สารคดี ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๐๖ เดือน เมษายน ๒๕๔๕
สารคดี ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๐๖ เดือน เมษายน ๒๕๔๕ "ดิกชันนารีชีวิตของสอ เสถบุตร"
นิตยสารสารคดี Feature Magazine ISSN 0857-1538
  ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๐๖ เดือน เมษายน ๒๕๔๕  

มาตรการขั้นเด็ดขาด กับคนเมายาบ้าจับตัวประกัน

มาตรการขั้นเด็ดขาด กับคนเมายาบ้าจับตัวประกัน
(ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณ คลิกที่นี่)
เกษร สิทธิหนิ้ว : รายงาน, ภาพ
      คงไม่มีเหตุการณ์คนเมายาบ้าจับตัวประกันครั้งใด "ช็อกความรู้สึก" คนทั่วไปได้เท่ากรณีที่เกิดขึ้นกับนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งต้องเสียชีวิตลงอย่างน่าสลดใจ หลังจากถูกจับเป็นตัวประกันนานหลายชั่วโมง

      แม้เหตุการณ์จะจบลงที่คนร้ายถูกฝูงชนพร้อมใจรุมประชาทัณฑ์จนเสียชีวิต แต่เรื่องทั้งหมดก็ไม่ได้ยุติเพียงเท่านั้น นอกเหนือจากความรู้สึกสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของครอบครัวเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายแล้ว ข้อเรียกร้องให้มีการแก้กฎหมายอันเกี่ยวเนื่องกับการวิสามัญฆาตกรรมเพื่อให้ตำรวจสามารถ "จัดการ" ขั้นเด็ดขาดกับคนร้ายที่ "เมายาบ้าจับตัวประกัน" ได้ทันท่วงที ก็เป็นผลสืบเนื่องอีกประการหนึ่งจากกรณีสะเทือนขวัญครั้งนี้
      ปัจจุบัน กฎหมายที่ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่รัฐในการใช้อาวุธปืนจัดการกับคนร้าย ได้แก่ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. ๒๔๗๙ ซึ่งให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานเรือนจำในการใช้อาวุธปืนเพื่อป้องกันเหตุร้าย
      - มาตรา ๑๗ บัญญัติว่า
      "เจ้าพนักงานเรือนจำอาจใช้อาวุธปืนแก่ผู้ต้องขังได้ในกรณีดังต่อไปนี้
      (๑) ผู้ต้องขังไม่ยอมวางอาวุธ เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้วาง
      (๒) ผู้ต้องขังที่กำลังหลบหนีไม่หยุด ในเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้หยุด และไม่มีทางเลือกอื่นที่จะจับกุมได้
      (๓) ผู้ต้องขังตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไป ก่อความวุ่นวายหรือพยายามใช้กำลังเปิดหรือทำลายประตูรั้วหรือกำแพงเรือนจำ หรือใช้กำลังทำร้ายเจ้าพนักงานหรือผู้อื่น และไม่ยอมหยุดในเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้หยุด
      การที่เจ้าพนักงานเรือนจำผู้มีอำนาจเหนือตนอยู่ในที่นั้นด้วย จะใช้อาวุธปืนได้ก็ต่อเมื่อได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานผู้นั้นแล้วเท่านั้น"
      - มาตรา ๒๑ บัญญัติว่า
      "เจ้าพนักงานเรือนจำผู้ใช้อำนาจที่ได้ให้ไว้ในหมวดนี้โดยสุจริตและตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ ไม่ต้องรับผิดชอบทั้งทางแพ่งและทางอาญาในผลแห่งการกระทำของกฎหมาย"
      และ ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นการใช้อาวุธปืนเพื่อป้องกันตนเองหรือผู้อื่นตามหลักป้องกันของบุคคลทั่วไป มาตรา ๖๘ บัญญัติว่า
      "ผู้ใดต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนเองหรือผู้อื่นให้พ้นจากภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด"
      หลักการป้องกันตามมาตรา ๖๘ นี้ใช้ได้กับประชาชนทั่วไปและเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น ตำรวจ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ศุลกากร ฯลฯ
ทั้งหมดนี้คือกฎหมายที่ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ในการใช้อาวุธปืนในการจัดการกับเหตุการณ์ร้ายต่าง ๆ ตลอดมา ทว่าหลังเหตุการณ์คนเมายาบ้าจับตัวประกันในครั้งนั้น มาตรการดังกล่าวดูจะไม่เพียงพออีกต่อไป
      "ผู้ใหญ่" หลายท่าน รวมถึงประชาชนจำนวนมาก แสดงความเห็นว่าควรแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ตำรวจมีอำนาจเพิ่มขึ้นในการใช้อาวุธปืนจัดการกับคนร้ายเพื่อช่วยเหลือตัวประกัน ด้วยเห็นว่ากฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันทำให้ตำรวจไม่กล้าตัดสินใจใช้วิธีเด็ดขาด จนส่งผลให้เกิดโศกนาฏกรรมตามมา
      ขณะเดียวกันก็ยังมีอีกหลายฝ่าย อาทิ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นักวิชาการ ที่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว โดยมองเรื่องความเสมอภาคของบุคคลตามกฎหมายเป็นหลัก
      อย่างไรก็ตาม เรื่องหนึ่งที่ควรพิจารณาก็คือ ก่อนหน้าเหตุการณ์สะเทือนขวัญครั้งนี้ เคยมีเหตุการณ์คนร้ายเมายาบ้าจับตัวประกันปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์อยู่เป็นระยะ หากก็ไม่ได้มีการออกมาเรียกร้องให้แก้กฎหมายหรือเพิ่มกฎหมายอันเกี่ยวเนื่องกับการวิสามัญฆาตกรรมแต่อย่างใด
      ถ้าเช่นนั้นแล้ว กฎหมายใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิสามัญฆาตกรรมนั้นบกพร่อง สมควรจะมีการแก้ไขจริงหรือไม่ ? หรือแท้จริงแล้ว ยังมีอะไรบางอย่างซ่อนอยู่ภายใต้ข้อเรียกร้องเหล่านั้น ?
      มันอาจจะเป็นการดีที่เราจะกลับมาทบทวนความคิดของเราอีกครั้ง หลังจากที่อารมณ์คุกรุ่นและความเศร้าสลดทุเลาลง แม้ว่าการทบทวนถึงกระแสเรียกร้องเหล่านี้จะไม่ได้มุ่งหมายไปที่การแก้หรือไม่แก้กฎหมาย แต่อย่างน้อยมันคงทำให้เรา "เห็น" อะไรบางอย่างในสังคมของเราได้ชัดเจนขึ้น

ร่วมแสดงความคิดเห็น สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
คลิกที่นี่


อ่านสนับสนุนต่อ คลิกที่นี่จตุพล ชมภูนิช
พิธีกร, นักพูด
อ่านคัดค้านต่อ คลิกที่นี่สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ส นั บ ส นุ น

คั ด ค้ า น

  • ก่อนวิสามัญฆาตกรรมต้องผ่านกระบวนการตามกฎหมายก่อน แต่ก็ควรใช้มาตรการเด็ดขาดเพื่อรักษาชีวิตพลเมืองดี ๆ เอาไว้
  • ถ้าตัวประกันเป็นญาติพี่น้อง ของคนที่บอกว่าสิทธิมนุษยชนเท่าเทียมกัน คนเหล่านั้นอาจจะมองเรื่องสิทธิมนุษยชนได้น้อยลง
  • จะเอาอารมณ์ปรกติ ไปตัดสินอารมณ์ของคนที่เห็นเหตุการณ์โดยตลอดไม่ได้
  • ความรุนแรงของการรุมประชาทัณฑ์ไม่เกี่ยวกับอคติทางชนชั้นแต่อย่างใด
  • ในความเป็นจริงตำรวจสามารถวิสามัญฆาตกรรมคนร้ายได้ตามกฎหมายอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมีการเพิ่มเติมหรือแก้ไขกฎหมายแต่อย่างใด
  • การเรียกร้องในเรื่องนี้สะท้อนความรู้สึกที่เป็นอคติของคนชั้นกลางที่มีต่อชนชั้นล่าง และสะท้อนถึงความไม่มีวุฒิภาวะของสังคมโดยทั่วไป
  • สิ่งที่นักสิทธิมนุษยชนเรียกร้อง คือ เมื่อคนร้ายโดนจับแล้ว เขาย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาความผิดตามกระบวนการยุติธรรม
อ่านฝ่ายสนับสนุน คลิกที่นี่
click here
อ่านฝ่ายคัดค้าน คลิกที่นี่
click here
กลับไปหน้า สารบัญ

แสดงความคิดที่ สารคดีกระดานข่าว (Sarakadee Board)


แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน !

ต้องการ แสดงความคิดเห็นเพิ่ม คลิกที่นี่


แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น เ พิ่ ม เ ติ ม

ชื่อ-สกุล: *
E-Mail:
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม: *
*

 

พบเห็น ข้อความไม่เหมาะสม กรุณาช่วยกันแจ้ง ผู้ดูแลเว็ป (WebMaster) ขอบคุณครับ

กฎหมายดีอยู่แล้วแต่ตำรวจมักจะวิสามัญคนดีแต่ไม่วิคนร้าย
- <->
- Thursday, February 06, 2003 at 00:10:42 (EST)

ขอให้อาจารย์สมศักดิ์ และครอบครัวได้อยู่ในเหตุการณ์นั้นบ้าง ในฐานะเหยื่อ ขอบคุณครับ


ญาติผู้สูญเสีย
- Friday, August 16, 2002 at 00:17:32 (EDT)

เห็นด้วยอย่างยิ่ง ที่ควรจะกำจัดพวกเหล่านี้ ผมสงสารเหยื่อเคราะห์ร้าย ที่ถูกคนเมายาบ้า จับเป็นตัวประกัน อย่ามาบอกเลย ว่าคนเมายาบ้า มีสิทธิในการดำรงชีวิตอยู่ แล้วเหยื่อที่เขาทำร้ายจนเสียชีวิตล่ะ เขามีสิทธิอันใดไปทำให้เขาต้องสูญเสียโอกาสในการมีชีวิตอยู่ และมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพในโอกาสหน้า ดีกว่าพวกเมายาบ้า ที่ไม่ได้สร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคมอันใดเลย ผมยังจำติดตาเลย ภาพเหตุการณ์ในทีวี คนร้ายเมายาบ้า จับเด็กเล็ก 3 ขวบ เป็นตัวประกัน เอามีดแล่เนื้อพาดคอเด็ก โดยที่เด็กตกใจร้องไห้ ในมือหนึ่งยังถือถุงขนมกรอบอยู่ในมือ เวลาคนร้าย หิ้วเด็กวิ่งไปวิ่งมา ถุงขนมก็ห้อยโตงเตงอยู่ในมือเด็กตลอดเวลา จนในที่สุดเหตุการณ์ก็จบลงด้วยความเศร้า เด็กน้อยถูกมีดแล่เนื้อ เฉือนคอหอย หลอดลมขาด สิ้นใจตาย ในขณะที่ในมือของหนูน้อย ยังมีถุงขนมกรอบ กำติดมือด้วย คนที่เป็นพ่อเป็นแม่ เห็นแล้วคงสะเทือนใจ
somgran <ิีbutsom@kunmail.com>
- Tuesday, August 13, 2002 at 00:40:16 (EDT)

ทั้งสองฝ่ายไม่เห็นได้ค้านกัน
มาตรา68ก้ให้อำนาจตำรวจยิงได้แล้ว
ถ้าไม่กล้าใช้
ต่อให้มีกฎหมายใหม่
ก็ต้องมีเงื่อนไขอยู่ดี
ก็คงไม่กล้าใช้อีก

ที่สำคัญตำรวจไทยมีฝีมือพอหรือเปล่า

ในทางเทคนิคอาวุธที่ไม่ทำให้ตายในปัจจุบันไม่สามารถทำให้คนหยุดได้แน่นอนทันที
รวมทั้งปืนไฟฟ้าด้วย

คนค้ายาเสพติดมีโทษประหารอยู่แล้ว
เท่าที่จับได้มีของกลางมากๆ
ก็ไม่เห็นเป็นคนใหญ่โตอะไร

เป็นแต่เราจับเขาไม่ได้เอง

ทะแนะ
- Friday, August 09, 2002 at 12:58:48 (EDT)

ไม่เชิง มีอะไรที่มันไม่ใช่ " ปืน " ได้ไหม?
จิม แครรี่ <kamnon@thaimail.com>
- Monday, August 05, 2002 at 03:16:28 (EDT)

ถึงคุณสมศักดิ์
ผมว่าแนวคิดคุณสมศักดิ์ จะว่าถูกก็ถูก แต่ถูกไม่หมดจะว่าผิดก็ผิดไม่หมด เหมือน ผลลัพท์ เท่ากับ 2 มันมีวิธีคิดได้หลายวิธี 1 บวก 1 เท่ากับ 2 หรือ 2 คูณ 1 ก็เท่ากับ 2 หรือ 4 ลบ 2 ก็เท่ากับ 2 มันไม่มีอะไรเป็นสูตรสำเร็จโดยวิธีเดียว อย่างเช่นในกรณีที่นักศึกษาถูกจับเป็นตัวประกันและเสียชีวิต และเมื่อคนร้ายเมายาบ้าถูกจับแล้วโดนประชาทัณฑ์ ผมถามคุณสมศักดิ์ว่า แล้วตำรวจจะป้องกันอย่างไรได้ครับ ก็คุณรุมประชาทัณฑ์มีมากกว่าตำรวจ หรือจะให้ยกตำรวจทั้งกรมไปป้องกันคนร้ายไม่ให้ถูกประชาทัณฑ์ เอาไว้ทำไมครับ ของเน่าเสียคุณสมศักดิ์อยากจะกินนักหรือไง ของดี ๆ ต้องรักษาไว้ครับ โดยธรรมชาติของคน ถ้าชอบของเน่าเสียก็คือคนไร้สติ คนผิดปกติ หรือที่เราเรียกว่าคนบ้า ซึ่งก็ไม่ต่างกับคนเมายาบ้าแล้วจับคนเป็นตัวประกัน ซึ่งจริง ๆ แล้วผมก็ไม่ได้เห็นด้วยกับการประชาทัณฑ์ แต่คนอยู่ในเหตุการณ์แล้ว อดใจไว้ไม่อยู่ จะไปโทษใครครับ หรือคุณสมศักดิ์ คิดว่าจะป้องกันอย่างไรไม่ให้คนรุมประชาทัณฑ์ แล้วผมกล้ารับรองได้ว่าคนที่รุมประชาทัณฑ์นั้น ไม่ใช่คนชั้นกลางน่ะครับ คุณอ้างว่าคนชั้นกลางเจ็บแค้นที่ลูกหลานถูกจับเป็นตัวประกัน ถ้าเป็นคนชั้นล่าง ชั้นเดียวกับคนเมายาบ้าคนชั้นกลางจะไม่เจ็บแค้นแทน ก็เท่ากับคุณดูถูกคนชั้นกลางมากไปแล้ว ผมรับรองได้ว่าคนทุกชั้นมีความเอื้ออาทรต่อครอบครับของผู้ที่ได้เคราะห์กรรมที่ไม่สมควรจะเกิด ไม่ได้แยกว่าจะเป็นคนชั้นใดหรอกครับ

คนไทย
- Tuesday, July 23, 2002 at 23:38:45 (EDT)

เห็นด้วย ที่ให้ตำรวจดำเนินการขั้นเด็ดขาดได้ เนื่องจากคนเมายาบ้าจะฆ่าคนบริสุทธิ์ใด้ทุกเมื่อ แม้แต่ลูกของตนเอ็ง เพื่อสิทธิอันชอบธรรมของเหยื่อผู้บริสุทธิ์

นายชรินทร์ ศิลป์พิสุทธิ์ <siamadventures@Hotmail.com>
- Saturday, July 06, 2002 at 10:19:12 (EDT)

น่าประหลาดใจนะคะที่ทุกคนคิดหามาตรการกับผู้เสพยาซึ่งเป็นปลายเหตุ แต่กับผู้ผลิตและผู้ขายหละคะ มีมาตรการลงโทษที่เหมาะสมหรือยัง หรือเป็นเพราะมีอำนาจมีบารมีล้นฟ้าจนไม่มีใครกล้าแตะต้อง?
ดิฉันคิดว่าถ้าควบคุมตั้งแต่ต้นเหตุได้คงจะดีกว่าค่ะ

ปริศา ธนะฤทธิโรจน์ <thanaritiroj_parisa@hotmail.com>
- Wednesday, July 03, 2002 at 14:47:39 (EDT)

เห็นด้วย แค่คนร้ายส่อเจตนาที่จะทำร้ายผู้อื่นก็สามารถตัดสินใจได้แล้วว่าควรจะทำอย่างไร มันไม่คุ้มกันหรอกระหว่างคนที่ติดยากับประชาชนที่ดี ๆ ลองเลือกดูสิครับ และอีกอย่างมันเหมือนจะเป็นการเตือนให้แก่ผู้ร้ายรายอื่น ๆ ด้วยว่าคุณไม่รอดแน่
NothingZ <--------@hotmail.com>
- Sunday, June 30, 2002 at 04:17:08 (EDT)

กรณีที่มีเหตุคนเมายาบ้าจับคนเป็นตัวประกันนั้น หากจะมีการวิสามัญ ก็ต้องให้เป็นดุลพินิจของตำรวจ ว่าขณะนั้นสถานการณ์เป็นอย่างไร ความเป็นไปได้ในการวิสามัญ ความคุ้มครั่งของผู้เมายาบ้า อายุของตัวประกัน การตัดสินใจในการเข้าช่วยตัวประกันเป็นสิ่งที่ต้องกระทำในเวลาอันรวดเร็ว และต้องปลอดภัย หากเกิดความผิดพลาดอาจเป็นตตัวตำรวจเองหรือตัวประกันที่จะเสียชีวิตซึ่งมันไม่คุ้มกัน
มาโนช น้อยนา <marno@thaimail.com>
- Thursday, June 06, 2002 at 05:23:39 (EDT)

ไปฆ่าคนขายจะดีกว่า ฆ่ามันให้หมดไปซะ ทั้งนอกสภาทั้งในสภานั่นแหละ ลองคิดดูสิถ้าไม่มีเหตุแล้วผลเลวๆอย่างนี้จะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
kkd
- Friday, May 10, 2002 at 00:22:31 (EDT)