|
เรื่องจากปก
|
ภาพปก : วิวัฒน์ พันธวุฒิยานนท์ |
|
ล่าพลอยสีชมพู สุดขอบฟ้ามาดากัสการ์
พลอยแดงหรือทับทิม พลอยชมพู พลอยน้ำเงิน พลอยเขียว พลอยเหลือง ล้วนมีเรื่องเล่าส่วนตัวแตกต่างกันไป ตั้งแต่ธาตุที่เจือปนในเนื้อแร่กะรุน (corundum) ทำให้เกิดเป็นสีสันต่าง ๆ และความเข้ม-อ่อนต่าง ๆ ความนิยม ความเชื่อ ราคา โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งที่พบสำคัญ
ซึ่งมีความเป็นมาแตกต่างกัน
และถูกใช้เป็นมาตรฐานชี้วัดคุณภาพของพลอยได้
แต่เมื่อพลอยแดงจากพม่า
ที่ถือกันว่าเป็นราชาแห่งอัญมณีค่อนข้างปกปิดตัวเอง ไม่ยอมให้ใครอื่นเข้าไปแตะต้อง ทำการค้าอย่างเสรี จึงคล้ายจบเรื่องเล่าของตัวลงเงียบ ๆ
เช่นเดียวกับไพลิน
หรือพลอยน้ำเงินของกัมพูชา พลอยจากรัตนปุระ ศรีลังกา ทับทิมสยามของจันทบุรี ตราด ที่ล้วนผ่านยุครุ่งเรืองของตัวมาแล้วทั้งสิ้น
นี่จึงเป็นยุคของพลอยสีชมพูจาก "มาดากัสการ์" อย่างแท้จริง
ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ถึงปัจจุบัน
นักธุรกิจไทยไปลงทุนทำเหมืองพลอย
และซื้อพลอยจากมาดากัสการ์
ส่งกลับมายังประเทศไทย
ปีละไม่ต่ำกว่า ๕ ตัน สร้างงานให้คนไทยไม่น้อยกว่า ๖ หมื่นคน |
สารคดีพิเศษ
|
|
|
การกลับมาของกระทิงแห่งเขาแผงม้า
ใครจะคิดว่า ห่างจากกรุงเทพฯ เพียง ๓ ชั่วโมงโดยรถยนต์ ขับรถขึ้นเขา แล้วเดินลุยพงเข้าไปอีกราว ๑๐๐ เมตร (หากไม่โชคร้ายเกินไป) ก็จะได้พบฝูงกระทิงหากินอยู่ต่อหน้า ! เขาแผงม้า อ. วังน้ำเขียว จ. นครราชสีมา อาจเป็นที่เดียวในประเทศไทย
ที่เปิดโอกาสให้เราพบเห็นกระทิงตามธรรมชาติ
ได้ง่ายดายเช่นนี้
นับแต่การพลิกฟื้นเขาแผงม้า
ตามโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ โดยเจ้าหน้าที่มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่เมื่อราว ๗ ปีก่อน
ผืนป่าดิบ
ซึ่งเคยถูกบุกรุกทำลาย
จนกลายเป็นเขาหัวโล้น
ก็เริ่มฟื้นคืนสภาพ พร้อม ๆ กับที่สัตว์ป่าน้อยใหญ่ทยอยกลับคืนสู่ผืนป่า
รวมทั้งฝูงกระทิงจากเขาใหญ่
ซึ่งอพยพมาหากินอยู่ที่นี่กว่า ๕๐ ตัว
ทว่าการพลิกฟื้นป่ากว่าจะถึงวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เบื้องหลังความสำเร็จที่น่าชื่นใจ คือความขัดแย้ง เหนื่อยยาก และการเผชิญหน้าระหว่างเจ้าหน้าที่โครงการฯ กับชาวบ้าน รวมถึงผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น
...ติดตามเรื่องราวความเป็นมา
ของป่าเขาหัวโล้น
ที่กลับกลายมาเป็นแหล่งพักพิงแห่งใหม่
ของฝูงกระทิงได้ในสารคดีพิเศษเรื่องนี้
อ่านต่อคลิกที่นี้
|
|
|
ล่าพลอยสีชมพู สุดขอบฟ้ามาดากัสการ์
นับจากปี พ.ศ.๒๕๓๖
ที่นักสำรวจในเครือบริษัทของคนไทย
เข้าไปพบแหล่งพลอยขนาดใหญ่
ในประเทศมาดากัสการ์ พ่อค้าพลอยชาวไทยทั้งจากจันทบุรี กาญจนบุรี และกรุงเทพฯ จำนวนนับพันคนก็มุ่งไปแสวงโชค รับซื้อพลอยจากชาวพื้นเมือง เพื่อนำกลับมาเผาและเจียระไนยังประเทศไทย รวมถึงการเข้าไปลงทุนทำเหมืองพลอยไม่น้อยกว่าหกราย
ที่นั่นกลายเป็นขุมทรัพย์ ซึ่งมีวัตถุดิบมาก หลากหลาย
และคุณภาพสูงพอจะทำให้อุตสาหกรรมอัญมณี
และเครื่องประดับไทยกลับมาคึกคักอีกครั้ง
ทว่าดำรงชีวิตของพวกเขา อยู่ในเมืองที่ห่างไกลกันดาร สภาพอากาศร้อนจัด-หนาวจัด ผู้คนหลากหลายจากร้อยพ่อพันแม่ เต็มไปด้วยอิทธิพลเถื่อน
แก๊งต้มตุ๋น
เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
ที่เฉยชากับปัญหาของคนต่างชาติ
ขณะที่คนบางส่วนมุ่งแต่จะจ้องหาโอกาส
ช่วงชิงหินสีล้ำค่าไปครองทุกวิถีทางนั้น...
ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่อย่างใด
อ่านต่อคลิกที่นี้
|
|
|
บนทางหมายเลข ๗ สู่ อันตานานาริโว
ประเทศมาดากัสการ์เป็นเกาะใหญ่
ทางฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสวยงาม และมีชื่อเสียงในฐานะเป็นรวมพืชพรรณ-สัตว์ป่า
ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว นับจากปี ๒๕๓๖
ซึ่งนักสำรวจของไทย
เข้าไปพบแหล่งพลอยน้ำเงิน
ทางตอนใต้ของเกาะ จนกระทั่งปัจจุบัน ดินแดนแห่งนี้ยังมีข่าวการค้นพบแหล่งพลอยใหม่ ๆ อยู่เสมอ กล่าวได้ว่า บนเกาะแห่งนี้เต็มไปด้วยพลอยคุณภาพสูง แทบทุกสี อยู่ในทุกเขตจังหวัดตลอดเหนือจรดใต้
โดยเฉพาะที่ "อิละกากะ" ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ พบพลอยชมพูและพลอยน้ำเงินปริมาณมหาศาล จากเดิมเป็นทุ่งเลี้ยงวัวที่แร้นแค้น ทำนา เพาะปลูกไม่ได้ มีแต่ชาวเผ่าที่มีวิถีชีวิตแบบกึ่งเร่ร่อนอาศัยอยู่ อิละกากะกลายมาเป็นจุดหมายของคนนับแสน ตั้งแต่นักขุดพลอยร่อนเร่...ไปจนถึงผู้ค้าอัญมณีทั่วโลก
สีสันและเรื่องราวของมาดากัสการ์จะเป็นเช่นไร วิวัฒน์
พันธวุฒิยานนท์
จะพาท่านผู้อ่านไปรู้จักดินแดนแห่งนี้
อ่านต่อคลิกที่นี้
|
Special Attractions |
|
|
Cover:
This pink sapphire hails from Ilakaka, Southern Madagascar, the largest source of colored gems on the planet. Thai gem merchants have long flocked to the African island to bring the multitude of beautiful, striking gems back home for cutting before they are exported abroad.
Vol. 17 No. 204 February 2002 |
|
|
|
|
|
In Hot Pursuit of the Pink Sapphire in Madagascar
Once mining gems in Sri Lanka, Cambodia and even Thailand became constricted - Myanmar being a closed society in which foreign investment in gem mining was and is near impossible - Thai gem merchants started exploring the African continent for potential in this area. It was in Madagascar that they stumbled upon a colorful array of gems, bountiful throughout the entire island. So bountiful, in fact, that it was able to revitalize the entire gem industry in Thailand.
Continue: click here
|
|
|
Highway Number 7 to Antananarivo
The baobab is a skinny and peculiar-looking tree. On the entire planet, there are only eight to nine kinds of the baobab in existence, Madagascar being home to seven. Many have nicknamed it the "upside down tree," as it actually appears to be, or the "ghost tree," for the frightening display of what seem to be roots growing out of the ground. Myth has it that a giant yanked the tree out of the earth in a fit of anger, only to return it to the soil wrong side up...
Continue: click here
|
|
|
The Return of the Bulls to Phaeng Ma Mountain
Nakhorn Ratchasima's Phaeng Ma Mountain may be the only place left in Thailand where bulls in the wild are easily and closely observed. Before, one followed the bull trails in the neighboring forests of Huay Kha Khaeng and Khao Yai, and made do with the lengthy distance from the bulls and the rare opportunities to even spot a flock. Since the awesome revival of Phaeng Ma Mountain forest and the subsequent migration of the bulls to their new lush abode, the Mountain has not only become the new place for bull watching, but a nourishing and safe environment for all wildlife and local vegetation... as long as poachers are kept at bay.
Continue: click here
|
|
|
|
บุคคลในประวัติศาสตร์
"หมูอมตะ" |
|
|