สารคดี ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๐๗ เดือน พฤษภาคม ๒๕๔๕
สารคดี ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๐๗ เดือน พฤษภาคม ๒๕๔๕ "๑๐ ปี พฤษภาคม ๒๕๓๕ สังคมไทยได้อะไร ?"
นิตยสารสารคดี Feature Magazine ISSN 0857-1538
  ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๐๗ เดือน พฤษภาคม ๒๕๔๕  

๒๒ ปีแก่งเสือเต้นกับคำถามเดิม : จะเอาเขื่อนหรือเอาป่า ?

๒๒ ปีแก่งเสือเต้นกับคำถามเดิม : จะเอาเขื่อนหรือเอาป่า ?
(ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณ คลิกที่นี่)
เกษร สิทธิหนิ้ว : รายงาน / วิจิตต์ แซ่เฮ้ง : ภาพ
      ละครเรื่องเดิมเปิดฉากอีกครั้ง...
      ไม่มีตัวละครใดถอนตัวออกไป ฉากและโครงเรื่องก็ไม่ต่างจากเดิม 
"ดงสักงาม" บริเวณที่ถือว่าเป็นหัวใจของผืนป่า ๒๘๔,๒๑๘ ไร่ของอุทยานแห่งชาติแม่ยม จังหวัดแพร่ ซึ่งนักพฤกษศาสตร์ถือว่า เป็นระบบนิเวศแบบป่าสักแห่งเดียวในประเทศไทย คือที่ตั้งของโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น- -เขื่อนกักเก็บน้ำขนาด ๑,๑๗๕ ล้านลูกบาศก์เมตร ที่จุดชนวนให้เกิดละครเรื่องยาวนี้ขึ้นมา
      เริ่มต้นเมื่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรี ให้ดำเนินการศึกษาโครงการผันน้ำกก-อิง-ยม-น่านในปี ๒๕๒๓ โดยมีเป้าหมายในการผันน้ำจากแม่น้ำโขง แม่น้ำอิง แม่น้ำน่านและแม่น้ำกก ลงสู่แม่น้ำยม โดยจะมีเขื่อนแก่งเสือเต้น เป็นเขื่อนศูนย์กลางคอยรับน้ำเกือบทั้งหมด เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า เก็บกักน้ำ นำไปใช้ประโยชน์ในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาในฤดูแล้ง และจะมีการผันน้ำจากแม่น้ำน่านบางส่วน ผ่านอุโมงค์ลงไปสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ที่กั้นแม่น้ำน่าน จังหวัดอุตรดิตถ์
      เขื่อนแก่งเสือเต้นจะทำให้ป่า ๔๐,๖๒๕ ไร่อันเป็นบริเวณ "ดงสักงาม" หัวใจของผืนป่าแม่ยม จมอยู่ใต้น้ำทันที
      ต่อมาในปี ๒๕๒๘ กฟผ. ได้โอนโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น ให้กรมชลประทานเป็นผู้รับผิดชอบ เนื่องจากเห็นว่าเป็นโครงการที่ให้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ 
      กระทั่งปี ๒๕๓๒ คณะรัฐมนตรีสัญจรที่เชียงใหม่ ได้อนุมัติให้ทำการศึกษาโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น ตามที่กรมชลประทานเสนอ โดยวัตถุประสงค์หลักในการสร้างเขื่อน ก็เพื่อพัฒนาระบบชลประทาน ให้แก่ประชาชนในจังหวัดแพร่และสุโขทัย ซึ่งจะมีพื้นที่ชลประทานถึง ๓๐๕,๐๐๐ ไร่ ทั้งนี้ทางกรมชลประทาน ได้ว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินการศึกษา และประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม 
      ภายหลังเปลี่ยนจากเขื่อนผลิตไฟฟ้า มาเป็นเขื่อนเพื่อการชลประทานและป้องกันน้ำท่วม การผลักดันให้มีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ก็เกิดขึ้นเป็นระยะท่ามกลางกระแสคัดค้าน ทั้งยังเคยจะมีการนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม ครม. ในเดือนกันยายน ๒๕๓๘ เพื่อขออนุมัติ ทั้งที่รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ 
      กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ คณะรัฐมนตรีสัญจรที่เชียงใหม่ ในสมัยรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา ก็ได้นำเรื่องแก่งเสือเต้นเข้าสู่ที่ประชุมอีกครั้ง คราวนี้เกิดกระแสต่อต้านอย่างหนักทั้งจากเอ็นจีโอ นักวิชาการ และชาวบ้านในพื้นที่ที่ต้องถูกอพยพ กระแสคัดค้านเป็นผลให้รัฐบาลมีมติ ครม. ๒๒ เมษายน ๒๕๓๙ ให้ชะลอโครงการออกไปเพื่อศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ก่อนตัดสินใจว่าจะเดินหน้าหรือยกเลิก 
      นับจากนั้นเป็นต้นมา ทั้งฝ่ายผลักดันและคัดค้านต่างผลัดกันรุกผลัดกันรับเป็นระยะ โดยต่างฝ่ายต่างหยิบยกเอาข้อมูลและผลการวิจัยต่าง ๆ ขึ้นมาสนับสนุนแนวคิดของตน รัฐบาลเองก็มีมติ ครม. ให้เดินหน้า- ชะลอโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้นเป็นระยะเช่นกัน ตามแต่สถานการณ์จะนำไป
      ฝ่ายสนับสนุนการสร้างเขื่อนชูประเด็นปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง รวมถึงประโยชน์ทางด้านการชลประทาน ที่จะเกิดกับประชาชน ๑๒ จังหวัดท้ายเขื่อน นับแต่จังหวัดแพร่ ไปจนถึงสุโขทัย พิจิตร ฯลฯ 
      ขณะที่ฝ่ายคัดค้านก็นำผลการวิจัย ว่าด้วยผลกระทบจากการสร้างเขื่อนในแง่ต่าง ๆ มาตอบโต้ ทั้งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความไม่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ความเสี่ยงอันเนื่องมาจากที่ตั้งเขื่อน ตลอดจนเหตุผลทางด้านสังคม และสิทธิชุมชนของชาวบ้านที่จะได้รับผลกระทบ 
      ระหว่างความขัดแย้งดำเนินไป หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก็ทยอยนำเสนอผลงานวิจัยของตนออกสู่สาธารณะ อาทิ
      รายงานการสำรวจผลกระทบจากการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ที่ทางธนาคารโลกได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยมหิดล ทำการศึกษาอย่างละเอียด พบว่า พันธุ์ไม้ที่สำรวจพบในบริเวณที่จะถูกน้ำท่วมมีถึง ๔๓๐ ชนิด (ตัวเลขดังกล่าวเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของพันธุ์ไม้ทั้งหมด เนื่องจากไม้ล้มลุกส่วนใหญ่ ออกดอกจนโรยหรือเหี่ยวเฉาไปแล้วก่อนที่จะมีการสำรวจ) มีสัตว์ป่าหายากชนิดต่าง ๆ หลงเหลืออยู่หลายชนิด ซึ่งการสร้างอ่างเก็บน้ำ จะปิดกั้นทางเดินของสัตว์ ที่จะไปหากินยังบริเวณที่ราบต่ำภายในอุทยานแห่งชาติแม่ยม นอกจากนี้นกในเขตอุทยานฯ ที่มีอยู่ถึง ๙๖ ชนิดจะได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะนกยูงทองที่พบได้เฉพาะที่นี่เพียงแห่งเดียว ทั้งยังมีพันธุ์ปลาอีกถึง ๖๘ ชนิดที่จะได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน
      ทางด้านกรมป่าไม้ก็ระบุว่า หากมีการสร้างเขื่อน ต้นไม้ใหญ่ที่จะถูกทำลายมีกว่า ๒ ล้านต้น แต่ถ้ารวมต้นเล็ก ๆ ด้วยแล้วจะมีมากถึง ๖๐ ล้านต้น คิดเป็นปริมาณถึง ๔๐๓,๘๘๔.๖๗ ลูกบาศก์เมตร ทว่ารายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่ทางกรมชลประทานศึกษา กลับระบุว่ามีเพียง ๑๑๒,๒๗๒.๑๙ ลูกบาศก์เมตรเท่านั้น 
      อย่างไรก็ตาม หลังเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ที่อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ และอำเภอน้ำก้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ตามมาด้วยปัญหาภัยแล้งจากปรากฏการณ์เอลนีโญ กระแสการผลักดันให้มีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ก็ระอุขึ้นมาอีกครั้งกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยครั้งนี้สื่อมวลชนรายงานว่า "อธิบดีดันทุรัง ชาตินี้ต้องสร้างแก่งเสือเต้น" (ข่าวสด, ๑๒ มีนาคม ๒๕๔๕)
      หลังจากนั้นไม่นาน ดร. คุณหญิง สุธาวัลย์ เสถียรไทย จากสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (GSE) หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง "การประเมินค่าทางเศรษฐศาสตร์ของป่าไม้ : กรณีศึกษามูลค่าที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ของป่าไม้สัก ในอุทยานแห่งชาติแม่ยมจากการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น" ได้ทำการประเมินมูลค่าการใช้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา ๕๐ ปีว่า หากมีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เราอาจสูญเสียประโยชน์ที่ได้จากป่าแก่งเสือเต้น เป็นมูลค่าสูงถึง ๔,๑๒๑ ล้านบาท ทั้งนี้ยังไม่นับรวมมูลค่าที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ ซึ่งหากคิดในมูลค่าปัจจุบันจะตกเป็นเงินถึง ๒,๑๗๘.๓ ล้านบาท
      จากงานวิจัยชิ้นนี้ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการประเมินค่าสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรชีวภาพออกมาเป็นตัวเลข พบว่า ผืนป่าสักในอุทยานแห่งชาติแม่ยม ให้ผลตอบแทนสูงกว่ามูลค่าของการมีเขื่อนแก่งเสือเต้น ซึ่งทางองค์การอาหารและเกษตร (FAO) และธนาคารโลกประเมินไว้ที่ ๑,๘๐๐ ล้านบาท ประมาณ ๒-๔ เท่า อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวยังไม่ถูกนำมาใช้ประกอบ ในการพิจารณาความเหมาะสม ของโครงการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นแต่อย่างใด (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในนิตยสาร สารคดี ฉบับที่ ๒๐๖ เม.ย. ๒๕๔๕)
......................................
      การเปิดฉากอีกครั้งของละครเรื่องเดิมดูไม่ต่างจากที่ผ่านมาเท่าไร ตัวละครแต่ละฝ่ายต่างก็ยึดกุมบทบาท และเป้าหมายเดิม ๆ ของตนไว้อย่างมั่นคง ที่เปลี่ยนไปบ้างคงเป็นข้อมูลและมุมมองใหม่ ๆ ที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลา 
      แต่ที่สำคัญ เรื่องราวของมันดูจะไม่ลงเอยไปง่าย ๆ แม้ว่าละครเรื่องนี้จะเดินเรื่องยืดเยื้อยาวนานมากว่า ๒๐ ปีแล้วก็ตาม 
      ทว่าผู้ชมอย่างเราก็คงมีหน้าที่ต้องตั้งตารอดูกันต่อไป เพราะละครเรื่องนี้ไม่ใช่ละครธรรมดา หากเป็นละครเรื่องยาว ที่มีป่าสักทองผืนสุดท้ายของประเทศ แหล่งต้นน้ำสำคัญ พันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิด รวมถึงชีวิตผู้คนกว่า ๒,๐๐๐ ครอบครัว เป็นเดิมพัน

ร่วมแสดงความคิดเห็น สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
คลิกที่นี่


อ่านสนับสนุนต่อ คลิกที่นี่กิจจา ผลภาษี 
อธิบดีกรมชลประทาน
อ่านคัดค้านต่อ คลิกที่นี่ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ
ผู้อำนวยการเครือข่ายแม่น้ำ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทย

ส นั บ ส นุ น

คั ด ค้ า น

  • ปัจจุบันเราสามารถเก็บกักน้ำได้เพียงร้อยละ ๒๗ เท่านั้น เป้าหมายของกรมชลประทาน อยู่ที่ร้อยละ ๕๐ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง และบรรเทาปัญหาน้ำท่วมได้
  • ฝ่ายที่คัดค้านมักจะยกแต่ผลเสียมาพูด แต่ไม่เคยพูดถึงราษฎร ๘๗,๐๐๐ ครอบครัวในพื้นที่ ๑๒ จังหวัดท้ายเขื่อนที่จะได้รับประโยชน์ 
  • นักธรณีวิทยายืนยันว่า บริเวณที่ตั้งเขื่อน เป็นรอยเลื่อนที่ตายแล้ว จึงไม่ต้องกลัวว่าเขื่อนจะพัง 
  • ถ้าสร้างฝายยางขนาดเล็กต้องทำถึง ๑,๑๗๕ แห่ง ซึ่งจะสร้างความเดือดร้อน ให้แก่ประชาชนมากกว่า และสิ้นเปลืองงบประมาณมากกว่า
  • เมื่อแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา ที่เชื่อว่าเขื่อนจะนำมาซึ่ง การพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ ผนวกเข้ากับผลประโยชน์แอบแฝง กระแสผลักดันให้มีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น จึงเป็นไปอย่างรุนแรง 
  • รากเหง้าของปัญหาภัยแล้ง และน้ำท่วม เกิดจากการที่พื้นที่ชุ่มน้ำ ลุ่มน้ำยมตอนล่างถูกทำลาย ถ้าจะแก้ปัญหา ก็ต้องหยุดการทำลายพื้นที่ชุ่มน้ำเหล่านี้
  • ประเทศที่พัฒนาแล้ว ทยอยทุบเขื่อนทิ้ง เพราะมีประสบการณ์แล้วว่า การสร้างเขื่อนนั้นไม่คุ้มค่า ไม่ว่าจะมองจากด้านไหน
  • พื้นที่สร้างเขื่อนตั้ง อยู่บนบริเวณรอยเลื่อนของเปลือกโลก ที่ยังมีการเคลื่อนตัวอยู่ แม้ในทางวิศวกรรม จะสามารถสร้างเขื่อน ให้มีความแข็งแกร่งขนาดไหนก็ได้ แต่คำถามคือ ต้องใช้เงินเท่าไร และคุ้มค่าไหมกับผลประโยชน์ที่จะได้รับ
อ่านฝ่ายสนับสนุน คลิกที่นี่
click here
อ่านฝ่ายคัดค้าน คลิกที่นี่
click here
กลับไปหน้า สารบัญ

แสดงความคิดที่ สารคดีกระดานข่าว (Sarakadee Board)


แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน !

ต้องการ แสดงความคิดเห็นเพิ่ม คลิกที่นี่


แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น เ พิ่ ม เ ติ ม

ชื่อ-สกุล: *
E-Mail:
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม: *
*

 

พบเห็น ข้อความไม่เหมาะสม กรุณาช่วยกันแจ้ง ผู้ดูแลเว็ป (WebMaster) ขอบคุณครับ

ไม่สนับสนุนหรือคัดค้าน แต่มีความเห็น ดังนี้

เขื่อนป้องกันน้ำท่วมได้จริงหรือไม่ คำถามนี้ขอลองตอบเองนะครับว่า
1. ป้องกันได้ ถ้าบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม

2. ป้องกันไม่ได้ ถ้าไม่ได้มีเจตนาบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม

การไม่มีเจตนาบริหารน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมสามารถรู้ได้อย่างไร ตอบว่า ถ้าเขื่อนของท่านมีน้ำเต็มอยู่ตลอดเวลา เขื่อนก็จะไม่สามารถรองรับน้ำหลากตอนหน้าฝนได้ เมื่อน้ำมา ก็ต้องระบายออกให้หมดไม่ให้เขื่อนพัง และเนื่องจากการปรับแต่งคูคลองระบายน้ำท้ายเขื่อนให้ระบายได้เร็ว จึงทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่อย่างรวดเร็วในพื้นที่ท้ายน้ำบางพื้นที่
การบริหารน้ำในเขื่อนเพื่อป้องกันน้ำท่วมสามารถรู้ได้อย่างไร ตอบว่า ถ้าในรอบปีเขื่อนของท่านระบายน้ำให้เกษตรกรเพื่อการเกษตรตลอดปี พอปลายแล้งน้ำก็จะหมดเขื่อนพอดี (ระดับต่ำสุดที่เป็นได้) รอน้ำหลากในหน้าฝน เขื่อนก็จะสามารถรับน้ำหลากตอนหน้าฝนได้เต็มที่ กว่าที่เขื่อนจะเต็ม เมื่อเต็มแล้วแต่ยังมีน้ำหลากมาอีกก็ต้องคอยบริหารน้ำโดยการระบายทิ้งไปบ้าง ก่อนฝนจะมา แค่นี้ก็จะสามารถป้องกันน้ำท่วมได้

เขื่อนการไฟฟ้าระบายน้ำกลายเป็นไฟฟ้าขายชาวบ้านเอาเงินเข้าบริษัท (ในอนาคต) ฉนั้นคงไม่ยอมให้เขื่อนแห้งต่ำกว่าระดับปั่นไฟ (ระดับน้ำปั่นไฟต้องสูงมาก เพื่อให้น้ำมีพลังงานสูงพอปั่นไฟฟ้า) จึงสงสัยว่า เขื่อนการไฟฟ้าจะช่วยป้องกันน้ำท่วมได้จริงหรือ

การบริหารน้ำในเขื่อนเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ต้องมีการเก็บข้อมูลสถิติ เพื่อใช้ทำนายให้ได้อย่างแม่นยำว่า ปีหน้าสถานการณ์ฝนฟ้าจะเป็นอย่างไร แล้ววางแผนบริหารน้ำ แล้วบริหารน้ำในเขื่อนตามแผน

ไม่ได้มีความรู้ลึกซึ้งอะไรหรอกนะครับ แค่คิดเอาง่ายๆ ในสิ่งที่ไม่ค่อยจะเคยได้ยินจากผู้เชี่ยวชาญของหน่วยงานที่ดูแลเขื่อน

ไตรภพ หาดใหญ่ <btripob@ratree.psu.ac.th>
- Wednesday, April 07, 2004 at 03:19:55 (EDT)

ระยะหลังน้ำท่วมทุกปีท้ายน้ำเดือดร้อนกันหลายอำเภอผู้คัดค้านไม่ได้เดือดร้อนด้วยน่ะสิถึงค้านได้ค้านดี ผู้เดือดร้อนน่าจะรวมพลังผลักดันหากท่านไม่ร้องแสดงว่าที่จริงแล้วท่านชอบเล่นน้ำหลากเพราะมันสนุกดี ฮ่าฮ่า
มานพ
- Monday, September 15, 2003 at 04:23:21 (EDT)

เขื่อนนี้น่าจะยอดคิดสร้างได้แล้วนะไอ้พวกเต่าล้านปีทั้งหลายน่าจะหันมาคิดพัฒนาพลังงานด้านอื่นที่ไม่ทำหลายทรัพยากรธรรมชาติจะดีกว่านะครับ
korn <korn1880@thaimail.com>
- Friday, January 24, 2003 at 17:33:54 (EST)

เปลี่ยนความคิดที่จะให้เขื่อนมาพัฒนาประเทศได้แล้ว เขื่อนที่สร้างๆกันมา มีแต่ทำลายระบบป่าไม้ จนจะไม่เหลือทรัพยากรธรรมชาติไว้เป็นทุนธรรมชาติในอนาคตเลย มีวิธีการอื่นในการหาพลังงาน เพียงแต่ไม่รุกเท่ากับกลุ่มสร้างเขื่อน
สุนทรี วิทยานารถไพศาล <vsuntare@chula.ac.th>
- Tuesday, December 17, 2002 at 05:36:30 (EST)

ป่าไม้ไม่ควรที่จะถูกแตะต้องอีกต่อไปแล้วไม่ว่าจะอ้างด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม สร้างเขื่อน สร้างอีก ๆ สร้างเท่าไหร่ก็ไม่มีวันพอ เพราะยิ่งสร้างยิ่งเท่ากับทำให้เกิดปัญหาเพราะการสร้างได้ทำลายตัวแก้ปัญหาที่แท้จริงนั่นก็คือป่าไม้....
หากมนุษย์ยังไม่หยุดทำลายก็ไม่ต่างจากเชื้อโรคที่คอยกัดกินสิ่งที่ให้ประโยชน์ให้ที่อยู่อาศัยกับมัน อย่างไม่รู้จักเกื้อกูล ไม่นานร่างกาย(โลก)ที่ถูกรุมทำลายก็จะตายไปพร้อมกับมันพวกมัน..มนุษย์เชื้อโรค

ธรรมชาติให้มาตลอดโดยที่ผู้รับกลับมองข้าม

ส่วนหนึ่งของมนุษย์ที่อยากตอบแทนผู้ให้..ธรรมชาติ <Kiat_107@thaimail.com>
- Monday, December 02, 2002 at 07:48:18 (EST)

อย่าสร้างเลยเขื่อน ขอป่าเป็นบ้านให้สัตว์ต่างๆด้วยเถอะครับ
ขวัญชัย ซ่อมจันทึก <mr.kwan@thaimail.com>
- Tuesday, November 26, 2002 at 21:48:21 (EST)

อย่าสร้างเลยเขื่อน ขอป่าเป็นบ้านให้สัตว์ต่างๆด้วยเถอะครับ
ขวัณชัย ซ่อมจันทึก <mr.kwan@thaimail.com>
- Tuesday, November 26, 2002 at 21:47:30 (EST)

เราจะต้องช่วยกันดูแลทรัพยากรที่เหลืออยู่ในประเทศให้มากที่สุด เขื่อนไม่จำเป็นต้องสร้างเลยเราวิเคราะห์ประเมินผลกระทบกี่ครั้งแล้วเสียงบประมาณไปเท่าไหร่แล้ว ผลเสียเกิดขึ้นเต็มๆสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปทุกวันนี้ก็เพราะในอดีตทำลายไว้เยอะผมไม่รู้นะว่าเขา....ได้กันเท่าไหร่ขาดป่าไปนำ้ก็จะไม่มีให้เก็บต่อให้มี10เขื่อนก็ไม่สามารถสู้ภัยธรรมชาติได้แล้วลูกหลานก็จะเจอกับฝันร้ายอย่างที่สุดเราน่าจะประคองในสิ่งที่เหลืออยู่หยุดทำลายเถอะรู้จักปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติตายไปก็เอาอะไรไปไม่ได้ หยุดเขื่อน
george <->
- Thursday, November 07, 2002 at 00:18:22 (EST)

เราจะต้องช่วยกันดูแลทรัพยากรที่เหลืออยู่ในประเทศให้มากที่สุด เขื่อนไม่จำเป็นต้องสร้างเลยเราวิเคราะห์ประเมินผลกระทบกี่ครั้งแล้วเสียงบประมาณไปเท่าไหร่แล้ว ผลเสียเกิดขึ้นเต็มๆสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปทุกวันนี้ก็เพราะในอดีตทำลายไว้เยอะผมไม่รู้นะว่าเขา....ได้กันเท่าไหร่ขาดป่าไปนำ้ก็จะไม่มีให้เก็บต่อให้มี10เขื่อนก็ไม่สามารถสู้ภัยธรรมชาติได้แล้วลูกหลานก็จะเจอกับฝันร้ายอย่างที่สุดเราน่าจะประคองในสิ่งที่เหลืออยู่หยุดทำลายเถอะรู้จักปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติตายไปก็เอาอะไรไปไม่ได้ หยุดเขื่อน
george <->
- Thursday, November 07, 2002 at 00:18:15 (EST)

ไม่สนับสนุนให้สร้างในทุกกรณี
จักรกฤษณ์ เพ็งพันธ์ <chakkrit@avlconsult.com>
- Monday, October 21, 2002 at 01:51:12 (EDT)

ผมคิดว่าถ้าเราจะเอาป่าก็ไม่ต้องสร้างเขื่อน โดยความเป็นจริงแส้ว เราก็ไม่มีเหตูผลอะไรที่จะสร้างเขื่อน จะเป็นการทำลายสัตว์ป่าเปล่าๆ ดูอย่างเขื่อนที่สุราชสิสัตว์ป่าตายไปจำนวนมากเราไหนจะทำอะไรได้
จักรพงษ์ เขมะวนิชย์ <woode@lemonline.com>
- Friday, October 11, 2002 at 10:09:02 (EDT)

ป่าสักทองแห่งสุดท้าย... แน่นอนคงไม่ใช่คำที่ยกมากล่าวอ้างลอยๆ ที่เพียงยกมาอ้างสนับสนุนการคัดค้าน ทั้งผลการสำรวจผลกระทบฯก็เห็นแล้วว่า มีผลเสียแค่ไหน? การที่อธิบดีชลฯ ยกผลเสียต่อชาวบ้านท้ายเขื่อนขึ้นมากล่าวก็คงมีอยู่จริง(หากมีอยู่ในความเป็นจริงนะ) ละครเรื่องเก่า ที่ถูกเก็บขึ้นมาจากใต้ลิ้นชักครั้งแล้วครั้งเล่า พอมีเหตุการณ์น้ำท่วมที ก็มักจะอ้างว่ามีความจำเป็นจะต้องสร้าง.. แต่หาได้หันมองผลกระทบโดยรวมของประเทศ แต่ก็นั้นล่ะ.. ในขณะที่คนส่วนใหญ่ตะโกนอนุรักษ์ป่าผืนนี้ให้คงอยู่ แต่ทว่าบางคนบางกลุ่มกลับตะโกนอนุรักษ์เพื่อจะได้มีป่า ให้แอบตัดทำลายกันต่อไป (หรือไม่จริง?)
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการยกอ้างเพื่อสนับสนุน หรือคัดค้าน อย่าอ้างเพื่อผลประโยชน์ของตน ของบางกลุ่มก็แล้วกัน เห็นตัวอย่างมามากต่อมากแล้ว บอกกันโต้งๆ ว่า เบื่อ(ว่ะ)...

พิชญ์ ภูษณะ <pphit@hotmail.com>
- Wednesday, October 02, 2002 at 23:11:27 (EDT)

เขื่อนเป็นสัญลักษณ์ของการพัฒนาที่ไม่มีสติ โลภ และทำลายวิถีชุมชน
ณรวีร์ <kaohom.com>
- Monday, August 26, 2002 at 03:40:24 (EDT)

เราไม่ต้องการเขื่อนแล้ว เพราะการสร้าง ไม่ได้คำคำนึงถึงความต้องการของประชาชนหรอก
เป็นเรื่องของนโยบายจากฝ่ายที่มีอำนาจ

ศรีสุดา คล้ายคล่องจิตร <srisuda_72@yahoo.com>
- Wednesday, August 21, 2002 at 02:25:07 (EDT)

แทนที่จะเอาเงินไปสร้างเขื่อนเอาไปปลูกป่า ทำให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล ก็จะมีน้ำใช้กัน ต้นไม้ก็ไม่ต้องตัด แถมมีป่าให้สัตว์ได้อยู่ มีสมุนไพรให้ใช้ มีของป่า มีดอกไม้ป่า กลายเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ ไม่ต้องทำงานเพื่อเอาเงินมาซื้อข้าวกิน แค่เดินเข้าป่ากลับมาก็มีของกิน ปัญหาที่แท้จริงคือคนไม่รู้วิธีที่จะหาประโยชน์สูงสุดจากป่า รู้แต่ว่าตัดไม้ไปขายแล้วได้เงิน ถากป่าแล้วเอาพื้นที่มาเพาะปลูกเพื่อเอาพืชผลไปขาย แล้วทำไมเราไม่คงป่า ให้ป่าดูแลตัวเอง เพียงแต่เราไม่ตัด ไม่เก็บเกี่ยวมากเกินไป เราก็สบายหล่ะทีนี้เดินเก็บมากินอย่างเดียว ไม่ต้องซื้อ
เอกชัย พันธ์อารีวัฒนา <pophotharam@yahoo.com>
- Tuesday, August 20, 2002 at 04:36:15 (EDT)

การสร้างเขื่อนเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายสาเหตุ จากประสบการณ์การสร้างเขื่อนทั่วทั้งโลกเป็นบทพิสูทธิ์ให้เห็นแล้วว่าไม่ได้แก้ไขปัญหาให้ดีขึ้นได้แต่กลับส่งผลกระทบหลายด้านต่อโลกของเรา โครงการสร้างเขื่อนต่าง ๆ และโครงการอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น ผู้มีอำนายได้อนุมัติโครงการและดำเนินการว่าจ้างและก่อสร้างก่อนที่จะมีการสำรวจถึงผลกระทบและผลประโยชน์ที่ได้รับว่าคุ้มค่ากับการก่อสร้างหรือไม่ตลอดมา ดู ๆ ไปแล้วก็น่าเห็นใจทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกรบกวนและเอารัดเอาเปรียบตลอดมา!!!!!!!
สมาชิกสารคดี
- Friday, August 09, 2002 at 05:36:35 (EDT)

เขื่อนแก่งเสือเต้นจะช่วยชาวบ้านในพื้นที่ได้ มีประโยชน์มากกว่า
นายสลิด เลิศสุดยอด <salid@LOXINFO.CO.TH>
- Sunday, August 04, 2002 at 03:15:43 (EDT)

I do not agree with the dam project. It's politic that the government wants it more than the real benefit from the dam because of money. Eventhough you build the dam , sometimes it can not protect the flood or the drought. WE DO NEED FOREST.
Nusara Bell <bellcharles@sympatico.ca>
- Sunday, July 21, 2002 at 23:42:02 (EDT)

I do not agree with the dam project. It's politic that the government wants it more than the real benefit from the dam because of money. Eventhough you build the dam , sometimes it can not protect the flood or the drought. WE DO NEED FOREST.
Nusara Bell <bellcharles@sympatico.ca>
- Sunday, July 21, 2002 at 23:41:57 (EDT)

"ไม่มีน้ำบนภูเขาให้มันกินก็ลงมากินน้ำที่เขื่อนได้"
ไอ้ห่า นกยูงนะโว้ยไม่ใช่หมาจะได้อยู่ดีๆเดินลงมากินน้ำที่เขื่อน ว่างๆท่านอธิบดีก็อ่านหนังสือ "ตะโกนก้องจากพงไพร" ของ คุณ สืบ นาคะเสถียร บ้าง จะได้ ผลประโยชน์ไม่เข้าครอบงำ

jane karnjanamayoon <the_end055@hotmail>
- Thursday, July 18, 2002 at 15:31:13 (EDT)

*ไม้แตกใบให้ร่มรื่น
สัตว์พันหมื่นใด้พักพาอาศัย
ยังชีพคนด้วยผลรากใบ
ครอบคลุมไปยังผืนพื้นหน้าดิน

*ให้ดอกงามยามที่คนต้องการ
ให้เมล็ดหว่านออกหน่อออกผล
ให้มนุษย์ร้างแล้งจากความยากจน
ให้พืชผลผลนำพาความงอกงาม

*** ( จดลิขสิทธิ์ ปี 2533 ) ***

อลิสรา อุปลา
- Wednesday, July 10, 2002 at 05:22:44 (EDT)

คัดค้าน* ปัญหานี้ยืดเยื้อและยาวนาน ( บทสรุปที่ลงตัวควรคืนป่าให้ธรรมชาติ ) อย่าใด้เอามาถกเป็นปัญหาอีกเลย เอาปัญญาไปทำอย่างอื่นจะดีกว่า เพราะโครงการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นนี่ เท่ากับเป็นการเนรคุณผืนป่าผืนดินที่ให้เรากำเนิดเลยทีเดียว เราอยู่กันได้เพราะมีป่า เมื่อป่าอุดมสมบูรณ์ก็ย่อมมีน้ำ มีพืชพรรณธรรมชาติ ให้มนุษย์และสัตย์ใด้พึ่งพาอาศัย เป็นไปตามระบบนิเวศ** เราก็ผ่านบทเรียนเรื่องเขื่อน รัชประภา ( เขื่อนเชี่ยวหลาน ) ที่จังหวัดสุราษฎ์ธานีกันมาแล้ว ผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณ สัตว์ป่า อยู่คู่บ้านเมืองนี้มากี่ชั่วอายุคน ต้องจมลงใต้น้ำภายในพริบตาด้วยฝีมือมนุษย์ผู้เป็นใหญ่ ผู้ครองอำนาจ ที่ไร้ความเฉลียวฉลาดสิ้นดี สัตว์ป่าต้องพากันหนีตายเท่าไหร่ สูญพันธุ์ไปบ้างก็ไม่รู้ **( เวลานั้นคุณสืบ นาคะเสถียรยังอยู่ เขาย่อมรู้ดี แต่ก็ทำได้แค่ อพยพช่วยชีวิตสัตว์บางตัวที่กำลังจะตาย เขาทำดีที่สุดแล้วในหน้าที่ของเขา ** ไม่วายเรายังจะมาถกปัญหาเรื่องเขื่อนแก่งเสือเต้นอีก
อลิสรา อุปลา
- Wednesday, July 10, 2002 at 05:09:30 (EDT)

คัดค้านแน่นอนครับ!
ต่อให้เขื่อนดียังไง มันก็เทียบกันไม่ได้

ผมเคยคิดว่า
ตลอดเวลาหลาย ๆ ปี ที่ผ่านมา
ข้อมูลที่หลาย ๆ ฝ่ายได้พยายามนำเสนอน่าจะทำให้กรมชลฯ และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เปลี่ยนวิธีคิด หรืออย่างน้อยก็มองเห็นอะไรหลาย ๆ อย่างมากกว่านี้บ้าง

แต่ตอนนี้ผมรู้สึกว่ากรมชลฯ พูดและทำเหมือนกับไม่เคยได้รับรู้-ไม่เคยได้ยิน สิ่งที่หลาย ๆ ฝ่ายพยายามอธิบายมาตลอดหลาย ๆ ปี

ผมเริ่มไม่แน่ใจ...
ไม่แน่ใจว่านี่เป็นเพียงเพราะเรามองจากคนละมุม
หรือว่ามันได้กลายเป็นความดื้อรั้นดึงดันไปแล้ว

ปล.ขอติงนิดนึงนะครับ
สำหรับส่วนท้ายของบทความข้างต้นที่ว่า

"...ผู้ชมอย่างเราก็คงมีหน้าที่ต้องตั้งตารอดูกันต่อไป..."

คือไม่อยากให้ใครรู้สึกว่าเรา(ไม่ว่าคนไทยหรือชาติไหน ๆ ก็ตาม ผมเชื่อว่า"เรา" ถูกเชื่อมร้อยให้กระทบกันทั้งหมด)เป็นผู้ชมนะครับ เพราะหลาย ๆ ครั้ง ที่หลายส่วนปละหลายชีวิต ของบ้านนี้เมืองนี้ต้องย่อยยับลงไปนั้น เพราะเราคิด(หรือถูกใครทำให้คิด)ว่าเราเป็นเพียง "ผู้ชม" นี่แหละครับ

และสำหรับครั้งนี้ เรื่องนี้
"...ที่มีป่าสักทองผืนสุดท้ายของประเทศ แหล่งต้นน้ำสำคัญ พันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิด รวมถึงชีวิตผู้คนกว่า ๒,๐๐๐ ครอบครัว เป็นเดิมพัน..."

ผมไม่อยากให้ใครบอกว่าเป็นเพียงผู้ชมจริง ๆ เลยครับ

กานต์ ณ กานท์
- Tuesday, July 09, 2002 at 08:43:12 (EDT)

ขอคัดค้าน ถ้าเราปล่อยให้กลุ่มคนเหล่านี้เอาธรรมชาติที่เหลืออยู่น้อยเต็มทีไปทำลาย เพื่อสนองกับความต้องการที่มิรู้จบสิ้นของมนุษย์ เราก็จะเป็นคนเนรคุณต่อธรรมชาติอีกคนหนึ่ง
นายชรินทร์ ศิลป์พิสุทธิ์ <siamadventures@Hotmail.com>
- Saturday, July 06, 2002 at 10:31:28 (EDT)

กรมชลฯ ควรปีนป่ายออกจากหลุมความคิดเดิม ๆ เกี่ยวกับการสร้างเขื่อน ควรหาองค์ความรู้ในการจัดการน้ำใหม่ ๆ เสียบ้าง การหากินงบประมาณจากการสร้างเขื่อนไปวัน ๆ นั้นถึงยุคสมัยที่ตีบตันแล้ว ประชาชนไม่ได้หูบอดตามัว สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นจริงได้แล้ว ถ้าพยายาม
ตอนนี้ฝนตกไปดูได้ว่าบริเวณ ลุ่มน้ำที่มีเขื่อนนั้นน้ำท่วมตลอดแนวแม่น้ำ เพราะเขื่อนต้องรีบปล่อยน้ำกันเขื่อนแตก ส่วนหน้าแล้งก็น้ำเขื่อนแห้งขอด ไม่สามารถปล่อยน้ำให้เกษตรกรได้จริง เพราะระดับน้ำต่ำไปเขื่อนก็แตก
สรุปแล้วกรมชลฯ เปิดสมองเปิดหัวใจบ้าง คุณสร้างเวรกรรมให้คนไร้ที่อยู่อาศัย ครอบครัวแตกสลาย ชุมชนแตกกระจายมามากกี่หมื่นครอบครัวแล้ว ระวังเวรกรรมจะเข้าตัว

bee
- Wednesday, June 26, 2002 at 07:59:52 (EDT)

ผมขอคัดค้าน
ในความคิดของผมว่าเขื่อนมีเยอะ และบางที่มีไว้เก็บน้ำ หรือความว่างเปล่าครับ ลงทุนกันเป็นล้านล้านบาท ไม่เห็นได้ประโยชน์เท่าไหรเลย
ป่าที่หายไปใครรับผิดชอบ ครับท่าน มนุษย์ไม่มีป่าอยู่ไม่ได้ ป่าไม่มีมนุษย์อยู่ได้
ท่าผู้มีอำนาจคิดก่อนทำเหอะครับ คนใส่สูท

พศนันท์ แก้วหนู <pa_talay@hotmail.com>
- Sunday, June 23, 2002 at 07:03:54 (EDT)

เขื่อนสามารถช่วยลุ่มน้ำตอนล่างได้เป็นอย่างดีทุกฤดูกาล ป่าไม้นั้นทุกวันก็แทบจะไม่มีอยู่แล้ว ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าจะรักษาป่าได้ตลอดชีวิต โดยไม่ถูกทำลาย
นาย ศักดิ์ชัย วินัยพานิช <s_vinaipanichcm@hotmail.com>
- Tuesday, June 18, 2002 at 22:57:15 (EDT)

เท่าที่ติดตามข้อมูลมาโดยตลอด ผมยังไม่เห็นกรมชลเขาจะมีเหตุผลอะรที่ต้องมาสร้างเขื่อน ท่านผ่านมาชาวบ้านเขาอยู่กันอย่างนั้น ก็ไม่เห็นเขาเดือดร้อนเลย พวกนี้มีอะไรไม่เปิดเผยแน่ ๆ
ทวีศักดิ์ วังฐาน <num@thaiplus.net>
- Saturday, June 15, 2002 at 22:57:16 (EDT)

ขอเลือกป่า อย่างแน่นอน
ที่ผ่านมาเราสร้างเขื่อน มาหลายเขื่อน ก่อนสร้างก็อ้างเหตุผลเพื่อให้เราเห็นคุณค่าเขื่อนที่จะสร้าง พอมีเขื่อน เราก็เผชิญความแห้งแล้ง ภาวะน้ำท่วม มากขึ้น ไฟฟ้าที่อ้างว่าจะเพียงพอที่จะใช้ ก็ยังไม่พออีก ถ้เอาเหตุผลเดิมๆมาใช้ในการอ้างเพื่อสร้างเขื่อนอีก ทั้งประเทศคงพรุนไปด้วยเขื่อน จะหลงเหลือป่าเก็บให้เป็นทรัพยากรรุ่นลูกหลานได้ใช้ประโยชน์ไว้บ้าง เพราะในโลกนี้นี้ มีไม่กี่ประเทศนักหรอกที่เขายังรักษาป่าไว้ใช้ประโยชน์ในอนาคต
ช่วยหาทางบริหารเขื่อนที่มีอยู่ให้คุ้มการสร้างขึ้นมาโดยทำลายสิ่งแวดล้อมอื่นๆไปแล้วด้วย

สุนทรี วิทยานารถไพศาล <vsuntare@chula.ac.th>
- Saturday, June 15, ้างเหตุผลเพื่อให้เราเห็นคุณค่าเขื่อนที่จะสร้าง พอมีเขื่อน เราก็เผชิญความแห้งแล้ง ภาวะน้ำท่วม มากขึ้น ไฟฟ้าที่อ้างว่าจะเพียงพอที่จะใช้ ก็ยังไม่พออีก ถ้เอาเหตุผลเดิมๆมาใช้ในการอ้างเพื่อสร้างเขื่อนอีก ทั้งประเทศคงพรุนไปด้วยเขื่อน จะหลงเหลือป่าเก็บให้เป็นทรัพยากรรุ่นลูกหลานได้ใช้ประโยชน์ไว้บ้าง เพราะในโลกนี้นี้ มีไม่กี่ประเทศนักหรอกที่เขายังรักษาป่าไว้ใช้ประโยชน์ในอนาคต
ช่วยหาทางบริหารเขื่อนที่มีอยู่ให้คุ้มการสร้างขึ้นมาโดยทำลายสิ่งแวดล้อมอื่นๆไปแล้วด้วย
สุนทรี วิทยานารถไพศาล <vsuntare@chula.ac.th>
- Saturday, June 15, 2002 at 19:28:39 (EDT)

ผมเอาป่าแน่นอนครับ เมืองไทยเราป่าไม้ก็ร่อยหรอลดลงทุกวันจนจะไม่มีอยู่แล้ว ยังจะมาสร้างเขื่อนอะไรกันอีกนัก พอกันที นี่คงไม่ใช่เขื่อนสุดท้ายใช่ไหม รู้สึกจะผุดเป็นดอกเห็ดเลยครับ หยุดสร้างอย่าทำลายเสียทีเถอะครับ ในที่สุดมันก็ได้ไม่คุ้มเสียหรอกครับ ผมไม่มีวันเห็นด้วยเป็นอันขาด
คนรักป่า <forest lover>
- Friday, June 14, 2002 at 06:50:59 (EDT)

เปิดงานวิจัยสกว. 'เขื่อนแก่งเสือเต้น' ไม่คุ้มค่า

http://www.matichon.co.th/mcnew/ksdetails.asp?sect=hap&nfile=hap02240345.txt&selectdate=2002/03/24

ข่าวสด 24 มีนาคม 2545
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ภัยแล้งในทุกปี การสร้าง 'เขื่อนแก่งเสือเต้น' ก็ได้รับการหยิบยกขึ้นมาพูดถึงกันอีก ทั้งนี้ทั้งนั้นเนื่องจากฝ่ายต้องการเขื่อนเชื่อว่าถ้ามีเขื่อนแก่งเสือเต้นแล้ว จะสามารถแก้ปัญหาภัยแล้งได้ฤดูร้อน ขณะเดียวกันก็สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝนได้อย่างจริงแท้แน่นอน

แต่ท่ามกลาง 'กระแสหนุนเขื่อน' ที่กำลังคึกคักนำโดยนักการเมือง และข้าราชการใหญ่ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับงบประมาณและผลประโยชน์ ก็ปรากฏงานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ชิ้นหนึ่ง สามารถประเมินมูลค่าของป่าแม่ยม ในเชิงทรัพยากรธรรมชาติและความสำคัญเชิงจิตใจต่อคนไทย ออกมาเป็นข้อมูลทางวิชาการที่น่าเชื่อถือและพิสูจน์ได้

ข้อมูลดังกล่าวระบุว่า หากมีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นขึ้นมาจริง ต้นทุนจากการสูญเสียพื้นที่แห่งนี้ไปจะเพิ่มขึ้นอีก3,000-6,000กว่าล้านบาท

ก่อนหน้านี้ความพยายามเพื่อผลักดันโครงการ 'เขื่อนแก่งเสือเต้น' ได้รับการปลุกระดมขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยนำข้อมูลความจำเป็นเพื่อการเก็บกักน้ำ และความคุ้มค่าจากการก่อสร้างในแง่มุมต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เคยมีการประเมินเป็นตัวเลขมาแล้วอย่างชัดเจน และแสดงถึงความไม่คุ้มค่าที่จะเกิดขึ้นจากการมีเขื่อนแห่งนี้ โดยเฉพาะเมื่อแลกกับผืนป่าสักที่สมบูรณ์ที่สุดของประเทศประมาณ40,000ไร่

ในอีกมุมหนึ่ง มีกระแสคัดค้านจากชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ และองค์กรอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับระบบนิเวศ และความหลากหลายของสรรพชีวิตในป่าผืนนี้ และของลุ่มน้ำยมทั้งสาย รวมถึงความเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของคนที่อาศัย และได้ประโยชน์จากลำน้ำสายดังกล่าว

กระแสความขัดแย้งทั้งสองฝ่าย ดูเหมือนจะหาข้อยุติอย่างเป็นรูปธรรมได้ยาก เนื่องจากกลุ่มผู้คัดค้านโครงการกล่าวว่า การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการที่ผ่านมา ไม่มีการมองถึงระบบนิเวศและความสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์ นอกจากมองเพียงมูลค่าของไม้สักทองจำนวนมหาศาล

ขณะที่อีกฝ่ายก็โต้ว่า การศึกษานั้นได้ครอบคลุมตัวเลขที่จำเป็น ในการตัดสินใจเชิงนโยบาย และการประเมินมูลค่าเชิงระบบนิเวศไม่สามารถตีเป็นตัวเลขได้ ซึ่งความขัดแย้งที่ไม่มีข้อยุติเช่นนี้ ย่อมไม่เกิดผลดีกับทุกฝ่าย

เพราะฉะนั้น หากมีวิธีการที่สามารถตีมูลค่าของป่า ในแง่ที่เป็นแหล่งทรัพยากรชีวภาพ-สิ่งแวดล้อมกับคุณค่าในเชิงจิตใจ ออกมาเป็นตัวเลข โดยวิธีทางเศรษฐศาสตร์ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากลแล้ว อาจจะทำให้โครงการนี้ไปสู่ข้อยุติ อันเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายเสียที

อีกทั้งจะสามารถเป็นแนวทางเพื่อใช้ประเมินโครงการที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรและวิถีชีวิตของชุมชน ในลักษณะนี้ได้ทั้งปัจจุบันและอนาคต

ด้วยเหตุนี้ โครงการพัฒนาองค์ความรู้ และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (โครงการ BRT) จึงสนับสนุนให้ ดร.คุณหญิงสุธาวัลย์ เสถียรไทย จากสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (GSE) เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง "การประเมินค่าทางเศรษฐศาสตร์ของป่าไม้ : กรณีศึกษามูลค่าที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ของป่าไม้สักในอุทยานแห่งชาติแม่ยม จากการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น" เพื่อหาวิธีประเมินมูลค่าของป่าไม้ที่จะสูญเสียไปอย่างครบถ้วนและรอบด้านมากขึ้น

งานวิจัยชิ้นนี้ ทำการประเมินมูลค่าการใช้ประโยชน์ใน 2 ส่วนคือ 1. มูลค่าที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ ทั้งที่ใช้ประโยชน์โดยตรง เช่น การเก็บของป่า การท่องเที่ยว คุณภาพสิ่งแวดล้อม ฯลฯ กับโดยอ้อม

2. มูลค่าที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ อันได้แก่ประโยชน์ทางด้านจิตใจ เช่น ความภูมิใจ ความรู้สึกดี ต่อความเป็นแหล่งทรัพยากร เป็นมรดกให้ลูกหลาน ซึ่งในการประเมินมูลค่าครั้งนี้ ทีมวิจัยจะคำนวณจากประโยชน์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา 50 ปี เทียบเท่ากับอายุของเขื่อนแก่งเสือเต้น และนำตัวเลขนั้นมาคำนวณกลับเป็นมูลค่าเงิน ณเวลาปัจจุบัน

มูลค่าที่มีการใช้ประโยชน์

ในประเด็นของการประเมินมูลค่าจากความหลากหลายของพันธุกรรมไม้สักในแง่ประโยชน์จากการเป็นแหล่งสารพันธุกรรม พบว่าผืนป่าแห่งนี้มีมูลค่า ณปัจจุบันอยู่ระหว่าง12-180ล้านบาท ขณะที่มูลค่าตลอด50ปี ในแง่ที่เป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากบรรยากาศอันเป็นการช่วยลดปัญหาภาวะเรือนกระจก จะมีมูลค่าในตอนนี้ อยู่ระหว่าง48ถึง915ล้านบาท

แต่มูลค่าของป่าแม่ยม มิใช่จะมีแต่ประโยชน์จากต้นไม้ใหญ่เช่นสักทองเท่านั้น ผืนป่าแห่งนี้ยังมีทั้งพรรณไม้ และสัตว์ป่านานาชนิด ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน และยังเอื้อต่อการดำรงชีวิตของคนในพื้นที่ ที่ได้ประโยชน์จากป่าผืนมาชั่วลูกชั่วหลาน

จากการสำรวจภาคสนาม เฉพาะพื้นที่จะถูกน้ำท่วมอันประกอบด้วย11หมู่บ้าน กว่า2พันครัวเรือนนั้น เมื่อประเมินเป็นมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่คนในพื้นที่ได้กินได้ใช้จากผืนนี้แล้ว จะสูงถึง45ล้านบาทต่อปี (เฉลี่ย 21,116 บาท/ครัวเรือน) ซึ่งเมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน หากจะต้องสูญเสียสิ่งนี้ไปเป็นเวลา50ปีแล้ว ปรากฏว่ามูลค่าปัจจุบันของป่าแก่งเสือเต้น ในแง่นี้อาจสูงถึง2,331ล้านบาท

อีกตัวเลขหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ มูลค่าในเชิงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เนื่องจากอุทยานแห่งชาติแม่ยม มีความหลากหลายของผืนป่า ทั้งป่าดิบผสมผลัดใบ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าไผ่ และเป็นแห่งอาศัยของสัตว์ป่าหายากจำนวนมาก ทำให้มีศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้ในอนาคต

เมื่อประเมินจากการสัมภาษณ์ ถึงความสนใจจะไปเที่ยวและความเต็มใจที่จะจ่าย จากการสัมภาษณ์ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศพบว่า นักท่องเที่ยวยินดีจ่ายมากขึ้น สำหรับการมาท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ณป่าสักทองผืนสุดท้ายแห่งนี้ เพิ่มอีกคนละ804บาทต่อเที่ยว ทำให้กำไรจากการท่องเที่ยวในเขตป่าธรรมดาซึ่งอยู่ที่1,514บาท ต่อคนต่อเที่ยว เพิ่มเป็น2,318บาทต่อคนต่อเที่ยว

เมื่อคูณกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่อุทยาน รองรับได้ปีละ22,000คนแล้ว จะพบว่า มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการท่องเที่ยวจะสูงถึง40ล้านบาทต่อปี คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันเท่ากับ786ล้านบาท

เพราะฉะนั้นหากมีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ความสูญเสีย ณปัจจุบัน ที่มนุษย์ได้ประโยชน์จากป่าแก่งเสือเต้นอาจจะสูงถึง4,121ล้านบาท

มูลค่าที่ไม่มีการใช้ประโยชน์

เนื่องจากไม่สามารถวัดความภาคภูมิใจ หรือมูลค่าทางจิตใจที่ในเชิงมรดกสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน จากการคงอยู่ของป่าแก่งเสือเต้น ออกมาเป็นตัวเงินได้ ทีมวิจัยจึงใช้แบบสอบถามกับคนไทย915คนทั่วประเทศ เพื่อสอบถามว่า"เขาเต็มใจจะร่วมบริจาคสนับสนุน การจัดตั้งกองทุนเพื่ออนุรักษ์ป่าสักในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ยม เป็นเงินเท่าใด"

จากข้อมูลทั้งหมดพบว่า ค่าเฉลี่ยที่คนไทยเต็มใจบริจาคเพื่อรักษาป่าแม่ยม จ.แพร่ คือคนละ473.50บาท ซึ่งเมื่อคิดจากฐานของประชากรที่มีอำนาจในการซื้อ (ประชากรวัยแรงงานที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม) ซึ่งมีประมาณ12ล้านคนแล้ว มูลค่าของป่าแม่ยมในแง่จิตใจต่อคนไทยรุ่นนี้ และรุ่นต่อๆ ไป คือ5,682ล้านบาท ซึ่งหากคิดในมูลค่าปัจจุบันจะคิดเป็นเงิน2,178.3ล้านบาท

ตารางแสดงมูลค่ารวมทางเศรษฐกิจ บริเวณที่สูญเสียไปถ้ามีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ณมูลค่าปัจจุบัน (ล้านบาท) คำนวณในช่วงเวลา 50 ปี (เพื่อเปรียบเทียบกับโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น)

ก.มูลค่าที่มีการใช้ 1,605 ถึง 4,212 ล้านบาท

1. ทรัพยากรชีวภาพ 771 ถึง 2,511 ล้านบาท
- ผลิตภัณฑ์ของป่า 759 ถึง 2,331 ล้านบาท
- พันธุกรรมไม้สัก (ต่อปี) 12 ถึง 180 ล้านบาท
2. การดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ 48 ถึง 915 ล้านบาท
- การปล่อยระยะแรก
- การปล่อยระยะยาว (ต่อปี)
3. การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 786 ล้านบาท

ข.มูลค่าที่ไม่มีการใช้ 2,178 ล้านบาท
มูลค่ารวมทางเศรษฐกิจทั้งหมด 3,783 ถึง 6,390 ล้านบาท

ท้ายที่สุด งานวิจัยชิ้นนี้ ซึ่งถือเป็นการศึกษามูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ครั้งแรก ที่มีการประเมินค่าสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรชีวภาพออกมาเป็นตัวเลข ซึ่งตัวเลขดังกล่าวจะพบว่ามีผลตอบแทนสูงกว่ามูลค่าของการมีเขื่อนแก่งเสือเต้น

ซึ่งองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติหรือ FAO และธนาคารโลก ประเมินไว้ที่1,800ล้านบาท ประมาณ2-4เท่า แสดงว่าตัวเลขดังกล่าวยังไม่ถูกนำมาประกอบ ในการพิจารณาความเหมาะสมในการสร้างหรือไม่สร้างเขื่อนแต่อย่างใด แต่ไม่ว่าจะไม่รู้จริงๆ หรือกล่าวว่าไม่รู้ว่ามีตัวเลขเหล่านี้อยู่ก็ตาม

ถึงวันนี้หากจะมีการหยิบเรื่องเขื่อนแก่งเสือเต้น ขึ้นมาพิจารณากันจริงๆ แล้ว ข้อมูลเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเข้าสู่การพิจารณาร่วมกับตัวเลขอื่นๆ เพื่อให้การตัดสินใจสุดท้าย

และเป็นการตัดสินใจที่อยู่บนฐานของประโยชน์ของคนและสังคมไทยอย่างแท้จริง

น้อย FOP. <fopthai@asiaaccess.net.th>
- Wednesday, June 12, 2002 at 08:59:42 (EDT)

อย่าให้ประชาชนตาดำๆต้องมากมหน้ารับกรรมกับสิ่งที่ พวกท่านผู้มีอำนาจทั้งหลายพยายามสร้างให้กับชุมชนเลย ควรถามความต้องการและความสมัครใจของชุมชนด้วย อย่าทำเพียงเพื่อผลประโยชน์ของพวกท่านแต่เพียงอย่างเดียว **เงินทอง ตายไปเอาไปได้ไหมครับท่าน**
2 <rdyee46@thaimail.com>
- Wednesday, June 12, 2002 at 06:09:41 (EDT)

ไม่เห็นด้วย ประเทศไทยมีเขื่อนมากเกินพอแล้ว จากผลการศึกษาข้อดีข้อเสียในอดีตที่ผ่านมาพบว่าการสร้างเขือนมีผลกระทบมากมาย อีกทั้งการสร้างเขื่อนนี้ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมหรือเป็นการหาแหล่งพลังงานทดแทนอย่างที่กล่าวอ้าง แต่เป็นการแสวงหาผลประโยชน์จากโครงการขนาดใหญ่ต่างหาก
jutarat ngerntip <tatal@thaimail.com>
- Monday, June 10, 2002 at 06:38:15 (EDT)

ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะเท่าที่ผ่านมาเมื่อสร้างเขื่อนแล้ว ก็เกิดปัญหาอื่นตามมาอีกหลายปัญหา คนท้องถิ่นที่เคยอยู่อาศัยบริเวณที่สร้างเขื่อน จะเอาเขาไปอยู่ที่ไหน จะอ้างว่ารัฐให้ค่าชดเชย หรือเพื่อแก้ปัญหาเรื่องชลประทานให้คนที่อยู่ในจังหวัดใต้เขื่อนนั้นไม่ได้ เพราะนั้นเป็นการแก้ปัญหาที่หนึ่ง แล้วไปสร้างปัญหาอีกที่หนึ่ง ซึ่งมันก็เกิดขึ้นหลายเขื่อนแล้ว และรัฐก็แก้ปัญหาให้แก่คนเหล่านั้นไม่ได้ อีกประการหนึ่ง ในแง่ของสิ่งแวดล้อมแล้ว การที่มนุษย์ไปเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม จะทำให้เกิดผลกระทบต่อหลายสิ่งเกินที่จะคาด เช่น เรื่องของทางเดินสัตว์ป่าที่สัตว์บางประเภทอาจจะต้องเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ หรือพันธุ์พืชบางชนิด ที่เป็นพืชเฉพาะท้องถิ่นที่เราอาจจะยังไม่ค้นพบ ซึ่งเป็นการสูญเสียที่ไม่อาจประเมินค่าได้
pp
- Friday, June 07, 2002 at 00:20:59 (EDT)