เจริญ ทองมา
ชาวประมงพื้นบ้าน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
การใช้ไฟล่อปลา
จะทำให้ ลูกสัตว์น้ำ ชนิดอื่น ติดอวนมาด้วย
จำนวนมาก ลูกปลาเหล่านี้ จะถูกขาย เป็นปลาป่น
ในราคา ไม่ถึง กิโลกรัมละ ๕ บาท ถ้าปล่อยให้
ลูกปลาเหล่านี้ โตขึ้น จะขายได้ กิโลละ หลายสิบ
ถึงหลายร้อยบาท
การแบ่งเขตจับปลา
ไม่ได้เป็น การแก้ปัญหา เพราะแสงไฟ สามารถดึงปลา
จากชายฝั่ง ออกไปได้
ชาวประมง
ที่ต้องการจับ ปลากะตัก ให้ใช้อวนล้อมจับ
เฉพาะเวลากลางวัน เพราะจะมี ลูกสัตว์น้ำ
ติดอวนขึ้นมา ไม่ถึง ๑๐ เปอร์เซ็นต์
|
|
....."ตอนที่เรือปั่นไฟ มาจับปลา
ที่สงขลาใหม่ ๆ เมื่อปี ๒๕๓๘ ผมเคยรับจ้าง
ขับเรือ ขนถ่ายปลา จากเรือปั่นไฟ มาขึ้นฝั่ง
เห็นว่า ปลาที่เขาจับได้ ประมาณ ๖๐ เปอร์เซ็นต์
เป็นปลากะตัก ส่วนที่เหลือ หนึ่งในสาม
เป็นปลาหลังเขียว นอกนั้นเป็น ปลาทู ปลาอินทรี
ปลากุเลา และลูกปลาเศรษฐกิจ เกือบทุกชนิด
ตอนนั้น เพิ่งมีเรือมาจาก ภาคตะวันออก ประมาณ ๓๐
กว่าลำ จำนวนปลาที่หายไป ก็ยังเห็นไม่ชัด พวกเรา
ก็ยังพอจับปลาได้ ไม่เดือดร้อน
ยังไม่มีความรู้สึกว่า ปลามันจะหมด
เพิ่งมาผิดสังเกตเอาตอน ปี ๒๕๓๙ เมื่อเรือปั่นไฟ
เริ่มมีมากขึ้น ประมาณ ๖๐ ลำ จากที่เรา
เคยมีรายได้ จากการจับปลา วันละ ๗๐๐-๘๐๐ บาท
ก็เริ่มลดลง ทีละน้อย จนกระทั่ง มาปีนี้
เรือปั่นไฟ เพิ่มขึ้น จนเกือบ ๔๐๐ ลำ
รายได้ก็ลดลง เหลือ ๒๐๐ บาท ต่อเรือหนึ่งลำ
พวกเรา เดือนร้อนมาก เพราะเรือลำหนึ่ง
ต้องใช้คนสามคน แต่ละคน ก็มีครอบครัว
รายได้เริ่มไม่พอกิน
....."พอจับปลาได้น้อยลง
พวกเราก็มาวิเคราะห์กันว่า เป็นเพราะอะไร
ปลาที่เราเคยจับได้ หายไปไหน เราก็พบว่า
ปลาส่วนใหญ่ ที่เราเคยจับได้
เป็นปลาชนิดเดียวกับที่ ติดไปกับอวนครอบ
ของเรือปั่นไฟปลากะตัก เพราะอวนจับปลากะตัก
เป็นอวนตาถี่ ขนาด ๐.๕ เซนติเมตร แม้แต่ยุง
ยังรอดยาก พวกลูกปลาตัวเล็ก ๆ
ที่เข้ามาเล่นแสงไฟ ก็เลยติดขึ้นไปกับ
อวนปลากะตัก ลูกปลาเหล่านี้
จะถูกขายให้โรงงานปลาป่น เอาไปทำอาหารเป็ด
อาหารไก่ กิโลกรัมละ ๕ บาท การที่ปลาถูกจับ
ตั้งแต่ยังไม่ถึงวัยเจริญพันธุ์ ทำให้ปลา
ลดลงเรื่อย ๆ ในปีต่อมา นอกจากนี้
เรือปั่นไฟบางลำ ยังใช้แก๊สหุงต้ม และแก๊สก้อน
อัดลงใต้ทะเล เพื่อให้ปลา ลอยขึ้นมาเหนือน้ำ
การจับปลาด้วยวิธีนี้ ทำให้ปลาหลายชนิด ตาย
และปะการังใต้ทะเล เสียหาย เนื่องจาก แรงดันแก๊ส
....."พวกเราเป็นชาวประมงพื้นบ้าน
ที่ใช้เครื่องมือจับปลา ประเภทอวน ซึ่งมีขนาด ตา
อวนต่าง ๆ กัน ตามขนาดของปลาที่จับ เราจะไม่ใช้
อวนตาถี่เกินไป เพราะจะทำให้ ลูกปลา
ที่ยังโตไม่เต็มที่ ติดมาด้วย ขนาดตาอวน เล็กสุด
ที่เราใช้คือ ประมาณ ๔.๗ เซนติเมตร
สำหรับจับปลาทู ใหญ่ขึ้นมาหน่อย ก็เป็นอวน ๘
เซนติเมตร สำหรับจับ ปลาจะละเม็ด อวนสำหรับจับปู
หรือปลาอินทรี ขนาดตาอวน ๑๐ เซนติเมตร ขึ้นไป
เราใช้เครื่องมือแบบนี้ มานาน โดยไม่เดือดร้อน
จนกระทั่ง เรือปั่นไฟเข้ามา
....."พวกเรือปั่นไฟ มักบอกว่า เรืออวนลาก
ทำลายพันธุ์ปลา มากกว่า แต่พวกเราเห็นว่า
ปลาที่ติดไปกับ เรืออวนลาก เป็นปลาคนละชนิด
กับที่เราจับ ปลาที่ติดไปกับ เรืออวนลาก
จะเป็นปลาหน้าดิน แต่ปลาที่พวกเราต้องการ
เป็นปลาผิวน้ำ ดังนั้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก
เรืออวนลาก จึงไม่เห็นชัดเจน เหมือนกับ
เรือปั่นไฟ ซึ่งจับปลาผิวน้ำ ที่พวกเราต้องการ
ติดไปด้วย
....."การแบ่งเขตจับปลา ไม่ใช่การแก้ไข
ถ้ายังปล่อยให้ ใช้ไฟ เหมือนเดิม ไม่ว่าจะปั่นไฟ
บริเวณน้ำลึก หรือน้ำตื้น คุณก็ยังจับลูกปลา
ติดไปด้วยเสมอ เพราะลูกปลาผิวน้ำ
จะว่ายเข้าหาแสงไฟ แม้ว่าข้อมูลของ กรมประมง
จะบอกว่า เรืออวนครอบ มีปลาชนิดอื่น ติดมาเพียง
๑๖ เปอร์เซ็นต์ แต่คุณลองคิดดูว่า
ถ้ามีเรืออวนครอบ หลายร้อยลำ ลูกปลา
จะติดมาจำนวนเท่าไหร่ ถ้ายังไม่ยกเลิก การปั่นไฟ
อีกหน่อย ปลาก็จะสูญพันธุ์ |