Click here to visit the Website

กระท้อน และเตียน (KraTorn and Tian) กล้วยเล็บมือนาง (banana) กะทกรก, รกช้าง (KaTogRog, RogChang) มะดัน (Madan)
มะกอกฝรั่ง (MaKork Farang)      (2/2 ผลไม้พื้นเมือง ต่อจากหน้าที่แล้ว)
     นอกจากนี้ ผลไม้พื้นเมือง หลากหลายชนิด กอปรด้วย สรรพคุณทางยา ซึ่งคนโบราณ นำมาใช้ประโยชน์แพร่หลาย อาทิ...
  • ผลสมอไทย - ผลอ่อน ช่วยขับถ่าย ผลแก่ ช่วยฝาดสมาน รักษาอาการ ท้องเดิน ลมจุกเสียด ร้อนใน กระหายน้ำ

  • มะเฟือง - ขับเสมหะ แก้คออักเสบ แก้โรคนิ่วในไต หรือในกระเพาะปัสสาวะ

  • มะดัน - บำรุงโลหิต ขับเสมหะ ระบายอ่อน ๆ สรรพคุณใกล้เคียง มะเฟือง

  • ตะลิงปลิง - ช่วยเจริญอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ลดไข้

  • มะกอกป่า - ดูแลธาตุในร่างกาย แก้โรคธาตุพิการเพราะน้ำดีไม่ปรกติ แก้บิด ผลสุกแก้เลือดออกตามไรฟัน

  • จำปาดะ - สรรพคุณเสมอ ขนุน คือ ผลอ่อน ช่วยฝาดสมาน แก้ท้องเสีย เนื้อผลสุก บำรุงกำลัง ระบายอ่อน เม็ด ช่วยขับน้ำนม ในสตรีหลังคลอด บำรุงร่างกาย

  • มะม่วงหิมพานต์ - ผลมีฤทธิ์แก้ กลากเกลื้อน โรคผิวหนัง เนื้อในเมล็ด มีส่วนประกอบของ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และวิตามิน สูงกว่าผลไม้อื่นใด นอกจากนี้ ส่วนต่างๆ ของ มะม่วงหิมพานต์ ตั้งแต่ราก ลำต้น เปลือกลำต้น ใบ ผล เนื้อในเมล็ด เปลือกหุ้มเมล็ดใน และ เยื่อหุ้มเมล็ดใน ล้วนมีประโยชน์ทั้งสิ้น

จำปาดะ (JamPaa Da)
จำปาดะ
นมควาย, หมากพิพ่าน (อีสาน) (Nom Kwai)      ในเชิงวัฒนธรรมประเพณี ผลไม้เหล่านี้ แสดงบทบาท โดดเด่นที่สุด ใน "พิธีกรรม แห่งเดือนสิบ" ตามชนบท หรือหัวเมือง ทั่วทุกภาค ของไทย ซึ่งเรียกชื่อแตกต่างกัน ว่า "บุญข้าวสาก" (อีสาน) "ตานก๋วยสลาก" (เหนือ) "สารทเดือนสิบ" (ใต้) ผลไม้พื้นบ้าน จะถูกใช้เป็น องค์ประกอบหลักหนึ่ง ในงานบุญครั้งนี้ โดยเฉพาะ ชาวปักษ์ใต้ แต่ละครัวเรือน จะนำข้าวปลาอาหาร และผลไม้ ที่หาได้ ในท้องถิ่น เช่น ทุเรียนบ้าน ลองกอง มังคุด มะมุด ลูกเนียง สะตอ จัดเป็นสำรับ สวยงาม ทำบุญ อุทิศส่วนกุศล ให้แก่บรรพบุรุษ ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เน้นย้ำว่า ต้องผลไม้พื้นบ้าน บางคนอธิบายว่า เป็นรสชาติที่ บรรพบุรุษคุ้นเคยนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม มันก็ปรากฏ ภาพความสัมพันธ์ ที่มีต่อธรรมชาติ และอำนาจ นอกเหนือธรรมชาติ ของชาวชนบท อยู่ชัดเจน
     ละไม (LaMai)ในแง่ปัจเจกชน... ใครบางคน เมื่อไดักลืนกิน ลูกหว้า ตะขบ มะไฟ ลูกหวาย หรือ สมอไทย เขามิได้กลืนกิน ความหรูหรา หรือรสนิยมเข้าไป หากเป็นวัยเด็ก ความสนุก ชีวิตเรียบง่าย ภายใน สวนหลังบ้าน จนกระทั่ง... วิถีชีวิตที่ผ่านเลย เป็นการกินอย่าง มีความสุข ซึ่งบัดนี้ มีแต่จะห่างหายไป...
มะขาม (MaKham)      สำหรับฤดูกาล ที่จะเสาะหา ผลไม้พื้นเมือง สามารถกำหนด คร่าวๆ ดังนี้
     ฤดูร้อน เดือนมีนาคม - พฤษภาคม: มะม่วง ลูกหว้า ระกำ มะปริง มะม่วงหิมพานต์ มะมุด (ภาคใต้)
     ฤดูฝน เดือนมิถุนายน - ตุลาคม: สมอไทย กระท้อน มังคุด ลางสาด ระกำ มะไฟ ตะขบ กะทกรก มะขาม มะเดื่อ มะกอกป่า มะกอกน้ำ มะกอกฝรั่ง มะม่าว (ข้าวเม่า) นมควาย กล้วยมูสัง ชับพลา จาก ทุเรียนเทศ ลูกหวาย สำหรับในภาคใต้ หน้านี้ ลองกอง ทุเรียนบ้าน เงาะบ้าน จำปาดะ หลุมพี ละไม กำไร ลูกเตียน ลูกหยี ลูกประ ลูกแกว็ด จะออกผล
     ฤดูหนาว เดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์: มะขาม มะขามเทศ มะขวิด มะตาด จาก มะม่วงหิมพานต์ ดูกู (ภาคใต้)
     ผลไม้ที่ให้ผล ตลอดทั้งปี คือ ฝรั่งบ้าน มะยม มะขามป้อม มะดัน กล้วยต่างๆ

มะขามป้อม (MaKham Pom)
สารบัญ | จากบรรณาธิการ | ผลไม้พื้นเมือง 1/2 | รพ. บางกระทุ่ม | ปลาบึก | กระถินณรงค์

Feature@sarakadee.com

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)