โลกบันเทิง |
คนกับหนังสือ |
|
- ข้อวิจารณ์ พจนานุกรม
ศัพท์วรรณกรรม : ภาพพจน์ โวหาร และกล การประพันธ์
อังกฤษ - ไทย ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน |
ภาพยนตร์ |
|
- แม่ที่หายไป ใน นางนาก |
|
|
|
โลกธรรมชาติ และวิทยาการ |
ส่องจักรวาล |
|
- เส้นทาง
สู่ความรู้เรื่อง เอกภพ (๔) ระยะทาง สู่ดวงดาว
ตอนที่ ๑ |
โลกธรรมชาติ |
|
- เรื่องราวของ
บ้านหินปูน ปะการัง |
โลกวิทยาการ |
|
- นกกาฝาก : กาเหว่า
|
คลื่นวิทย์ -
เทคโนฯ |
|
- มหัศจรรย์ แห่งชีวิต
(๒๕) |
สื่อภาษา
วิทยาศาสตร์ |
|
- โคลนนิง (cloning) |
|
|
แ ด่ ค น ชื่ อ ป๋ ว ย
....."๖ สิงหาคม ๒๕๔๒ มีโทรสารฉบับหนึ่ง
ส่งถึงสื่อมวลชน ในเมืองไทย ความว่า
....."ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (๒๔๕๙-๒๕๔๒)
ถึงแก่กรรม
.....ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการ
ธนาคาร แห่งประเทศไทย และอดีตอธิการบดี
มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ได้ถึงแก่กรรม ที่บ้าน ณ
กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม
๒๕๔๒ เนื่องจากเส้นโลหิตใหญ่ ในช่องท้อง โป่งแตก
(aortic aneurysm) อายุ ๘๓ ปี...
....."ทางครอบครัว ได้จัดการเผาศพ
ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม จากนั้น
จะบรรจุอัฐิ และประกอบพิธี ทางศาสนา
ที่ประเทศไทย ตามรายละเอียด ซึ่งจะแจ้งต่อไป
.....จอน อึ๊งภากรณ์ พีเทอร์, ไมตรี
อึ๊งภากรณ์ และ ใจ อึ๊งภากรณ์
(บุตร)".....สามัญชน คนธรรมดาคนหนึ่ง
จากไปอย่างสงบ ครอบครัวได้จัดการศพ
อย่างเรียบง่าย สมดังเจตนารมณ์ของท่าน
ที่เขียนไว้ในข้อเขียน "คุณภาพชีวิต
ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดา
ถึงเชิงตะกอน" ความตอนหนึ่งว่า
....."ตายแล้ว เผาผมเถิด อย่าฝัง คนอื่นจะได้มี
ที่ดินอาศัย และทำกิน และอย่าทำพิธีรีตอง
ในงานศพ ให้วุ่นวายไป"
.....อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นบุคคลหนึ่ง
ในจำนวนน้อยคนนัก ที่มีผลงาน และการอุทิศตน
เพื่อประโยชน์ของสังคม เสมอมา
เป็นทั้งครูสอนหนังสือ เป็นนักเศรษฐศาสตร์
เป็นนักพัฒนา เป็นนักมนุษยธรรม
ให้ความสนใจต่ออนาคต และโชคชะตา ของประเทศชาติ
และท้ายที่สุด เป็นบุคคลสำคัญ ทั้งในวงการ
ภายในประเทศ และวงการระหว่างประเทศ
ที่ถูกกล่าวขวัญถึงอยู่ เป็นประจำ*
.....เพื่อรำลึกถึง การจากไปของ อาจารย์ป๋วย
อึ๊งภากรณ์ สารคดี ขอเสนอบทความ สามเรื่อง
เขียนโดย ญาติ ศิษย์ และนักวิชาการ
ซึ่งสะท้อนให้เห็นชีวิต ผลงาน และแง่คิด มุมมอง
ที่ท่านทิ้งไว้แก่ ชนรุ่นหลัง
ลุงป๋วย ในชีวิตผม
- ยงยุทธ ยุทธวงศ์
....."ลุงป๋วยเปรียบเสมือน มาตรฐานทองคำ
ของครอบครัว เป็นตัวอย่างที่ พวกเรา
พยายามดำเนินรอยตาม เมื่อใครได้รับ
การเปรียบเทียบว่า เหมือนลุง
ถือว่าเป็นคำชมที่ดีที่สุดที่พึงจะได้รับ"
อาจารย์ป๋วย
กับความเงียบ ในต่างแดน - ธงชัย วินิจจะกูล
....."คำสรรเสริญอาจารย์ป๋วย
ล้วนสอดคล้องกันถึง ความซื่อสัตย์สุจริต
และกล้าหาญของท่าน ในฐานะข้าราชการ,
ปัญญาความสามารถ ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์
และอุดมคติที่มุ่งช่วยเหลือ คนยากจน เสียเปรียบ
ในสังคมไทย ในฐานะ มนุษย์เดินดินคนหนึ่ง
....."เกียรติประวัติทั้งหมดนี้ ประมวลจาก
ตลอดชีวิตการทำงานของท่าน จนถึงปี ๒๕๑๙
เมื่อสังคมไทยขับไล่ไสส่งท่านออกไปเมื่ออายุ ๖๐
ปี
....."แล้ว ๒๐ ปีสุดท้าย ในความเงียบของท่านล่ะ
?
....."เคยลองคิดบ้างไหมว่า
ความเงียบของอาจารย์ป๋วย บอกอะไรแก่เราบ้าง ?"
เราเรียนรู้อะไร
จากชีวิต และงานของ อาจารย์ป๋วย - วิทยากร
เชียงกูล
....."อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นสามัญชน
ที่มีบทบาท ในการพัฒนาสังคมไทย
ที่สำคัญที่สุดคนหนึ่ง เป็นคนที่มีบุคลิก
และวิถีชีวิตที่พิเศษมาก เมื่อเทียบกับ
คนไทยคนอื่น ๆ คือเป็นทั้ง นักอุดมคติ
เป็นคนสนใจเรียนรู้ ที่กล้าทำสิ่งใหม่
กล้าวิจารณ์ ความผิดพลาดในอดีต ของตนเอง
และเป็นคนสมถะ เรียบง่าย มีความเป็นมนุษย์
สูงกว่าคนทั่วไปอย่างมาก"
.....* จากบทความ "ป๋วย อึ๊งภากรณ์ :
ชีวิตและงาน" โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ ใน ป๋วย อึ๊งภากรณ์ :
ชีวิต งาน และความหลัง. รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ -
บรรณาธิการ, ๒๕๒๙.
ภาพปก : Lance Wooddruff
คนเล็ก ๆ รัฐ
และการต่อสู้ |
|
.....สุมาลี ลิมปโอวาท วัย ๓๘
และ บุญรอด ประจันบาน วัย ๖๕
ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ต่างเป็นเพียง
ประชาชนคนหนึ่ง ต่างมีปัญหา บางอย่าง ที่ไม่ได้
เกี่ยวเนื่องกันเลย, ชนชั้นกลาง ในเมืองอย่าง
สุมาลี ข้องใจเรื่อง ผลการสอบเข้า โรงเรียนสาธิต
แห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ของบุตรสาว
ส่วนบุญรอด ชายชาวบ้านถ่าน จังหวัดสุรินทร์
ทุกข์ใจเรื่อง กรรมสิทธิ์ ในที่ดินทำกิน
อันเป็นทรัพย์สำคัญ แห่งชีวิต
.....คนเล็ก ๆ สองคนนี้ ไม่ดูดาย ปลงสังเวช
พร่ำบ่นก่นด่า หรือโทษว่า นี่เป็นเรื่องของ
เวรกรรม แต่เลือกที่จะ ต่อสู้กับรัฐ...
เพื่อรู้ให้ได้ว่า ความจริงคืออะไร ! |
แ
ด่ ค น ชื่ อ ป๋ ว ย |
|
รำลึกถึง
การจากไปของ อาจารย์ป๋วย ด้วยบทความพิเศษ จาก
ญาติ ศิษย์ และนักวิชาการ
....."ในชีวิตการทำงาน อันยาวนาน
ลุงได้อุทิศตนให้แก่ สังคมไทย ในหลายลักษณะ
ในฐานะข้าราชการ และนักการเงิน การคลัง
ในช่วงแรก ในฐานะ นักบริหาร นักการศึกษา
และนักพัฒนาเศรษฐกิจ ในช่วงต่อมา และในฐานะคนไทย
ที่รักความเป็นธรรม ในสังคม" - ยงยุทธ
ยุทธวงศ์
....."ในขณะที่สังคมไทยถูกปิดปาก
เสียงของท่านดัง เป็นความหวังอยู่ไกลโพ้น
ท่านทำงานหนัก จนฉับพลัน กลับกลายเป็น
ความเงียบสนิท? - ธงชัย วินิจจะกูล
....."เราจะสามารถ แปรเปลี่ยนความเศร้าโศก
จากการจากไปของ อาจารย์ป๋วย ให้เป็นพลัง
ในการระดมความคิด กอบกู้ประเทศชาติจาก วิกฤตได้
ถ้าเรากลับไปศึกษา หาบทเรียนจาก บทบาท และ
แนวความคิดของท่าน และช่วยกัน สานต่อ
เจตนารมณ์ของท่าน อย่างจริงจัง? - วิทยากร
เชียงกูล |
บันทึกเจ้าเซ็น
ในคืนวันเลือดปนน้ำตา |
|
.....ณ กุฎีเจริญพาศน์ ย่านธนบุรี
พี่น้องมุสลิม นิกายชีอะฮ์ ต่างมารวมกัน
ที่กุฎี เพื่อประกอบพิธีเจ้าเซ็น เพื่อรำลึกถึง ฮุเซน
และญาติพี่น้องของท่าน ที่ต้องเสียชีวิต ณ
ทุ่งกัรบะลาอ์
.....ทีมงานของ สารคดี ได้เข้าร่วม พิธีเจ้าเซ็น
ในปี ๒๕๔๑ รวม ๑๑ วัน ซึ่งถือเป็นครั้งแรก
ที่มีการเผยแพร่เรื่องนี้ สู่สาธารณชน
รายละเอียดสำคัญ ในพิธีกรรมคือ การตั้งขบวนแห่
รอบกุฎี เดินตีอกชกหัว พลางร้องเรียกชื่อ
ยาฮุเซ็นฯ ลุยกองไฟ และควั่นศีรษะ...
ทั้งหลายทั้งมวลนี้ ก็เพื่อเป็นการ รำลึกถึง
เหตุการณ์ ในประวัติศาสตร์ และแสดงให้เห็นถึง
พลังศรัทธา ในศาสนาของ พี่น้องมุสลิม |
สนับสนุน หรือ
คัดค้าน การแปลงพันธุกรรม
: คลื่นลูกที่ ๔ ของสังคมไทย
|
|
Special Attractions
Cover: Puey Ungphakorn at his desk while he was Governor of the Bank
of Thailand.Small People vs.
the State
.....Sumalee
Limpa-owat, 38, and Bunrod Prajanban, 65, never knew each other.
She was a metropolitan middle-class mother concerned about her daughter's exam results,
and he was a villager in Surin Province troubled by a dispute over land rights. What they
had in common, however, was that they did something about their problems. Instead of
sitting back in resignation, grumbling, or calling it fate, they chose to fight, with
whatever small means they had, a large, invisible entity that threatens, pursues, and
ensnarls--the state.
|
|
Puey
Ungphakorn
.....On
July 28, 1999, Puey Ungphakorn died. This former Seri Thai, Governor of the Bank of
Thailand, and Rector of Thammasat University, left his home country after a coup and spent
the last 23 years of his life in England. Several parties wanted to build his monument and
turn the hardworking civil servant into a stone god. Others began to sing his praise and
turn their selfless acharn into a sacred legend. In this issue, through the eyes of three
people, we see the man as a devoted uncle, a tireless teacher, and a bold social critic. |
|
Shiite
Passion Plays: A Memoir of Blood and Tears
.....The
Chao Sen rite or passion play is a major annual event in the Shiite branch of Islam. The
violent massacre of Husayn, a descendant of Muhammad the prophet, and his followers in 680
A.D. is passionately remembered during eleven days of pious manifestations. Scenes of the
killing are reenacted with Shiahs from all over Bangkok as actors. Blood and tears flow to
the rhythm of the thump-thumping on countless breasts and the grievous chanting of sacred
names--a testimony to the power of human faith.
|
|
Vichok
Mukdamanee and Mixed Media Art
.....After
the pioneering work in mixed media of Kamol Tasananchalee, several Thai artists found the
technique liberating and followed suit, among them, Vichok Mukdamanee. At one point,
Vichok became preoccupied with the modern lifestyle, always surrounded by technology, and
produced a unique abstract and geometrical mix of highly synthetic and symbolic materials.
Recently, he turned to the natural environment. His new projects are markedly more simple
and peaceful, a critique of human ties with nature. |
|