เอาไหม ? หอศิลป์ร่วมสมัยในศูนย์การค้า |
||||||||||||||
(ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณ คลิกที่นี่) เกษร สิทธิหนิ้ว : รายงาน / บันสิทธิ์ บุณยะรัตเวช : ถ่ายภาพ |
||||||||||||||
นอกจากเหตุผลที่ว่ามันเป็นกรรมสิทธิ์ของ กทม. แล้ว
สิ่งที่ทำให้ที่ดิน ๒ ไร่ ๓ งาน ๑๐ ตารางวา บริเวณสี่แยกปทุมวัน ถนนพระราม ๑
ถูกเลือกให้เป็นสถานที่ก่อสร้าง
หอศิลปะร่วมสมัยเฉลิมพระเกียรติแห่งกรุงเทพมหานคร ก็คือทำเลที่เปรียบเหมือนสมรภูมิทางวัฒนธรรมของคนเมืองอีกประการหนึ่ง คณะกรรมการอำนวยการจัดสร้างหอศิลป์ฯ ในขณะนั้นเล็งเห็นว่า บริเวณดังกล่าวเป็นศูนย์กลางชุมชนคนเมือง ศูนย์การค้าและความบันเทิงที่กระจุกตัวอยู่ในบริเวณนี้ เป็นเหมือนแม่เหล็กดึงดูดผู้คนในเมืองโดยเฉพาะคนหนุ่มสาว พื้นที่บริเวณนี้จึงควรมีหอศิลปะร่วมสมัยฯ เอาไว้เป็นแหล่งแสวงหาความรู้ ความงาม ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ เป็นทางเลือกของการพักผ่อนที่นอกเหนือไปจากการใช้เวลาในศูนย์การค้า และเป็นสิ่งที่จะดึงเยาวชนออกจากสิ่งยั่วยุแบบทุนนิยม ทว่าสมรภูมิทางวัฒนธรรมกลับกลายเป็นสมรภูมิแห่งความขัดแย้งระหว่างกลุ่มศิลปิน อาจารย์ นักศึกษาประชาชน ที่ต้องการให้คงแบบก่อสร้างหอศิลป์ฯ แบบเดิมไว้ กับฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานคร ที่ยกเลิกโครงการเดิมและนำเสนอโครงการใหม่ ทั้งหมดนี้เพราะที่ดินใจกลางเมืองผืนนี้ เป็นทำเลทองสำหรับธุรกิจการค้าด้วยเช่นกัน ความแตกต่างระหว่างหอศิลปะร่วมสมัยฯ แบบใหม่กับแบบเก่า ไม่ใช่แค่วงเงินงบประมาณที่เพิ่มขึ้นจาก ๓๐๐ ล้านบาทเป็น ๗๐๐ ล้านบาทเท่านั้น แนวคิดในการสร้างหอศิลปร่วมสมัยฯ ต่างหากที่เป็นความต่างประการสำคัญ โครงการหอศิลปะร่วมสมัยฯ ที่ถูกยกเลิกไปนั้น ผ่านการกลั่นกรองจากหน่วยงานราชการและเอกชน เช่น สำนักงานสวัสดิการสังคม สำนักการโยธา กองงบประมาณ สมาคมสถาปนิกสยาม คณะกรรมการนิทรรศการศิลปะแห่งรัชกาลที่ ๙ และผู้เชี่ยวชาญด้านพิพิธภัณฑ์จากประเทศฝรั่งเศส มีข้อกำหนดและมาตรฐานลักษณะและโครงสร้างอาคาร รวมถึงการเลือกวัสดุสำหรับการสร้างหอศิลป์ฯ โดยเฉพาะ กทม. เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมดในวงเงินงบประมาณไม่เกิน ๓๐๐ ล้านบาท ในขณะที่โครงการใหม่ที่ดำเนินการในลักษณะให้เอกชนมาลงทุน โดยเอกชนต้องเป็นผู้รับผิดชอบหาแหล่งเงินทุน ออกแบบก่อสร้าง รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นใดตามที่ตกลงกันในวงเงินไม่เกิน ๗๐๐ ล้านบาท มีหลักการคร่าว ๆ ว่า ต้องแบ่งพื้นที่ของอาคารทั้งหมดเป็นส่วนของหอศิลป์ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ (ต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๑๖,๐๐๐ ตารางเมตร) เมื่อสร้างเสร็จแล้วอาคารและวัสดุครุภัณฑ์ใด ๆ ที่ติดตรึงกับอาคารนั้น จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ กทม. ทันที โดย กทม. ยินยอมให้ผู้ดำเนินการก่อสร้างเช่าอาคารส่วนที่นอกเหนือจากพื้นที่หอศิลปะร่วมสมัยฯ เป็นเวลาไม่เกิน ๓๐ ปี มีสิทธิในการดำเนินกิจการพาณิชย์ภายในอาคาร หรือที่เกี่ยวกับหอศิลปะร่วมสมัยฯ รวมถึงการโฆษณา การให้เช่า จัดกิจกรรมการค้าได้ตามความเหมาะสม หอศิลปะร่วมสมัยเฉลิมพระเกียรติแห่งกรุงเทพมหานคร ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๙ โดยการร่วมคิดร่วมผลักดันของสมาคม สถาบันทางศิลปะ และชุมชนศิลปิน ภายใต้การดำเนินงานของ กทม. สมัยผู้ว่าฯ พิจิตต รัตตกุล ปลายปี ๒๕๔๐ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประกวด พิจารณาข้อกำหนดการประกวดแบบหอศิลปะร่วมสมัยฯ ผู้ชนะการประกวดแบบอาคารหอศิลปะร่วมสมัยฯ ได้แก่ บริษัทโรเบิร์ต จี บุย แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด และได้วางศิลาฤกษ์ไปแล้วเมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๔๓ สามเดือนหลังจากนั้น นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่มีคำสั่งยกเลิกโครงการหอศิลปะร่วมสมัย ฯ ด้วยเหตุผลว่าไม่มีงบประมาณ พร้อมกันนี้ได้ปรับเปลี่ยนโครงการเสียใหม่ในลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์ ประกอบด้วยส่วนหอศิลปะร่วมสมัยฯ ศูนย์การค้าและลานจอดรถ โดยให้เอกชนมาลงทุน และให้สัมปทานเช่าพื้นที่ในส่วนประกอบกิจการพาณิชย์นาน ๓๐ ปี ทันทีที่มีคำสั่งยกเลิกโครงการเก่าและคลอดโครงการใหม่ออกมา กลุ่มศิลปิน อาจารย์และนักศึกษาศิลปะออกโรงคัดค้านการยกเลิกโครงการเก่า และเรียกร้องให้มีการทำประชาพิจารณ์ โครงการใหม่ทันที มีการจัดตั้ง "เครือข่ายศิลปินรณรงค์เพื่อหอศิลป์ร่วมสมัยเฉลิมพระเกียรติแห่งกรุงเทพมหานคร" เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๔๔ เพื่อจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวเรียกร้องหอศิลปะร่วมสมัยฯ แบบเดิม รูปแบบการคัดค้านเริ่มต้นด้วยการยื่นจดหมายทักท้วงการระงับโครงการเดิม ตามมาด้วยการชุมนุมประท้วงหน้าศาลาว่าการ กทม. และที่สี่แยกปทุมวันเป็นระยะ ๆ รวมถึงการจัดอภิปรายและกิจกรรมต่าง ๆ เช่นการวาดภาพเขียนยาว ๔ กิโลเมตรในหัวข้อ "ฉันเรียกร้องหอศิลป์ ไม่เอาศูนย์การค้า" ขึ้นมา มีประชาชน และศิลปินมาร่วมกันวาดภาพพร้อมกับร่วมลงชื่อให้ครบ ๕ หมื่นรายชื่อ เพื่อคัดค้านโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องจนถึงวันนี้ ดูเหมือนว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวจะไม่ส่งผลสะเทือนใด ๆ ต่อโครงการ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๔๔ นายศิริ เปรมปรีดิ์ รองปลัด กทม. ได้เปิดเผยเงื่อนไขการก่อสร้าง และเชิญชวนประกวดราคาหอศิลป์แบบใหม่ กำหนดยื่นซองเสนองานในวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ การเปิดประกวดข้อเสนองานก่อสร้างหอศิลปะร่วมสมัยฯ เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายนที่ผ่านมา ยังไม่มีบริษัทเอกชนแห่งใดเข้าเสนอยื่นแบบประมูลการก่อสร้าง ดังนั้น กทม. จำต้องขยายเวลาการยื่นซองประกวดข้อเสนองานการก่อสร้างออกไปอีก ในระหว่างที่ยังไม่มีบริษัทเอกชนรายใดชนะการประกวดแบบก่อสร้างนี้ กทม. ก็ยังยืนยันหลักการเดิม เช่นเดียวกับที่กลุ่มผู้คัดค้านยังคงยืนหยัดที่จะคัดค้านให้ถึงที่สุด คงต้องจับตาดูว่า "หอศิลปะร่วมสมัยฯ" แห่งแรกของประเทศไทยจะออกมาเป็นแบบใด หากเราเห็นด้วยกับคำกล่าวของนักวิจารณ์สังคมอย่าง สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ที่ว่า "นอกจากธรรมชาติแล้วมนุษย์ต้องการความงาม ความจริง ความดี หอศิลปะอย่างน้อยมีขึ้นมาเพื่อคนร่วมสมัย" หอศิลปะร่วมสมัยฯ ก็ไม่ใช่แค่เรื่องของกลุ่มศิลปินเท่านั้น ร่วมแสดงความคิดเห็น สนับสนุน หรือ คัดค้าน ! |
||||||||||||||
|
||||||||||||||
แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
ต้องการ แสดงความคิดเห็นเพิ่ม คลิกที่นี่
พบเห็น ข้อความไม่เหมาะสม กรุณาช่วยกันแจ้ง ผู้ดูแลเว็ป (WebMaster) ขอบคุณครับ
คนชายขอบ ครูศิลปะบ้านนอกก็คิดหรือได้อ่านอะไรๆ รู้อะไรๆก่อนนักวิชาการ คอลัมนิสต์เมืองหลวงเสียอีก อวดได้เลยว่าผมได้อ่านเรื่องชาลาโก ก่อนคุณๆเป็นสิบปีมาแล้ว ไปหาอ่าน"ว่าแล้วไม๊ล่ะ 1 " ดูได้เลย ตอนนี้หมดฤดูเลือกผู้ว่าฯกทม.แล้ว เวทีนี้เลยเงียบๆไปน๊ะ
ปริญญา นันตสุข
- Saturday, March 12, 2005 at 08:43:41 (EST)
ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มคนที่อ้างตัวว่าเป็นศิลปินที่อ้างอีกว่าทำเพื่อสังคมประเทศชาติ ทั้งที่กรอบความคิดแขวนอยู่กับประเทศอื่นที่เขาดูถูกดูแคลนเรามานานนับศตวรรษ จะ300หรือ700ล้านที่ถมลงไปก็ไม่ทำให้คุณค่าชีวิตคนไทยดีขึ้น นอกจากกลุ่มที่อุปโลกน์ตัวเองว่าศิลปินแนวหน้า ก็คงจะคล้ายกับความคิดจะสร้างห้องสมุดมีชีวิตในกรุงเทพฯนั่นเอง อะไรๆก็กรุงเทพฯ คงไม่เวิร์คเท่าสร้างเมมเบอร์ คลับหร็อก ขอเรียนว่าผมเป็นเพื่อนเรียนคุณมานิต คุณถนอม ไม่ลืมกำพืดตนเอง เรียนแล้วกลับไปทำงานในท้องถิ่นของตน เชิดชูคุณค่าของคนในชนบทคนทำงานผู้ผลิต มิใช่คนแสวงหาประโยชน์ ไม่หลงไหลฝักใฝ่ค่านิยมฮอลลีวู๊ด(มีคนใช้คำว่าฉันทามติวอชิงตัน) หรือกรอบอิตาลี ฝรั่งเศษ คนชายขอบขอแนะนำให้คุณอ่านเรื่องMega Trend 2000 ของจอห์น ไนซ์บริตซ์และบทความของผมในศิลปวัฒนธรรม พ.ย.44 ก่อน ถ้ายังอยากได้หอศิลป์ก็ขอทุนจาก ฟิลลิป มอริส ก็ได้ แล้วเอารูปที่ชนะงานอาเซียนมาแขวนให้สลดหดหู่กันทั้งเมือง พวกคุณไม่รู้เท่าทันหรือว่ากรรมการอาเซียนเขาเอาแต่ผลงานศิลปินไทยที่แสดงมุมแลวร้ายในบ้านเมืองเราให้ชนะเลิศ เราก็ภูมิใจเผยแพร่โฆษณากันโดยไม่รุ้ว่าเป็นกโลบายทำให้สังคมไทยเลวร้ายในสายตาคนต่างชาติไม่น่ามาเที่ยวจะได้ไปเที่ยวบ้านเมืองเขามากๆไง คุณลืมบทความของตัวเองที่ว่า"ผมวาดรูปมากว่า 20 ปีไม่มีรัฐบาลใหนสนใจมีแต่รัฐบาลนี้ที่สร้างตลาดนัดศิลปะให้ศิลปินหน้าใหม่..แม้แต่นายกคนก่อน คนศิลปะกับเองยังวาดรูปเพียงให้ชาวศิลปะตบมือเปาะ แปะ แล้วก็ลืมกันไป "อะไรประมาณนี้ คนกรุงเทพฯยังจนอีกเยอะ ดูในรายการ คนค้นคน แล้วน่าจะช่วยพวกเขามากกว่า ครับสำคัญมาก..ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการโต้แย้ง เมื่อเป็นที่ยุติแล้วจึงใช้คำที่เกี่ยวกับสถาบันจะเหมาะกว่าครับ
ปริญญา นันตสุข <sax861@thaimail.com>
- Sunday, August 15, 2004 at 03:14:04 (EDT)
ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มคนที่อ้างตัวว่าเป็นศิลปินที่อ้างอีกว่าทำเพื่อสังคมประเทศชาติ ทั้งที่กรอบความคิดแขวนอยู่กับประเทศอื่นที่เขาดูถูกดูแคลนเรามานานนับศตวรรษ จะ300หรือ700ล้านที่ถมลงไปก็ไม่ทำให้คุณค่าชีวิตคนไทยดีขึ้น นอกจากกลุ่มที่อุปโลกน์ตัวเองว่าศิลปินแนวหน้า ก็คงจะคล้ายกับความคิดจะสร้างห้องสมุดมีชีวิตในกรุงเทพฯนั่นเอง อะไรๆก็กรุงเทพฯ คงไม่เวิร์คเท่าสร้างเมมเบอร์ คลับหร็อก ขอเรียนว่าผมเป็นเพื่อนเรียนคุณมานิต คุณถนอม ไม่ลืมกำพืดตนเอง เรียนแล้วกลับไปทำงานในท้องถิ่นของตน เชิดชูคุณค่าของคนในชนบทคนทำงานผู้ผลิต มิใช่คนแสวงหาประโยชน์ ไม่หลงไหลฝักใฝ่ค่านิยมฮอลลีวู๊ด(มีคนใช้คำว่าฉันทามติวอชิงตัน) หรือกรอบอิตาลี ฝรั่งเศษ คนชายขอบขอแนะนำให้คุณอ่านเรื่องMega Trend 2000 ของจอห์น ไนซ์บริตซ์และบทความของผมในศิลปวัฒนธรรม พ.ย.44 ก่อน ถ้ายังอยากได้หอศิลป์ก็ขอทุนจาก ฟิลลิป มอริส ก็ได้ แล้วเอารูปที่ชนะงานอาเซียนมาแขวนให้สลดหดหู่กันทั้งเมือง พวกคุณไม่รู้เท่าทันหรือว่ากรรมการอาเซียนเขาเอาแต่ผลงานศิลปินไทยที่แสดงมุมแลวร้ายในบ้านเมืองเราให้ชนะเลิศ เราก็ภูมิใจเผยแพร่โฆษณากันโดยไม่รุ้ว่าเป็นกโลบายทำให้สังคมไทยเลวร้ายในสายตาคนต่างชาติไม่น่ามาเที่ยวจะได้ไปเที่ยวบ้านเมืองเขามากๆไง คุณลืมบทความของตัวเองที่ว่า"ผมวาดรูปมากว่า 20 ปีไม่มีรัฐบาลใหนสนใจมีแต่รัฐบาลนี้ที่สร้างตลาดนัดศิลปะให้ศิลปินหน้าใหม่..แม้แต่นายกคนก่อน คนศิลปะกับเองยังวาดรูปเพียงให้ชาวศิลปะตบมือเปาะ แปะ แล้วก็ลืมกันไป "อะไรประมาณนี้ คนกรุงเทพฯยังจนอีกเยอะ ดูในรายการ คนค้นคน แล้วน่านะช่วยพวกเขามากกว่า ครับ
ปริญญา นันตสุข <sax861@thaimail.com>
- Sunday, August 15, 2004 at 03:03:08 (EDT)
ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มคนที่อ้างตัวว่าเป็นศิลปินที่อ้างอีกว่าทำเพื่อสังคมประเทศชาติ ทั้งที่กรอบความคิดแขวนอยู่กับประเทศอื่นที่เขาดูถูกดูแคลนเรามานานนับศตวรรษ จะ300หรือ700ล้านที่ถมลงไปก็ไม่ทำให้คุณค่าชีวิตคนไทยดีขึ้น นอกจากกลุ่มที่อุปโลกน์ตัวเองว่าศิลปินแนวหน้า ก็คงจะคล้ายกับความคิดจะสร้างห้องสมุดมีชีวิตในกรุงเทพฯนั่นเอง อะไรๆก็กรุงเทพฯ คงไม่เวิร์คเท่าสร้างเมมเบอร์ คลับหร็อก ขอเรียนว่าผมเป็นเพื่อนเรียนคุณมานิต คุณถนอม ไม่ลืมกำพืดตนเอง เรียนแล้วกลับไปทำงานในท้องถิ่นของตน เชิดชูคุณค่าของคนในชนบทคนทำงานผู้ผลิต มิใช่คนแสวงหาประโยชน์ ไม่หลงไหลฝักใฝ่ค่านิยมฮอลลีวู๊ด(มีคนใช้คำว่าฉันทามติวอชิงตัน) หรือกรอบอิตาลี ฝรั่งเศษ คนชายขอบขอแนะนำให้คุณอ่านเรื่องMega Trend 2000 ของจอห์น ไนซ์บริตซ์และบทความของผมในศิลปวัฒนธรรม พ.ย.44 ก่อน ถ้ายังอยากได้หอศิลป์ก็ขอทุนจาก ฟิลลิป มอริส ก็ได้ แล้วเอารูปที่ชนะงานอาเซียนมาแขวนให้สลดหดหู่กันทั้งเมือง พวกคุณไม่รู้เท่าทันหรือว่ากรรมการอาเซียนเขาเอาแต่ผลงานศิลปินไทยที่แสดงมุมแลวร้ายในบ้านเมืองเราให้ชนะเลิศ เราก็ภูมิใจเผยแพร่โฆษณากันโดยไม่รุ้ว่าเป็นกโลบายทำให้สังคมไทยเลวร้ายในสายตาคนต่างชาติไม่น่ามาเที่ยวจะได้ไปเที่ยวบ้านเมืองเขามากๆไง คุณลืมบทความของตัวเองที่ว่า"ผมวาดรูปมากว่า 20 ปีไม่มีรัฐบาลใหนสนใจมีแต่รัฐบาลนี้ที่สร้างตลาดนัดศิลปะให้ศิลปินหน้าใหม่..แม้แต่นายกคนก่อน คนศิลปะกับเองยังวาดรูปเพียงให้ชาวศิลปะตบมือเปาะ แปะ แล้วก็ลืมกันไป "อะไรประมาณนี้
ปริญญา นันตสุข <sax861@thaimail.com>
- Sunday, August 15, 2004 at 02:53:58 (EDT)
สร้างหอศิลป์ก็เพื่อผลประโยชน์ของศิลปินกลุ่มเดิมๆ ขาประจำ สำนักอมตะ คุณก็รวยๆแล้วทั้งนั้นขายรูปทีได้เป็นแสนๆ ก็พากันสร้างเองสิยะ หน็อยสมัยฟองสบู่ขายรูปได้แพงๆ พอฟองสบู่แตกไม่มีคนซึ้อรูปแล้วจะมาบังคับให้เอาเงินชาวบ้านมาสร้างหอศิลป์ขายรูปของตัวเอง (รวมทั้งรูปถ่ายของคุณมานิตด้วย)สร้างหอศิลป์ก็ทุนนิยมเป็นที่ขายรูปของศิลปินไม่กี่คน เอาเงินส่วนรวมมาสร้างแต่พวกคุณได้ประโยชน์ ศิลปินชาวบ้านไม่มีโอกาส หอบรูปมาคุณก็ถามว่าจบจากไหน ไม่เอา คัดออก กรณีอย่างนี้เถียงกันมาตั้งแต่สิ้นท่านเฟโรจีโน่น (ผมไม่เคยหอบไปให้พวกเขาดูหร็อกจัดแสดงตามงานวัดมีคนดูแยะกว่า) สร้างห้างสรรพสินค้าชาวบ้านก็มีงานทำหลายครอบครัว สร้างหอศิลป์ศิลปินกลุ่มเดิมๆก็รวยเอาๆ วาดแม๊บๆก็มาอ้างว่าเลิศเลอ ลึกซึ้งในจิตวิญญาณ สูงส่งถึงทิพย์วิมาน ชาวบ้านไม่เห็นอยากดู ดูไม่รู้เรื่องไม่มีเรื่องอะไรให้ดู ได้แต่เอาไว้หลอกขายเศรษฐี เสนออารมณ์อะไรก็ไม่รู้ ออกโป๊ลามกจกเปรตก็มี มาตรฐานคุณเอามาจากไหน ฝรั่งใช่ไหมล่ะ? พวกศิลปินนี่แหละกำลังแสวงหาผลประโยชน์ ศิลปินควรเป็นผู้ให้มิใช่ผู้ร้องขออยู่เย้อวๆรู้หรือไม่ว่าศิลปินพื้นถิ่นทั่วประเทศเขายังทำงานศิลปะสนองชุมชนสืบทอดวัฒนธรรมของชาติอย่างสงบเสงี่ยมเจียมตัวไม่ได้ร้องขอหอศิลป์ร้อยล้านพันล้านเพื่อแสดงอารมณ์แบบฮอลลีวู๊ด ฝรั่ง นักท่องเที่ยวเขาอยากมาดูศิลปวัฒนธรรมไทยมากกว่าศิลปร่วมสมัยที่คุณทั้งหลายไปเลียนแบบเขามา ใครจะโสกับผมก็เข้าทางเลย กำลัยอยากดังพอดี
ปริญญา
- Wednesday, August 04, 2004 at 11:07:59 (EDT)
ไม่เห็นด้วยเพราะ ห้างสรรพสินค้ามีคนทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กเล็ก เที่ยวแกะโน่น ดึงนี่ ทำงานศิลป์เสียหาย ทุนนิยมๆๆๆ และ ทุนนิยม ทำอะไรก็ทำไปเหอะ เพราะทำอะไรไม่ได้อยู่แล้ว คนแก่ถูกเสมอนี่ตอนนี้ต้องให้พวกนักการเมืองเลวๆล้มหายตายจากก่อน ถึงจะมีโอกาสทำดี
(name)Another Day <jaopordnd@hotmail.com>
- Sunday, November 30, 2003 at 05:24:13 (EST)
"Ars Longa Vita Brevis
ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น"
ถั่ว <tuck_su@hotmail.com>
- Sunday, September 07, 2003 at 02:55:07 (EDT)
"Ars Longa Vita Brevis
ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น"
ถั่ว
- Sunday, September 07, 2003 at 02:53:56 (EDT)
เห็นด้วยกับการสร้างหอศิลป์และมีศูนย์การค้าในที่เดียวกันเพราะคนมีหลายประเภทและประเภทที่ไม่ใช้
ศิลปินโดยตรงที่ตั้งจะดูงานศิลปะอย่างเดียว ประเภทที่ชอบดูงานศิลปะแต่ถ้ามีอย่างอื่นประกอบอยู่ในสถานที่เดียวกันเช่นร้านหนังสือ อย่างขายเทป ร้านอาหาร
ก็จะทำให้เราสามารถแวะเวียนไปสถานที่แห่งนั้นได้บ่อยขึ้น ไม่จำเป็นต้อง ใช้ความตั้งใจเป็นพิเศษ เพื่อจะไปดูงานศิลปะงานนี้ แต่สามารถแวะไปบ่อยๆได้ เพราะมีอย่างอื่นที่เราสามารถไปทำ หลังจากที่เราดูเสร็จ ไม่ต้องนั้งรถเปลี่ยนสถานที่เพื่อจะไปกินข้าว ซื้อหนังสือ และเราก็สามารถ หว่านล้อม ให้คนเพื่อนหรือน้องของเราซึ่งเค้าเป็นคนอีกรุ่นนึง ให้เค้าได้ไปซึมซับงานศิลปะ อย่างอ้อมๆ เพราะที่ผ่านมารู้สึกว่าเป็นการยากมากที่จะนัดเพื่อน รึชวนใครไม่ที่หอศิลป์ด้วยได้ นอกจากว่า ต้องเป็นคนที่ชอบมากๆจริงๆ
อยากให้ทุกคนสามารถไปดูศิลปะได้บ่อยขึ้น ในขณะที่เราก็ยังดำเนินชีวิตประจำวัน อย่างที่ไม่ต้องออกแรงมากเกินไป หรือต้องหาเวลาว่างจริงๆ ต้องเป็นวันที่ไม่เหนื่อยจากการงานมากเกินไป
ขอบคุณคะ
ทิพย์วิภา เลิศประเสริฐ <Thipvipha@hotmail.com>
- Wednesday, June 04, 2003 at 07:30:52 (EDT)
ตอนแรกอ่านของฝ่ายสนับสนุนก่อน ก็คิดว่าได้เข้าใจอะไรเกี่ยวกับรายละเอียดเรื่องนี้มากขึ้น แต่อ่านไปอ่านมารู้สึกว่าคุณสมัครใช่คำพูดไม่เหมาะสม ืในขณะเดียวฝ่ายค้านที่คุณสมัครไปด่าว่าเลวทรามชั้นต่ำ กลับใช้คำพูดได้มีหลักการและเหมาะสมมากกว่า ไม่รู้ว่าคุณสมัครมัวแต่ผัดกับข้าวมากไปรึป่าว เลยประสาทกลับไปแล้ว อิอิอิ
เชอร์รี่
- Monday, May 12, 2003 at 11:31:00 (EDT)
ตอนแรกอ่านของฝ่ายสนับสนุนก่อน ก็คิดว่าได้เข้าใจอะไรเกี่ยวกับรายละเอียดเรื่องนี้มากขึ้น แต่อ่านไปอ่านมารู้สึกว่าคุณสมัครใช่คำพูดไม่เหมาะสม ืในขณะเดียวฝ่ายค้านที่คุณสมัครไปด่าว่าเลวทรามชั้นต่ำ กลับใช้คำพูดได้มีหลักการและเหมาะสมมากกว่า ไม่รู้ว่าคุณสมัครมัวแต่ผัดกับข้าวมากไปรึป่าว เลยประสาทกลับไปแล้ว อิอิอิ
เชอร์รี่
- Monday, May 12, 2003 at 11:30:36 (EDT)
ถ้าเด็กๆของเรา สามารถเดินเข้าหอศิลป์ได้ง่ายเหมือนเดินเข้าห้าง พบปะกันหน้าหอศิลป์ เหมือนหน้าห้างคิดว่าน่าจะ ดี
b
- Wednesday, March 19, 2003 at 21:32:46 (EST)
"" เมืองไทยต้องการ หอศิล์ ..""
b
- Wednesday, March 19, 2003 at 21:27:02 (EST)
เห็นด้วยกับคุณสมัครค่ะ
ที่ดินเป็นของกทม.ดังนั้นก็สามารถสงวนสิทธิ์ในการทำประชาพิจารณ์ได้ หอศิลป์ของประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเหมือนของต่างชาติก็ได้ คนไทยควรพึ่งพาอาศัยกันได้ ไม่ใช่ศิลปินอยู่ที่นึง นักธุรกิจอยู่อีกที่นึง แล้วก็ต่างคนคิดเองเออเอง เอาแต่ทะเลาะไม่ลงรอยกัน ยึดแต่ในทิฐิของตัวเอง ยังไงงานก็ออกมาดีไม่ได้แน่
เวลาศิลปินเสพศิลปะอาหารสมองแล้ว จะไม่เสพข้าวปลาอาหารไปเลี้ยงร่างกายบ้างหรือคะ คนที่เข้าไปดูงานศิลป์ ก็ใช่ว่าจะอยากเดินเท้าตากแดดหน้าดำไปกินข้าวแกงข้างทางเมื่อไหร่ อะไรที่ไม่น่าจะใช่เรื่องคอขาดบาดตายน่าจะรอมชอมกันได้บ้าง
ส่วนโครงการที่จะสร้างใหม่ของคุณสมัคร ถ้าโครงการตั้งแล้ว ไม่มีศิลปินคนไหนเอาผลงานไปแสดง มีแต่ร้านค้าไปตั้งดิฉันว่าก็น่าคิดทบทวนเหมือนกันนะคะ เรื่องแบบแปลนของอาคารดิฉันมีความเห็นเพิ่มเติมเล็กน้อยคือ ควรจัดส่วนร้านค้ากับหอศิลป์ ไม่ให้รบกวนกัน จนเกินไป อยู่ในอาคารเดียวกันก็ได้แต่ต้องไม่มีสิ่งรบกวนคนที่กำลังดูงานศิลปะ ตรงนี้คุณสมัครควรมีการดูแลให้เรียบร้อยและชัดเจน ถ้าทำไปทำมาแล้วบริษัทมเอกชน ทำผิดข้อตกลง กทม.จะจัดการอย่างไร ก็ต้องคุยกันให้เรียบร้อยก่อนที่โครงการจะเริ่ม
แล้วก็ควรหามาตรการป้องกันการแสวงหากำไรเกินควรของบริษัทเอกชนไว้ด้วยค่ะ 51:49 ถ้ารักษาไว้ได้แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย ก็จะไม่ต้องอายใครในภายหลัง แต่ส่วนมากบริษัทเอกชน ก็ต้องแสวงหากำไรอยู่แล้ว เพราะเขาเป็นผู้ลงทุน ประชาชนก็มีความกังวลตรงนี้เล็กน้อยค่ะ
แต่ดิฉันก็ยังเชื่อในความรักประเทศไทยของคุณสมัคร ไม่ว่าจะทำอะไรก็ต้องคิดรอบคอบและเห็นผลประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ
นวลมาศ เกษรจันทร์ <mas_730@maildozy.com>
- Saturday, March 01, 2003 at 22:10:43 (EST)
อยากทราบมีธุรกิจอะไรบ้างในร้านค้าที่จะเข้ากับหอศิลป์ได้เท่าที่นึกออกก็ร้านหนังสือ,แกลลอรี่ขายภาพ,ร้านขายผลงานประติมากรรม, แล้วอะไรอีกล่ะ...(ของเดิมที่ออกแบบ เค้ามีอะไรขายบ้าง)เท่าที่ผมเคยเห็นมาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหอศิลป์อยู่ชั้นบนสุด(ชั้น7)ของหอสมุดกลาง ก็เข้ากันดี เงียบสงบ >ชั้น 6 เป็นส่วนของห้องสมุดที่รวบรวมหนังสือเก่า เอกสารหายาก เงียบกว่าห้องสมุดแผนกอื่นๆ
กร
- Sunday, January 26, 2003 at 19:42:34 (EST)
อยากทราบมีธุรกิจอะไรบ้างในร้านค้าที่จะเข้ากับหอศิลป์ได้เท่าที่นึกออกก็ร้านหนังสือ,แกลลอรี่ขายภาพ,ร้านขายผลงานประติมากรรม, แล้วอะไรอีกล่ะ...(ของเดิมที่ออกแบบ เค้ามีอะไรขายบ้าง)เท่าที่ผมเคยเห็นมาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหอศิลป์อยู่ชั้นบนสุด(ชั้น7)ของหอสมุดกลาง ก็เข้ากันดี เงียบสงบ >ชั้น 6 เป็นส่วนของห้องสมุดที่รวบรวมหนังสือเก่า เอกสารหายาก เงียบกว่าห้องสมุดแผนกอื่นๆ
กร
- Sunday, January 26, 2003 at 19:42:05 (EST)
Does Mr.Samak live in a coconut shell? Even though you were elected, you still have to listen
to the people's voice. Bangkok belongs to six million people, not just Samak.
It's tai.
It's tai
- Sunday, January 26, 2003 at 03:28:44 (EST)
วางตัวเป็นกลางนะคะ..... แต่อยากถามว่าที่บอกว่าเพื่อไม่ให้เยาวชนหลงเข้าไปใกล้กับอะไรที่ยั่วยุทางทุนนิยม เช่น ศูนย์การค้า นั้น.....จริง ๆ แล้ว ทุนนิยมทำให้คนสะดวกสบายขึ้นนะคะ....ดูอเมริกาเป็นตัวอย่าง ประเทศมั่งคั่ง ประชาชนร่ำรวย เมืองสวยงาม ระบบการเมืองมั่นคง ไม่มีเรื่องทุจริตคอร์รับชั่น....ข้อเสียของอเมริกา ก็มีเพียง อยากทำตัวยิ่งใหญ่ตลอดเวลาเท่านั้นเอง...
ฉะนั้น มีหอศิลป์อยู่ในศูนย์การค้าก็ได้ค่ะ...แล้วก็ให้เยาวชนขยันหาเงิน ทำงานหนัก แบบเยาวขนอเมริกัน...เพียงเท่านี้ก็ไปเดินเล่นซื้อของ และแวะชมความงาม...ความจริง...และความดี...ของงานศิลปะ แบบที่อาจารย์ ส.ศิวลักษณ์ บอกไว้ได้แล้วค่ะ...ไม่เห็นต้องคิดมากเลย....ปัญหาก็คือว่า จะสร้างยังไงไม่ให้ทำลายสิ่งแวดล้อมและทัศนียภาพที่สวยงามเท่านั้นเอง...และการก่อสร้างนั้น จะทำยังไงถึงจะไม่ใช่การแสวงหาผลประโยชน์ของผู้มีอำนาจเท่านั้น.....
อย่ารังเกียจทุนนิยมโดยไม่มีเหตุผล...แล้วก็ต้องกลายเป็นคนยากจนซอมซ่ออยู่ลยค่ะ.....เพียงแต่เรารู้จักกับทุนนิยมและใช้มันให้เป็นประโยชน์กับชีวิตของเรา.... โดยที่ไม่ทำให้เราใจคอร้อนเร่าเพราะทุนนิยมจัดจนเกินไปต่างหากล่ะคะ....รีบ ๆ สร้างเสียทีนะคะ....อย่ามวเถียงกันเลยค่ะ...จะได้ไปชมงานศิลปะได้.....
pimnaree moonmuang <pimnaree_m@hotmail.com>
- Wednesday, November 20, 2002 at 17:16:25 (EST)
ไปตายซะไอ้คนขายชาติ
คนรักชาติ
- Thursday, October 10, 2002 at 21:16:20 (EDT)
คัดค้านครับ
ธิติวัฒน์ มนูญพร
- Saturday, July 13, 2002 at 00:01:53 (EDT)
คัดค้าน** ขอเป็นโครงการเดิมจะดีกว่า เพราะจะมีความเป็นเฉพาะตัวในเรื่องของสถานที่ จะทำให้ผู้คนมองเห็นคุณค่าศิลปะ ว่าเป็นเป็นของขลังน่าเชิดชู อนุรักษ์และสืบทอด ถ้าจะให้เอกชนเข้ามาทำมันดูเป็นธุระกิจเกินไป หมดความขลัง ( ศิลปะ คือธรรมชาติ ) เพราะฉะนั้นถ้าจะมีสถานที่เสพงานศิลปะเพิ่มขึ้นมาจาก สถานที่เก่าแก่อย่าง หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร / หอศิลป์ ถ. เจ้าฟ้า ซึ่งเป็นสถานที่เก่าแก่ดูมีความศักดิ์สิทธ์และมีสิ่งแวดล้อมที่เงียบสงบ เหมาะกับการเสพ และการศึกษางานศิลป์ ก็ควรหาทำเลที่เหมาะสมกว่าศูนย์การค้าที่มีความพลุกพล่าน ความไม่ได้ตั้งใจในการดูชม** ควรทำให้เป็นเรื่องเป็นราว**เรื่องใหญ่เลยนะสำหรับสถานที่เนี่ย เพราะมันคือภาพพจน์และภาพลักษณ์ ของประเทศในวันต่อไป ควรคิดและพิจารณาอย่างรอบคอบ **ควรสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาประชาชนด้วย ให้คนส่วนใหญ่ได้ร่วมตัดสินใจ เพื่อกันความผิดพลาดที่จะตามมา
( จงฟังเสียงรอบๆด้าน เสียงของคนส่วนใหญ่ เพราะเสียงของคนส่วนใหญ่ คือ ประชาธิปไตย * )
อลิสรา อุปลา
- Wednesday, July 10, 2002 at 05:57:23 (EDT)
คัดค้าน!
กานต์ ณ กานท์
- Tuesday, July 09, 2002 at 07:20:20 (EDT)
ถ้าโครงการเดิมไม่โปร่งใสก็ควรตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ และทำประชาพิจารณ์ แต่ที่แน่ๆคือประชาชนเลือกคุณสมัครมาบริหารงานไม่ใช่เลือกให้มาเป็นเจ้าของกรุงเทพฯ จะพิจารณาเรื่องสำคัญขนาดนี้ไม่ฟังเสียงประชาชนก็อย่ามาอ้างว่าเป็นคนจากประชาชน ขอยืนยันว่าหอศิลป์ไม่ควรเกี่ยวข้องกับศูนย์การค้าและควรเป็นสมบัติของประชาชนโดยชอบธรรม คนจะมาเสพงานศิลป์ไม่ได้มาหาข้าวกินหรือซื้อของ ถ้าอยากกินข้าวหรือซื้อของให้ข้ามไปฝั่งมาบุญครองสิคะ
ฟืน <....>
- Tuesday, July 09, 2002 at 01:26:03 (EDT)
คัดค้านค่ะ ไม่ควรเอาศูนย์การค้ามาปะปนกับศิลปะ ทุกวันนี้ก็มีศูนย์การค้าท่วมเมืองแล้ว ขอสถานที่ ปลอดการบริโภควัตถุนิยมบ้างเถอะค่ะ
juntra t <juntra@mbox.roynet.co.th>
- Monday, June 24, 2002 at 23:42:01 (EDT)
เรียน คุณสมัครและคุณมานิต
ดิฉันเป็นอีกคนหนึ่งที่รับทราบถึงเรื่องราวเกี่ยวกับการสร้างหอศิลป์ที่บริเวณแยกปทุมวัน ก่อนอื่นต้องขอเรียนว่าดิฉันเป็นเพียงคนกรุงเทพฯ ธรรมดา ๆ คนหนึ่งมีความรู้ระดับปริญญาตรี ทำงานด้านการเงินและบัญชีในบริษัทเล็ก ๆ แต่ความเห็นที่อยากแสดงในครั้งนี้เป็นความรู้สึกและจากประสบการณ์ที่ได้พบมาบ้างตลอดอายุที่เติบโตมา 45 ปี ดิฉันได้มีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศมาบ้างจากการท่องเที่ยวและได้ไปพำนักในช่วงสั้น ๆ ประมาณ 8 เดือน ประสบการณ์เหล่านั้นทำให้ดิฉันพบว่าบ้านเมืองของเรายังขาดบางสิ่งบางอย่างที่ควรจะมีทั้ง ๆ ที่จะว่าไปแล้วโดยรวมบ้านเมืองเรามีสิ่งดี ๆ กว่าที่อื่นอยู่มาก แต่สิ่งที่เรายังขาดแคลนอยู่มากก็คือ พิพิธภัณฑ์ หอศิลปะและสวนสาธารณะ 3 สิ่งนี้มีมากมายในประเทศที่เรียกว่าพัฒนา ทุกวันนี้ประเทศเราก็กำลังพัฒนาอย่างมากไม่ใช่หรือคะดูจากการสร้างศูนย์การค้า ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก ศูนย์อาหารโรงหนังสถานบันเทิงต่าง ๆ เรียกว่าอนุญาตให้สร้างกันได้อย่างเสรี ใครมีเงินทุนก็สามารถทำได้ เรื่องจริงค่ะถนนสายหนึ่งแค่ช่วงสั้น ๆ ไกลกันไม่ถึง 3-4 ก.ม. เกิดห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ถึง 3 แห่ง นี่ยังไม่นับศูนย์การค้าที่เป็นแบบเดิม ๆ คือตลาดแผงลอยที่มีอยู่แล้ว ดิฉันก็ไม่เข้าใจว่าทุกวันนี้จะขยันสร้างที่ขายของกันเข้าไปให้มันมากมายทำไม ปัญหาที่ตามมา รถติด ขยะสิ่งปฏิกูล ฟุ่มเฟือย ทำลายวิถีชีวิตแบบเดิมร้านค้าย่อยต้องปิดตัวเองหมดทางทำมาหากินแบบปลาใหญ่กินปลาเล็ก
ดิฉันไม่เข้าใจเลยว่าผู้มีอำนาจในบ้านเมืองเราคิดอะไรกันอยู่จึงปล่อยให้สิ่งต่าง ๆ ข้างต้นเกิดขึ้นจนบานปลายง่าย ๆ หรือแค่คิดแต่ประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับ ดิฉันอาจจะพูดนอกประเด็นมากเกินไปแต่ดิฉันต้องการให้ท่าน ๆ ได้ทราบค่ะว่าบ้านเมืองเราทุกวันนี้มีสิ่งใดที่ยังขาดแคลนจนน่าที่จะต้องรีบช่วยกันสร้างกันขึ้นมาและมีสิ่งใดที่เกิดขึ้นมามากจนเกินพอที่จะต้องช่วยกันหยุดยั้งไม่ให้เกิดอีก คุณสมัครคะ! ถึงคุณจะเป็นผู้ว่าฯ กทม. แต่จงอย่าลืมว่าคุณไม่ได้เป็นเจ้าของ กทม.เพียงคนเดียว ฉะนั้นใช่ว่าคุณต้องการจะทำอะไรก็ได้ คุณควรจะต้องฟังเสียงของคน กทม.คนอื่น ๆ ด้วยว่าเขาต้องการหรือไม่ต้องการในสิ่งที่คุณคิดว่าดีแล้ว
ที่เขียนมามากมายก็เพื่อต้องการเรียนให้ท่าน ๆ ได้ทราบว่าคนกรุงเทพฯ เช่นดิฉันเป็นผู้หนึ่งที่ต้องการมีพื้นที่สงบ ๆ ไว้เดินเล่น เดินเสพย์ศิลปะวัฒนธรรม เดินพักผ่อนนั่งเล่นท่ามกลางธรรมชาติและอากาศดี ๆ ดิฉันไม่ต้องการศูนย์การค้าอีกแล้วมันมากเกินพอแล้วและไม่คิดว่าจะต้องการเพิ่มอีกไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด
ดิฉันขอเรียนเสนอความคิดเห็นมาเพื่อให้ท่านผู้มีอำนาจเกี่ยวข้องนำไปพิจารณาอย่างเป็นเหตุและผลขออย่าได้ยึดถือเพียงความต้องการที่จะเอาชนะกันและกันเลยค่ะเพราะจะทำให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเมือง
ขอบคุณค่ะ
วารินทร์ ประเสริฐกิจวงศ์ <rintintin@thai.com>
- Wednesday, June 19, 2002 at 04:39:10 (EDT)
ในเมื่อเป็นหอศิลป์ของรัฐแล้วก็สมควรจะให้บุคคลทั่วไปมีโอกาศได้ใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าสำหรับพื้นที่ใจกลางเมือง คงไม่มีประชาชนทั่วไปที่ไปที่ไม่ได้จบมาทางศิลป์จะมาเข้าใจอารมณ์ของศิลปินจากปลายพู่กัน สื่อความหมายจากการใช้สี คนทั่วไปก็จะมองผ่านๆแค่ความสวยงาม เพื่อความเบิกบานของชีวิต ซึ่งไม่ต้องใช้ความสงบมากมาย ผมอยากจะให้ลองนับจำนวนคนดูงานศิลป์จากหอศิลป์ กับที่มาเปิดbootตามห้างต่างๆ ที่ไหนคนดูมากกว่ากัน ทื่ไหนจะกระตุ้นให้เด็กๆ(4-7ขวบ) มีความสนใจมากว่ากัน คงไม่มีเด็กคนไหนอยากให้พาไปหอศิลป์อย่างเดียวหรอก เอาไว้สักวันเมื่อเมืองไทยมีคนเข้าใจงานศิลปะมากกว่านี้ มีเงินมากกว่านี้ เราคงมีหอศิลป์เดี่ยวๆได้ครับ
ทิพย์มงคล แคมงคลสุข <ัyaichom@hotmail.com>
- Sunday, May 19, 2002 at 11:15:33 (EDT)
เห็นด้วยอย่างยิ่งกับคุณสมัครขอให้คุณสมัครทำสำเร็จเพื่อคุณสมัครเองทุกสิ่งทุกอย่างไม่ต้องสนใจใครจะว่าอย่างไรได้ประโยชน์หรือไม่มากน้อยเพียงไรเพราะคุณสมัครไม่ฟังเหตุผลของใครอยู่แล้วนอกจากตนเองถูกต้องเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ฉะนั้นขอความกรุณาจากประชาชนอย่าได้ทัดทานค้านคัดท่านอีกเลยหามีประโยชน์ไม่ อนาคตข้างหน้าของสังคมเราไม่ต้องการศิลปะอีกต่อไป พวกเราเพียรเฝ้ามองอยากให้มีห้างสรรพสินค้าเยอะๆจะได้ใช้จ่ายกันอย่างมีความสุขเงินมันเหลือกินเหลือใช้จิตใจมักจะสงบเมื่อมีกิจกรรมเกิดขึ้นในศูนย์การค้ามีส่วนลดต่างๆมากมาย ชาวต่างจังหวัดมาเที่ยวกรุงเทพฯเพราะต้องการมาเดินศูนย์การค้ามิต้องการดูงานศิลปะไม่เราไม่ต้องการขอให้คุณสมัครทำให้สำเร็จนะชาวประชาทั้งชาติจักจารึกชื่อคุณไว้ในใจชั่วลูกชั่วหลานชั่วกาลกัลป์
เมษษา ศุกร์ราตรี <aeknin@hotmail.com>
- Thursday, May 16, 2002 at 14:34:22 (EDT)
ไม่เห็นด้วย หอศิลป์ มีไว้สำหรับประโยชน์ทางด้านการศึกษา หรือด้านอื่น ๆ ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อนที่นำเอา ความเป็นคนละอย่างมารวมกันได้ คนที่ตั้งใจจะมาหอศิลป์คือคนที่ใฝ่รู้ ศึกษา ซึ่งอาจต้องใช้เวลาเป็นวัน ๆ ไม่ใช่มาเดินซื้อขอแล้วแวะเข้ามา ก็จะไม่ได้อะไรจากหอศิลป์เลย หอศิลป์ไม่ใช่โรงภาพยนต์ในศูนย์การค้า ที่เดินเหนื่อยแล้วจะเข้าไปนั่งพัก หรือเป็นเหมือนตู้เกม หรือร้านคอมฯ การที่เราจะไปในที่ที่มีความเป็นอารยธรรมอีกแบบหนึ่งก็ต้องทำใจไปก่อนแล้ว เช่นจะไปอยุธยา ก็ต้องรู้ว่าจะไปเพื่อเห็นความยิ่งใหญ่ ความเจริญในยุคนั้น และมีอะไรให้ศึกษามากมาย ไม่ใช่ไปอยุธยาแล้ว เพื่อไปห้างสรรพสินค้า มันทำใจไม่ได้ มันคนละแบบกัน หอศิลป์ควรเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของกรุงเทพฯ และจะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้คนต่างชาติได้ชม ถ้าอยากจะไปเดินศูนย์การค้า ละแวกนั้นก็มีมากมายจนเดินไม่ทั่ว และถ้าจะทำเป็นศูนย์การค้า ก็ไม่อาจเทียมกับ ของเดิมที่เขามีอยู่ เพราะเขาเป็นมืออาชีพ ขอหอศิลป์ให้เป็นตัวของมันเองเถอะ อย่าเห็นแก่โลกาภิวัฒน์อย่างเดียวเลย
คนบ้านนอก
- Thursday, May 16, 2002 at 02:40:29 (EDT)
ลองคิดดูสิ งบประมาณของกรุงเทพมหานครแต่ละปีทุ่มให้กับอะไรบ้าง อย่างงานสงกรานต์ที่ผ่านไปแค่4-5วันก็ทุ่มไป 30 กว่าล้าน เพื่อการท่องเที่ยวและโปรโมทประเทศไทย ผ่านแล้วก็ผ่านเลย แต่เรื่องหอศิลป์ การอ้างว่าไม่มีงบประมาณของผู้ว่ากทม.ดูจะไม่สมเหตุสมผลเลย ลองพิจารณาให้ลึกกว่านั้น คงไม่ต้องพูดถึงความสำคัญของศิลปะวัฒนธรรมของชาติกันหรอก ทุกวันนี้เด็กๆในชาติก็ไม่ค่อยเข้าใจกันแล้วในเรื่องวัฒนธรรมไทย ไม่มีความเป็นไทยหลงเหลือให้เห็นกันแล้ว สิ่งเหล่านี้ผู้บริหารประเทศไม่เคยคำนึงถึง ศิลปะนั้นมีความสำคัญมากกว่าที่พวกเขาจะเข้าใจ ถ้าหากเพิ่มความสำคัญให้กับเรื่องศิลปะวัฒนธรรมอีกนิด สังคมอาจจะน่าอยู่ขึ้น เปิดโอกาศให้กับคนอีกกลุ่มที่ได้ชื่อว่าทำงานศิลปะ สร้างสิ่งงดงาม ให้กับบ้านเมืองไม่ดีกว่าเหรอ
noi
- Saturday, April 27, 2002 at 01:51:42 (EDT)
It is unbelievable to hear such stupid ideas, you cannot mix art with business. Although these things could be combined like the commercial art. Art is something that could reflect the movement of the society, and also, its identity is rather difference from business, which is to give and to take. I believe those who loves in Art will not be agreed with Samuk's idea. When people walk in to any department store, it's liked they are trading with department , you get the fresh air, but you will have to buy something, or taking its package for economic advertising. You cannot insert the Kapi into the hamburger. As Kapi is created from the old times, it is intellectual food that acquires from the past generation. But Hambergur is junk food, you get it fast, you do not care about its quality. You just love its package, it gives you some images that is not your identiy.
Webmoew <webmeow2000@yahoo.com >
- Saturday, March 23, 2002 at 08:11:13 (EST)
เห็นด้วยกับการที่มีหอศิลป์ในศูนย์การค้า เพราะเป็นสถานที่ที่ไปได้ง่าย ไปเป็น เพราะเป็นข้าราชการบ้านนอกแต่ชอบเสพงานศิลป์ เลยไม่รู้ว่าหอศิลป์อยู่ที่ใหน รู้จักแต่ศูนย์การค้า และดีใจที่จะได้เห็นงานศิลป์ที่เราชอบมาตั้งแสดงในศูนย์การค้าซึ่งเราไปเป็นประจำอยู่แล้ว อยากให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด
ชิตวร กันเนื่อง <k.chitworn@chaiyo.com>
- Wednesday, March 06, 2002 at 03:34:19 (EST)
yes
rounachai silamom <srounachai@hotmail.com>
- Wednesday, February 27, 2002 at 09:18:42 (EST)
I am agree with Khun Berzerkovich..but I understand that every one has their own ideas, why don't we sit down together and talk nicely to each other??? We are Thai people, aren't we? Aren't we suppose to be peaceful sort of people that even those foreigners admired our characteristic...??? Why? Why? Why?
aquamarine <nan_amv@hotmail.com>
- Sunday, February 24, 2002 at 19:07:07 (EST)
samuk is a shit guy
chacha <chachared@hotmail.com>
- Wednesday, January 30, 2002 at 19:25:58 (EST)
ไม่เห็นด้วยไม่เงินไปทำที่อื่นหรือไง
ทวีชัย นวลทา <taweechai@maildozy>
- Monday, January 28, 2002 at 07:33:57 (EST)
ในเศรษฐกิจเช่นนี้การเปิดกว้างสำหรับมุมมองที่ว่า ค่าใช้จ่ายของประเทศที่กำลังเป็นหนี้แทบล้มละลาย ควรน่าจะมีค่าอะไรบ้าง
ศิลปไม่ได้มีคุณค่าเพียงแค่เปลือกนอกที่หุ้อห่อมันเพียงเท่านั้น
โครงการควรอยู่แบบยั่งยืนได้ด้วยตัวเองด้วย
อย่างเศรษฐกิจแบบยั่งยืนของพระมหากษัตริย์ไม่ได้ปลูกจิตสำนึกใดๆแก่ค่านิยมของคนไทยบ้างหรือ
landarch
- Sunday, January 27, 2002 at 15:42:41 (EST)
ต้องการให้มีการสร้างหอศิลป์ตามแบบเดิม
แต่ตอนนี้เกิดความคิดใหม่ว่าที่ตรงแยกปทุมวันควรเป็นสวนสาธารณะมากกว่า เพราะกรุงเทพต้องการที่โล่งเพื่อคุณภาพอากาศ แต่ถ้าจะสร้างก็ขอให้เป็นหอศิลป์มากกว่าศูนย์การค้า
ชัชวาล บรรจงศิริ <artmuseum@mweb.co.th>
- Saturday, January 26, 2002 at 10:18:03 (EST)
คิดว่าหอศิลป์มีความขลัง สร้างศรัทธาให้ผู้ที่เข้ามาชมได้ถ้ามันเป็นตัวของตัวเอง ไม่เห็นด้วยครับ
ผมนี่แหละ
- Saturday, January 26, 2002 at 01:32:35 (EST)
ปัญหาในเรื่องนี้มี 2 ประเด็น คือ
1. เราจะสร้างเอง หรือ อาศัยงบประมาณที่ญี่ปุ่นเสนอให้ ถ้าเราจะไม่สนใจคำว่าศักดิ์ศรี การยอมรับข้อเสนอก็ ไม่แปลก อีกทั้ง ถ้าผู้เสนอเป็นนิติบุคคลที่ไม่แสวงหากำไร ก็ น่าคิดมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การพยายามยืนบนลำแข้งของตัวเอง ควรเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะ เป็นเรื่องภูมิปัญญาของเราเอง
ผมคิดว่า การจะสร้าง สมบัติ อันเป็นของสาธารณะขึ้นมานั้น ไม่ใช่ เรื่อง ของรัฐบาล เพียงอย่างเดียว แต่ ต้องอาศัยจิตสำนึกของคน ทั้งหมด ช่วยกัน ไม่ว่า จะเป็น วัดในชุมชน โรงเรียนในท้องถิ่น หอสมุด แห่งชาติ พิพิธภัณฑ์ หรืออะไรก็ตามที ทั้งนี้ วัฒนธรรมทางการเมืองของไทยเอง ก็แจ่มชัดอยู่แล้วว่า ขาด ความสำนึกในความเป็นส่วนรวม การอยู่ร่วมกันอย่างที่เป็นอยู่เป็นการแบ่งแยกชนชั้น โดยไม่ประกาศ ดังนั้น ผลประโยชน์ ทั้งหลายทั้งปวง หลายกรณีที่เป็นการพิพาท กัน จึง ดู เป็นเรื่องของคนเฉพาะกลุ่ม อย่างกรณีนี้ ที่แยก เป็นฝ่ายคุณสมัคร และ พวกศิลปิน เท่านั้น โดยเรื่องที่จะขยายวงไปสู่ ประชาชน นั้น ยังขาดความเอาใจใส่เท่าที่ควร
ในประเทศ อย่าง อเมริกา ประชาชน ต้องการอะไร เขา จะเป็นผู้ริเริ่มเอง จากนั้น รัฐบาลจะเป็นผู้สนับสนุน เพราะ ผู้ปกครอง ถูกเลือกเพื่อมารับใช้ประชาชน
ถ้าพิจารณาดีดี เราจะเห็นว่า ประเทศไทย มีการเจริญ หรือ การกลายเป็นเมือง ( Urbanization ) แบบ เอกนคร ( centrism ) กล่าวคือ ถ้า พูดถึง ความเจริญ ของเมือง การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการค้า ก็ย่อมหมายถึง เราจะหาสิ่งเหล่านี้ได้ครบ ก็ แต่ ในกรุงเทพเท่านั้น แต่ อย่างไรก็ตาม การสร้างหอศิลป์ ขึ้นมานั้น จึง เป็นเสมือน หอศิลป์ของ ประเทศ
ในต่างประเทศ พิพิธภัณฑ์ ประจำเมือง ก็ เป็นหน้าที่ของ เมืองนั้นที่จะดูแลกันเอง แต่ที่บ้านเรา ไม่เป็นอย่างนั้น เพราะ ระบบการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ( Decentralization ) ไม่เติบโตอย่างที่ควรจะเป็น เพราะปัญหา วัฒนธรรมการปกครองแบบเก่า ๆ
และประเทศเรา ไม่เคยมีการวางผังเมือง ( วางผังเมือง ไปได้แค่ ไม่ถึง 3 % ของพื้นที่ทั้งหมด ) เมืองอื่น ๆ ในต่างจังหวัดที่เติบโต ก็ กำลัง เป็นเมืองไร้ระเบียบแบบกรุงเทพ เข้าไปทุกที อย่าง ที่ไม่มีทางจะแก้ไข เหมือนกรณี การปรับภูมิทัศน์ กรุงรัตนโกสินทร์
2. ถ้าสร้างแล้ว จะสร้างในศูนย์การค้าหรือ แยกเป็นเอกเทศ ในช้อนี้ ควรแยกเป็นสัดส่วน เพราะ
ความเป็นจิตวิญญาณทางศิลปะนั้น อาจจะสายเกินการณ์ถ้า เรา ยัง คิด แบบเดิม ๆ อยู่ เพราะ คนไทย ไม่มีความลึกซึ้ง อะไร ในวัฒนธรรมของตัวเองมากนัก และคงจะแปลกที่ยังถามเรื่อง จิตวิญาณศิลปะกันอีกในยุคนี้ เรื่องนี้จึงต้องการความสนใจจากรัฐบาลอย่างยิ่ง ก็มิใช่เพราะความเป็นโลกาภิวัตน์หรอกหรือ ที่เรา พยายามสถาปนาวัฒนธรรม แขนงต่าง ๆ ขึ้นมาใหม่ถึงกับจะสร้างพิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดกันทีเดียว การจะสร้างในศูนย์การค้า ก็หนีไม่พ้นเรื่องการพยายามชักจูงคนเข้าไปเพราะคิดว่า มัน เหมือน สินค้าอื่น ๆ ตามแบบฉบับการตลาด ที่สร้างจุดแข็ง ลบจุดอ่อน เพื่อ การขาย ขอมองว่า เรื่องศิลปะนั้นสำคัญกว่านั้น เพราะ ศิลปะที่เป็นของเราจริง ๆ นั้น กำลังจะตายไปกับ วัฒนธรรมจากที่อื่น หรือ แม้ ศิลปะร่วมสมัย หรือ สมัยใหม่ ที่มีต้นกำเนิดมาจากตะวันตก แต่ เนื้อหาก็ ยัง เชื่อมโยงกับ บริบท ของ วัฒนธรรมเดิมอยู่ การตลาดมีข้อดีคือ รุกเร็ว แต่ มันไม่เคยสนใจคำว่า " วัฒนธรรม "
ส่วนเรื่องการทำประชาพิจารณ์หอศิลป์นั้น จริงอยู่ที่คุณสมัคร บอกว่า ไม่จำเป็นต้องมีการทำประชาพิจารณ์ เพราะ เป็นเรื่องของกรุงเทพมหานคร ซึ่ง เป็นการปกครองส่วนท้องถิ่น กอปรกับรัฐธรรมนูญ ให้อำนาจในเบื้องต้นที่ประกาศใช้ไว้เพียง ผู้บริหาร เท่านั้น ซึ่ง ในที่นี้ หมายถึงระเบียบ ว่าด้วยการทำประชาพิจารณ์ นั้น เป็นดุลพินิจ ของผู้บริหาร
แนวทางที่ ประชาชน จะสามารถสนองความต้องการของตนได้ จึง ต้อง อาศัย กระทรวงมหาดไทย เข้ามาเกี่ยวข้อง มีคำสั่ง ให้ กรุงเทพมหานคร ทำการประชาพิจารณ์
ทั้งหลายทั้งปวง ขึ้นอยู่กับประชาชนเป็นสำคัญ
Berzerkovich <phongtep70@hotmail.com>
- Thursday, January 24, 2002 at 00:10:23 (EST)
การที่หอศิลปกลายเป็นศูนย์การค้าดูน่ากลัวเกินไป ที่ศิลปมากับการค้าขาย ตกลงว่าเราจะทำอะไรกันแน่ระหว่างศิลปะและธุรกิจ แต่การที่จะทำให้หอศิลป มีความพร้อมในการที่จะอำนวยความสะดวกผู้มาชม อันนี้ก็เห็นด้วย เพดราะบางครั้งมีของดีแล้วไม่มีความพร้อม คนไม่รู้จัก สร้างไปก็คงไม่ได้ประโยชน์อะไร
sek_envi
- Wednesday, January 23, 2002 at 10:37:38 (EST)
ไม่ชอบ51:49 มันดูเหมือนเป็นหมูที่ถูกหลอกให้กินแค่เศษอาหารในรางแต่สุดท้ายก็ต้องถูกเชือดอยู่ดี ถ้ามีทางอื่นที่น่าสนใจกว่านี้ก็น่าจะลองดู เราน่าจะมีทางเลือกมากกว่านี้ เราน่ะอยากได้หอศิลป์อยู่แล้วเพราะเบื่อศูนย์การค้าจะแย่ แต่ถ้าทำแล้วไม่ดี(น่าเบื่อ)เพราะจัดทำรูปแบบเดิมๆก็ไม่ควรจัดทำ เราอยากเห็นศิลปะในทุกๆแขนงไม่ว่าจะเป็นงานเขียน งานผ้า งานพิมพ์ ดนตรี หรือแม้แต่ขยะที่นำมาทำเป็นงานศิลป์ เรายังไม่ทราบรูปแบบที่เป็นรายละเอียดลึกๆลงไปเลยว่าเป็นอย่างไร แต่เราก็คิดว่าควรมีการทำประชาพิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง จุดประสงค์หลักของโครงการคือที่พักผ่อนหย่อนใจที่ไม่ใช่ศูนย์การค้า ถ้าเป็นศูนย์การค้าจะทำรูปแบบไหน 49:51 มันก็จะผิดวิสัยมนุษย์จนเกินไปสงสัยมากเลยว่านี่คืออัตราส่วนอะไร ทำรูปแบบอื่นดีกว่ามั้ย ไม่อยากให้ล้มเลิก แต่ไม่อยากให้มีถ้ามีแบบห่วยๆไม่ดี เราไม่ต้องการให้ศิลปะเป็นเรื่องของแค่รสนิยมของศิลปินบางท่าน หรือนักปกครองบางคน ศิลปะเป็นเรื่องการเปิดกว้างทางจิตวิญญาณของมนุษยชาติ หากคุณยังไม่เข้าใจกันไม่ว่าด้านใดด้านหนึ่งก็อย่ามีหอศิลป์เลย มันเสียจิตวิญญาณแห่งศิลปะ ไปหาศิลปะแถววัดโพธิ์ ริมฟุตบาท เมืองนอกหรือต่างจังหวัดก็ได้ เราไม่หน่ายอยู่แล้วในการทำความรู้จักกับศิลปะ ศิลปะแสดงถึงความเป็นชาติที่รุ่งเรือง บอกแนวความคิด สั่งสมอารยธรรม วัดเก่าอายุร้อยกว่าปีมีความงามในตัว แต่คนที่คิดแต่ประโยชน์ระยะสั้นมีความงามตรงไหน สร้างหอศิลป์ก็เหมือนกับสร้างวัดนั่นแหละ มันต้องมีใจมาน้อมนำ ไม่มีใจมันก็เจ็บปวดด้วยกันทุกฝ่าย เราเห็นเมือง Sydney มีโปร่าเฮาส์ทุ่มทุนสร้างกันสุดๆ กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ใครก็อยากไป(เสียตังค์ไปชมแพงจะตาย)แต่เรา(กรุงเทพเมืองฟ้าอมร)แค่ที่พักผ่อนหย่อนใจยังไม่มีเลย สมแล้วที่เด็กวัยรุ่นจะติดยากันทั่ว เราอยากให้เมืองไทยมีรอยยิ้มนะ ทิ้งท้ายด้วยหัวใจชื่นบานกันสักนิดดีกว่านะครับ
"ศิลปินไม่ดูหมิ่นศิลปะ กองขยะดูให้ดีจะมีศิลป์"
ด้วยรัก...จากห้วงนที
มหรรณพ <nuhin_xxx@lemononline.com>
- Wednesday, January 23, 2002 at 07:39:27 (EST)
การสร้างหอศิลปะเป็นเรื่องดี แต่คงต้องคำนึงถึงงบประมาณที่จะใช้จ่ายด้วย เพราะถ้าจะเบียดบังเอางบประมาณชาติที่อาจช่วยให้เด็กที่ไร้โอกาสได้มีการศึกษา มีอาหารกลางวันกิน คงต้องเตรียมคำตอบที่ดีให้สังคมให้ได้ กรณีที่กทม.จะนำโครงการนี้ไปเป็นโครงการสร้างรายได้นั้นคงไม่ถูกต้องถ้าจะคิดมาทำกำไรกับหอศิลป์
ผมลองคิดเล่นๆว่าถ้าผู้สนใจจะเสพศิลป์ล้วนๆจะลองช่วยกันสมทบทุนให้มากพอสร้าง และสร้างตามกำลังทรัพย์ที่มี บวกกับยอมทำสัญญากับหอศิลป์เพื่อแสดงเจตจำนงที่จะบริจาคเงินให้หอศิลป์เป็นค่าบำรุงรักษาทุกปีตราบชั่วอายุคงจะพอให้หอศิลป์อยู่ได้ ไม่ต้องอยู่อย่างอเน็จอนาถอย่างพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ที่ขาดงบประมาณอุดหนุนจากรัฐอย่างที่เป็นอยู่
เอ้า ใครเห็นด้วยช่วยบอกหน่อยครับ จะลงขันกันเท่าไหร่?
CrazyHOrse
- Wednesday, January 23, 2002 at 04:29:02 (EST)
มิได้เห็นด้วย หรือคัดค้านความคิดที่จะมีศูนย์การค้า หรืออะไรก็ตามที่เป็นพาณิชย์เข้าไปปะปน
แต่ผมพยายามคิดว่า เคยเห็นไหมครับ พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ ต่างๆ (บางที่ก็ปิดไป) และส่วนใหญ่เงียบเหงามาก คนทั่วไปเกรง ว่าฉันเข้าไม่ถึงศิลปะ ไม่มีหัวทางศิลป์ ดูไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจพวกศิลปิน คราวนี้เนี่ย ปัญหานี้จะแก้กันอย่างไร?
หอศิลป์ที่มีขึ้นทั่วไป ต่างก็เงียบเหงา ค่าไฟ ค่าแอร์ ค่าสถานที่ เปิดไว้เฉย เทียบกับประโยชน์ ความคุ้มค่า การใช้งานแล้ว จะคุ้มไหม ทำอย่างไรให้คุ้มกว่านี้ และเชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงได้ง่ายๆ และอยากเข้าไปใช้สอยพื้นที่นั้นๆ
แน่นอนว่า ต้องแก้กันที่ต้นเหตุ คือความเชื่อพื้นฐาน ความรู้การศึกษา และมีตังกินข้าวก่อนจะถึงขั้นเสพงานศิลป์ กับทัศนคติ ของประชาชน
แล้วแก่นของทางแก้ปัญหา ในเวลาปัจจุบันล่ะ ผมเห็นว่า การหาสิ่งบันเทิงที่เข้าพวก หรือการแบ่งปันประโยชน์ใช้สอยของพื้นที่ ให้คนหมู่มาก ได้เดินเข้าไปใช้งาน มันจะช่วยให้คนสัมผัสศิลปะมากขึ้น ง่ายขึ้นจริงไหม คราวนี้อยู่ที่ว่าจะทำอย่างไร ถ้าเราไปโจมตีแต่ ผลการกระทำปลายทางของคุณสมัคร อย่างเดียว ผมว่าเท่ากับมองโลกแคบไปหน่อย
เหมือนห้างสรรพสินค้าที่ไม่ค่อยมีคนเดิน รอแต่วันเจ๊ง ทางเจ้าของก็ต้องหาทางทำให้ อย่างน้อย มีคนเข้ามาหมุนเวียนให้เยอะๆ ไว้ก่อน แล้วร้านค้าภายใน ก็จะพอเลี้ยงตัวได้บ้าง แต่ผมไม่ได้หมายความว่าทางออกของหอศิลป์ ต้องเป็นอย่างที่คุณสมัครระบุไว้เพียงแบบเดียว
ถ้า หอศิลป์นั้น ปล่อยให้ดำเนินการหาเลี้ยงชีพด้วยตัวเอง คิดว่าจะขาดทุนไหมครับ เลี้ยงเอาตัวรอดไหมครับกับสภาพเศรษฐกิจเมืองไทย และทัศนคติของคนไทย ที่ยังมีฐานะไม่ได้ดีเท่าไร
อยากให้มี หอศิลป์ เกิดขึ้นครับ แต่อยากให้เลี้ยงตัวเองได้ ไม่เงียบเหงา ประชาชนส่วนใหญ่ เข้าถึงได้ง่ายๆ มาช่วยกันคิดตรงนี้ดีกว่า ว่าจะทำยังไง
kobotic
- Wednesday, January 23, 2002 at 02:41:08 (EST)
หอศิลป์ควรจะให้ฝ่ายศิลป์พิจารณาคือศิลปิน และผู้ถักทองานศิลปะ มิใช่ให้ผู้บริหารมาตัดสิน เพราะผู้บริหารไม่อาจเข้าถึงศิลปะได้ และศิลปะก็ไม่เหมือนแกงกะหรี่ หรืออาหารที่ท่านผู้ว่า กทม. ชอบ
นายอนุสรณ์ งอมสงัด <s_e_r@beer.com>
- Monday, January 21, 2002 at 23:47:59 (EST)
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ที่จะนำ หอศิลป์กับศูนย์การค้ามาไว้ร่วมกัน ควรจะสร้างไว้เฉพาะ เพื่อแสดงงานศิลปะ หรือเป็นแหล่งรวมของคนที่รักศิลปะ โดยเฉพาะ เพราะเสมือนกับเป็นสถานที่สำคัญ เพื่อส่งเสริมงานด้านศิลปะให้เด่นชัดขึ้น เหมือนกับการที่เราพูดถึง rca เราจะนึกถึงสถานที่บันเทิง สถานที่เที่ยวกลางคืน ในกรณีนี้ก็เช่นกัน เมื่อพูดถึงหอศิลป์ ก็ควรจะนึกถึง การแสดงงานศิลปะ แหล่งรวมความรู้ด้านศิลปะ ไม่ใช่ ไปช็อปปิ้ง หรือเป็นที่รวมของร้านอาหาร รับประทานด่วน
ดวงนภา <pitta14@yahoo.com>
- Monday, January 21, 2002 at 07:37:06 (EST)
จะสร้างในศูนย์การค้าก็ได้ แต่ขอให้คุณสมัครฟังเสียงคนอื่นบ้าง อย่าคิดว่าตัวเองถูกไปเสียหมด
อิทธิ <ithi_s@bigfoot.com>
- Sunday, January 20, 2002 at 09:27:15 (EST)
ไม่ควรมีศูนย์การค้าในหอศิลป์
ลูกแหนม
- Saturday, January 19, 2002 at 06:33:01 (EST)
หอศิลป์ จะตั้งอยู่ตรงไหนก็ได้ จะในศูนย์การค้าก็ได้ ขอแค่เดินทางสะดวก มีที่จอดรถ และปลอดภัย
ที่สำคัญ มันอยู่ที่สิ่งที่อยู่ข้างใน
อานนท์
- Thursday, January 17, 2002 at 07:02:57 (EST)
Smak is a pain in the ass. His comment always agressive and unacceptable. I really have no idea what we should do with this guy! So sad!
Ben
- Wednesday, January 16, 2002 at 21:14:24 (EST)
คัดคัานลูกเดียว
คนเราไม่มีเงินไม่ตายหรอกครับ
แต่ถ้าขาดวัฒนธรรมสิ้นชาติทันที
บบอย <kadai@hunsa.com>
- Tuesday, January 15, 2002 at 03:44:53 (EST)
สมัคร มั่ว
x
- Saturday, January 12, 2002 at 11:38:48 (EST)
ไม่เห็นด้วยกับแนวทางคุณสมัคร เหตุหลักที่คัดค้านเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องเกียรติของประเทศ เพราะหอศิลปะแม้จะมีแนวคิดมาจากตะวันตกแต่ก็เป็นเครื่องแสดง เอกลักษณ์ ภูมิปัญญา ของคนไทย
การสร้างในศูนย์การค้าไม่ต่างอะไรจาก ห้องแสดงภาพที่มีอยู่เกลื่อนกล่น ห้องเหล่านั้น มีไว้เสนอขายภาพ แก่ ผู้ร่ำรวย เท่านั้น แต่หอศิลป์ เป็นของคนทุกคน ทุกชนชั้น และที่สำคัญ สิ่งที่เป็นจิตวิญญาณของชาติ เกียรติภูมิของประเทศ การให้ประเทศอื่นมาบอกว่า เราควรทำอะไรแสดงให้เห็นวิธีการคิดของคนประเทศนี้ที่เพียงแค่หวังผลสำเร็จรูปที่ง่ายดาย ฉาบฉวย มากกว่าจะกำหนดวิถีทางของตนเองโดยที่เราไม่ควรคิดว่า เป็นเรื่องเสียเปล่า
ในอดีต ประเทศญี่ปุ่น สร้างพิพิธภัณฑ์พระนครศรีอยุธยาให้เรา สร้างพิพิธภัณฑ์แสดงไดโนเสาร์ที่อุดรธานีให้เรา เหล่านี้หากพูดถึงความจำเป็นในแง่เศรษฐกิจ เรามีความสามารถที่จะเสียได้เพื่อแลกกับสิ่งที่มีคุณค่าถ้าเปรียบเทียบกับการคอรัปชั่นซึ่งสูญเสียเม็ดเงินของส่วนรวมเป็นอันมาก มีการลงทุนของประเทศไหน หรือ รัฐไหน ที่ให้เปล่าโดยไม่หวังผลตอบแทนบ้าง แม้ว่า ยังไม่มีใครระบุได้ แต่อย่างน้อย มันก็เป็นสายสัมพันธ์ทางใจ ในฐานะรัฐต่อรัฐ ที่จะพูดคุยกันง่ายขึ้น ซึ่ง อาจเป็นเรื่องดีแต่คงไม่ใช่สำหรับ ศิลปะ เป็นแน่
และที่สำคัญ มันสะท้อนให้เห็นถึง คนไทย ที่มีมีความลึกซึ้งอะไรในวิถีชีวิต รากเหง้า ของตนเองเลย
ณัฐพล
- Thursday, January 10, 2002 at 01:24:20 (EST)
ไม่เห็นด้วยกับแนวทางคุณสมัคร เหตุหลักที่คัดค้านเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องเกียรติของประเทศ เพราะหอศิลปะแม้จะมีแนวคิดมาจากตะวันตกแต่ก็เป็นเครื่องแสดง เอกลักษณ์ ภูมิปัญญา ของคนไทย
การสร้างในศูนย์การค้าไม่ต่างอะไรจาก ห้องแสดงภาพที่มีอยู่เกลื่อนกล่น ห้องเหล่านั้น มีไว้เสนอขายภาพ แก่ ผู้ร่ำรวย เท่านั้น แต่หอศิลป์ เป็นของคนทุกคน ทุกชนชั้น และที่สำคัญ สิ่งที่เป็นจิตวิญญาณของชาติ เกียรติภูมิของประเทศ การให้ประเทศอื่นมาบอกว่า เราควรทำอะไรแสดงให้เห็นวิธีการคิดของคนประเทศนี้ที่เพียงแค่หวังผลสำเร็จรูปที่ง่ายดาย ฉาบฉวย มากกว่าจะกำหนดวิถีทางของตนเองโดยที่เราไม่ควรคิดว่า เป็นเรื่องเสียเปล่า
ในอดีต ประเทศญี่ปุ่น สร้างพิพิธภัณฑ์พระนครศรีอยุธยาให้เรา สร้างพิพิธภัณฑ์แสดงไดโนเสาร์ที่อุดรธานีให้เรา เหล่านี้หากพูดถึงความจำเป็นในแง่เศรษฐกิจ เรามีความสามารถที่จะเสียได้เพื่อแลกกับสิ่งที่มีคุณค่าถ้าเปรียบเทียบกับการคอรัปชั่นซึ่งสูญเสียเม็ดเงินของส่วนรวมเป็นอันมาก มีการลงทุนของประเทศไหน หรือ รัฐไหน ที่ให้เปล่าโดยไม่หวังผลตอบแทนบ้าง แม้ว่า ยังไม่มีใครระบุได้ แต่อย่างน้อย มันก็เป็นสายสัมพันธ์ทางใจ ในฐานะรัฐต่อรัฐ ที่จะพูดคุยกันง่ายขึ้น ซึ่ง อาจเป็นเรื่องดีแต่คงไม่ใช่สำหรับ ศิลปะ เป็นแน่
และที่สำคัญ มันสะท้อนให้เห็นถึง คนไทย ที่ไม่มีความลึกซึ้งอะไรในวิถีชีวิต รากเหง้า ของตนเองเลย
ณัฐพล
- Thursday, January 10, 2002 at 01:23:59 (EST)
พบกันครึ่งทางดีกว่านะครับ ผมเห็นด้วยกับความคิดของคุณสมัคร เพราะเราก็ไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม คนไทยส่วนใหญ่ก็ชอบใช้เวลาว่างโดยการเดินเล่นในห้างอยู่แล้ว ก็น่าจะทำหอศิลป์ในนั้นเลย เพื่อให้คนได้ใกล้ชิดกับศิลปะบ้าง
แต่ต้องแยกศิลปะกับแนวทางของทุนนิยม ของธุรกิจออกจากกันนะครับ เพราะไม่อย่างนั้นถ้าศิลปะอยู่ในแนวทางเดียวกันกับทุนนิยมเมื่อไหร่ละก็ งานศิลปะที่ทรงคุณค่าก็หมดความหมาย ก็เหมือนกับเพลงในปัจจุบันที่ค่ายเพลงใหญ่ๆ มุ่งเอาแต่ทำยอดขาย ขาย(หน้าตาและหุ่น)นักร้อง แทนที่จะขายศิลปะของเพลงเป็นหลัก
สรุปแล้ว...ทำหอศิลป์ในห้างทำได้ครับ แต่ผู้ดูแลควรเป็นผู้ที่เห็นคุณค่าทางจิตใจ ทางศิลปะมากกว่าเห็นคุณค่าทางธุรกิจครับ
สาวก Dajim
- Tuesday, January 08, 2002 at 23:01:16 (EST)
สนับสนุนแนวคิดคุณสมัคร..การสร้างหอศิลป์ร่วมสมัยเป็นสิ่งที่ดีครับ ฝ่ายที่คัดค้านส่วนใหญ่ก็คงเป็นศิลปินที่รักในงานศิลป์จริงๆ ซึ่งอาจจะเป็นการใจดำไปหน่อย หากสร้างหอศิลป์ที่ไม่ใส่ใจในแนวทางของการเชิญชวนให้คนเข้าไปชื่นชม....เหมือนกัน พิพิฒภัณน์ที่สร้างไว้แต่ไม่มีคนสนใจเข้าไปชม
ผมว่าหากจะสร้างแบบนั้นสร้างไปก็เท่านั้นครับ อย่างน้อยเราก็ต้องยอมรับในระบบทุนนิยมในบ้างเรื่องนะครับ แม้มันอาจจะกึ่งไปในทางศูนย์การค้านิดๆแต่ว่าในความเป็นศูนย์การค้าที่มีคนใช้บริการนั้นก็มีงานศิลป์ให้ผู้คนได้เรียนรู้ไปในตัวด้วย ซึ่งมันไม่ได้เป็นสิ่งเลวร้ายเลย ตรงกันข้ามเป็นแนวคิดที่สร้างสรรค์อีกต่างหาก
อีกอย่างคือจุดที่จะสร้างคือสี่แยกปทุมวันนั้น หากจะสักแต่สร้างโดยไม่มองว่าจะทำอย่างไรให้คนเข้ามาใช้บริการนั้น อย่าสร้างเลยครับ .....
ธวัชชัย <thawatchai@friends.co.th>
- Tuesday, January 08, 2002 at 21:32:53 (EST)
ไม่เห็นด้วยหรอก..ศิลปะกับทุนนิยมมันก็สวนทางกันอยู่แล้ว วัตถุกับจิตใจควรแยกกัน
saneh Sriraksa <cultsouth@hotmail.com>
- Tuesday, January 08, 2002 at 05:58:43 (EST)