Click here to visit the Website

กลับไปหน้า สารบัญ เปิดพื้นที่ความทรงจำสำหรับเมืองริมน้ำ... ธนบุรี
เปิดพื้นที่ความทรงจำสำหรับเมืองริมน้ำ... "ธนบุรี"
เรื่อง: กุลธิดา สามะพุทธิ
ภาพ: ประเวช ตันตราภิรมย์, วิจิตต์ แซ่เฮ้ง

อนุสาวรีย์ พระเจ้าตากสินมหาราช
อนุสาวรีย์ พระเจ้าตากสินมหาราช


.....
ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม คนในโลกสมัยใหม่ โดยเฉพาะ ที่อยู่ตามเมืองใหญ่ ๆ มักจะมี อาการบางอย่าง ที่เรียกว่า "การโหยหาอดีต" (nostalgia) มันเป็นความหงอยเหงา ทุกข์ทรมาน เพราะคิดถึงบ้านเดิม โหยหาอดีต ที่ไม่มีวันหวนคืนมา ซึ่งบางครั้ง ไม่ได้เกิดกับ ใครคนใดคนหนึ่ง แต่เกิดขึ้นกับ ทั้งสังคม และที่น่าเจ็บปวด ก็คือ เรามีส่วน ในการทำลายอดีตนั้น จนพังพินาศไปกับมือ
.....เรื่องราวเกี่ยวกับ "ธนบุรี" ในสารคดีเรื่องนี้ น่าช่วยเยียวยาหัวใจ ที่เจ็บป่วย จากอาการ ดังกล่าวได้ แม้ว่า ธนบุรี ในวันนี้ จะต่างจาก "เมืองทณบุรี ศรีมหาสมุทร" ในสมัยสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ.๒๑๐๐) ที่เป็นเมืองหน้าด่าน ทางทะเล และป้องกันศัตรู ที่เข้ามาทางด้านใต้ ของกรุงศรีอยุธยา, ไม่ใช่ธนบุรีที่เป็น "เมืองขนาดเล็ก รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านตะวันตกยาวราว ๔๒๐ เมตร ด้านเหนือยาว ๒๕๐ เมตร" ตามที่เดอ ลาลูแบร์ ราชทูตชาวฝรั่งเศส สมัยสมเด็จ พระนารายณ์ บรรยายไว้ใน A Map Of Bangkok (พ.ศ.๒๒๓๐) ไม่ใช่ธนบุรีที่ เจ.จี. เคอนิก เล่าไว้ใน บันทึกการเดินทาง มาสยาม สมัยต้นกรุงธนบุรี (พ.ศ.๒๓๑๑) ว่ามี สวน ปรากฏอยู่ ตามสองฝั่งแม่น้ำ ตามด้วยเขตนาข้าว กว้างไกลสุดสายตา ...ทั้งยังไม่มี ป่ารก ถึงขนาด "...กลางคืน เพลาสองยาม เสือเข้ามากินเขมร ซึ่งเฝ้าสวน หลังวัดบางยี่เรือ" (วัดอินทาราม เขตธนบุรี ในปัจจุบัน) อย่างที่ พงศาวดาร กรุงธนบุรี เล่าไว้ และสภาพน้ำใส ในลำคลอง กุ้งปลาที่ชุกชุม พืชผักผลไม้ อุดมสมบูรณ์ งานบุญ ที่ครึกครื้น ก็เลือนหายไปมากแล้ว แต่ธนบุรี ก็ยังคงมี สิ่งที่เป็น "กรุงเทพฯ ในอดีต" มีร่องรอยของ วิถีชีวิตแบบ "ไทย ๆ" ให้ทบทวน และชื่นชม มีบรรยากาศ ร่มเย็น ของเรือกสวน และคูคลอง ให้ผ่อนคลาย เพียงแต่ มันอาจจะ ซ่อนตัวอยู่ หรือถูกหลงลืมไป เท่านั้น
พิธีถอดพระในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ โบสถ์ซางตาครู้ส
พิธีถอดพระ ในวัน ศุกร์ศักดิ์สิทธิ์
.....คงไม่เกินไปนัก ถ้าจะบอกว่า "ฝั่งธนฯ" ในวันนี้ เป็นเหมือน ที่พักใจ แห่งสุดท้าย ของผู้คน ในเมืองใหญ่ อย่างกรุงเทพมหานคร
.....ตลอดระยะเวลา ที่ผ่านมา ธนบุรี มีบทบาท และมีความเปลี่ยนแปลง มากมายเสียจน คนรุ่นหลัง ที่ไม่ค่อยคุ้นเคยกับ ประวัติศาสตร์ ต้องปวดหัว ธนบุรี เป็นมาหมดแล้ว ตั้งแต่ หมู่บ้านเล็ก ๆ ริมน้ำ เป็นด่านขนอน เป็นเมืองท่า เมืองหน้าด่าน เป็นราชธานี เป็นมณฑล เป็นจังหวัด ท้ายที่สุด เป็นเพียง พื้นที่ส่วนหนึ่งของ กรุงเทพมหานคร
.....บทบาทที่หลากหลาย และการปะทะ สังสรรค์กัน ระหว่าง สิ่งที่มีอยู่เดิม กับสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ ในแต่ละ ยุคสมัยนี่เอง ที่ทำให้ธนบุรี เป็นเมือง ที่น่าสนใจ
โบสถ์ซางตาครู้ส
โบสถ์ซางตาครู้ส
.....สำหรับ "ธนบุรี" ในยุคนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ จังหวัด กรุงเทพมหานคร ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดนนทบุรี ทิศใต้ จรดอ่าวไทย ทิศตะวันออก ติดต่อกับ สมุทรปราการ และกรุงเทพ ฯ ฝั่งพระนคร ทิศตะวันตก ติดต่อกับ นครปฐม และสมุทรสาคร มีผู้คน ๑,๗๗๙,๔๘๗ คน กระจัดกระจาย อยู่บนเนื้อที่ ประมาณ ๔๕๐ ตารางกิโลเมตร
.....จากชุมชนเล็ก ๆ บนดินดอน สามเหลี่ยม ปากแม่น้ำ เจ้าพระยา ที่เกิดขึ้น เมื่อประมาณ ๔๕๐ ปีก่อน กลายเป็นเมือง ที่มีความหนาแน่น ของประชากร โดยเฉลี่ย ๓,๘๓๑ คน/ตร.กม. มากกว่า ฝั่งพระนคร ซึ่งมีประชากร ๓,๕๔๖ คน/ตร.กม. เสียอีก แม้ว่า ฝั่งธนบุรี จะมีจำนวน ประชากร น้อยกว่า ฝั่งพระนครถึง ๒ เท่าก็ตาม
งานแห่หลวงพ่อโต วัดกัลยาณ์
งานแห่หลวงพ่อโต วัดกัลยาณ์
.....หลายคนมองว่า ธนบุรี ยังคงเก็บรักษา วิถีชีวิต แบบดั้งเดิม รวมทั้งพื้นที่สวน ไว้ได้ ก็เพราะ นับตั้งแต่ รัชกาลที่ ๑ ย้ายราชธานี มาอยู่ฝั่งพระนคร การพัฒนาบ้านเมือง ก็ทุ่มไปทาง ฝั่งพระนคร มากกว่า ความเจริญด้านวัตถุ จึงมาถึงฝั่งธนฯ ช้ากว่าที่อื่น นี่อาจเป็นข้อดี ของการเป็น "ลูกเมียน้อย" คือ ถูกละเลย ไม่ค่อยได้รับ การพัฒนา แต่การถูกละเลยนี้ ในอีกด้านหนึ่ง มันก็ทำให้ แผ่นดิน ที่เคยเป็นถึง "ราชธานี" ทรุดโทรมลง อย่างน่าใจหาย ได้เหมือนกัน และมันก็เริ่มจะ คุกคาม "อดีต" ที่หลงเหลืออยู่นั้น เพิ่มมากขึ้นทุกที เห็นได้จาก คูคลอง ที่กลายเป็น ท่อระบายน้ำ ขนาดยักษ์ ลานวัด กลายเป็น ที่จอดรถ บ้านสวน กลายเป็น ชุมชนแออัด ฯลฯ
.....สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เตือนเราว่า ยังมีเรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับ "ธนบุรี" ให้ครุ่นคิดอีกมาก นอกเหนือจาก การนั่งอมยิ้ม อยู่กับ บรรยากาศดี ๆ และภาพอดีต ที่งดงาม

 

สนับสนุน หรือ คัดค้าน เรืออวนครอบปั่นไฟปลากะตัก
สนับสนุน หรือ คัดค้าน สอนลูกเองที่บ้าน
สารบัญ | จากบรรณาธิการ | ตีนหมี | โลงศพ Gen-X | ธนบุรี | ซองคำถาม | เฮโลสาระพา
Anchovies | The Legend of Mae Nak


Feature@sarakadee.com

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ |
WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)