Click here to visit the Website

สารคดี เดือน กันยายน ๒๕๔๒
สารคดี เดือน กันยายน ๒๕๔๒คลิกเพื่อดูรูปใหญ่ (Click for bigger)สารคดี เดือน กันยายน ๒๕๔๒
สารคดี เดือน กันยายน ๒๕๔๒
สารบัญ
โลกใบใหญ่
โลกใบเล็ก
small world ตีนหมี อเมริกัน ตีตลาด เอเชีย
small world โลงศพ Generation X
อ่านเอาเรื่อง
สนับสนุน หรือ คัดค้าน สอนลูกเอง ที่บ้าน ดีหรือไม่ ?
ธรรมชาติ - สิ่งแวดล้อม
- จุดเริ่มต้น สำหรับ อนาคต "ถ้ำ" ในประเทศไทย
บริการสังคม
ศูนย์ สวัสดิภาพช้าง และสัตว์ป่า
- ศูนย์ สวัสดิภาพช้าง และสัตว์ป่า กับปฏิบัติการ กู้ภัย เมื่อสัตว์ มาอยู่เมือง (โทร ๒๘๑๓๐๓๓ ได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง หรือโทรแจ้ง ๑๙๑)
บุคคลในข่าว
- ๒๐ ชาวเอเชีย ผู้ทรงอิทธิพล ในศตวรรษที่ ๒๐
รายงาน โครงการ จังหวัด
Wallpaper โบสถ์ซางตาครู้ส
- สุสาน - กุโบร์ - กุฎี - ตึก - วัง เรื่องไม่ลับ แต่คุณไม่รู้ ใน ธนบุรี
ที่นี่มีอะไร

 

 

โลกบันเทิง
คนกับหนังสือ
- อัลเลน กินส์เบอร์ก : เสียงโหยหวน แห่งยุคสมัย
ภาพยนตร์
- ขี้ไต้ ราหู และตัวเหี้ย ช่วยกัน เป็นพยาน หัวใจรัก แห่งนาง
ดนตรี
- หลักไมล์ ในเส้นทาง ดนตรีร็อก (๓)

 

 

โลกธรรมชาติ และวิทยาการ
ส่องจักรวาล
- เส้นทาง สู่ความรู้เรื่อง เอกภพ (๓) ปริศนาแห่ง เนบิวลา
โลกธรรมชาติ
- ตัดต่อยีนพืช ยุทธวิธี ชนะแมลง ?
คลื่นวิทย์ - เทคโนฯ มหัศจรรย์ แห่งชีวิต (๒๔)
- มหัศจรรย์ แห่งชีวิต (๒๔)

 

คอลัมน์ประจำ - ปกิณกะ
ประเทศไทย สัตว์ใกล้สูญพันธุ์
mealy-crab ปูทูลกระหม่อม
- ปูทูลกระหม่อม
ศรีสัชฯ - สุโขทัย
- วัดศรีสวาย
from editor จากบรรณาธิการ
บ้านพิพิธภัณฑ์
- ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์
เขียนถึง สารคดี
Feature@Sarakadee.com
บันทึกนักเดินทาง
ค้างคาว ในโพรงไทร
- ค้างคาว ในโพรงไทร
รู้ร้อยแปด
ปิ่นโต เป็น ภาษา โปรตุเกส Pinto หรือ ญี่ปุ่น Bento- ปิ่นโต เป็น ภาษา โปรตุเกส Pinto หรือ ญี่ปุ่น Bento หรือ...
สัมภาษณ์
ณรงค์ โชควัฒนา
- "พึ่งตนเอง ทางรอด ของประเทศ" ณรงค์ โชควัฒนา ประธาน กรรมการบริหาร กลุ่มแพน ในเครือบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน)
108 Questions ซ อ ง ค ำ ถ า ม
-น้ำดื่ม มีวันหมดอายุ ด้วยหรือ
- แรกเริ่ม การไปรษณีย์ และแสตมป์
- ทำไม ต้องเจาะเลือดที่ นิ้วนาง เท่านั้น
- นกนอนท่าไหน
- กำเนิด พิพิธภัณฑสถาน
- คิ้ว มีประโยชน์ อย่างไร
- ตำรากับข้าว เล่มแรก ของไทย
- เพศของเรือ
สารคดีภาพ
ภาพข่าวโลก ๑๙๙๙
- มือ และดวงหน้า ในภาพข่าวโลก ๑๙๙๙
อุทยานแห่งชาติ
ดอกกระเจียว ภูกระดึง
- เที่ยวน้ำตก หน้าฝน บนภูกระดึง
ศิลปะ
(Click for bigger) john singer sargent's Elegant Portrait
- ภาพเหมือน สไตล์พลิ้วไหว ของ จอห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนต์
สมาชิกอุปถัมภ์
เ ฮ โ ล ส า ร ะ พ า
หมูอมตะ
เหตุการณ์ประหลาด คนญี่ปุ่นสองคน ไม่เคย เห็นหน้ากัน มาก่อน ได้มาพบกันที่...

"หมูอมตะ" และ เพื่อนควบคุม

 

 เ รื่ อ ง จ า ก ป ก
เปิดพื้นที่ความทรงจำ สำหรับเมืองริมน้ำ... "ธนบุรี"
....."ธนบุรี" ที่พูดถึงในสารคดีเรื่องนี้ ย่อมต่างจาก "เมืองทณบุรี ศรีมหาสมุทร" ในสมัย สมเด็จ พระมหาจักรพรรดิ อย่างลิบลับ ไม่ได้เป็น "เมืองขนาดเล็ก รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า" ตามที่ เดอ ลา ลูแบร์ ราชทูต ชาวฝรั่งเศส สมัยสมเด็จ พระนารายณ์ บรรยาย ไม่มีสภาพป่ารก ถึงขนาด "...กลางคืน เพลาสองยาม เสือ เข้ามากินเขมร ซึ่งเฝ้าสวน หลังวัดบางยี่เรือ" (วัดอินทาราม เขตธนบุรี ในปัจจุบัน) อย่างที่ พงศาวดาร กรุงธนบุรี เล่าไว้
.....แต่เป็น "ฝั่งธนฯ" ที่มีผู้คน ๑,๗๗๙,๔๘๗ คน กระจัดกระจาย อยู่บน เนื้อที่ประมาณ ๔๕๐ ตารางกิโลเมตร มีความหนาแน่น ของประชากร โดยเฉลี่ย มากกว่า ฝั่งพระนคร แม้ว่า จะมีจำนวนประชากร น้อยกว่า ถึงสองเท่าก็ตาม และบนถนน สายหลัก ทุกสาย ก็มีรถวิ่ง ไม่ต่ำกว่า ชั่วโมงละ ๒,๐๐๐ คัน
.....ก่อนหน้านี้ "ธนบุรี" หรือ "บางกอก" เคยเป็นอะไรมา มากมายนัก
........เป็นหมู่บ้านริมน้ำ ที่เรือสินค้า ใช้เป็นที่หยุดพัก ก่อนเดินทางต่อไปยัง กรุงศรีอยุธยา, เป็นด่านขนอน, เป็นเมืองท่า เมืองหน้าด่าน
........เคยเป็นถึง ราชธานี ในรัชสมัยของ พระเจ้ากรุงธนบุรี แล้วกลายเป็นเพียง เมืองหลวงเก่า หลังจากรัชกาลที่ ๑ ทรงย้าย เมืองหลวง ไปไว้ฝั่งพระนคร, ถูกรวมเข้ากับ หัวเมืองใกล้เคียง เป็น "มณฑล กรุงเทพพระมหานคร" แล้วแยกออกมาเป็น "จังหวัดธนบุรี" ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ถูกรวมเข้ากับ จังหวัด พระนคร อีกครั้ง แล้วตั้งชื่อว่า "นครหลวง กรุงเทพ ธนบุรี"
.....ไม่ว่าจะเป็นอะไรมาบ้างก็ตาม สำหรับคนสมัยใหม่ ในมหานคร อย่างกรุงเทพฯ คงไม่เกินเลยไปนัก หากจะบอกว่า "ฝั่งธนฯ" คือ ที่พึ่งทางใจ เพราะยังคงมี สิ่งที่ผู้คนโหยหา ไม่ว่าจะเป็น ชุมชน ธรรมชาติ เรือกสวน คูคลอง และวิถีชีวิต แบบดั้งเดิม หลงเหลือไว้ให้ชื่นชม แต่ด้วยความที่ ธนบุรี กำลัง ตกอยู่ใน สภาพของ "ลูกเมียน้อย" หรือ "ราชธานีที่ถูกลืม" ความเสื่อมโทรม และการพัฒนา อย่างไร้ทิศทาง จึงคืบคลานเข้ามา ทำลาย ร่องรอยแห่งอดีต เหล่านี้ลง
.....ธนบุรี จะอยู่ช่วยเยียวยาหัวใจ ของคนในโลกสมัยใหม่ ที่ถูกกัดกิน ด้วยความ หงอยเหงา ทรมาน เพราะคิดถึงบ้านเดิม โหยหาอดีต ที่ไม่มีวัน หวนคืนมา หรือที่ นักมานุษยวิทยา เรียกว่า "nostalgia" ไปได้อีก นานสักเท่าไรกัน ?

ภาพปก : ประเวช ตันตราภิรมย์


 

ส า ร ค ดี พิ เ ศ ษ
ปลากะตัก บทเรียนก่อนจะสิ้นสินในน้ำ
ปลากะตัก บทเรียนก่อนจะสิ้นสินในน้ำ .....ที่จังหวัดสงขลา ชาวประมงพื้นบ้าน กำลังรวมตัวกัน เรียกร้อง ให้ทางการ ประกาศยกเลิก การจับปลากะตัก ด้วยเรืออวนครอบ ปั่นไฟ ซึ่งแม้จะเป็น วิธีที่ จับปลากะตัก ได้จำนวนมาก แต่ก็ทำให้ ลูกสัตว์น้ำ ชนิดอื่น ติดขึ้นมาด้วย จนเกรงกันว่า จะทำให้ สัตว์น้ำชนิดอื่น สูญพันธุ์ ข้อขัดแย้งนี้ ทำท่าว่า จะไม่จบลงง่าย ๆ เพราะมีชาวบ้าน หลายพันคน ที่ได้ประโยชน์ จากอุตสาหกรรม ปลากะตัก
.....นี่เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่ง ของการ "แย่งชิง" ทรัพยากร ธรรมชาติ ที่เกิดขึ้น ครั้งแล้ว ครั้งเล่า และไม่มีใคร จดจำ เป็นบทเรียน สักที

 

เปิดพื้นที่ความทรงจำ สำหรับเมืองริมน้ำ... "ธนบุรี"
ธนบุรี .....หลายคนมองว่า ธนบุรี ยังคงรักษา วิถีชีวิต แบบดั้งเดิม รวมทั้ง พื้นที่สวน ไว้ได้ เพราะการ พัฒนาบ้านเมือง ทุ่มไปทาง ฝั่งพระนคร มากกว่า ความเจริญด้าน วัตถุ จึงมาถึง ฝั่งธนฯ ช้ากว่าที่อื่น นี่อาจเป็น ข้อดี ของการเป็น "ลูกเมียน้อย" แต่ในอีกด้านหนึ่ง มันก็ทำให้ "ราชธานีเก่า" ทรุดโทรมลง อย่างน่าใจหาย เห็นได้จาก คูคลอง ที่กลายเป็น ท่อระบายน้ำ ขนาดยักษ์ ลานวัด กลายเป็น ที่จอดรถ บ้านสวน กลายเป็น ชุมชนแออัด ฯลฯ
.....สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เตือนเราว่า ยังมีเรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับ ธนบุรี ให้ครุ่นคิดอีกมาก นอกเหนือจาก การนั่งอมยิ้มอยู่ กับบรรยากาศดี ๆ และภาพอดีต ที่งดงาม

อ่านต่อ คลิกที่นี่ Click here

เปิดตำนาน แม่นาก พระโขนง
เปิดตำนาน แม่นาก พระโขนง
.....ใครจะไปคิดว่า เรื่องเล่าเกี่ยวกับ ผู้หญิงคนหนึ่ง จะทรงพลัง ถึงเพียงนี้ ...เป็นเรื่องที่ เล่ากันมานาน นับร้อยปี ไม่มีใครลืม ถูกนำไปสร้างเป็น ละครวิทยุ ละครเพลง ละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ครั้งแล้ว ครั้งเล่า โดยเฉพาะ ครั้งล่าสุด ที่ถูกนำมาสร้าง เป็นภาพยนตร์ชื่อ นางนาก ซึ่งถือเป็น ภาพยนตร์ไทย ที่ทำรายได้ มากที่สุด เป็นประวัติการณ์
.....เอนก นาวิกมูล นักเขียน นักค้นคว้าเรื่องเก่า จะมา เปิดตำนาน แม่นากพระโขนง อย่างละเอียดละออ และช่วยให้ "วิชาแม่นาก" ที่ผู้คน กำลังสนใจกัน มีความครบถ้วน สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

- แม่นาก กับ สมเด็จ พระพุฒาจารย์ (โต) ฉบับ ๒๔๗๓
- กระดูกหน้าผาก นางนาก

- ละครวิทยุ ภาพยนตร์ และอื่นๆ
- ต้นตำรับ ประวัติแม่นาก ฉบับ นายกุหลาบ ๒๔๔๒
- นากพระโขนง ที่ ๒
- ละครร้อง อีนากพระโขนง ๒๔๕๔
- นิยายคำกลอน แม่นาคพระโขนง ๒๔๖๗, ๒๔๗๔, ๒๔๘๑
- ขุนชาญคดี เล่าเรื่อง อีนากพระโขนง ๒๔๗๑
- กลายเป็นลำตัด ๒๔๗๒ กับ ๒๔๗๓

" เรื่อง แม่นากพระโขนง มาจากคำเล่าลือ เมื่อร้อยกว่าปีก่อน ที่ว่า หญิงคนหนึ่ง ชื่อ อำแดงนาก บ้านอยู่ริมคลอง พระโขนง คลอดลูกตาย ศพฝังที่ วัดมหาบุศย์ แล้วกลายเป็น ปีศาจร้าย หลอกหลอน ชาวบ้าน จนเป็นที่หวาดผวา ไปทั่ว ตำบลพระโขนง จากเรื่องสั้นๆ เพียงไม่กี่บรรทัด แค่นี้ ไม่น่าเชื่อว่า หลังจากนั้น... "


ปลากะตัก anchovy
เ ชิ ญ ร่ ว ม แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น
สนับสนุน หรือ คัดค้าน เรืออวนครอบปั่นไฟ ปลากะตัก


Remembering Thonburi Special Attractions
Cover: The monument of King Taksin.

Remembering Thonburi
.....A small community in the Chaopraya River delta established over four centuries ago has become a crowded city with 1,779,487 people. No longer the lush and vibrant village of yore, Thonburi still retains a considerable "old Bangkok" character. Canal-side houses call back days when bare hands and a couple of dives brought up bucket-loads of The monument of King Taksinprawn. But even these few remnants of the past in this old capital are disappearing. Remembering Thonburi today may mean thinking about more than just pleasant pictures or views.

 

Anchovies: Lessons of Life Anchovies: Lessons of Life
.....To use or not to use light is a question debated by local Songkla fishermen, non-local fishers, politicians and environmentalists in recent months regarding the catching of anchovies. It is no surprise that this small marine fish about the size of your pinky has brought together such a mixed group of people and has affected such a vast scale of the economy and environment. The food chain rests upon these tiny creatures. And the heated debate is as much about personal profit as world resource sustainability.

อ่านต่อ คลิกที่นี่ Click here

The Legend of Mae Nak Prakanong The Legend of Mae Nak Prakanong
.....From a local tale to a national ghost epic, Mae Nak Prakanong or Mrs. Nak of Prakanong District has grown to unprecedent popularity. What with a multimillion-dollar hit movie, two TV series being planned, and countless parodies, pop art, and paraphernalia, nothing seems able to obstruct Mae Nak's literal rise to stardom as Thailand's most famous ghost. But how did all this come about? The history of Mae Nak's legend seems as elaborate and exciting as the legend itself.

อ่านต่อ คลิกที่นี่ Click here

John Singer Sargent John Singer Sargent's Elegant Portraits
.....Born to wealthy American parents in Florence, Italy, John Singer Sargent showed artistic talent at a very young age and produced works(Click for bigger) John Singer Sargent's Elegant Portraits of a maturity and complexity rivaling the masters by the age of 20. Soon, his elegant, expressive style was sought after by the British and American high society of the time. "Lady with a Rose", "The Misses Vickers", and the notorious "Madame X" all reveal his sensitivity to each subject's individuality and the quick yet precise brushstrokes that have brought him fame.

ฉ บั บ ห น้ า: อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์
วีรบุรุษคนสุดท้าย

อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์

สนับสนุน หรือ คัดค้าน สอนลูกเองที่บ้าน
สารบัญ | จากบรรณาธิการ | ตีนหมี | โลงศพ Gen-X | ธนบุรี | ซองคำถาม | เฮโลสาระพา
Anchovies | The Legend of Mae Nak


Feature@sarakadee.com

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ |
WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าต่อไป (Next Page)