Page 68 - SKD-V0402.indd
P. 68
ในขวด อาศัยหยดน�้าที่เกาะตามขวดท�าให้มอสบนดินชุ่มฉ�่า
สัก ๒-๓ เดือนค่อยรดน�้าครั้งหนึ่งก็ได้ และ “สวนกึ่งเปิด-
ปิด” คือวางฝาปิดไม่สนิท เหมาะกับผู้ไม่ต้องการให้ไอน�้า
เกาะจนมองไม่เห็นบรรยากาศในขวด แต่ความชุ่มชื้นก็จะ
ลอดออกได้จึงต้องรดน�้าเดือนละหนึ่งถึงสองครั้ง
โลกของศิลปะมีผลงานหลายชิ้นเกิดจากการปลูกต้นไม้
สวนขวดเป็นหนึ่งในงานนั้นที่มีการเจริญเติบโตของจริง
“สิ่งที่อยู่ในสวนขวดแต่ละชั้นมีหน้าที่ต่างกัน ชั้นล่างสุด
เป็น ‘ป็อปเปอร์’ เม็ดดินเผามวลเบาท�าจากดินเหนียวปั้นเป็น
เม็ดกลมแล้วเผาให้พรุน ระบายอากาศดี จะช่วยซับน�้าไม่ให้
มอสต้องแช่น�้าตลอดเวลา”
ขณะที่ชายร่างท้วมบรรจงใช้ช้อนตักวัสดุปลูกที่หน้าตา
คล้ายอาหารเม็ดของสัตว์เลี้ยงล�าเลียงลงขวดโหลอย่างระวัง
เขาแบ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ร่วมใช้และใจดีสอนจัดสวนใส่ขวด
เมื่อรู้ว่าเราอุตส่าห์เตรียมมา
อยากลองทั้งที่อย่าว่าแต่ทักษะจัดสวนเลย แค่จะจัด
ดอกไม้สักช่อยังท�าไม่เป็น
“ชั้นต่อมาเป็น ‘สแฟกนัมมอส’ จะดูดซับน�้าและเก็บ
ความชื้นให้กับรากต้นไม้ ชั้นนี้ต้องเริ่มดีไซน์แล้วว่าอยากได้
สวนอย่างไร ถ้าจัดสวนด้านหน้าก็ควรพอกสแฟกนัมเป็นเนิน
66
ให้ด้านหลังสูงกว่าจะได้มีมิติ การจัดสวนขวดต้องแน่ใจใน
ความคิด เพราะถ้าแก้ไขทีหลังจะมีค่าเท่ากับรื้อมอสจัดใหม่”
ขณะใช้อุปกรณ์ช่วยคีบแผ่นที่มีรูปร่าง สีสัน และผิว
สัมผัสคล้ายหมูหย็องเหนียวฉีกขาดยากวางลงขวด เขาแนะ
ว่าแต่ละชั้นควรเกลี่ยให้หนา ๑ เซนติเมตร อาจมาก-น้อย
กว่าได้ขึ้นอยู่กับขนาดของขวด
“ชั้นที่ ๓ คือ ‘พีตมอส’ เป็นวัสดุเพาะปลูกแทนดิน
ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน ผิวสัมผัสที่คล้าย
ขุยมะพร้าวสับมีความแน่นช่วยเก็บความชื้น ให้สารอาหาร
กับพืชดีกว่าดินแถมสะอาดกว่า”
อีกเหตุผลที่ไม่ใช้ดินเพราะอาจมีไข่หนอน-ไข่ด้วงปะปน
พออยู่ในขวดที่มีความชื้นสูง ควบคุมความสะอาดยาก จะ
เอื้อต่อการเติบโตของเชื้อราหรือเกิดเชื้อโรคง่าย ซึ่งลูกค้า
หลักของสวนขวดเป็นผู้หญิง หากวันไหนเกิดขึ้นราหรือเห็น ประโยชน์ของต้นไม้อาจไม่ได้ส�าคัญว่าเป็นต้นเล็กหรือใหญ่
ไส้เดือนดินโผล่ในขวดคงไม่ดีแน่ จึงต้องให้ความส�าคัญกับ และไม่สามารถเปรียบเทียบกันด้วยการผลิตก๊าซออกซิเจน
สิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธคือความสุขทางสายตาของพื้นที่สีเขียว
ความสะอาดเป็นพิเศษ อย่างน้อยที่สุดก็ได้ความรื่นรมย์บนพื้นที่เล็ก ๆ ของตนเอง
“ชั้นบนสุดเป็น ‘มอส’ คนละชนิดกับมอสที่ประดับ
บอนไซ แบบนั้นแห้งแล้วจะตาย ที่น�ามาจัดสวนขวดเป็น
มอสจากป่าทางอีสานและลาว อย่างมอสหางกระรอก
ที่ชอบความชื้นสูง ปรกติจะอยู่ในป่าดิบชื้น มีสปอร์แข็งแรง
มอสพวกนี้ต้องแซะจากหน้าดินมาผึ่งแห้งเพื่อลดน�้าหนัก
ขนส่ง พอได้มาก็น�ามาแช่น�้า ผึ่งแดด ให้มอสฟื้นจนเขียวฟู
จึงน�ามาจัดสวน”