ส า ร บั ญ |
โลกใบใหญ่ |
โลกใบเล็ก
|
|
เวลคัม คิตตี้
โกโฮม มิกกี้เมาส์
|
|
เคี้ยวหมากฝรั่ง
ลดน้ำหนัก
|
อ่านเอาเรื่อง |
|
นักศึกษา กับการประกวด นางงาม
โอกาสที่ยั่งยืน หรือเย้ายวน |
เกร็ดข่าว |
|
ลาก่อน
"พีนัตส์"
|
บุคคลในข่าว |
|
แหถัก กับ
มอเตอร์ไซค์รับจ้าง วิถีบ้านนอก
ในเมืองกรุง |
ต่างประเทศ |
|
สิ่งที่เหมือนเดิม
และเปลี่ยนไป ในวันชาติมอญ |
เพื่อความเข้าใจ
ในแผ่นดิน |
|
เดินเท้า ท่องวัฒนธรรม ฝั่งธน |
ปัญหาสังคม |
|
อาชญากรเด็ก ?
เหยื่อความรุนแรง ในครอบครัว |
WWW
Knowledge |
|
สาระสำหรับพ่อแม่
|
ที่นี่มีอะไร
|
|
โลกบันเทิง |
ดนตรี |
|
หลักไมล์
ในเส้นทาง ดนตรีร็อก |
|
โลกธรรมชาติ และวิทยาการ |
โลกวิทยาการ |
|
ฆานวิทยา :
วิทยาศาสตร์ของกลิ่น |
โลกธรรมชาติ |
|
ตัวห้ำ
ตัวเบียน
|
ส่องจักรวาล
|
|
เส้นทางสู่ความรู้
เรื่องเอกภพ (๙)
ระยะทางสู่กาแล็กซี |
คลื่นวิทย์
- เทคโนฯ |
|
มหัศจรรย์แห่งชีวิต
(๓๐) |
สื่อภาษาวิทยาศาสตร์ |
|
ฮีเลียม |
|
คอลัมน์ประจำ - ปกิณกะ |
|
|
|
โลกรายเดือน |
|
มีนาคม |
เชิญดอกไม้
|
|
ชมพูพันธุ์ทิพย์
|
จากบรรณาธิการ |
|
บ้านพิพิธภัณฑ์
มงคลรัฐ โอจรัสพร นักเก็บ
แห่งเชียงใหม่ |
เขียนถึงสารคดี
Feature@
Sarakadee.com |
เสียงจากอุษาคเนย์ |
|
เปิดแฟ้ม
"หนังต้องห้าม" ของอุษาคเนย์ |
ซองคำถาม |
|
วานิลลา
คืออะไร |
|
วิธีแก้สะอึก...อึ๊ก
! |
|
ราชบัณฑิต
คือใคร |
สัมภาษณ์ |
|
โฮเซ่ รามอส-ฮอร์ต้า ก่อนกำเนิด
ติมอร์ตะวันออก |
บันทึกนักเดินทาง |
|
แอบดูนกอาบน้ำ |
สยามร่วมสมัย |
|
ป้อมวิชัยประสิทธิ์ |
บทความพิเศษ
|
|
ภาพถ่าย
ฝีพระหัตถ์ รัชกาลที่ ๕ ในงานวัด
เบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๓ |
คิดสร้างต่างสรรค์ |
|
ซิกมุนด์ ฟรอยด์
ผู้เผยโลกเร้นลับ
ของจิตใต้สำนึก |
สำรับชาวบ้าน |
|
กินอย่างคนภูเก็ต
|
สารคดีบันทึก |
|
หลายแง่มุม
ในเหตุการณ์ ก็อดส์อาร์มี
ยึดโรงพยาบาล ศูนย์ราชบุรี |
เฮโลสาระพา |
|
|
|
|
|
ภาพปก : เทียรี
ฟาลีส์ |
|
นักรบชายขอบ ตลอดชายแดน ไทย-พม่ากว่า
๒,๐๐๐ กิโลเมตร
ตั้งแต่จังหวัดเชียงราย
จนถึงจังหวัดระนอง
ประเทศไทย มีเพื่อนบ้านเป็น ชนกลุ่มน้อย
อาศัยอยู่ในรัฐชายขอบ ไม่น้อยกว่า
๑๐ ชาติพันธุ์ อาทิ ไทยใหญ่
ว้าแดง คะเรนนี กะเหรี่ยง และมอญ
นับแต่พม่าได้รับเอกราช จากอังกฤษเมื่อปี
๒๔๙๑ ชนกลุ่มน้อยเหล่านี้
ก็เริ่มถูกกดดันจากรัฐบาลพม่า
ที่มีนโยบายให้ ชนกลุ่มน้อยทั้งหมด
อยู่ภายใต้การปกครองของตน
เมื่อชนกลุ่มน้อย
ซึ่งปกครองตนเองมายาวนาน
ไม่เห็นด้วยกับ นโยบายดังกล่าว
และลุกขึ้นต่อต้าน รัฐบาลพม่า
จึงส่งกองกำลังเข้ายึดพื้นที่
และทำร้ายชาวบ้าน
เป็นเหตุให้ชนกลุ่มน้อยเหล่านี้
ต้องจัดตั้งกองกำลังของตนขึ้น
ต่อสู้กับ กองกำลังทหารพม่า มานับแต่นั้น
|
|
|
นักรบกะเหรี่ยง เป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มแรก ๆ
และเป็นกองกำลังที่ เข้มแข็งที่สุด
ในบรรดาชนกลุ่มน้อย
ที่ต่อสู้กับรัฐบาลพม่า
องค์กรของกะเหรี่ยง
ที่ต่อสู้มาตั้งแต่แรกเริ่ม
จนถึงทุกวันนี้ คือ
สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง หรือ KNU
ซึ่งมีนายพลโบเมียะ
เป็นผู้นำสูงสุดยาวนานถึง ๒๖ ปี
และเพิ่งเปลี่ยน ผู้นำคนใหม่เป็นนายซอ
บาติน เมื่อต้นปีที่ผ่านมา
นักรบกะเหรี่ยง เริ่มสู้รบกับ ทหารพม่า มาตั้งแต่สมัย สงครามโลกครั้งที่
๒ โดยสองเหตุการณ์ใหญ่ ๆ
ที่ทำให้ชาวกะเหรี่ยง
โกรธแค้นชาวพม่า อย่างฝังรากลึก
คือเหตุการณ์ เมื่อครั้งทหารพม่า
แอบซุ่มโจมตีหมู่บ้านกะเหรี่ยง
บริเวณ สามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดี
เป็นเหตุให้ชาวกะเหรี่ยง
เสียชีวิตจำนวนมาก
และไม่กี่ปีต่อมา
ทหารพม่าก็สังหารหมู่
ชาวกะเหรี่ยงขณะทำพิธีในโบสถ์
คืนก่อนวันคริสต์มาสอีก ๒๐๐ คน
ทั้งสองเหตุการณ์
ผลักดันให้ หนุ่มสาวชาวกะเหรี่ยง จำนวนมาก
สมัครเข้าเป็นทหาร
จับปืนต่อสู้กับศัตรู เพื่อปกป้องพี่น้องของตน
และจนถึงวันนี้
นักรบกะเหรี่ยง ก็ยังคงทำการสู้รบ
อยู่ตลอดชายแดน ไทย-พม่า
ตรงข้ามกับ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ไปจนถึงจังหวัดราชบุร
นักรบคะเรนนี
หรือนักรบกะเหรี่ยงแดง
เป็นกลุ่มนักรบที่ เริ่มต่อสู้กับรัฐบาลพม่า
หลังจากพม่าได้รับเอกราช
จากอังกฤษในปี ๒๔๙๑ นักรบคะเรนนี
ทำการต่อสู้อยู่ใน รัฐคะเรนนี
(ตรงข้ามจังหวัดแม่ฮ่องสอน)
ภายใต้ชื่อ
พรรรคก้าวหน้าแห่งชาติ คะเรนนี
หรือ KNPP รัฐคะเรนนี
มีทรัพยากรธรรมชาติ อยู่หนาแน่น
โดยเฉพาะแร่ธาตุ และไม้สัก
รัฐบาลพม่า
จึงต้องการรัฐคะเรนนี ไว้ในครอบครอง
แต่ถึงแม้พม่า
จะส่งกองทัพเข้ามาตั้งฐานทัพ
อยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ
ในรัฐคะเรนนี
และทำการอพยพ ประชาชน เข้าไปอยู่
ในเขตควบคุมของ ทหารพม่า
แต่รัฐบาลพม่า
ก็ยังไม่สามารถครอบครอง
แผ่นดินคะเรนนีได้ดังหวัง
เพราะนักรบคะเรนนี
ทำการสู้รบแบบกองโจร
ดักซุ่มยิงตามจุดต่าง ๆ
ที่มีทหารพม่า
พร้อมทั้งกระจายกำลัง ลาดตระเวน ไปทั่วรัฐคะเรนนี
ครั้งหนึ่ง รัฐบาลพม่าได้ยื่นข้อเสนอ
เจรจาหยุดยิงกับ นักรบคะเรนนี
แต่ข้อตกลงดังกล่าว
ต้องมีอันสิ้นสุดลง ภายในเวลาสามเดือน
เนื่องจากพม่าละเมิดสัญญา
ปัจจุบันการสู้รบ
ในรัฐคะเรนนี จึงยังคงดำเนินต่อไป
|
|
|
นักรบมอญ ภายใต้การนำของ พรรคมอญใหม่
หรือ NMSP
เป็นกลุ่มนักรบ ที่เริ่มต่อสู้ ด้วยอาวุธพร้อมกับ
ๆ นักรบคะเรนนี จนกระทั่งเมื่อปี
๒๕๓๘ สเว จิน
บุรุษเหล็ก แห่งพรรคมอญใหม่
จึงได้ตัดสินใจ ยุติการต่อสู้ด้วยกำลัง
หันมาใช้การเจรจา
แบบสันติวิธีแทน
นับจากนั้นจนถึงปัจจุบัน
(หรือตราบเท่าที่ ยังไม่มีใครละเมิดสัญญา)
เสียงปืนในพื้นที่มอญ จำนวน ๑๒
หมู่บ้าน ตรงข้าม ด่านเจดีย์สามองค์
จังหวัดกาญจนบุรี
จึงยุติลงชั่วคราว
ส่วนพื้นที่นอกเขตดังกล่าว
ยังมีการสู้รบอยู่เป็นระยะ
เนื่องจาก นักรบมอญบางส่วน
ไม่เห็นด้วยกับการเจรจาหยุดยิง
จึงแยกตัวออกไป
ตั้งกองกำลังเป็นของตัวเอง
ทำการรบอยู่ในป่า
แถบเทือกเขาตะนาวศรี
ตลอดแนวชายแดนไทย-พม่า
สำหรับนักรบไทยใหญ่นั้น
เพิ่งเริ่มจัดตั้ง กองกำลังของตนขึ้น
ภายหลังครบกำหนด สนธิสัญญาปางโหลง
เมื่อปี ๒๕๐๑
เนื่องจาก สนธิสัญญาดังกล่าว
ระบุให้รัฐฉาน
แยกการปกครอง เป็นรัฐอิสระได้
หลังจากอยู่ร่วมกับ รัฐบาลพม่าเป็นเวลา
๑๐
ปีนับจากได้รับ เอกราชจากอังกฤษ
ชาวไทยใหญ่ รอจนครบกำหนดเวลา
ตามสนธิสัญญา
แต่เมื่อพบว่า รัฐบาลพม่า
เพิกเฉยต่อข้อตกลง
ทั้งยังส่งกองกำลัง
เข้ายึดแผ่นดินไทยใหญ่ ในปี ๒๕๐๑
ชาวไทยใหญ่จึงลุกขึ้นต่อสู้
แต่เนื่องจาก ตลอดระยะกว่า ๔๐
ปีที่ผ่านมา องค์กรของไทยใหญ่
ขาดเอกภาพในการสู้รบ
ไม่มีองค์กรใด อยู่ได้ยาวนาน
และเป็นตัวแทน ชาวไทยใหญ่ อย่างแท้จริง
การต่อสู้ของชาวไทยใหญ่
จึงไม่มีประสิทธิภาพมากนัก
แม้ช่วงเวลาหนึ่ง
ทั่วโลกจะรับรู้ว่า
กองทัพเมืองไต ภายใต้การนำ
ของขุนส่า
เป็นกองกำลังติดอาวุธ ที่ทันสมัยที่สุด
แต่ถึงที่สุด กองทัพเมืองไต
ก็ได้ล่มสลายลง เมื่อขุนส่า
ราชาเฮโรอีน หันไปมอบตัว
และมอบอาวุธทั้งหมด
ให้แก่รัฐบาลพม่า
ปัจจุบัน กองกำลังไทยใหญ่
ที่ยังต่อสู้กับรัฐบาลพม่า
เหลือเพียงหนึ่งองค์กร คือ SSA South
ภายใต้การนำของเจ้ายอดศึก
มีพื้นที่ปฏิบัติการ
อยู่ตอนกลางรัฐฉาน
ตรงข้ามกับอำเภอฝาง
จังหวัดเชียงใหม่
นักรบกลุ่มสุดท้าย ที่ขึ้นชื่อว่าดุร้าย
กล้าหาญ
และมีกองกำลัง ติดอาวุธทันสมัย
และเกี่ยวข้องกับ
ยาเสพย์ติดมากที่สุด
ในขณะนี้คือ นักรบว้าแดง
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒
นักรบว้าแดง
เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์พม่า
และก่อนที่พรรคคอมมิวนิสต์
จะล่มสลายไม่นาน นักรบว้าแดง
ก็ได้จัดตั้งกองกำลัง
เป็นของตนเองภายใต้ชื่อ
สหพันธรัฐว้า หรือ UWSP
เพื่อทำการ ต่อสู้เรียกร้องเอกราช
เหมือนชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ
เมื่อรัฐบาลพม่ารู้ว่า นักรบว้าแดง
แยกออกมาตั้งกองกำลัง
เป็นของตัวเอง เพื่อต่อสู้กับตน
รัฐบาลพม่าจึงรีบเจรจาหยุดยิง
โดยยื่นข้อเสนอ
เอาใจนักรบว้ามากมาย
แลกเปลี่ยนกับข้อตกลงที่ว่า
กองกำลังว้าแดง จำนวน ๓ หมื่นคน
จะต้องไม่ทำการต่อสู้
กับกองทัพพม่า
แต่ให้หันไปจัดการกับ
กองกำลังชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ
ที่เป็นศัตรูกับ รัฐบาลพม่าแทน
แม้ว่าปัจจุบัน
กองกำลังชนกลุ่มน้อย บางกลุ่ม
ยุติการต่อสู้ด้วยกำลัง
โดยหันมาใช้วิธีเจรจาหยุดยิง
แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า
เสียงปืนแห่งการสู้รบ
ตลอดแนวชายแทนไทย - พม่า
จะสงบลงตลอดไป
ตราบใดที่ชนกลุ่มน้อย
ยังไม่อาจไว้วางใจ
รัฐบาลทหารพม่า (สลอร์ก)
และพม่ายังไม่มีการแก้ไขปัญหา
ทางการเมือง
ตราบนั้นเสียงแห่งการสู้รบ
ก็จะยังดำรงอยู่ต่อไป
|
|
นักรบชายขอบ
การต่อสู้ของ ชนกลุ่มน้อย ชายแดนไทย-พม่า
ข่าวก็อดส์อาร์มี ยึดโรงพยาบาล ศูนย์ราชบุรี
ไม่ได้เป็นเรื่องของ "โจร"
ที่มาก่อการร้าย
บนแผ่นดินไทย แต่เป็นภาพสะท้อนให้เห็นว่า
สภาพการขาดประชาธิปไตย
ในพม่าส่งผลกระทบ ต่อเสถียรภาพ
และสันติภาพ ของภูมิภาคเพียงไร
โดยเฉพาะ ผลกระทบต่อไทย
ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิด
ซึ่งจะต้องแบกรับปัญหา
อย่างเลี่ยงไม่พ้น
นับตั้งแต่ พม่าได้รับเอกราช จากอังกฤษ
เมื่อปี ๒๔๙๑ ก็เกิดเหตุวุ่นวาย
บนแผ่นดินนั้นไม่สิ้นสุด
เนื่องจากรัฐบาลพม่า
ต้องการให้ชนกลุ่มน้อยทั้งหมด
อยู่ภายใต้การปกครองของตน
แต่ชนกลุ่มน้อยไม่ยอม
และจัดตั้งกองกำลังขึ้นต่อสู้
ตลอดชายแดนไทย-พม่า
จึงเรียงรายไปด้วย
กองกำลังของชนกลุ่มต่าง ๆ
ทั้งกะเหรี่ยง คะเรนนี ไทยใหญ่
ว้า มอญ แม้กระทั่ง
กลุ่มที่แยกออกมาจากกะเหรี่ยง
อย่างก็อดส์อาร์มี
แม้ในระยะหลังรัฐบาลพม่าจะ
"กล่อม"
จนชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่ม
ยอมวางอาวุธ และยุติการสู้รบ
แต่ปัญหานี้คงไม่ลงเอยง่าย ๆ
เพราะปัญหาชนกลุ่มน้อย
ในพม่านั้นซับซ้อนซ่อนเงื่อน
เป็นทั้งปัญหาการเมือง
และปัญหาผลประโยชน์
การต่อสู้ของ นักรบชายขอบ ที่ชายแดนไทย-พม่า จะยังคงดำเนินต่อไป...
อ่านต่อคลิกที่นี่
|
|
ย้อนรอย
๑๕ ปีสารคดี
สารคดี ฉบับปฐมฤกษ์ออกวางแผง
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
นับถึงเวลานี้ก็เป็นเวลา ๑๕
ปีเต็ม สารคดี
เสนอสารคดีพิเศษไปแล้ว ๕๐๐
กว่าเรื่อง
ไม่นับสารคดีเรื่องเล็กเรื่องน้อย
อีกนับพัน ๆ แนวเรื่องที่นำเสนอ
มีหลากหลาย
ทั้งสัตว์และธรรมชาติ ชีวิต
ศิลปวัฒนธรรม เทคโนโลยี
และเหตุการณ์
นักเขียนปรารถนาให้ผู้อ่าน ได้รับความรู้
และความบันเทิงไปพร้อมกัน
และแอบหวังอยู่ลึก ๆ ว่า
เรื่องที่ตนเสนอ
จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
ในทางที่ดีขึ้น
แต่ในโลกของความเป็นจริง
ความหวังนี้ ก็คงสัมฤทธิผล เป็นส่วนน้อย
ในโอกาสครบรอบ ๑๕ ปี
กุลธิดา สามะพุทธิ และ วันชัย
ตันติวิทยาพิทักษ์
จะย้อยรอยดู ความเป็นไปของเรื่องราว ที่เคยนำเสนอไว้
ไม่ว่าจะเป็น ค้างคาวกิตติ,
โจหลุยส์, ลิงจ๊อบ, ตลาดหุ้น,
แหม่มเลียวนี่, ยันตระ
และอาจารย์หมอสุด แสงวิเชียร
เจ็ดเรื่องนี้ จะมีความเปลี่ยนแปลง หรือไม่เปลี่ยนแปลง ประการใด... โปรดติดตาม
อ่านต่อคลิกที่นี่
|
|
|
Special
Attractions |
|
Cover: On the road to a
military operation against burmese army with KNLA (Karen National Liberation Army) unit. |
|
|
|
Soldiers at the
Margins Thailand has
many neighbors along the Thai-Myanmar border stretching some 2,000 kilometers from Chiang
Rai to Ranong. They include the Shan or Tai, Wa, Karen, Mon and several other ethnic
minority groups. These people have been fighting for independence since the Burmese gained
theirs. At present some groups have put down their weapons and tried cease-fire
talks. Meanwhile, their Thai neighbor also may be considering a change in
tactics: putting away their "buffer state" policy and trying out
cooperation with Burma for commercial gains instead.
Continue: click here
|
|
Tracing Back 15
Years of Sarakadee
"Tracing back" is what we often do when we choose not to let anniversaries
simply pass by. It can be seen as both a celebration and a yearning for the past. We found
out that it was fun to study, to try and understand, not only what happened
"then" and "now," but also that place in between. Change is not the
only thing that's interesting. No change is also worthy material for contemplation. The
seven stories we "trace back" in this issue were not chosen because they are
better or bigger than others, but because they are interesting in their change and
"unchange."
Continue: click here
|
|
Perspectives on
the God's Army Hold-up of Rachaburi Center Hospital The ten armed Karen men who forced a bus to
Rachaburi Hospital and held over 200 people hostage there on January 24, 2000 were all
killed the
morning of the next day. Thais were relieved but soon pictures and new
evidence complicated things. Why were the Karens killed when they have
surrendered? What consequences follow from this incident for Thailand,
Myanmar and the Karen group? What effects will this incident have on the
Western Seaboard development project? Many have shared their views on the
violence and many more facets to it have been called to attention.
|
|
|
|