|
เรื่องจากปก
|
|
|
โกมล คีมทอง ครูของแผ่นดิน
เขาเสียชีวิตไปในวัยหนุ่ม เมื่อ ๓๒ ปีก่อน ในยามที่การเมืองไทยแบ่งออกเป็นขั้ว
ขณะนั้นเขาเดินตามอุดมการณ์ เพื่อช่วยเหลือคนยากคนจนในชนบท ให้ดูแลตัวเองได้ดีขึ้นด้วย "การศึกษา" เป็นความเชื่ออย่างแรงกล้าที่อาศัยการอุทิศตัวลงมือกระทำ ความคิดความเชื่อและการอุทิศตนเช่นนี้กำลังลดน้อยลงทุกทีในสังคมของเรา
เขาชื่อโกมล คีมทอง
|
สารคดีพิเศษ
|
|
|
สีสันแห่งชีวิตในป่าฝนเขตร้อน ที่ฮาลา-บาลา
ณ พื้นที่สุดเขตชายแดนไทย-มาเลเซีย จังหวัดยะลาและนราธิวาส คือที่ตั้งของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ป่าดงดิบชื้นที่สมบูรณ์ของประเทศ
และเป็นส่วนหนึ่งของป่าฝนเขตร้อนที่ดีที่สุด
แห่งหนึ่งของโลกที่หลงเหลือในปัจจุบัน
วีระวัช ศรีสุข ช่างภาพอิสระผู้ชื่นชอบการถ่ายภาพธรรมชาติและสัตว์ป่า ได้เดินทาง ๑,๓๐๐ กิโลเมตรจากกรุงเทพฯ สู่สถานีวิจัยสัตว์ป่า-ป่าพรุ-ป่าฮาลา-บาลา นำภาพสัตว์ป่าหายาก ตั้งแต่แมลงขนาดจิ๋ว ผีเสื้อ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชนิดต่าง ๆ นกหายากอย่างเช่นนกเงือกกรามช้าง นกชนหิน จนถึงพันธุ์ไม้แปลกตา มาให้ผู้อ่านได้ชื่นชม และเป็นประจักษ์พยานของความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า ที่--"เป็นดั่งชายขอบของสรวงสวรรค์สำหรับสัตว์ป่า
และผู้หลงใหลในความงามของธรรมชาติ" อ่านต่อคลิกที่นี้
|
|
|
โกมล คีมทอง ครูของแผ่นดิน
๒๒ กุมภาพันธ์...อาจเป็นวันธรรมดา ๆ วันหนึ่งที่ไม่สลักสำคัญอะไรสำหรับคนทั่วไป แต่วันนี้เมื่อ ๓๒ ปีก่อน ครูบ้านนอกคนหนึ่งได้จบชีวิตลงในวัยเบญจเพสพร้อมกับเพื่อนสาว จากกระสุนปืนของ "พวกในป่า" ที่เข้าใจผิด
โกมล คีมทอง คือครูบ้านนอกคนนั้น ...คนหนุ่มธรรมดา ๆ จากชนบทผู้มีโอกาสไต่บันไดทางการศึกษา เข้ามาเรียนต่อที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากนั้นก็สละความสุขสบายส่วนตัว ออกไปทำประโยชน์แก่คนที่ด้อยโอกาสกว่า โดยไปเป็นครูสอนเด็กนักเรียนในเขตป่าเขาที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
การเสียชีวิตของโกมล คีมทอง
เป็นแรงบันดาลใจ
ให้แก่หนุ่มสาวจำนวนมากในยุคนั้น แต่ "แบบอย่างทางอุดมคติ" นี้
จะยังมีอิทธิพลต่อคนหนุ่มสาวยุคปัจจุบัน
ที่นึกถึงตัวเองมากกว่าสิ่งใดอยู่ไหม ...เป็นคำถามที่ท้าทายยิ่งนัก อ่านต่อคลิกที่นี้
|
|
|
ถนน ไม้ ไฟฟ้าพลังน้ำ วิบากกรรมสงครามบนโฮจิมินห์เทรล
แม้สงครามอินโดจีนจะผ่านไปแล้วเกือบสามทศวรรษ แต่บนเส้นทาง "โฮจิมินห์เทรล" ซึ่งเป็นเส้นทางที่ฝ่ายเวียดกง
ลำเลียงพล อาวุธยุทธปัจจัย อ้อมเขตปลอดทหารผ่านเข้าไปในลาวและกัมพูชา ก่อนจะวกกลับออกมาโจมตีเวียดนามใต้ ยังคงปรากฏร่องรอยของสงคราม ไม่ว่าหลุมระเบิดและเปลือกระเบิดที่มีเกลื่อนกล่นราวท่อนฟืน
วิวัฒน์ พันธวุฒิยานนท์
ได้มีโอกาสเดินทางเข้าไปในลาวทางตอนใต้ ได้สังเกตการณ์สองฝั่งโฮจิมินห์เทรลที่ทำหน้าที่เชื่อมลาวกับโลกภายนอก
บนลำน้ำหลายสายกำลังมีการสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า
เพื่อจำหน่ายให้แก่ไทย ซึ่งจะทำรายได้มหาศาลให้แก่ลาว
แต่สิ่งที่ต้องแลกมาก็คือหายนะของป่าต้นน้ำ พันธุ์ปลา
และปัญหาอีกนานาที่เคยเกิดขึ้นแล้ว
กับการสร้างเขื่อนหลายแห่งในประเทศไทย ...เป็นวิบากกรรมรูปแบบใหม่ที่ลาวต้องเผชิญ
อ่านต่อคลิกที่นี้
|
Special Attractions |
|
|
Cover: The man died young, caught in the political polarity that marked Thailand during the 1970s while pursuing his ideology of helping the rural poor to take care of themselves better through education -- the kind of socially-engaged conviction that is waning from our society. His name is Komol Keemthong.
Vol. 18 No. 216 February 2003 |
|
|
|
|
|
Astonishing Hala-Bala
It is said that nothing is wasted in a tropical rainforest - every organism must depend on one another for survival. At Hala-Bala Wildlife Sanctuary, the web of interdependency and variety of life that thrives there is but astonishing. It is here where visitors can spot such rare species of hornbill as the Rhinoceros or Helmeted Hornbill or some unusual amphibians including the Dwarf Toad, a small-sized toad with orange speckles around its body. This does not include numerous species of butterflies and insects, many of them have yet to be identified.
Continue: click here
|
|
|
Komol Keemthong: The First Stone that Paved the Way
People who are over 40 years old might recall the name Komol Keemthong as one of the two teachers shot dead in Surat Thani during the height of the political polarization during the 70s. Does the name mean anything to the younger generation? Not much probably.
An idealistic teacher who dedicated himself to education for the poor and underprivileged, Komol was an epitome of what the society can expect from its young generation. He chose to toil at a small school in the far south instead of pursuing an easier, brighter future for himself in the capital. He died at 26, still very much a member of the young generation, a hope of the society.
Komol's life may be short, but his belief and philosophy lives on through his writings, which serve as an inspiration for the next generation.
Continue: click here
|
|
|
Ho Chi Minh Trail : The Politics of Road Building, Logging, Electricity and Hydropower
Old tanks, land mines and gigantic bomb craters are reminders of what has war done to the Truong Son Route, better known as the Ho Chi Minh Trail.
The 16,000-kilometer path stretches along the Vietnam-Laos border. The Trail grew out of footpaths, trails and secondary roads employed by the Vietcong as they fought the United States-backed South Vietnam.
With the need to develop the country along the New Thinking Policy, the Lao government is planning a number of large-scale infrastructure projects that are changing the face of this strategic pass some people termed The Blood Road.
Continue: click here
|