|
เรื่องจากปก
|
ภาพ : ฝ่ายภาพ สารคดี |
|
ที่นี่กรุงเทพฯ ๒๐๐๒
การแสดงบนเวทีซึ่งผสมผสานระหว่างศิลปะ ดนตรี แฟชั่น
ในโอกาสครบรอบ ๓๖ ปีสยามสแควร์
แหล่งรวมความทันสมัยใจกลางเมืองที่สะท้อนภาพวิถีชีวิต (life style) ในแง่มุมหนึ่ง
ของชาวกรุงเทพฯ ยุคปี ๒๐๐๒ |
สารคดีพิเศษ
|
|
|
ฟรานซิสจิตร ช่างภาพผู้ยิ่งใหญ่
หนังสือต่างประเทศว่าด้วยเรื่องเมืองสยาม
มีไม่น้อยที่ตีพิมพ์เรื่องราวพร้อมภาพถ่ายเมืองไทย
คมชัดงดงามหลายต่อหลายภาพ แต่จะมีใครสักกี่คนที่ล่วงรู้ว่า ในบรรดาภาพอันทรงคุณค่าเหล่านั้น
จำนวนไม่น้อยเป็นผลงานการถ่ายภาพของช่างภาพชาวไทย
ที่ฝากผลงานอันยอดเยี่ยมไว้เมื่อกว่าร้อยปีก่อน
เมืองไทยในยุคนั้นมีช่างภาพชนิดที่เรียกว่านับตัวได้
หากไม่นับชาวต่างชาติ
ที่นำเทคนิคการถ่ายภาพเข้ามาเผยแพร่แล้ว คนที่มีความรู้ด้านนี้ก็เป็นเจ้านายชั้นสูงไม่กี่พระองค์ แต่ผู้ที่ฝากผลงานไว้มากที่สุด ทั้งยังเป็นผลงานล้ำค่าไม่มีใครเทียบ
ก็คือช่างภาพหลวงชาวกุฎีจีน
ที่นักเลงภาพเก่ารู้จักกันดีในนาม ฟรานซิสจิตร
แม้ผลงานของฟรานซิสจิตรจะมีอยู่มากมาย
หากแต่การค้นคว้าประวัติชีวิตของช่างภาพคนหนึ
่งที่มีชีวิตอยู่เมื่อกว่าร้อยปีก่อนไม่ใช่เรื่องง่าย เอนก นาวิกมูล นักค้นคว้าเรื่องเก่ามือเอกของไทย จะมาบอกเล่าเรื่องราวของช่างภาพผู้นี้ผ่านหลักฐาน-
เอกสารที่ได้จากการสืบค้นมาเป็นเวลานับสิบปี พร้อมนำภาพเก่าล้ำค่าที่หาดูได้ยากมาให้ชมกันอย่างเต็มตา
อ่านต่อคลิกที่นี้
|
|
|
ที่นี่กรุงเทพฯ ๒๐๐๒
รถไฟฟ้าบนดิน-ใต้ดิน ตึกระฟ้า สะพานแขวน ศูนย์การค้าแหล่งบันเทิงครบวงจร โรงพยาบาลชั้นเยี่ยม แหล่งความรู้ชั้นนำ ฯลฯ ท่ามกลางความเจริญก้าวหน้านานัปการ กรุงเทพฯ
วันนี้ก็ไม่ได้ต่างไปจากเมืองใหญ่ทั่วโลก
ที่เป็นศูนย์รวมของปัญหาสารพัน
ที่พร้อมจะทดสอบความอดทนของคนเมือง ทั้งปัญหา "บนดิน" อย่างรถติด มลพิษ ความแออัด ไปจนถึงปัญหา "ใต้ดิน" อย่างยาเสพย์ติด แรงงานเถื่อน อาชญากรรม อย่างไรก็ตาม เมืองใหญ่แห่งนี้ใช่จะมีแต่ด้านมืด ภายใต้หน้ากากคนเมืองที่ต้องดิ้นรนเอาตัวรอด ยังคงมีแง่งามจากน้ำใจผู้คนให้ได้ยินได้ฟังอยู่บ่อยครั้ง เป็นน้ำใจที่ฉาบทาเมืองใหญ่แห่งนี้ไม่ให้แห้งแล้งจนเกินไปนัก
ที่นี่กรุงเทพฯ ๒๐๐๒
จะพาเราไปพบเรื่องราวหลากหลาย
ที่เป็นประดุจภาพต่อจิกซอว์ของกรุงเทพฯ วันนี้ ทั้งด้านมืดและด้านสว่าง
แม้ว่าภาพรวมของมันทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ยังเป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาก็ตาม
อ่านต่อคลิกที่นี้
|
Special Attractions |
|
|
Cover:
Onthe occasion of the 36th anniversary of Siam Square, the performances
on stage depict a vivid conglomeration of art, music and fashion, as well as a
sensational concentration of modernity in the heart of the city, accurately
reflecting the Bangkokian lifestyle in 2002.
Vol. 17 No. 205 March 2002 |
|
|
|
|
|
Francis Chit: Thailand's Great Photographer
There were not many pioneer photographers in Thailand. The first to officially introduce photography to the Kingdom in 1845 were L'Abbe Larnaudie and the Patriarch Paleucroix. Only one of the early few had any major impact on the development of photography in the country. Today, Francis Chit is still considered one of Thailand's first and greatest photographers, having parted us with the largest number of photographs, incomparable both in number and quality.
Continue: click here
|
|
|
Bangkok 2002
"Next station... Siam. Interchange station... passengers may transfer to the Silom line here." Within minutes, the train draws into the recently announced station, and hundreds of passengers - spaghetti-strapped teenagers, school-aged boys, professionals - quickly filter out to various destinations. Below, the polluted Pathumwan intersection is bloated with vehicles, beggars line the overpasses, crazies rummage through trashcans, and amphetamine abusers hide in dark corners. Bangkok today represents technological development and home to a culturally diverse 10 million... as well as the setting of innumerable problems.
Continue: click here
|
|
|
|
วันเกิดกรุงเทพฯ
"หมูอมตะ" |
|
สะกิดตา
ภาพ: สกล เกษมพันธุ์
เหตุเกิดที่กรุงเทพ ฯ ๒๐๐๒ |
สะกิดใจ
ผมนึกไม่ออกเลยว่า
การจัดให้ช้างมาปี้กันให้คนดูก็ดี ดำน้ำลงไปจับคู่สมรสแข่งกับปลาเก๋าก็ดี หรือทำไข่เจียว ปอเปี๊ยะให้มันใหญ่ที่สุดในโลกก็ดี มันเป็นเรื่องของวัฒนธรรมตรงไหน
ยังไม่ต้องเอ่ยถึงว่ากิจกรรมพวกนี้
นับวันยิ่งแปรประเทศชาติ
ให้กลายเป็นโรงละครสัตว์มากขึ้นทุกที
เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
จากคอลัมน์ ชั่ว ๆดี ๆ หนังสือพิมพ์ มติชน ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ |
|