกบ้างว่าคุณทำผิดกฎหมายหรือเปล่า และสังคมขาดคนดีที่จะกล้าคิดกล้าทำไม่เห็นกับผลประโยชน์ พอมีคนกล้าทำก็โวยวายเพราะสูญเสียผลประโยชน์ เยาวชนของชาติกำลังย่ำแย่ช่วยกันหาทางแก้ไขเถอะครับ คิดว่าเป็นลูกหลานคุณ
สันติ สุดมุข <sudmukh@chaiyo.com>
- Wednesday, April 03, 2002 at 03:55:49 (EST)