Page 105 - SKD-V0402.indd
P. 105
เหตุการณ์ที่ลานจอดเฮลิคอปเตอร์บ้านจ้องเป็นแค่หนึ่งการผจญภัยเล็กๆ ของผู้เขียน
ในฐานะ “fixer” ของทีมข่าว Daily Mail จากประเทศอังกฤษ ที่ถูกส่งมาท�าข่าวการช่วยเหลือเด็ก ๆ
และโค้ชทีมหมูป่าฯ ที่ติดถ�้าหลวง อ�าเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
นิกและปีเตอร์มาถึงไทยวันเดียวกับที่คนทั่วโลกรู้ข่าวดีว่าทีมค้นหาด�าน�้าไปพบโค้ชและเด็ก ๆ
ทั้ง ๑๓ คนที่เนินนมสาว หลังจากติดอยู่ในถ�้ามาตั้งแต่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๑
พวกเขาเป็นผู้สื่อข่าวต่างชาติทีมหลัง ๆ ที่เดินทางมาที่นี่ ส�านักข่าวใหญ่ระดับโลกส่งทีมงาน
มารายงานข่าวนี้ตั้งแต่วันแรก ๆ ของการค้นหา จากการประเมินด้วยสายตาส่วนใหญ่เป็นผู้สื่อข่าว
โทรทัศน์ แต่ข่าวออนไลน์และหนังสือพิมพ์ก็มีไม่น้อย
ไม่ใช่แต่นักข่าวจากส�านักข่าวใหญ่ ๆ อย่าง CNN ที่จัดเต็มมากว่า ๒๐ คนเท่านั้น วันหนึ่ง
เราเจอผู้สื่อข่าวหญิงจากหนังสือพิมพ์ในโปรตุเกสมาขอให้ช่วยสรุปใจความส�าคัญของการแถลงข่าว
ประจ�าวันให้ฟังด้วย
กองทัพผู้สื่อข่าวต่างประเทศเพิ่มจ�านวนขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อมาสมทบกับนักข่าวเจ้าถิ่น
ลานด้านหน้าวนอุทยานถ�้าหลวงฯ ที่เจ้าหน้าที่กันไว้เป็นพื้นที่ท�างานของสื่อมวลชนก็กลายเป็น
ชุมชนแออัดในทันที 103
กรณีเด็กติดถ�้าหลวงน่าจะเป็นเหตุการณ์แรกหลังจากโศกนาฏกรรมสึนามิเมื่อเดือนธันวาคม
๒๕๔๗ ที่มีผู้สื่อข่าวต่างชาติเดินทางมาท�าข่าวมากขนาดนี้
ข้อมูลจากศูนย์อ�านวยการร่วมค้นหาผู้สูญหายในวนอุทยานถ�้าหลวง-ขุนน�้านางนอน จังหวัด
เชียงราย (ศอร.) บอกว่า สื่อมวลชนต่างชาติที่มาลงทะเบียนนั้นมีมากกว่า ๘๐๐ คน นิกลองนับดู
คร่าว ๆ มีผู้สื่อข่าวจากอังกฤษไม่ต�่ากว่า ๓๐ คน
“นักข่าวอังกฤษให้ความสนใจเรื่องนี้มาก ไม่ใช่เพราะมีนักด�าน�้าชาวอังกฤษร่วมปฏิบัติการ
ค้นหาและกู้ภัยหรอกนะ แต่เนื่องจากผู้ประสบภัยเป็นเด็ก แถมเป็นนักฟุตบอล และการกู้ภัยในถ�้า
แบบนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ๆ” นิกให้ความเห็นระหว่างนั่งกินข้าวเหนียวไก่ทอดที่ได้รับแจกจากเต็นท์
จิตอาสา ซึ่งเป็นมื้อกลางวันของเราตอน ๒ ทุ่ม
การทะลักเข้ามาของผู้สื่อข่าวต่างชาติท�าให้เกิดปรากฏการณ์ “ฟิกเซอร์ขาดตลาด” นักข่าว
ไทยที่ลงพื้นที่ถ�้าหลวงถูกขอให้ช่วยหาฟิกเซอร์กันไม่หยุดหย่อน ข้อความถูกกระจายออกไปตาม
เฟซบุ๊ก และนี่อาจเป็นครั้งแรกที่หลายคนได้รู้ว่างานแบบนี้ก็มีด้วย
ฟิกเซอร์ต้องท�าทุกอย่างเพื่อให้ผู้สื่อข่าวและช่างภาพได้ข่าวและภาพตามต้องการ ทั้งแปล
ข่าว เป็นล่าม อัปเดตข้อมูลความเคลื่อนไหว ติดต่อแหล่งข่าวหรือกระทั่งสัมภาษณ์และแปลให้
ผู้สื่อข่าวฟัง ภาษาอังกฤษของฟิกเซอร์อาจไม่เป๊ะมากเหมือนล่ามหรือนักแปล แต่สิ่งที่ควรมีคือ
นิก (ขวา)
และปีเตอร์ “ความเป็นนักข่าว” เพราะต้องรู้ว่าอะไรคือข่าว และท�าอย่างไรให้ได้ข่าวที่สมบูรณ์
ขณะเดินเข้าพื้นที่ ธันย์ชนก จงยศยิ่ง บรรณาธิการข่าวต่างประเทศ สถานีข่าวสปริงนิวส์ โพสต์เฟซบุ๊กสรุป
ถ�้าหลวง บทเรียนการท�าข่าวกรณีถ�้าหลวง โดยเขียนถึงงานฟิกเซอร์ที่นี่ไว้ด้วยว่า “...ถ้าท�าเป็นครั้งคราว
ก็น่าสนุก เป็นหน้าที่ของคนท้องถิ่นที่พูดภาษาอังกฤษเก่ง จะต้องคอยช่วยอ�านวยความสะดวก
ติดต่อประสานงาน เป็นล่าม และควรมีความรู้รอบตัวมาก ๆ งานนี้เงินดีมาก แต่ก็เหนื่อยมาก
เช่นกันเพราะงานไม่ง่ายเลย เขาอยากได้อะไรต้องสรรหามาให้ได้ เรียกได้ว่าเจเนอรัลเบ๊นั่นเอง”
ส่วนที่ว่า “เงินดีมาก” นั้นไม่มีตัวเลขทางการ แต่เท่าที่รู้จากเพื่อน ๆ ค่าจ้างวันละ ๔,๐๐๐-
๘,๐๐๐ บาท ขึ้นอยู่กับประเภทของสื่อและขนาดของทีมงาน
สิงหาคม ๒๕๖๑