ผลไม้พื้นบ้าน (ภาคใต้)
.....ภาพหน้าปก สารคดี
ฉบับส่งท้าย ปีเสือ
เป็นผลไม้พื้นเมือง
หลากหลายชนิด ที่ชาวไทยพื้นถิ่น
หาเก็บ หากิน จากท้องถิ่นนั้นๆ
ตามฤดูกาล บางชนิด คนในเมือง
รู้จักมักคุ้น เป็นอย่างดี
บางชนิด เกิดมา ก็เพิ่งเคยเห็น
ครั้งนี้... บางชนิด หาได้จาก
สวนหลังบ้าน บางชนิด อยู่ริมทาง
ข้างคลอง หัวไร่ปลายนา บางชนิด
อยู่ในป่าเขา แหล่งธรรมชาติ
ต้องเดินทาง จึงจะได้กิน
.....ในความเป็นจริง
ผลไม้ป่า ผลไม้พื้นเมือง ของไทย
มีหลายร้อยชนิด แต่ละภาค
จะมีการกระจายของ ชนิดพันธุ์
แตกต่างกันออกไป ตามสภาพ
ภูมิอากาศ และสภาพพื้นที่
บางชนิด ก็พบได้ทั่วไป
แม้จะไม่มี การสำรวจ
อย่างเป็นทางการ
แต่เป็นไปได้ว่า ภาคใต้
น่าจะมีความหลาก ด้านชนิดพันธุ์
กว่าภาคอื่น ด้วยครอบคลุม
เนื้อที่ ป่าฝนเขตร้อน
อันอุดมสมบูรณ์
นอกจากเรื่องรสชาติ
กลิ่นของอาหาร ซึ่งเป็น
ความอร่อยเฉพาะตัว ตามความนิยม
ของแต่ละ ภูมิภาคแล้ว
ชาวปักษ์ใต้ ก็มิได้แตกต่าง
จากภาคอื่น สำหรับการบริโภค
ผลไม้พื้นบ้าน
คือกินผลไม้ หลายชนิด
.....ทั้งในรูปของ ผลไม้
และผัก ไม่ว่าจะเป็น ขนุน มะเดื่อ
มะดัน ตะลิงปลิง กล้วย หรือ
มะละกอ
.....ผลไม้พื้นบ้านนั้น
จะกินเล่น-กินจริง
ก็เหมาะทั้งสองสถาน กินกันได้
ทุกเพศ ทุกวัย จะเก็บกินเอง
หรือซื้อหา ก็สะดวก
และสนุกต่างกัน ที่สำคัญคือ
ประหยัด ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย
และปลอดสารพิษ จากยาฆ่าแมลง
เป็นการสะท้อน วิถีการดำรงชีพ
แบบไทยๆ ที่ผสานสัมพันธ์กับ
ธรรมชาติ เรียนรู้ที่จะปรับตัว
อยู่กับธรรมชาติ อย่างกลมกลืน
ในเดือนสิบไทย คนชนบท
หรือทั่วทุกภาค
จะใช้ผลไม้พื้นบ้าน
เป็นส่วนประกอบหลัก อย่างหนึ่ง
ของงานบุญ
อุทิศส่วนกุศล ให้ผู้ตาย
ชาวปักษ์ใต้ เรียกว่า
"สารทเดือนสิบ"
ช่วงเวลาดังกล่าว ชาวบ้าน จะนำ
ข้าวปล าอาหาร และผลไม้ ที่หาได้
ในท้องถิ่น อาทิ ทุเรียนพื้นบ้าน
เงาะ มังคุด มะมุด ลูกเนียง สะตอ
จัดเป็นสำรับ อย่างสวยงาม
เพื่อทำบุญ อุทิศส่วนกุศล
ให้บรรพบุรุษ ที่ล่วงลับไปแล้ว
.....ผลไม้ไทย เช่น สมอไทย
มะเฟือง มะดัน มีสรรพคุณทางยา
ขณะที่ ผลไม้พื้นเมือง บางชนิด
อาทิ ลองกอง ลางสาด เงาะโรงเรียน
ขนุน ได้รับความนิยม จากตลาด
มีการผสมพันธุ์ พัฒนาสายพันธุ์
แตกแขนงออกไป หลายพันธุ์
ทำให้ได้พันธุ์ที่ รสชาติดี
ให้ผลผลิตสูง จึงมีฐานะเป็น
ไม้ผลเศรษฐกิจ หรือ
ไม้ผลอุตสาหกรรม ไปในที่สุด
และ นั่นหมายถึง
วิถีการผลิตดั้งเดิม ที่เคยปลูก
เพื่อยังชีพ ได้เปลี่ยนแปลง เป็น
การปลูกเพื่อขาย
ซึ่งอาจส่งผลให้ ผลไม้พื้นเมือง
ในแหล่งธรรมชาติ ลดน้อยลง
ทั้งในแง่ของ พื้นที่ปลูก
และจำนวน ชนิดพันธุ์ นอกจากนี้
ภูมิความรู้ ในคุณค่าทางอาหาร
และประโยชน์ ทางยา ก็ค่อยๆ
รางเลือนไปด้วย
.....ลองกลืนกิน
"ผลไม้พื้นเมือง" ที่ สารคดี
นำเสนอ แล้วหวนระลึกถึง วัยเด็ก
ความสนุก และวิถีชีวิตแบบไทยๆ
ที่ท่านเคยประทับใจ-- ไปด้วยกัน
|
|
ผลไม้ พื้นเมือง (ภาคใต้) ความสุข
ที่คุณเด็ดได้
.....เคยกินบ้างไหม... ผลไม้
ที่ขึ้นในท้องถิ่น ตามฤดูกาล
ชาวบ้านเก็บกินได้ตามป่า
ไม่ต้องซื้อหา รสชาติจัดจ้าน
ที่หวาน ก็หวานจัด ที่เปรี้ยว
ก็เปรี้ยวจี๊ดจ๊าด บางชนิด
ก็ฝาดเฝื่อนเหลือใจ
แต่ชาวบ้านก็ยัง เสาะหามากิน
นอกจากเป็นการประหยัดแล้ว
ยังเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์
ปราศจากสารพิษตกค้าง
.....ในเชิง วัฒนธรรมแล้ว
การกิน ผลไม้พื้นบ้าน แสดงถึง
วิธีการ ดำรงชีพ แบบไทยๆ
ที่สัมพันธ์กับ ธรรมชาติ
(อ่านต่อ... คลิก)
ทางเลือก ของชาวบ้าน
ที่โรงพยาบาล บางกระทุ่ม
.....ที่โรงพยาบาล ขนาด ๓๐
เตียง ในอำเภอ บางกระทุ่ม จังหวัด
พิษณุโลก แพทย์
ไม่เพียงรักษาคนไข้
ด้วยยาฝรั่งเท่านั้น
หากมียาสมุนไพร ที่โรงพยาบาล
ผลิตขึ้นเอง
ให้คนไข้ ได้เลือกใช้ด้วย
.....การใช้ยาสมุนไพร
ภายใต้การควบคุม วินิจฉัย
ของแพทย์ แผนปัจจุบัน
ทำให้ชาวบ้าน
หวนคืนสู่ การแพทย์แผนไทย
ที่ตนคุ้นเคย ได้อย่างสบายใจ...
และสบาย กระเป๋าสตางค์
(อ่านต่อ... คลิก)
|